คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย ศิริบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 437/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – การโต้แย้งสิทธิมรดก – พินัยกรรมเฉพาะส่วน – ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
ฎีกาของโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่า ไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินจากผู้อื่นโดยไม่รู้ว่าเป็นเงินที่ได้จากการกระทำผิด ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกับพวกลักทรัพย์ของโจทก์ไปจำหน่ายและจำนำ และจำเลยที่ 2 นำเงินที่ได้จากการนี้บางส่วนไปฝากธนาคารต่อมาจำเลยที่ 2 ถอนเงินจำนวน 100,000 บาท และ 64,721.25 บาทมาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 นำไปฝากธนาคารในนามจำเลยที่ 3 ที่ 4ตามลำดับ แล้วจำเลยที่ 4 มอบเงินที่รับมาให้จำเลยที่ 3 ไปอีก50,000 บาท แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้โดยไม่รู้ว่า จำเลยที่ 2 ได้มาจากการขายทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกลักไปและเงินจำนวนนั้นก็ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 รับเงินจำนวนดังกล่าวไว้ จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และแม้เป็นเงินที่ได้มาจากการขายทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกลักไป ก็จะถือว่าเป็นเงินของโจทก์มิได้เพราะมิใช่ตัวทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกลักไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินจากการขายทรัพย์สินที่ถูกลัก ไม่ใช่ทรัพย์สินโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน
เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกลักไป ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และจำเลยรับไว้โดยไม่รู้ว่าเป็นเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกลักไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจะถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์มิได้ เพราะมิใช่ตัวทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกลักไปโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินถูกลัก – เงินจากการขาย – จำเลยรับโดยไม่รู้ – ไม่เป็นละเมิด – สิทธิเรียกคืน
เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกลักไป ไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิด และจำเลยรับไว้โดยไม่รู้ว่าเป็นเงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของโจทก์ที่ถูกลักไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจะถือว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์มิได้ เพราะมิใช่ตัวทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกลักไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินจากผู้อื่นโดยไม่ทราบแหล่งที่มาที่ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ถูกลักไป ไม่ถือเป็นการละเมิด
ทรัพย์ของโจทก์ถูกจำเลยที่ 1 ที่ 2 ลักไป จำเลยทั้งสองได้ ขายทรัพย์นั้นและมอบเงินที่ได้ให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 แต่คดีฟังไม่ได้ ว่าจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับเงินไว้โดยรู้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้มา จากการขายทรัพย์ของโจทก์ที่ถูกลักไป ทั้งไม่ถือว่าเงินนั้นเป็น ของโจทก์เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำผิด การกระทำของ จำเลยที่ 3ที่ 4 จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิ เรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: จำเลยทราบว่าทรัพย์เป็นของร้ายซุกซ่อนอยู่
จำเลยที่ 1 เป็นผู้บอกให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อของกลางที่ถูกยึด ในครั้งแรกแล้วนำไปขายนำเงินมาแบ่ง และจำเลยที่ 1 ยังเป็นผู้เดินนำจำเลยที่ 2 เข้าไปในป่าละเมาะบริเวณที่ของกลางซุกซ่อนอยู่และก้มลง หยิบเฟืองเกียร์ของกลางจึงถูกจับกุม พฤติการณ์ดังกล่าวจำเลยที่ 1ย่อม ทราบมาก่อนว่า ของกลางเป็นของร้ายที่ซุกซ่อนไว้ จำเลยที่ 1มีความผิดฐานรับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 4 บัญญัติว่า "ในกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกัน หรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" บทบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2532ผู้ประกันยื่นฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาลดค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกันเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2534 หลังจากบทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการบริษัทโดยผู้ถือหุ้นและกรรมการ: ความชอบธรรมในการดำเนินการ
เดิมบริษัท ต.มี บ.เป็นกรรมการผู้จัดการได้ดำเนินกิจการขาดทุน และมีเจ้าหนี้จำนวนมาก ป.เข้าช่วยเหลือโดยตั้งบริษัท ย.ผู้เสียหายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแทน โดยฝ่าย บ.ถือหุ้นในบริษัทผู้เสียหายร้อยละ 45 ของหุ้นทั้งหมด และบริษัท ต.ทำสัญญาให้บริษัทผู้เสียหายเช่าโรงงานและเครื่องจักรด้วย เมื่อปรากฏว่า ป.ถือสิทธิเข้าดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวทำให้บริษัทผู้เสียหายเป็นหนี้ธนาคารถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท ท่วมทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้เสียหายซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งล้านบาท และกีดกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ถือหุ้นฝ่ายบ.ถึงขนาดที่บริษัท ต.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโรงงานไปแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการบริษัท ต.และจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทผู้เสียหายกับพวกย่อมเข้าใจว่ามีความชอบธรรมที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าไปดำเนินการในบริษัทคู่แข่งโดยชอบธรรม แม้มีข้อพิพาทเรื่องการถือหุ้นและบริหารงาน ไม่ถึงขั้นบุกรุก
เดิมบริษัท ต.มี บ. เป็นกรรมการผู้จัดการได้ดำเนินกิจการขาดทุน และมีเจ้าหนี้จำนวนมากป.เข้าช่วยเหลือโดยตั้งบริษัทย.ผู้เสียหายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแทน โดยฝ่ายบ.ถือหุ้นในบริษัทผู้เสียหายร้อยละ 45 ของหุ้นทั้งหมด และบริษัทต.ทำสัญญาให้บริษัทผู้เสียหายเช่าโรงงานและเครื่องจักรด้วย เมื่อปรากฏว่าป.ถือสิทธิเข้าดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวทำให้บริษัทผู้เสียหายเป็นหนี้ธนาคารถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาทท่วมทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้เสียหายซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งล้านบาทและกีดกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ถือหุ้นฝ่ายบ.ถึงขนาดที่บริษัทต.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโรงงานไปแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการบริษัทต.และจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทผู้เสียหายกับพวกย่อมเข้าใจว่ามีความชอบธรรมที่จะเข้าไปดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายได้ ทั้งการเข้าไปดำเนินการก็เป็นการกระทำโดยเปิดเผยการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานบุกรุกตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 275/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องฎีกาเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาให้คู่ความ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่จำเลยยื่นฎีกา กำหนดให้ จำเลยนำส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์ภายใน 7 วัน ถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งใน วันนั้นแล้ว ต่อมาจำเลยเพียงแต่มาวางเงินค่านำส่งสำเนาฎีกา ในวันหลังซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลาไปหลายวันแล้ว โดยยังไม่ได้ นำเจ้าหน้าที่ศาลไปส่งสำเนาฎีกาให้โจทก์จึงเป็นการทิ้งฟ้องฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247.
of 20