พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำละเมิดของผู้เยาว์ กรณีบิดามารดาไม่ได้ดูแลอบรมสั่งสอนอย่างเหมาะสม
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ออกไปเที่ยวใช้หนังสติ๊กยิงด้วยกระสุนในทางเดินสาธารณะในเวลากลางคืนจนเกิดเหตุคดีนี้ ทั้งปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 มักออกเที่ยวกลางคืนด้วยกันบ่อย ๆ การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 แสดงว่า บิดามารดามิได้ดูแลอบรมสั่งสอนตามสมควรแก่หน้าที่ ระหว่างนั้นแม้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 จะไปอยู่บ้านญาติช่วยเลี้ยงกระบือหรือช่วยทำนา แต่การที่ผู้เยาว์ทำละเมิดในขณะที่มิได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา ย่อมมิใช่ข้อที่บิดามารดาจะยกขึ้นปฏิเสธความรับผิดได้ จำเลยที่ 5 และจำเลยที่ 7 ถึงที่ 10นำสืบเพียงว่าได้สั่งสอนให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ให้เป็นคนดี มิได้พิสูจน์ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 429.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5652/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีอากรค้าง: การคำนวณเงินเพิ่มและอายุความของหนี้ภาษี
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 27 หาได้บัญญัติถึงหลักเกณฑ์และวิธีการชำระค่าภาษีอากรค้างว่าจะต้องชำระเงินเพิ่มก่อนหลังกันอย่างไรจึงเป็นข้อเท็จจริงที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบมิใช่ข้อที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจะสามารถรู้ได้เอง เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้ไปยังลูกหนี้ที่ 2และลูกหนี้ที่ 2 ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ที่ 2ได้ชำระค่าภาษีเงินได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินลูกหนี้ที่ 2 จึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ตามมาตรา 27 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลล่างทั้งสองนำเงินที่ลูกหนี้ที่ 2ผ่อนชำระไปหักจากค่าภาษีเงินได้ตามหนังสือแจ้งการประเมินภาษีโดยไม่คำนวณเงินเพิ่มร้อยละ 20 ด้วย จึงเป็นการไม่ถูกต้อง การที่พยานเจ้าหนี้ให้การว่า ได้มีการชำระเงินกันบางส่วนแล้วแต่จะชำระเมื่อใดไม่ปรากฏนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าลูกหนี้ที่ 2 ได้รับทราบการประเมินและไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้รายนี้ก็ไม่อาจถือได้ว่ามีการรับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องด้วยการใช้เงินบางส่วนอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5448/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การโอนสิทธิเรียกร้องต้องผูกพันตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
จำเลยทำสัญญารับประกันภัยกับ ท.โดยระบุให้ธนาคาร ก.จำกัดเป็นผู้รับประโยชน์ และตามกรมธรรม์ระบุว่า "ความเห็นแตกต่างกันที่เกิดขึ้นจากกรมธรรม์ดังกล่าวให้เสนอให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาด"การทำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการใช้สิทธิฟ้องร้องตามสัญญาประกันภัย เมื่อธนาคาร ก.จำกัดผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยดังกล่าวโอนสิทธิเรียกร้องให้โจทก์โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและเงื่อนไขในการใช้สิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยมีความเห็นต่างกันในเรื่องความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ต้องเสนอตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดเสียก่อน โจทก์จะนำคดีมาฟ้องโดยมิได้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนไม่ได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5427/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานโจทก์ขัดแย้ง ไม่น่าเชื่อถือ ศาลยกฟ้องจำเลย แม้รับสารภาพ
เมื่อข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลย ทั้งสองร่วมกันกระทำผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะให้การรับสารภาพ และมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมี อำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขอระงับการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการบังคับคดี
