พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกยื่นภาษีสำหรับสามีภรรยา: เงินได้มาตรา 40(4)(ก) ยังคงเป็นของสามี แม้ภรรยาจะแยกยื่นภาษี
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีสามารถแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้แต่เฉพาะในส่วนของเงินได้ตามมาตรา 40(1)เท่านั้น ส่วนเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40(4)(ก) นั้นถือเป็นเงินได้ของสามีโจทก์ และสามีโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แม้โจทก์จะแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษี การแยกยื่นของโจทก์ต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลง ดังนั้น โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(4)(ก) ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้กับเงินได้ของสามีโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแยกยื่นภาษีของคู่สมรส: เงินได้บางส่วนต้องรวมคำนวณภาษีกับคู่สมรส
โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีสามารถแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้แต่เฉพาะในส่วนของเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เท่านั้น ส่วนเงินได้ของโจทก์ตามมาตรา 40 (4) (ก) นั้น ถือเป็นเงินได้ของสามีโจทก์ และสามีโจทก์มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี แม้โจทก์จะแยกยื่นรายการเพื่อเสียภาษี การแยกยื่นของโจทก์ต้องไม่ทำให้ภาษีที่ต้องเสียเปลี่ยนแปลง ดังนั้น โจทก์ต้องนำเงินได้พึงประเมินของโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4) (ก) ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้กับเงินได้ของสามีโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการผ่อนผันชำระราคาสินค้าต่างประเทศ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร และต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ในปี 2534 และ 2535 โจทก์สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากบริษัท น. ประเทศนอร์เวย์บริษัทฮ. ประเทศสวีเดนบริษัท ฟ.เมืองฮ่องกงและบริษัทอ.ประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง โดยนำเข้ามาในราชอาณาจักรระหว่างวันที่24 กุมภาพันธ์ 2534 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2535 การนำเข้าสินค้าดังกล่าว โจทก์จะชำระราคาสินค้าภายใน 270 วัน และ180 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้าพร้อมกับชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ขายอีกในอัตราร้อยละ 10.8 ของราคาสินค้า นับแต่วันส่งมอบสินค้าถึงวันชำระราคา ตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าโจทก์ชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2534ถึง 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 6,648,075.74 บาท และในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เป็นเงิน112,548,706.04 บาท เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่บริษัทผู้ขายได้รับจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ซึ่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 29)พ.ศ. 2534 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะ ทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการผ่อนปรนการชำระราคาสินค้านั้น แม้ดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ขาย มิได้เกิดจากพันธบัตร หุ้นกู้หรือตั๋วเงินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะชำระราคาทันทีโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามข้อตกลง แต่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเช่นว่านี้โจทก์ยินดีรับสิทธิการผ่อนปรนการชำระราคาโดยเสียดอกเบี้ยดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก)แห่งประมวลรัษฎากรเช่นกัน โจทก์จ่ายเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(4)(ก) ให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยอันเป็นการจ่ายจากประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวและนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4767/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการผ่อนชำระสินค้าต่างประเทศเป็นเงินได้พึงประเมินและต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
ในปี 2534 และ 2535 โจทก์สั่งซื้อปุ๋ยเคมีจากบริษัท น.ประเทศนอร์เวย์ บริษัท ฮ.ประเทศสวีเดน บริษัท ฟ.เมืองฮ่องกง และบริษัท อ.ประเทศนอร์เวย์หลายครั้ง โดยนำเข้ามาในราชอาณาจักรระหว่างวันที่ 24กุมภาพันธ์ 2534 ถึงวันที่ 28 มิถุนายน 2535 การนำเข้าสินค้าดังกล่าว โจทก์จะชำระราคาสินค้าภายใน 270 วัน และ 180 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้าพร้อมกับชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าดังกล่าวให้แก่ผู้ขายอีกในอัตราร้อยละ 10.8 ของราคาสินค้า นับแต่วันส่งมอบสินค้าถึงวันชำระราคา ตามที่ระบุในใบกำกับสินค้าโจทก์ชำระเงินเพิ่มจากราคาสินค้าให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศดังกล่าวในระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ถึง 31 ธันวาคม 2534 เป็นเงิน 6,648,075.74บาท และในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2535 เป็นเงิน112,548,706.04 บาท เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ที่บริษัทผู้ขายได้รับจากโจทก์ตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2534 ซึ่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร(ฉบับที่ 29) พ.ศ.2534 ใช้บังคับแล้ว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากสิทธิเรียกร้องในหนี้ค่าสินค้าตามมาตรา 40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากร ส่วนดอกเบี้ยอันเกิดจากการผ่อนปรนการชำระราคาสินค้านั้น แม้ดอกเบี้ยดังกล่าวจะไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์กู้ยืมเงินจากผู้ขาย มิได้เกิดจากพันธบัตร หุ้นกู้ หรือตั๋วเงินก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีสิทธิที่จะชำระราคาทันทีโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ยตามข้อตกลง แต่โจทก์ไม่ใช้สิทธิเช่นว่านี้โจทก์ยินดีรับสิทธิการผ่อนปรนการชำระราคาโดยเสียดอกเบี้ย ดังนั้นดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ย เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (4) (ก) แห่ง ป.รัษฎากรเช่นกัน
