คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำไม้ในเขตป่าสงวนฯ ความผิดสำเร็จหรือพยายาม? การคำนวณสินบนรางวัลตามกฎหมาย
คำว่า "ทำไม้" ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(4)หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อยผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่า หรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ แต่เมื่อพระราชบัญญัติ ป่าไม้ฯ มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำเหล่านี้ไว้จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า "ตัด"ว่าทำให้ขาดด้วยของมีคม คำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมฟันลงไปคำว่า "กาน" หมายถึง ตัดเพื่อให้แตกใหม่ คำว่า "โค่น" หมายถึงล้มหรือทำให้ล้ม คำว่า "ลิด"หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่งคำว่า "เลื่อย" หมายถึงตัดด้วยเลื่อย จึงเห็นได้ว่าคำว่า"ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธีตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อยผ่าถากทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่เป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้นประกอบกับวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทาง ธรรมชาติไว้ ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย ลึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้นและต้นยางดังกล่าว มิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอด เป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตมิใช่ความผิดสำเร็จพระราชบัญญัติ ญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 8ให้จ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไข เพราะประกาศดังกล่าวไม่อาจแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้กับความผิดฐานพยายามทำไม้ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) บัญญัติว่า"ทำไม้" หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อนผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ " ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำว่า ตัด ฟัน และการกระทำอื่น ๆ อันเป็นการทำไม้ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของคำว่า "ตัด" ว่า ทำให้ขาดด้วยของมีคม ทอนคำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟันลงไป เช่น ฟันคลื่นคือเอาหัวเรือตัดคลื่นไป "กาน" หมายถึงตัดเพื่อให้แตกใหม่ "โค่น"หมายถึง ล้มหรือทำให้ล้มอย่างต้นไม้ล้ม ทลายลง "ลิด" หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง "เลื่อย" หมายถึง ตัดด้วยเลื่อย ความหมายของคำว่า "ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธี ตัด ฟัน กานโค่นลิด เลื่อย ผ่าถาก ทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่ทำให้เห็นว่าต้องเป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และถือเป็นความเป็นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทางธรรมชาติไว้ เมื่อปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย สึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น ต้นยางดังกล่าวมิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอดเป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่ความผิดสำเร็จ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบ จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ปรากฏว่า พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัลและปรากฏตามพระราชบัญญัติ ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ทั้งให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไขเพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาจึงยังไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคำนวณโทษปรับตาม พ.ร.บ.ศุลกากร: ค่าอากรเฉพาะศุลกากร ไม่รวมภาษีสรรพสามิตและมูลค่าเพิ่ม
พระราชบัญญัติ ญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วนั้นคำว่า "ค่าอากร" หมายถึง ค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น หารวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยไม่จึงจะนำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับด้วยมิได้ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษปรับโดยให้ลงโทษจำคุกด้วย แต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ 2 ปี เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยให้หนักขึ้นโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์เป็นการไม่ชอบ เมื่อเป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลาง และไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละ 20 ของราคาของกลาง ตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสองหาใช่ร้อยละ 15 ของค่าปรับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาบริษัทและการไม่มีสิทธิได้รับรางวัลเนื่องจากไม่มีการจับกุมจริง
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุมนิติบุคคลนั้น เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้จัดการบริษัทจำเลยให้ไปพบ แล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิดนั้น ไม่เป็นการจับกุม ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7, 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาบริษัท ไม่ถือเป็นการจับกุม ไม่มีสิทธิรับรางวัล
กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไม่มีการจับกุมนิติบุคคลนั้น เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้คงให้ใช้ วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกผู้จัดการบริษัทจำเลยให้ไปพบแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิดนั้น ไม่เป็นการจับกุมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้ รับรางวัลตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 78.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาผู้จัดการนิติบุคคล ไม่ถือเป็นการจับกุม จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.บำเหน็จปราบปราม