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทของจำเลยแต่ยังไม่สามารถพาไปยึดได้เพราะไม่ทราบว่ารถยนต์พิพาทอยู่ที่ใด ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของรถยนต์พิพาทในใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์ต่อนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร ขอให้งดการจดทะเบียนทุกประเภทหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันเกี่ยวกับรถยนต์พิพาทไว้ก่อน ดังนี้ เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังติดตามยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ การที่ขอให้งดจดทะเบียนหรือก่อให้เกิดภาระตัดพันในรถยนต์พิพาทก็เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบังคับคดีเกี่ยวกับรถยนต์พิพาท จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการยึดรถยนต์พิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขออายัดทะเบียนรถยนต์เพื่อป้องกันการโอนขายก่อนยึดทรัพย์
จำเลยไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา โจทก์ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดรถยนต์พิพาทของจำเลยแต่ยังไม่สามารถพาไปยึดได้เพราะไม่ทราบว่ารถยนต์พิพาทอยู่ที่ใด ต่อมาโจทก์ทราบว่าจำเลยจะจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของรถยนต์พิพาทในใบอนุญาตทะเบียนรถยนต์ต่อนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานครขอให้งดการจดทะเบียนทุกประเภทหรือก่อให้เกิดภาระผูกพันเกี่ยวกับรถยนต์พิพาทไว้ก่อน ดังนี้ เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำลังติดตามยึดรถยนต์คันพิพาทอยู่ การที่ขอให้งดจดทะเบียนหรือก่อให้เกิดภาระติดพันในรถยนต์พิพาทก็เพื่อมิให้เกิดปัญหายุ่งยากในการบังคับคดีเกี่ยวกับรถยนต์พิพาท จึงเป็นขั้นตอนหนึ่งของการยึดรถยนต์พิพาทเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจที่จะกระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาคดีแพ่งผูกพันคดีล้มละลาย หนี้เดิมไม่อาจนำมาฟ้องซ้ำได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้องจึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรกเมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันคนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องมีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งต่อคดีล้มละลาย: หนี้เดิมไม่สามารถนำมาฟ้องล้มละลายได้อีก
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดยกฟ้อง จึงผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก เมื่อมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายต่อมา โจทก์จะโต้เถียงคำพิพากษาดังกล่าวว่าไม่ผูกพันตนหาได้ไม่ แม้คำพิพากษาจะมิได้วินิจฉัยไว้โดยตรงว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ แต่การที่ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้อง มีความหมายในตัวว่าโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องอีกต่อไปการที่โจทก์มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้เดียวกันนั้น ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 14 ซึ่งต้องพิจารณาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีแพ่งแล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4339/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลาย: ความสามารถชำระหนี้เป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย
จำเลยเป็นข้าราชการครูระดับ 6 ได้รับเงินเดือนในอัตรา7,200 บาท จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ซึ่งรับราชการครูด้วยกันหลายครั้งรวม 60,000 บาท โจทก์จึงฟ้องให้ล้มละลายโดยไม่ได้ฟ้องเป็นคดีแพ่งก่อน และไม่ได้ทวงถามผู้ค้ำประกัน เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้จำเลยได้นำเงินมาวางศาล 10,000 บาท เพื่อชำระหนี้โจทก์ โจทก์ไม่รับนอกจากเป็นหนี้โจทก์จำเลยยังเป็นหนี้ธนาคารอีกสองแห่งแห่งละ30,000 บาท ซึ่งจำเลยได้ชำระไปบ้างแล้วคงค้างเงินต้นรายละ20,575 บาท และ 19,544 บาท ส่วนหนี้นาง อ. และนาง น.รายละ 10,000 บาท จำเลยก็ได้ผ่อนชำระไป 2,300 บาท และ 1,100 บาทตามลำดับ ส่วนหนี้รายอื่นอีก 20,000 บาท เจ้าหนี้นั้นยังไม่ทวงถามและยังไม่ฟ้องเพราะต้องการเงินก้อน ดังนี้ แสดงว่าจำเลยขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้และยังมีความสามารถชำระหนี้ได้อันเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4109/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายไปเพื่อประกันหนี้ ไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
ผู้เสียหายเป็นหนี้พี่สาวจำเลย พี่สาวจำเลยเคยบอกผู้เสียหายว่าจะเอาทรัพย์ของผู้เสียหายมาไว้ก่อน เมื่อผู้เสียหายมีเงินแล้วค่อยมาไถ่คืน จำเลยไปเอาทรัพย์ของผู้เสียหายโดยเปิดเผยตามที่ผู้เสียหายยินยอมให้ถือเอาทรัพย์ของตนเพื่อประกันการชำระหนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์.