คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย ศิริบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการไม่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
ในวันนัดสืบพยานโจทก์ ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความและพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้ความโดยงดสืบพยาน ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ซึ่งถือว่าไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 227 คำสั่งดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์เห็นว่าชอบที่จะมีการสืบพยานต่อไป ก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ ปรากฎว่าศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 18 มิถุนายน 2533 โดยที่โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา226 (2) แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสถานะที่ดินจาก นส.3ก. เป็นโฉนด ทำให้สิทธิใน นส.3ก. สิ้นสุด แม้มีการโอนโดยสุจริต
เดิมที่พิพาทเป็นที่ดินของ ธ. ซึ่งมีเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต่อมา ธ. ยื่นคำร้องขอออกเป็นโฉนดที่ดิน และเจ้าพนักงานที่ดินได้ออกโฉนดที่ดินของที่พิพาทให้ธ.แล้วต่อมาธ. ได้นำโฉนดที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้แก่ธนาคาร ก. จากนั้นจำเลยฟ้องคดีแพ่งให้ ธ.ชำระหนี้ตามเช็ค ส่วนธนาคาร ก. ก็ฟ้อง ธ. ให้ชำระหนี้กับบังคับจำนองและยึดที่ดินตามโฉนดที่จำนองไว้ ต่อมาจำเลยชนะคดีและนำยึดที่ดินพิพาทของ ธ. ตามหลักฐานใบแทน น.ส.3 ก.ที่สำนักงานที่ดินอำเภอออกให้ จำเลยได้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลในคดีที่จำเลยนำยึด และศาลชั้นต้นก็ได้มีหนังสือแจ้งให้พนักงานที่ดินอำเภอโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้วต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีที่ธนาคาร ก. นำยึดและเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วเช่นกัน ดังนี้เมื่อในวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยนั้น ธ. ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ไปขอออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวแล้ว ย่อมมีผลให้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทรวมตลอดไปถึงใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทเป็นอันยกเลิกไป แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากการซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินพิพาทไม่และไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงเอกสารสิทธิจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นโฉนดที่ดิน ส่งผลให้สิทธิเดิมสิ้นสุด แม้จะมีการจดทะเบียนรับโอนโดยสุจริต
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ธ. มีเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต่อมา ธ. ขอออกเป็นโฉนดที่ดิน แล้ว ธ. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้แก่ธนาคาร ส่วนจำเลยได้ฟ้อง ธ.ให้ชำระหนี้ตามเช็ค และธนาคารก็ฟ้อง ธ.ให้ชำระหนี้กับมีคำขอให้บังคับจำนองหลังจากที่จำเลยชนะคดีแล้วจำเลยนำยึดที่ดินพิพาทตามหลักฐานใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดในคดีที่จำเลยนำยึด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์ ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีที่ธนาคารบังคับจำนองดังนี้ เมื่อในวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทนั้น ธ.เจ้าของที่ดินพิพาทตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ไปขอออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวที่สำนักงานที่ดินจังหวัดก่อนแล้ว ย่อมมีผลให้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทรวมตลอดไปถึงใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทเป็นอันยกเลิกไป แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากการซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินพิพาทไม่ และไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายจำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การออกโฉนดที่ดินย่อมทำให้ น.ส.3ก. เป็นอันยกเลิก แม้มีการซื้อขายจากการขายทอดตลาด
เดิมที่ดินพิพาทเป็นของ ธ. มีเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ต่อมา ธ. ขอออกเป็นโฉนดที่ดินแล้ว ธ. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันหนี้แก่ธนาคารส่วนจำเลยได้ฟ้อง ธ.ให้ชำระหนี้ตามเช็คและธนาคารก็ฟ้องธ.ให้ชำระหนี้กับมีคำขอให้บังคับจำนองหลังจากที่จำเลยชนะคดีแล้วจำเลยนำยึดที่ดินพิพาทตามหลักฐานใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเลยซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดในคดีที่จำเลยนำยึด ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์ ต่อมาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีที่ธนาคารบังคับจำนอง ดังนี้ เมื่อในวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินพิพาทนั้นธ. เจ้าของที่ดินพิพาทตามใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ไปขอออกโฉนดที่ดินแปลงดังกล่าวที่สำนักงานที่ดินจังหวัดก่อนแล้ว ย่อมมีผลให้หนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทรวมตลอดไปถึงใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิสำหรับที่ดินพิพาทเป็นอันยกเลิกไป แม้จำเลยจะได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทจากการซื้อทรัพย์สินในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริตก็หามีผลบังคับแก่ที่ดินพิพาทไม่ และไม่มีผลผูกพันตามกฎหมายจำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้แชร์และการคิดดอกเบี้ย ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์ไม่ใช่มูลหนี้การกู้ยืมเงินตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมอยู่ในมูลหนี้ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราช-บัญญัติดังกล่าว