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ของเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม ดังนี้กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณีถ้า ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้ แต่จะขังหรือปล่อยชั่วคราว ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณีการที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 7 และ 8.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้นำจับได้รับสินบน แม้โจทก์มิได้สืบพยาน ยึดตามคำรับสารภาพจำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีผู้ประสงค์เงินสินบนนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเป็นของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพและมิได้โต้แย้งเรื่องผู้นำจับเท่ากับยอมรับว่ามีผู้นำจับจริง แม้คำให้การจำเลยจะมีข้อความว่า ส่วนข้อหานอกนั้นขอให้การปฏิเสธ ก็เป็นการ ปฏิเสธข้อหาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด มิใช่ปฏิเสธว่าไม่มี ผู้นำจับ ดังนั้นแม้โจทก์ไม่สืบพยานก็ฟังได้ว่าคดีนี้มีผู้นำจับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำสารภาพของจำเลยถือเป็นการยอมรับการมีผู้นำจับ แม้โจทก์มิได้สืบพยานก็ฟังได้ว่ามีผู้นำจับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีผู้ประสงค์เงินสินบนนำเจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยทองคำแท่งเป็นของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพและมิได้โต้แย้งเรื่องผู้นำจับเท่ากับยอมรับว่ามีผู้นำจับจริง แม้คำให้การจำเลยจะมีข้อความว่า ส่วนข้อหานอกนั้นขอให้การปฏิเสธ ก็เป็นการ ปฏิเสธข้อหาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด มิใช่ปฏิเสธว่าไม่มีผู้นำจับ ดังนั้นแม้โจทก์ไม่สืบพยาน ก็ฟังได้ว่าคดีนี้มีผู้นำจับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการสำแดงเท็จ และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่จากค่าปรับ
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ได้รับสิทธิงดเว้นการเสียอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุที่สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศจำเลยได้นำของซึ่งระบุในใบขนสินค้าขาเข้าว่าเป็นเยื่อกระดาษเหนียวเป็นม้วนแต่ปรากฏว่าของที่จำเลยนำเข้ามาเป็นกระดาษ ไม่ใช่เยื่อกระดาษและไม่ใช่กระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้ หรือเศษกระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้แล้วอันได้รับการงดเว้นอากรขาเข้าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ และฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลอันเป็นความผิดอาญาแผ่นดินดังนั้น การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติอนุญาตย้อนหลังให้กระดาษที่จำเลยนำเข้ามานั้นเป็นวัสดุที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคราฟท์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยอนุญาตไว้แล้ว. ทำให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับของที่จะต้องเสียภาษีนั้น เป็นมติที่ไม่ชอบและคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนฯ หามีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดหรืออนุญาตให้กระดาษสำเร็จรูปนั้นกลายเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระดาษคราฟท์ อันจะทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วกลับไม่เป็นความผิดต่อไปได้ไม่จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่งและวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลยก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลยจึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นความผิดฐานนี้จึงยุติแล้วจำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 338/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรโดยการนำเข้ากระดาษสำเร็จรูปอ้างเป็นวัตถุดิบ และการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่จับกุม
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพื่อประกอบอุตสาหกรรมผลิตกระดาษคราฟท์ ได้รับสิทธิงดเว้นการเสียอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบและวัสดุที่สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ จำเลยได้นำของซึ่งระบุในใบขนสินค้าขาเข้าว่าเป็นเยื่อกระดาษและไม่ใช่กระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้ หรือเศษกระดาษคราฟท์ที่ใช้ไม่ได้แล้วอันได้รับการงดเว้นอากรขาเข้า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ และฐานหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรโดยเจตนาฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล อันเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ดังนั้น การที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีมติอนุญาตย้อนหลังให้กระดาษที่จำเลยนำเข้ามานั้นเป็นวัสดุที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษคราฟท์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้เคยอนุญาตไว้แล้ว ทำให้จำเลยไม่ต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับของที่จะต้องเสียภาษีนั้น เป็นมติที่ไม่ชอบ และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนฯ หามีอำนาจตามกฎหมายที่จะกำหนดหรืออนุญาตให้กระดาษสำเร็จรูปนั้นกลายเป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตกระดาษคราฟท์ อันจะทำให้ความผิดที่เกิดขึ้นแล้วกลับไม่เป็นความผิดต่อไปได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตามกฎหมายดังกล่าว
การสั่งจ่ายสินบนหรือรางวัลตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 นั้น กระทำได้ 2 กรณี คือเมื่อมีการสั่งริบของกลางประการหนึ่ง หรือเมื่อมีการลงโทษปรับจำเลยอีกประการหนึ่ง และวิธีจ่ายนั้น หากมีการริบของกลางก็ให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางนั้น หากไม่มีการริบของกลางหรือมีการริบของกลาง แต่ของกลางนั้นไม่อาจขายได้และมีการลงโทษปรับจำเลย ก็ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่จำเลยได้ชำระต่อศาล คดีนี้มีการลงโทษปรับจำเลย จึงสั่งจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมจากเงินค่าปรับที่ชำระต่อศาลได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยื่นใบขนสินค้าสำแดงรายการเป็นเท็จ จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ความผิดฐานนี้จึงยุติแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาว่าจำเลยมิได้กระทำผิดในความผิดฐานนี้อีก ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
of 4