คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย ศิริบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 29/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฆ่าโดยเจตนาเพื่อชิงทรัพย์: ลดโทษจากความสำนึกผิดและสภาพครอบครัว
เหตุที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการที่ผู้ตายซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยทั้งสองดุด่า จำเลยที่ 2 ด้วยถ้อยคำรุนแรงสร้างความเจ็บแค้นแก่จำเลยที่ 2 และจำเลยทั้งสองประสงค์ต่อทรัพย์จึงกระทำผิดขึ้นจำเลยที่ 1 พึ่งอายุได้ 18 ปี ในขณะเกิดเหตุ จำเลยทั้งสองได้รับความกระทบกระเทือนกับปัญหาในครอบครัว บิดามารดาจำเลยที่ 1หย่าร้าง จำเลยที่ 1 อยู่กับมารดาซึ่งมีสามีใหม่และมีบุตรเกิดกับสามีใหม่ ส่วนมารดาจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตายตั้งแต่จำเลยที่ 2ยังเป็นเด็กบิดามีภริยาใหม่แล้วมีบุตรกับภริยาใหม่ ชั้นจับกุมจำเลยทั้งสองยอมให้จับกุมแต่โดยดีและรับสารภาพโดยตลอดตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวนจนถึงชั้นศาลทั้ง ๆ ที่ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุ จึงเป็นการลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงานและให้ความรู้แก่ศาลอันเป็นเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6422/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยการวางเงินต่อศาล แม้ผิดขั้นตอน ไม่เป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ให้คืนเงินการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอวางเงินแทนแม้จะเป็นการเลือกขอชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยผิดขั้นตอน ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้ว ไม่มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิคัดค้านการประนอมหนี้ของเจ้าหนี้ และการสันนิษฐานว่าผู้ล้มละลายกระทำการโดยรู้ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 52 วรรคสอง เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วมีอำนาจคัดค้านต่อศาลได้ ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตาม ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้วไม่ได้เข้าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก จึงไม่ได้คัดค้านการประนอมหนี้ แต่ได้ยื่นคำคัดค้านการประนอมหนี้ไว้ก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจอุทธรณ์ได้ จำเลยที่ 1 ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า จำเลยที่ 1ไม่มีทรัพย์สินใด ๆ และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำบัญชีแสดงกิจการต้นทุนกำไรย้อนหลังไป 3 ปีนับแต่วันถูกพิทักษ์ทรัพย์ ส่วนจำเลยที่ 2ให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ไม่มีทรัพย์สินส่วนตัวที่มิได้ใช้ในการประกอบธุรกิจ ภริยาจำเลยที่ 2 ไม่ได้ประกอบอาชีพและไม่มีทรัพย์สิน และในการประกอบกิจการค้าขาย จำเลยที่ 2ไม่ได้ทำบัญชีแสดงการขาดทุนกำไร ย่อมเห็นได้ว่า ก่อนล้มละลายจำเลยทั้งสองมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินและไม่สามารถนำบัญชีและงบดุลประจำปีมาแสดงต่อศาลได้สำหรับระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลายโดยไม่มีเหตุสมควร ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองได้ขืนทำการค้าต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามมาตรา 74(2)(ข),73,72, และ 53 ศาลย่อมสั่งไม่เห็นชอบด้วยคำขอประนอมหนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6369/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีสิทธิคัดค้านการประนอมหนี้แม้เคยลงมติยอมรับ และการล้มละลายจากการค้าขายโดยรู้ว่าไม่มีหนี้จ่าย
เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ มีอำนาจคัดค้านต่อศาลได้ถึงแม้จะได้เคยออกเสียงลงมติยอมรับไว้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ก็ตามดังนั้นการที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว แต่ไม่ได้เข้าประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก จึงไม่ได้คัดค้านการประนอมหนี้ไว้ ต่อมาได้ยื่นคำคัดค้านการประนอมหนี้ก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจอุทธรณ์ได้ ก่อนล้มละลาย จำเลยมีสินทรัพย์ไม่พอกับหนี้สิน และไม่สามารถนำบัญชีและงบดุลประจำปีมาแสดงต่อศาลได้สำหรับระยะเวลา 3 ปีก่อนล้มละลายโดยไม่มีเหตุสมควรอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยได้ขืนกระทำการค้าขายต่อไปอีกโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ ตามมาตรา 74(2)(ข) ศาลสั่งให้ยกคำขอประนอมหนี้ได้ตามมาตรา 72 ประกอบมาตรา 73(3) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6337/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบังคับคดีหลังคำพิพากษาตามยอม: ระยะเวลาเริ่มต้นนับจากกำหนดชำระหนี้ในสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษา ตามยอมพร้อมออกคำบังคับในวันที่ 29 เมษายน 2520 โจทก์จำเลย ลงชื่อรับทราบคำบังคับกำหนดให้จำเลยใช้เงินตาม สัญญาประนีประนอมยอมความแก่โจทก์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 6 เดือน การที่โจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีและขอให้ศาลออกหมาย บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271,273,276 ได้นั้นจะต้องให้ระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วโจทก์จึงมีสิทธิบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยได้ภายในสิบปีตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2520 จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2530

