พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีภาษีอากร และการประเมินภาษีที่ถูกต้องตามระเบียบ
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ได้ตรวจสอบและทราบการตายของ อ. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 และโจทก์ที่ 1 โดยรองอธิบดีฝ่ายที่ 1 ปฏิบัติราชการแทนอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2545 การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2545 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ที่ 1 ทราบการตายของ อ. ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงอยู่ในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสาม
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
ในขณะที่ อ. นำเข้ารถยนต์คันพิพาทนั้น โจทก์ที่ 1 ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ประเมินอากรไม่ให้ใช้ราคาตาม PRICE LIST เดิมเป็นราคามาตรฐานกลางและเป็นเกณฑ์ในการประเมินอากรต่อไป แต่ให้รอราคาประเมินตามที่คณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินกำหนดเสียก่อน การที่เจ้าหน้าที่ประเมินอากรเห็นว่าราคาที่ อ. สำแดงต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงสั่งตีราคาโดยใช้เกณฑ์การรับราคาตาม PRICE LIST ปีก่อน และกำหนดให้วางเงินประกันจึงไม่ขัดต่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 เมื่อต่อมาคณะกรรมการติดตามและพิจารณาราคาประเมินของโจทก์ที่ 1 ได้ประชุมพิจารณาแล้วมีมติให้ใช้ราคาขายปลีกในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นฐานราคาในการคำนวณราคาประเมิน ซึ่งอธิบดีของโจทก์ที่ 1 ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เจ้าหน้าที่ประเมินอากรย่อมมีอำนาจที่จะประเมินราคารถยนต์ที่ อ. นำเข้าและประเมินค่าภาษีอากรเสียใหม่ได้ การประเมินจึงถูกต้องและชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ราคาสินค้าศุลกากร: การประเมินราคาต้องอาศัยหลักฐานและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การประเมินโดยมิพิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ไม่ชอบ
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 10 วรรคท้าย บัญญัติว่า "สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริง เป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..." หมายถึง ผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่คดีนี้โจทก์ขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มตามมาตรา 112,112 ทวิโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 โจทก์ได้ชำระค่าอากรและเงินเพิ่มตามที่ได้แจ้งการประเมินไปในระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2539 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม2541 และได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2544 ยังไม่พ้น 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ
แม้โจทก์จะนำใบส่งสินค้าทั้ง 12 เที่ยวจำนวน 12 ใบขน ซึ่งมีจำนวนเงินแต่ละใบขนแตกต่างกันมาฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกันก็ตาม ก็ต้องถือว่าการฟ้องแต่ละใบขนสินค้าหรือแต่ละเที่ยวเป็นข้อหาแยกต่างหากจากกัน สิทธิในการอุทธรณ์จึงต้องพิจารณาตามจำนวนทุนทรัพย์พิพาทตามใบขนสินค้าแต่ละเที่ยว ซึ่งทุนทรัพย์ที่พิพาทในแต่ละใบจะต้องมีทุนทรัพย์เกินกว่า 50,000 บาท จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 25คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกคืนค่าอากรขาเข้าและดอกเบี้ยสำหรับการนำเข้าสินค้ารวม 12 เที่ยวแต่ทุนทรัพย์ที่พิพาทสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวที่สอง เที่ยวที่สาม เที่ยวที่แปดเที่ยวที่สิบและเที่ยวที่สิบสอง มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยเฉพาะตามใบขนสินค้าขาเข้าเที่ยวแรก เที่ยวที่สี่ เที่ยวที่ห้า เที่ยวที่หก เที่ยวที่เจ็ด เที่ยวที่เก้า และเที่ยวที่สิบเอ็ด รวม 7 เที่ยว ซึ่งมีทุนทรัพย์ที่พิพาทแต่ละใบขนสินค้าเกินกว่า 50,000บาท
พระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 2 วรรคสิบสอง บัญญัติว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดหรือราคาแห่งของอย่างใดนั้น หมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุนณ เวลา และที่ที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีการหักทอนหรือลดหย่อนราคาแต่อย่างใด" หมายความว่า ราคาอันแท้จริงในท้องตลาดคือราคาเงินสดที่พึงขายสินค้าได้โดยไม่ขาดทุน ทั้งนี้โดยพิเคราะห์ถึงประเภทของสินค้า ราคาของสินค้าสถานที่นำสินค้าเข้าหรือส่งสินค้าออก เวลาที่ซื้อขายสินค้า และปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อราคาที่พึงขายได้ ส่วนราคาที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินตามหลักเกณฑ์คำสั่งทั่วไปกรมศุลกากร ประกาศส่วนมาตรฐานพิธีการและราคาและประกาศสำนักมาตรฐานศุลกากรนั้นมิใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แต่เป็นเพียงแนวทางในการคำนวณหาราคาตลาดที่แท้จริงในกรณีไม่ทราบราคาตลาดที่แท้จริงหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่เชื่อว่าราคาสินค้าที่ผู้นำเข้าหรือส่งออกได้สำแดงไว้เท่านั้น ราคาที่ประเมินตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวจึงเป็นการประเมินในกรอบกว้าง ๆ โดยยังมิได้พิเคราะห์ถึงปัจจัยต่าง ๆดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงการคาดคะเนโดยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าราคาท้องตลาดที่แท้จริงในขณะที่โจทก์นำเข้ามานั้นเป็นจำนวนเท่าใด การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ประเมินราคาสินค้าทั้ง 7 เที่ยวเพิ่มขึ้นและเรียกค่าภาษีอากรเพิ่มนั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1390/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องขอคืนภาษีอากรเพิ่มเติม: มาตรา 10 พ.ร.บ.ศุลกากร vs. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 10 วรรคท้าย ที่บัญญัติว่า"สิทธิในการเรียกร้องขอคืนเงินอากรเพราะเหตุที่ได้เสียไว้เกินจำนวนที่พึงต้องเสียจริงเป็นอันสิ้นไปเมื่อครบกำหนดสองปีนับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออกแล้วแต่กรณี..."หมายถึงผู้ที่เสียเงินอากรไว้เกินจำนวนที่ต้องเสีย ต้องยื่นคำร้องขอเงินอากรที่เสียไว้เกินภายใน 2 ปี แต่การที่ฟ้องโจทก์ฟ้องขอคืนค่าอากรที่ถูกพนักงานเจ้าหน้าที่เรียกเก็บเพิ่มเติมตามมาตรา 112,112 ทวิ โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์ไม่ต้องเสียอากรเพิ่มตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ประเมินไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรเมื่อไม่ได้ส่งออกสินค้าตามกำหนด และสิทธิการเรียกร้องของเจ้าหนี้ผู้ค้ำประกัน
การที่จำเลยนำของเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อผลิตส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารวางประกัน และรับของไปจากอารักขาของศุลกากรเป็นเพียงการผ่อนผันชำระค่าอากรขาเข้าให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยมิได้ผลิตสินค้าส่งออกไปต่างประเทศภายในกำหนด 1 ปี ตามกฎหมาย ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะนำเงินอากรขาเข้าและภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินไว้ไปชำระมิใช่เป็นหน้าที่เจ้าพนักงานประเมินจะต้องติดตามทางถามให้จำเลยชำระ ทั้งตาม พ.ร.บ. ศุลกากรก็ดี ประมวลรัษฎากรก็ดี มิได้บัญญัติกำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินติดตามทวงถามไว้แต่อย่างใด ดังนั้น เจ้าพนักงานประเมินจะเรียกให้จำเลยหรือผู้ค้ำประกันชำระค่าอากรขาเข้าเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าอากรที่ต้องเสียก็ต้องเรียกเงินเพิ่มจากจำเลยตามกฎหมาย
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
กรณีการนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางก็ไม่มีบทบัญญัติใดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรว่าถ้าผู้นำของเข้าไม่ชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) ตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งให้ทราบแล้วภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ก็ให้เรียกเก็บจากผู้ค้ำประกันทันที ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 ที่ให้สิทธิเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้ ตั้งแต่ลูกหนี้ผิดนัดนั้น ถ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ภายในอายุความ และเมื่อเรียกจากธนาคารผู้ค้ำประกันแล้วหนี้ยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชำระค่าภาษีอากรส่วนที่ขาดรวมทั้งเงินเพิ่มแก่โจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีบำรุงเทศบาล (ปัจจุบันเป็นภาษีส่วนท้องถิ่น) และเงินเพิ่ม จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและภายในชอบที่กฎหมายบัญญัติ จึงมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาและเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อสำแดงราคาสินค้าน้อยกว่าราคาตลาด
