คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการขอสินบนนำจับในคดีป้องกันการค้ากำไรเกินควร และการริบของกลางที่ไม่ใช่ของต้องห้าม
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัลได้โดยให้จ่ายราคาของกลางหรือค่าปรับแตกต่างกับพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีความผิดเป็นผู้เสียเงินค่าสินบนนำจับ มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการขอแทนได้ พนักงานอัยการหรือรัฐบาลไม่มีสิทธิในเงินสินบนนั้น และพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ได้บัญญัติทับพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดในเรื่องเงินสินบนนำจับนั้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอเงินสินบนนำจับแทนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1043/2492 และ 1933/2492)
จำเลยกระทำความผิดฐานไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บสิ่งของที่ประกาศควบคุม เมื่อของกลางมิใช่สิ่งของที่ห้ามการค้ากำไรเกินควร จึงริบสิ่งของนั้นตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 29 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 110/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจพนักงานอัยการขอเงินสินบนนำจับ และการริบของกลางในคดีไม่แจ้งปริมาณสิ่งของควบคุม
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489มาตรา 9 บัญญัติให้พนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้จ่ายสินบนหรือรางวัลได้โดยให้จ่ายราคาของกลางหรือค่าปรับแตกต่างกับพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 ซึ่งบัญญัติให้ผู้มีความผิดเป็นผู้เสียเงินค่าสินบนนำจับ มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการขอแทนได้พนักงานอัยการหรือรัฐบาลไม่มีสิทธิในเงินสินบนนั้น และพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ได้บัญญัติทับพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดในเรื่องเงินสินบนนำจับนั้นแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจที่จะขอเงินสินบนนำจับแทนได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1043/2492 และ 1933/2492)
จำเลยกระทำความผิดฐานไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บสิ่งของที่ประกาศควบคุม เมื่อของกลางมิใช่สิ่งของที่ห้ามการค้ากำไรเกินควรจึงริบสิ่งของนั้นตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 29 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินรางวัลให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จฯ ต้องเป็นไปตามอัตราที่กฎหมายกำหนด
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรค 2 บังคับไว้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีที่ไม่มีผู้นำจับเพียงร้อยละยี่สิบของราคาของกลางหรือค่าปรับ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยจ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับนั้น จึงไม่ถูกต้อง แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินรางวัลพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จฯ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรค 2 บังคับไว้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำผิดในกรณีที่ไม่มีผู้นำจับเพียงร้อยละยี่สิบของราคาของกลางหรือค่าปรับ การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยจ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของค่าปรับนั้นจึงไม่ถูกต้อง แม้จะไม่มีฝ่ายใดฎีกาในข้อนี้ขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยแก้ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราโทษความผิดพ.ร.บ.ศุลกากรและพ.ร.บ.ควบคุมการส่งออกฯ: ศาลเลือกใช้กฎหมายที่มีโทษหนักกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา ม.90
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริงและรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี เท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้นพระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือนจึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90(อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบจำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกันส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8,002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2,000.64บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ1,000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 32 บัญญัติว่าเรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี...ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ(อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวนข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดพิกัดศุลกากร: พิจารณาโทษหนักเบาตามกฎหมายเฉพาะ และการจ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าหน้าที่
การคำนวณค่าปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งรวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว ตามพระราชบัญญัติศุลกากร ฯ มาตรา 27 นั้น ต้องถือเอาราคาของในท้องตลาดอันเป็นราคาที่แท้จริง และรวมค่าอากรเข้าด้วย เป็นเกณฑ์ในการคำนวณ
การลักลอบนำข้าวออกนอกประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2490 มาตรา 3 กับตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปีเท่ากัน แต่การกระทำฐานพยายามนั้น พระราชบัญญัติศุลกากรถือว่าเป็นความผิดตามมาตรา 27 เสมือนกับเป็นความผิดสำเร็จลงโทษจำคุกได้ถึง 10 ปี แต่ตามพระราชบัญญัติควบคุมการส่งออกไปนอก ฯ ลงโทษได้เพียง 2 ใน 3 จำคุกได้อย่างสูง 6 ปี 8 เดือน จึงต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติศุลกากร อันเป็นกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 (อ้างฎีกาที่ 1027/2504)
การกระทำผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ศาลต้องนำพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาใช้บังคับในการสั่งจ่ายเงินรางวัลแก่ผู้จับ
จำเลยทั้ง 3 พยายามนำข้าวออกนอกประเทศ ข้าวสารเป็นของจำเลยที่ 2 จำนวน 6 กระสอบ เป็นของจำเลยที่ 3 จำนวน 6 กระสอบ จำเลยที่ 2,3 ไม่ได้สมคบกัน ส่วนจำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2,3 ดังนี้ เมื่อค่าปรับทั้งหมด 8002.56 บาท จึงปรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4001.28 บาท จำเลยที่ 2,3 คนละ 2000.64 บาท จำเลยที่ 2,3 รับสารภาพลดกึ่ง คงปรับคนละ 1000.32 บาท
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 32 บัญญัติว่า เรือ...รถ...หากใช้ในการย้าย ถอน ซ่อนเร้น หรือขนของที่ยังมิได้เสียภาษี... ให้ริบเสียสิ้น นั้น หากเจ้าของมิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำผิดแล้ว ศาลไม่ริบ (อ้างฎีกาที่ 193/2491) ฉะนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังมิได้ไต่สวน ข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าเจ้าของรถยนต์ของกลางรู้เห็นเกี่ยวข้องในการกระทำหรือไม่ อัยการโจทก์ก็ค้านอยู่ว่ารู้เห็นเป็นใจ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินการไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินรางวัลจากของกลางที่ขายได้บางส่วน การคำนวณราคาของกลางทั้งหมดเพื่อจ่ายสินบนและรางวัล
คำว่า "ของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้" ในมาตรา 7 วรรค 2 นั้น หมายความว่า ขายไม่ได้ทั้งหมด ฉะนั้น ถ้าของกลางขายได้เป็นบางอย่างจะเอาค่าปรับมาจ่ายไม่ได้ต้องจ่ายจากเงินที่ขายของกลางได้ โดยคิดคำนวณเอาราคาของกลางทั้งหมดที่ปรากฎในทางพิจารณา ถ้าเงินที่ขายของกลางใดมีไม่พอก็ให้คิดเฉลี่ยตามส่วน
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการขอจ่ายสินบนนำจับในคดีป้องกันการค้ากำไรเกินควร: ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ. 2489 และ พ.ร.บ. 2490
พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 มาตรา 30 ได้บัญญัติถึงการบังคับให้ใช้สินบนนำจับไว้เป็นพิเศษแตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489
คำขอให้จ่ายค่าสินบนนำจับตาม พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจจะขอแทนได้ เพราะ พ.ร.บ.ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ไม่ได้ระบุอำนาจไว้
of 4