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6218/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค, การสลักหลัง, และการเป็นผู้ทรงเช็คโดยสุจริต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาท มีจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแล้วมอบเช็คให้แก่ผู้มีชื่อ ต่อมาผู้มีชื่อสลักหลังและส่งมอบให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการชำระหนี้ เมื่อเช็คถึงกำหนด ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ขอให้บังคับใช้เงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ย ดังนี้เป็นการบรรยายโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาส่วนที่จำเลยจะมอบเช็คพิพาทแก่ใครเมื่อใดและผู้มีชื่อเป็นใครมอบเช็คพิพาทให้แก่โจทก์เมื่อใดนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาต่อไป ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เช็คพิพาทไม่ได้ลงวันออกเช็ค โจทก์รับสลักหลังด้วยการเข้าใช้เงินและรับเช็คพิพาทมาเมื่อต้นปี 2530 และลงวันที่ 19 พฤษภาคม2530 ในเช็คพิพาทเป็นกรณีที่โจทก์ในฐานะผู้ทรงทำการโดยสุจริตจดวันตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 910วรรคห้า ประกอบด้วยมาตรา 989 ดังนี้ อายุความฟ้องจำเลยผู้สั่งจ่าย1 ปี นับแต่วันที่ลงในเช็ค เช็คระบุชื่อผู้รับเงินย่อมโอนให้กันได้ด้วยการสลักหลังและการสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 919 ประกอบด้วยมาตรา 989 ดังนั้นการที่ผู้สลักหลังมิได้ระบุชื่อโอนให้แก่ใครก็มีผลสมบูรณ์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแสดงเจตนาตกลงรับประกันภัย: ผลของหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องที่ส่งถึงผู้รับประกันภัยเกินกำหนด 30 วัน
ตามใบรับเงินชั่วคราวของจำเลยที่มอบให้แก่ผู้ทำคำขอเอาประกันชีวิตมีข้อความระบุว่า "บริษัทจะพิจารณาออกกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้ขอเอาประกันภัยภายใน 30 วัน (สามสิบวัน)นับแต่วันถัดจากวันที่สำนักงานของบริษัทได้รับใบคำขอเอาประกันภัยและได้รับเงินแล้ว หากบริษัทมิได้ออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ภายในเวลาที่กำหนดหรือปฏิเสธการขอเอาประกันภัยหรือแจ้งเหตุขัดข้องในการรับประกันภัย ให้ถือว่าบริษัทตกลงยอมรับสัญญาประกันภัย"ดังนี้ แสดงว่าการแจ้งเหตุขัดข้องเป็นการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งเมื่อจำเลยอยู่กรุงเทพมหานคร ส่วน ต. อยู่จังหวัดเชียงใหม่กรณีจึงเป็นการแสดงเจตนาทำให้แก่ผู้อยู่ห่างโดยระยะทาง ย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ไปถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นต้นไป ตามป.พ.พ. มาตรา 130 ดังนั้น เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องในการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ ต. ส่งทางไปรษณีย์ไปถึงต. เกินกว่ากำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่จำเลยได้รับใบคำขอเอาประกันชีวิต จึงต้องถือว่าจำเลยตกลงยอมรับสัญญาประกันชีวิตแล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคสอง เป็นบทบัญญัติให้สัญญาเกิดขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้น จะแปลบทบัญญัติไปในนัยกลับกันว่า สัญญาไม่เกิดขึ้นในเวลาเมื่อมีการอันใดอันหนึ่งขึ้นหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุลอกคำวินิจฉัยศาลชั้นต้นโดยไม่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกาโดยเพียงแต่ลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6126/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากลอกคำวินิจฉัยศาลชั้นต้น และไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาโดยลอกคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นมาทั้งหมดชนิดคำต่อคำ แต่คำวินิจฉัยศาลชั้นต้นถูกศาลอุทธรณ์พิพากษากลับเสียแล้วโดยจำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไรและที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ทั้งยังเป็นฎีกาที่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นฎีกาที่นอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6069/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการจดทะเบียนสัญชาติ: การปฏิเสธการจดทะเบียนสัญชาติถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ
โจทก์ทั้งสามโดย ค. มารดาได้ขอให้จำเลยในฐานะนายทะเบียนอำเภอลงชื่อและสัญชาติไทยแก่โจทก์ทั้งสามลงในทะเบียนบ้าน จำเลยไม่ยอมลงโดยเห็นว่าโจทก์ทั้งสามเป็นบุตรคนญวนอพยพเข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าโจทก์ทั้งสามไม่มีสัญชาติไทย จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ทั้งสาม ที่จำเลยออกคำสั่งแจ้งให้ ค. ไปยื่นคำร้องขอมีสัญชาติที่สำนักงานจังหวัดโดยตรงเป็นการปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการก็เป็นการกระทำที่ทำให้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม แต่ไม่ทำให้กลายเป็นไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ ดังนี้โจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้อง.
of 20