พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3951/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของเจ้าของรถและผู้ขับขี่ในกรณีละเมิดจากการเดินรถโดยสารประจำทาง
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของบริษัท ธ. และขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ธ. ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในกิจการเดิน รถยนต์โดยสารประจำทางดังนี้ ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนในการขับรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวในกิจการเดินรถร่วมบริการของจำเลยที่ 3ด้วย แม้โจทก์ได้กล่าวในฟ้องให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดในฐานะมีผลประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 3 ก็เข้าใจข้อหาดี เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุชนโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายถึงสาหัส เป็นการละเมิดต้องถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 ดังนี้ จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดด้วย โจทก์ถูกกระทำละเมิดต้องได้รับอันตรายแก่กายสาหัส ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล 21 วัน ยังไม่หาย ต้องทนทุกขเวทนา ขาข้างขวาใช้การได้ไม่ปกติดังเดิม โจทก์ต้องเสียหายแก่ร่างกายหรืออนามัย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สัญญาขายลดเช็ค: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการโต้แย้งเฉพาะลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย/สลักหลัง ไม่ถือเป็นการปฏิเสธสัญญาทั้งหมด
ข้อที่ลูกหนี้ฎีกาโต้เถียงว่าสัญญาขายลดเช็คที่บริษัทพ. ทำไว้กับเจ้าหนี้ลูกหนี้ได้ปฏิเสธแล้วนั้น เป็นการฎีกาที่ไม่ตรงต่อข้อเท็จจริง เพราะในชั้นที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ลูกหนี้ โต้แย้งเพียงว่าผู้สั่งจ่าย และผู้สลักหลังเช็คที่นำมาขายลดแก่ เจ้าหนี้ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท พ. หาได้โต้แย้งหรือปฏิเสธว่าบริษัท พ. ไม่ได้ทำสัญญาขายลดเช็คหรือไม่ได้นำเช็คมาขายลดให้แก่เจ้าหนี้ไม่ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าบริษัท พ. ได้ทำสัญญาขายลดเช็คและได้นำเช็คมาขายลดให้แก่เจ้าหนี้จริงเจ้าหนี้หาจำต้องสืบพยานในข้อนี้ไม่ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็น ยุติแล้วดังกล่าว ข้อที่ลูกหนี้ฎีกาว่าภาระการพิสูจน์เพื่อแสดง ถึงความไม่สมบูรณ์ของสัญญาขายลดเช็คตกอยู่แก่ฝ่ายเจ้าหนี้นั้น จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเห็นผู้ชำนาญการพิเศษต้องเบิกความประกอบ หากไม่เบิกความ ความเห็นนั้นใช้ฟังไม่ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง เป็นบทบังคับว่าในกรณีมีการทำความเห็นเป็นหนังสือ ผู้ชำนาญการพิเศษจำต้องมาเบิกความประกอบความเห็นเป็นหนังสือนั้นด้วย ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือโดยไม่ต้องมาเบิกความประกอบ
คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม ขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3849/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ (ลายมือชื่อ) ต้องมีการเบิกความประกอบจากผู้เชี่ยวชาญตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 243 วรรคสอง เป็นบทบังคับว่าในกรณีมีการทำความเห็นเป็นหนังสือ ผู้ชำนาญการพิเศษจำต้องมาเบิกความประกอบความเห็นเป็นหนังสือนั้นด้วย ไม่ใช่เป็นบทบัญญัติให้ศาลใช้ดุลพินิจให้ผู้ชำนาญการพิเศษทำความเห็นเป็นหนังสือโดยไม่ต้องมาเบิกความประกอบ คดีนี้ ก. ผู้ชำนาญการพิเศษเป็นผู้ตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติม และได้ทำบันทึกความเห็นไว้ในรายงานการตรวจพิสูจน์ เมื่อโจทก์ไม่นำ ก.มาเบิกความประกอบ บันทึกความเห็นดังกล่าวย่อมรับฟังไม่ได้ ข้อเท็จจริงคงรับฟังได้เพียงว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิมพ์สัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมขณะพิมพ์มีจำเลยที่ 2 กับพวกอยู่ด้วย ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงลายมือชื่อโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อให้ได้ความว่าจำเลยทั้งสองมีส่วนร่วมกันปลอมสัญญาดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองย่อมไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาของผู้รับโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: บุคคลภายนอกไม่มีสิทธิฎีกาเมื่อไม่ใช่คู่ความ
ในคดีชั้นร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่ ไม่ ร้องขอให้เพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดี แล้วแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกา โจทก์เป็น เพียง บุคคลภายนอกแม้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนคนหนึ่งอาจถูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร้องขอ ต่อศาลขอให้สั่งเพิกถอนการโอนต่อไป ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็ไม่ใช่คู่ความหรือถูกโต้แย้ง สิทธิในชั้นนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 โจทก์จึง ไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้าน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัย-ความผิดฝ่ายโจทก์: การชำระค่าธรรมเนียมศาลเกินเวลา
โจทก์ที่ 1 และทนายโจทก์ทั้งสองทราบวันสุดท้ายที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ ก็ชอบที่จะขวนขวายชำระหรือขอขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียม การที่โจทก์ที่ 1 และทนายโจทก์ทั้งสองนำเงินค่าธรรมเนียมศาลเพิ่มไปชำระต่อศาลเมื่อเลยเวลาราชการไปประมาณ 30 นาทีและเจ้าหน้าที่ศาลไม่ได้รับไว้ นับว่าเป็นความผิดของฝ่ายโจทก์เอง จะอ้างว่าเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองสิทธิผู้เช่าช่วง สิทธิการเช่ายึดได้เฉพาะลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การอ้างว่าจำเลยหรือลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 288 จะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 55 ด้วย ในชั้นนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้นำยึดสิทธิการเช่าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิการเช่าของผู้ร้องตามสัญญาเช่าที่ทำกับจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าช่วง ดังนี้ยังไม่มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดสิทธิการเช่าช่วง: สิทธิของผู้เช่าช่วงเมื่อเจ้าหนี้ยึดสิทธิการเช่าของผู้ให้เช่าช่วง
แม้ผู้ร้องจะมีสิทธิการเช่าอาคารตามสัญญาเช่าที่ทำกับจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าช่วงก็ตาม ในการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึด สิทธิ การเช่าอาคารดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตาม คำพิพากษา นั้นหาได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิการเช่าของผู้ร้องแต่ ประการ ใด ไม่จึงยังไม่ได้มีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478-3479/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องคดีอาญาและการพิสูจน์ความร่วมกระทำผิด การฎีกาเฉพาะส่วนนอกฟ้อง
พนักงานอัยการยื่นฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในมูลความผิดเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ดังนี้ พนักงานอัยการไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3478-3479/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมพิจารณาคดีอาญาและการขาดอำนาจฟ้องของอัยการต่อจำเลยที่ไม่ได้ถูกฟ้อง
พนักงานอัยการยื่นฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 1 ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ในมูลความผิดเดียวกัน ศาลชั้นต้นสั่งรวมการพิจารณาเข้าด้วยกัน แล้วพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นยกฟ้องเฉพาะจำเลยที่ 2 ดังนี้พนักงานอัยการไม่มีสิทธิฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้อง