คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.2508 ม. 24

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'บิดา' ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337: ต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ข้อ 1 ลงวันที่ 13ธันวาคม 2515 มีความว่า 'ให้ถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าว ฯลฯ' คำว่า 'บิดา' ดังกล่าวน่าจะหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งจะเห็นได้ว่า คำว่า 'บิดา'ที่ใช้ในพระราชบัญญัติสัญชาติฯ มาตรา 7,8,14,15,17,21 และ 24 ซึ่งมีความหมายถึงบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ได้ระบุใช้คำว่า 'บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย' ไว้แต่อย่างใด เว้นแต่กรณีใดประสงค์จะเน้นให้แตกต่างจากบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงจะบัญญัติไว้โดยชัดแจ้งเช่นในมาตรา 18 ที่ระบุว่า มารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นต้น ดังนั้นคำว่าบิดาเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวจึงหมายความถึงว่าบิดาที่เป็นคนต่างด้าวจะต้องเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1507/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสัญชาติไทยจากการถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และผลของการต่ออายุทะเบียน
แม้โจทก์จะมีสัญชาติไทยเพราะเกิดในราชอาณาจักรไทยโดยมีบิดาเป็นคนต่างด้าวแต่โจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวซึ่งนายทะเบียนออกให้ตามพระราชบัญญัติการทะเบียนคนต่างด้าวพ.ศ.2479 มาตั้งแต่ พ.ศ.2489 และต่ออายุใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวติดต่อกันตลอดมา โจทก์จึงต้องเสียสัญชาติไทยตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508
มาตรา 5 ซึ่งบัญญัติให้การเสียสัญชาติไทยมีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลเฉพาะตัวเท่านั้นเป็นบทบัญญัติในเรื่องผลของการเสียสัญชาติไทยว่ามีผลเมื่อใดเป็นคนละเรื่องกับการเสียสัญชาติไทยอันจะต้องพิจารณาตามมาตรา 21 เมื่อโจทก์ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนคนต่างด้าวแล้ว โจทก์จึงต้องเสียสัญชาติไทยไปตามมาตรา 21 แต่การเสียสัญชาติไทยของโจทก์จะมีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
เมื่อโจทก์บรรลุนิติภาวะไปก่อนพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ใช้บังคับมาตรา 24ย่อมใช้บังคับไม่ได้ในกรณีของโจทก์