มูลหนี้เดิมเกิดจากจำเลยที่ 1 ร่วมเล่นแชร์กับโจทก์ แล้วจำเลย-ที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าแชร์ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถือว่าโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ค่าแชร์ การชำระหนี้ด้วยเช็คเช่นนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงอาศัยมูลหนี้เดิมตามสัญญาการเล่นแชร์หาได้ฟ้องให้รับผิดตามเช็คไม่ อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมาย-บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 เดิม (มาตรา 193/30 ใหม่) เมื่อนับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ครั้งสุดท้าย และเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยในสัญญารับสภาพหนี้ที่ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน และอายุความฟ้องเรียกค่าแชร์
มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์ไม่ใช่มูลหนี้การกู้ยืมเงินตามความหมายของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 การที่โจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี รวมอยู่ในมูลหนี้ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว มูลหนี้เดิมเกิดจากจำเลยที่ 1 ร่วมเล่นแชร์กับโจทก์ แล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คชำระหนี้ค่าแชร์ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถือว่าโจทก์ยังไม่ได้รับชำระหนี้ค่าแชร์ การชำระหนี้ด้วยเช็คเช่นนี้ไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่ โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงอาศัยมูลหนี้เดิมตามสัญญาการเล่นแชร์หาได้ฟ้องให้รับผิดตามเช็คไม่ อายุความเกี่ยวกับการฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/30ใหม่) เมื่อนับตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามชำระหนี้บางส่วนให้โจทก์ครั้งสุดท้าย และเป็นวันที่โจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 30กรกฎาคม 2530 ซึ่งเป็นวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยจากการเล่นแชร์ไม่ขัดกฎหมายดอกเบี้ยเกินอัตรา และอายุความฟ้องเรียกค่าแชร์ 10 ปี
โจทก์คิดดอกเบี้ยจากลูกหนี้การเล่นแชร์อัตราร้อยละ 18 ต่อปีได้ ไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราพ.ศ. 2475 เพราะไม่ใช่มูลหนี้การกู้ยืมเงินตามความหมายของกฎหมายดังกล่าว อายุความฟ้องเรียกเงินค่าแชร์ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจลงนามแทนโจทก์ และการคำนวณระยะเวลาปฏิบัติราชการตามสัญญารับทุน
กรมโจทก์มี ผ.เป็นอธิบดีผ.มีคำสั่งมอบให้ช.รองอธิบดีรักษาราชการแทน ช.จึงมีอำนาจเช่นเดียวกับผ. ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 44 วรรคแรก และ ช.มีอำนาจมอบให้ข้าราชการของโจทก์ ลงชื่อในสัญญารับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 ทำสัญญารับทุนจากโจทก์ไปศึกษายังต่างประเทศโดยสัญญาว่าเมื่อสำเร็จแล้วจะกลับมารับราชการในส่วนราชการที่โจทก์กำหนดมีกำหนดระยะเวลา 2 เท่า แม้ระหว่างศึกษาจำเลยที่ 1จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการก็ตาม แต่มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญารับทุน จำเลยที่ 1จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษามารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงภายหลังสำเร็จการศึกษาได้ ลูกหนี้ชั้นต้นผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์เพียงใด ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1988/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันทุนการศึกษา: อำนาจผู้ลงนาม, การปฏิบัติตามสัญญา, และขอบเขตการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 ได้รับทุนการศึกษาภายใต้แผนโคลัมโบ ซึ่งเป็นทุนที่รัฐบาลออสเตรเลียมอบให้แก่รัฐบาลไทยเพื่อคัดเลือกบุคคลไปศึกษา รัฐบาลไทยจึงมีส่วนได้เสียในทุนดังกล่าว โจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยมีอำนาจหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ เมื่อจำเลยที่ 1เป็นผู้สอบคัดเลือกได้และได้ทำสัญญาการรับทุนกับโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อสัญญา จำเลยที่ 2 ผู้ทำสัญญาค้ำประกันความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์จึงต้องรับผิดตามข้อความในสัญญาที่ทำไว้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาและไม่ยอมชดใช้เงินตามข้อตกลงในสัญญา จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ขณะทำสัญญา ผ. เป็นอธิบดีกรมโจทก์ ได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ช. รองอธิบดีรักษาราชการแทน ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 44 วรรคแรกบัญญัติให้ผู้รักษาราชการแทนมีอำนาจเช่นเดียวกับผู้ที่ตนแทน ช.จึงมีอำนาจมอบให้ ช. ซึ่งเป็นวิทยากรพิเศษลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทน ช. จึงลงลายมือชื่อในสัญญาการรับทุนและสัญญาค้ำประกันแทนโจทก์ได้ สัญญาค้ำประกันจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษาต่อแม้จะยังคงมีสถานะเป็นข้าราชการและรับเงินเดือนอยู่ก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นการเข้ารับราชการหรือปฏิบัติราชการตามความหมายในสัญญาการรับทุน จึงไม่อาจนำเวลาที่ลาไปศึกษาต่อมารวมกับเวลาที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติราชการจริงได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ตามสัญญาการรับทุนจะต้องรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญาการรับทุนทั้งหมด เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดและต้องรับผิดในดอกเบี้ยต่อโจทก์นับแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2530 จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาท: การแผ้วถางโดยสุจริต และการพิสูจน์การปลูกพืชเพื่อเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ เมื่อพยานหลักฐานที่โจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยนำสืบมา เห็นได้ว่าโจทก์ร่วมและจำเลยยังเถียงการครอบครองอยู่ การที่จำเลยเข้าไปแผ้วถางในที่พิพาทก็เข้าใจโดยสุจริตว่าที่พิพาทเป็นที่ของจำเลยการกระทำของจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก พยานโจทก์และโจทก์ร่วมฟังไม่ได้ว่า ต้นไม้และกอไผ่ในที่พิพาทบิดาโจทก์ร่วมหรือโจทก์ร่วมได้ปลูกไว้ หากแต่เป็นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ การที่จำเลยเข้าไปแผ้วถางเพื่อยึดถือครอบครองทำประโยชน์จึงไม่เป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามฟ้อง
of 20