คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย ศิริบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1356/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี โดยใช้อาวุธและไม่ยินยอม ความผิดตามมาตรา 277 วรรคสาม
ผู้เสียหายเป็นบุตรติด จ. แล้ว จ. มาอยู่กินฉันสามีภรรยากับจำเลย อำนาจปกครองผู้เสียหายตกแก่ จ.ผู้เป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1568การที่จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายอายุยังไม่เกินสิบสามปีโดยใช้อาวุธและโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม จำเลยย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสามเท่านั้น กรณี ไม่ต้องด้วยมาตรา 285

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนในคดีอาญาไม่ปลดเปลื้องหนี้ตามสัญญาจำนอง
ศาลได้พิพากษาในคดีนี้ ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดใช้เงินจำนวน 15,000,000 บาท แก่โจทก์ มิฉะนั้นให้บังคับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 7 ตามสัญญาจำนองในวงเงิน 1,000,000 บาทที่จำเลยที่ 7 ได้ชำระเงินจำนวน 600,000 บาท ในคดีที่จำเลยที่ 3ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับเช็คก็เป็นเหตุให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกัน หาเป็นการปลดเปลื้องหนี้ตามสัญญาจำนองที่ดินจากเดิมคงเหลือ 400,000 บาทไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1327/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินและการชำระหนี้บางส่วน ไม่ปลดเปลื้องหนี้ทั้งหมด แม้คดีอาญาที่เกี่ยวข้องจะเลิกกัน
ศาลได้พิพากษาในคดีนี้ ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 รับผิดใช้เงินจำนวน 15,000,000 บาท แก่โจทก์ มิฉะนั้นให้บังคับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 7ตามสัญญาจำนองในวงเงิน 1,000,000 บาท ที่จำเลยที่ 7 ได้ชำระเงินจำนวน600,000 บาท ในคดีที่จำเลยที่ 3 ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาในความผิดเกี่ยวกับเช็คก็เป็นเหตุให้คดีอาญาดังกล่าวเลิกกัน หาเป็นการปลดเปลื้องหนี้ตามสัญญาจำนองที่ดินจากเดิมคงเหลือ 400,000 บาท ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1146/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานเบียดบังเงินภาษีที่รับชำระจากผู้เสียภาษี มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และ 157
จำเลยได้รับแต่งตั้งให้รักษาการตำแหน่งสมุห์บัญชีอำเภอ มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรส่งคลังจังหวัด เมื่อรับเงินค่าภาษีแล้วต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้ชำระเงินบางราย จำเลยไม่ออกให้บางรายออกให้ไม่ตรงตามจำนวนเงินที่รับไว้แล้วเบียดบังเอาเงินนั้นไป จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เบียดบังทรัพย์เป็นประโยชน์ตนโดยทุจริต มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,157 เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 147 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 961/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อผิดพลาดเลขทะเบียนรถในฟ้อง ไม่ใช่ข้อแตกต่างสาระสำคัญ หากจำเลยต่อสู้เรื่องเหตุสุดวิสัย ศาลลงโทษได้
กรณีฟ้องว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัสนั้น สาระสำคัญอยู่ที่ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมได้รับอันตรายสาหัสหรือไม่ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายหมายเลขทะเบียนรถผิดไปจากข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณา ก็หาเป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญไม่ เมื่อจำเลยนำสืบต่อสู้ว่าพวงมาลัยไม่สามารถบังคับรถได้ จึงถือว่าจำเลยมิได้หลงข้อต่อสู้ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานสอบสวนทำลายหลักฐานช่วยเหลือผู้ต้องหา และปฏิบัติหน้าที่มิชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 139 บัญญัติว่าให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้ดังนั้น จำเลยที่ 1 ในฐานะพนักงานสอบสวนจึงต้องนำบันทึกคำให้การซึ่งเป็นบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาฉบับเดิมที่จำเลยที่ 1 เป็นคนร่วมสอบสวนและบันทึกรวมเข้าสำนวนไว้ จำเลยที่ 1จะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้วของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้ ย่อมไม่อาจกระทำได้ การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหา ซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษา โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200วรรคแรก และทำให้ผู้กล่าวหาและกรมตำรวจเสียหายอันเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามมาตรา 157 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล/คณะกรรมการ, ที่ดินพิพาท, ข้อเท็จจริงนอกฟ้อง, อำนาจพิจารณา, การซื้อขายที่ดิน