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 มีความเห็นว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมพร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่ามีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรแล้ว เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่มและแจ้งให้จำเลยทราบ แต่จำเลยมิได้ชำระเงินให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลา กรณีของจำเลยจึงอยู่ในข่ายที่โจทก์จะเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร กรณีสำแดงราคานำเข้าต่ำกว่าราคาตลาด
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้ พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3041/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้ากรณีสำแดงราคาต่ำกว่าราคาตลาด และไม่ชำระภายในกำหนดตามกฎหมายศุลกากร
การที่จะเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้นมิได้เฉพาะ 2 กรณี คือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดในวรรคหนึ่งแห่งมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 ประการหนึ่ง กับกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดตามมาตรา 40 หรือมาตรา 45 อีกประการหนึ่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่า จำเลยสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงให้จำเลยวางหนังสือค้ำประกันเพิ่มเติมสูงกว่าจำนวนค่าอากรที่จำเลยได้สำแดงไว้พร้อมทั้งประทับตรา "ตีราคา" ไว้หลังใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้า ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่า มีปัญหาเกี่ยวกับจำนวนค่าอากรสำหรับของที่กำลังผ่านศุลกากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาและค่าภาษีอากรที่จำเลยต้องชำระเพิ่ม และแจ้งให้จำเลยทราบแล้ว แต่จำเลยมิได้ชำระเงินอากรให้ครบถ้วนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโจทก์จึงเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินเพิ่มอากรขาเข้า มาตรา 112 ตรี ศุลกากร ต้องเชื่อมโยงกับการวางประกันค่าอากรตามมาตรา 112 และ 112 ทวิ เท่านั้น
การที่จะเรียกอากรขาเข้าเพิ่มอีกร้อยละยี่สิบตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี นั้น มีได้เฉพาะสองกรณีคือ กรณีมิได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ ซึ่งสืบเนื่องจากการวางประกันค่าอากรตาม มาตรา 112ประการหนึ่ง กับกรณีมิได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40หรือ 45 อีกประการหนึ่ง ซึ่งข้อความในตอนแรกของมาตรา 112 ตรี มีลักษณะเชื่อมโยงกับมาตรา 112 ทวิ และมาตรา 112 จึงเห็นได้ชัดเจนว่ามาตรา 112 ตรี ตอนแรกใช้บังคับเฉพาะกรณีตามมาตรา 112 ทวิเท่านั้น ไม่อาจนำไปใช้ในกรณีทั่ว ๆ ไป หรือในกรณีของมาตรา 19 ตรี ซึ่งเป็นเรื่องการค้ำประกันการนำของเข้าที่เกี่ยวเนื่องกับมาตรา 19 ทวิ ที่ว่าด้วยสิทธิในการจะขอคืนอากรขาเข้า ส่วนความในตอนหลังของมาตรา 112 ตรี ที่เกี่ยวกับมาตรา 40 และมาตรา 45 นั้น มาตรา 45 เป็นเรื่องกำหนดเงื่อนไขในการที่ผู้นำของเข้าจะนำของออกไปจากอารักขาของศุลกากรว่าจะต้องยื่นใบขนสินค้าโดยถูกต้องและเสียภาษีอากรจนครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกัน การขอวางเงินประกันให้เป็นไปตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด แต่ตามฟ้องโจทก์ทั้งสองไม่ปรากฏข้ออ้างว่าจำเลยฝ่าฝืนมาตรา 40 หรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 แต่อย่างใด คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามความในมาตรา 19 ทวิ กรณีของจำเลยจึงไม่อยู่ในข่ายที่โจทก์ทั้งสองจะเรียกเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8174/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าเมื่อผิดเงื่อนไขการนำเข้าเพื่อผลิตส่งออก และการประเมินราคาต่ำกว่าราคาตลาด
การเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าอีกร้อยละ 20 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 ตรี มีได้เฉพาะ 2 กรณี คือ 1. กรณีไม่ได้ชำระเงินอากรครบถ้วนตามมาตรา 112 ทวิ และ 2. กรณีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบหรือเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดตามมาตรา 40 หรือ 45
สินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลยนำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารถือว่าเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ชำระอากรไว้ตามที่โจทก์อุทธรณ์นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้
ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 แม้จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารและมิได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี เช่นกัน แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
สินค้าพิพาทตามรายการที่ 1 จำเลยนำเข้าสินค้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคาร แล้วจำเลยไม่ได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี จำเลยจึงไม่มีสิทธิในการขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี และการที่จำเลยนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากรโดยได้วางประกันไว้เป็นหนังสือของธนาคารถือว่าเป็นกรณีที่ยังไม่ได้ชำระอากรไว้ตามที่โจทก์อุทธรณ์นั้น เมื่อเกิดกรณีที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้ว โจทก์ที่ 1 ก็มีสิทธิเรียกให้ธนาคารที่เป็นประกันชำระเงินได้ทันทีอยู่แล้ว จะถือว่าการที่จำเลยไม่ชำระค่าอากรเป็นการผิดบทบัญญัติตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 112 ตรี แล้วไม่ได้
ส่วนสินค้าพิพาทตามรายการที่ 2 แม้จำเลยนำสินค้าเข้าโดยแสดงความจำนงว่าจะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้า โดยวางหนังสือค้ำประกันของธนาคารและมิได้นำสินค้าไปผลิตเพื่อส่งออกภายใน 1 ปี เช่นกัน แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าจำเลยสำแดงราคาต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงทำการประเมินราคาสินค้าเพิ่มขึ้น การประเมินดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยปฏิบัติผิดเงื่อนไขในการที่ผู้นำเข้าจะนำของออกจากอารักขาของศุลกากรตามมาตรา 40 โจทก์ที่ 1 จึงมีสิทธิเรียกเก็บเงินเพิ่มอากรขาเข้าตามมาตรา 112 ตรี ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1467/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินอากรใหม่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์: ศุลกากรมีสิทธิประเมินราคาสินค้าใหม่ได้หากพบราคาต่ำกว่าตลาด
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 ทวิ วรรคสามไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อมีการอุทธรณ์การประเมิน อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายมีอำนาจเพียงยกอุทธรณ์หรือเพิกถอนการประเมินเท่านั้น และไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการประเมินอากรใหม่ แต่ตามมาตรา 10 วรรคแรก และมาตรา 10 วรรคสาม กลับมีบทบัญญัติแสดงว่าภายในอายุความ หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรตรวจพบว่าจำเลยสำแดงราคาสินค้าไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิประเมินราคาสินค้าตามราคาที่แท้จริงในท้องตลาดได้ ดังนั้น ในกรณีที่มีการวางเงินประกันค่าอากรเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินอากรอันจะพึงเสียและได้แจ้งให้จำเลยผู้นำเข้าทราบแต่จำเลยผู้นำเข้าอุทธรณ์การประเมินตามมาตรา 112 ทวิ ถ้าในระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีอำนาจประเมินราคาสินค้าใหม่ให้สูงกว่าราคาเดิม แล้วประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลใหม่ได้ เมื่อจำเลยผู้นำเข้ามิได้อุทธรณ์การประเมินครั้งหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน การประเมินจึงเป็นที่สุด