โจทก์จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4)(ก) ให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย อันเป็นการจ่ายจากประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวและนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฏากร
โจทก์จ่ายเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (4)(ก) ให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย อันเป็นการจ่ายจากประเทศไทย โจทก์จึงมีหน้าที่หักภาษีจากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวและนำส่งอำเภอท้องที่ พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายใน 7 วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 70 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.รัษฏากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีเงินได้กรณีขายลดตั๋วเงินข้ามประเทศ แม้ผู้จ่ายไม่ใช่ผู้กู้ยืมหรือขายลดเอง
ผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารในประเทศจ่ายให้แก่ผู้ขายไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายตามตั๋วเงินโดยโจทก์รับภาระชำระเงินส่วนหนึ่งให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเนื่องจากการขายลดนั้นเงินที่โจทก์ส่งออกไปให้ธนาคารในต่างประเทศดังกล่าวแม้เดิมโจทก์จะเจตนาให้เป็นค่าสินค้าที่โจทก์ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศก็ตามแต่เมื่อผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์ต้องชำระไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเสียแล้วธนาคารในต่างประเทศจึงเป็นผู้ที่จะได้รับเงินที่โจทก์จะต้องชำระนั้นต่อไปหาใช่ผู้ขายสินค้าอีกไม่เงินส่วนที่ธนาคารในต่างประเทศได้จากโจทก์เนื่องจากการขายลดตั๋วเงินของผู้ขายดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ยตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา40(4)(ก)และเป็นเงินที่จ่ายจากประเทศไทยโจทก์ผู้จ่ายจึงต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้นำส่งจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา70วรรคแรกแม้โจทก์จะมิใช่เป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารในต่างประเทศก็ตามเพราะมาตรา70วรรคแรกหาได้บัญญัติว่าผู้จ่ายต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5399/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษีเงินได้จากส่วนลดตั๋วเงินข้ามประเทศ: ภาระหน้าที่ของผู้จ่าย
ผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตผ่านธนาคารในประเทศจ่ายให้แก่ผู้ขายไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศก่อนที่จะถึงกำหนดจ่ายตามตั๋วเงินโดยโจทก์รับภาระชำระเงินส่วนหนึ่งให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเนื่องจากการขายลดนั้น เงินที่โจทก์ส่งออกไปให้ธนาคารในต่างประเทศดังกล่าวแม้เดิมโจทก์จะเจตนาให้ให้เป็นค่าสินค้าที่โจทก์ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศก็ตามแต่เมื่อผู้ขายได้นำตั๋วเงินที่โจทก์ต้องชำระไปขายลดให้แก่ธนาคารในต่างประเทศเสียแล้ว ธนาคารในต่างประเทศจึงเป็นผู้ที่จะได้รับเงินที่โจทก์จะต้องชำระนั้นต่อไปหาใช่ผู้ขายสินค้าอีกไม่ เงินส่วนที่ธนาคารในต่างประเทศได้จากโจทก์เนื่องจากการขายลดตั๋วเงินของผู้ขายดังกล่าว จึงเป็นเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกับดอกเบี้ยตามที่ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ในมาตรา 40 (4) (ก) และเป็นเงินที่จ่ายจากประเทศไทย โจทก์ผู้จ่ายจึงต้องมีหน้าที่หักภาษีเงินได้นำส่งจำเลยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 70 วรรคแรก แม้โจทก์จะมิใช่เป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินให้ธนาคารในต่างประเทศก็ตาม เพราะมาตรา 70 วรรคแรก หาได้บัญญัติว่าผู้จ่ายต้องเป็นผู้กู้ยืมเงินหรือผู้ขายลดตั๋วเงินด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้จากการจ่ายค่าสิทธิและดอกเบี้ย: การชำระภาษีแทนบริษัทต่างประเทศไม่ใช่เงินได้พึงประเมิน
เงินค่าสิทธิในกรรมวิธีผลิตตามมาตรา 40(3) และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตาม (4)(ก) กฎหมายบัญญัติว่าเป็นเงินได้พึงประเมินไม่ได้บัญญัติรวมถึงภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยที่ผู้จ่ายเงินออกชำระแทนให้ผู้มีเงินได้อันจะถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน เช่นที่บัญญัติไว้ชัดแจ้งในมาตรา 40(1) และ (2) ฉะนั้นเงินที่โจทก์ชำระแทนบริษัทต่างประเทศเป็นค่าภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยดังกล่าว จึงไม่ใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) และ (4)(ก)
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้วกรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ดังนี้ รับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาท หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจทก์มิได้ชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54วรรคแรก เท่านั้น
โจทก์ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน74,747,567.84 บาท แทนบริษัทต่างประเทศ เป็นเงิน 18,096,689.72 บาท เต็มจำนวนภาษีเงินได้ที่ต้องชำระแล้วกรมสรรพากรจำเลยอ้างว่าหากโจทก์หักภาษีเงินได้จำนวนดังกล่าวออกบริษัทในต่างประเทศจะได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยไปเพียง 56,650,878.12 บาท แต่โจทก์ชำระภาษีเงินได้แทนเป็นเหตุให้บริษัทในต่างประเทศได้รับเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยเกินไปเท่ากับจำนวนภาษีเงินได้ที่โจทก์ชำระแทน เงินจำนวนนี้จึงถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าสิทธิและดอกเบี้ยซึ่งโจทก์ผู้จ่ายเงินจะต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้ดังนี้ รับฟังไม่ได้ เพราะโจทก์ได้ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 74,747,767.84 บาท หาใช่ชำระภาษีเงินได้ของเงินค่าสิทธิและดอกเบี้ยจำนวน 56,650,878.12 บาท หากโจทก์จะต้องรับผิดชำระภาษีเงินได้อีกก็เป็นการชำระภาษีซ้ำซ้อน แม้ในกรณีนี้ถ้าโจทก์มิได้ชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ก็คงต้องรับผิดร่วมกับบริษัทในต่างประเทศชำระภาษีเงินได้เท่าจำนวนที่มิได้หักและนำส่งตามมาตรา 54วรรคแรก เท่านั้น