เมื่อข้อเท็จจริงในเรื่องที่โจทก์ทั้งสองได้ขายที่ดินพิพาทคืนนาง ร. เจ้าของเดิมตามคำพิพากษาตามยอมลงวันที่ 27 ธันวาคม 2531เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19สิงหาคม 2531 และไม่เกี่ยวข้องกับการที่โจทก์ ทั้งสองซื้อที่ดินพิพาทมาจากนาง ร. เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2530 อันเป็นมูลกรณีพิพาทตามฟ้อง ดังนั้น ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่เกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์ทั้งสองได้ขายที่ดินพิพาทคืน นาง ร.จึงเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงและโจทก์ทั้งสองฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัยให้ โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่ามติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้ และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดปทุมธานีใช้บังคับแก่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ ดังนั้นปัญหาที่ว่ามติดังกล่าวมิได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินพิพาทไว้ หรือคำวินิจฉัยข้างต้นวินิจฉัยเพียงว่าให้ผู้เช่าทั้งห้าซื้อที่นาพิพาทจำนวนประมาณ 112 ไร่คืน จึงมิใช่สาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เมื่อฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยต่างยอมรับข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทอยู่ในตำบลหน้าไม้ และคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอของโจทก์ที่ 22-26 ได้ แม้โฉนดที่ดินพิพาทจะระบุว่าอยู่ที่ตำบลระแหงแต่โฉนดดังกล่าวก็ออกตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2467 แต่ขณะที่จำเลยที่ 22-26 ร้องต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้ ที่ดินพิพาทคงอยู่ในตำบลหน้าไม้ การที่โจทก์ทั้งสองฎีกาว่าคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลหน้าไม้ไม่มีอำนาจพิจารณากรณีที่พิพาทของที่ดินดังกล่าวได้ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีความรับผิดทางละเมิด: การนับระยะเวลาเริ่มจากวันที่โจทก์ทราบความเสียหายและตัวผู้กระทำละเมิด
จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเสียหาย มีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งขึ้น 2 ชุดคณะกรรมการสอบสวนชุดแรกทำบันทึกเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและ ย. ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้ดำเนินการต่อผู้ที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2527 ส่วนรายงานของคณะกรรมการชุดหลังได้มีการบันทึกเสนอ และ ย.ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้ดำเนินการหลังจากนั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบความเสียหายและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน2527 ต่อมา ย. ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้กรมการปกครองโจทก์ที่ 2 ทราบความเสียหายและบุคคลผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2527 ส่วนโจทก์ที่ 3 ไม่ปรากฏว่าทราบตัวต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อใด แต่ได้ความว่า ย.ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แจ้งผลการสอบสวนให้โจทก์ที่ 3 ทราบ จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 ทราบตัวผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหลังจากวันที่13 กันยายน 2527 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2528จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหาย: เริ่มนับเมื่อทราบตัวผู้ต้องรับผิด
จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัดเสียหาย มีการตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และหาตัวผู้รับผิดทางแพ่งขึ้น 2 ชุด คณะกรรมการสอบสวนชุดแรกทำบันทึกเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัด และ ย.ในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้ดำเนินการต่อผู้ที่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2527ส่วนรายงานของคณะกรรมการชุดหลังได้มีการบันทึกเสนอ และ ย.ผู้ว่าราชการ-จังหวัดมีคำสั่งให้ดำเนินการหลังจากนั้น ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 ทราบความเสียหายและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 2527 ต่อมา ย.ในฐานะผู้ว่าราชการ-จังหวัดแจ้งให้กรมการปกครองโจทก์ที่ 2 ทราบความเสียหายและบุคคลผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2527 ส่วนโจทก์ที่ 3 ไม่ปรากฏว่าทราบตัวผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายเมื่อใด แต่ได้ความว่า ย.ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แจ้งผลการสอบสวนให้โจทก์ที่ 3 ทราบ จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 3 ทราบตัวผู้ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหลังจากวันที่ 13 ก.ย. 2527 โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 ก.ย. 2528 จึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องต้องอ้างผิดที่เกิดก่อนวันฟ้อง การรับสารภาพภายหลังไม่ถือเป็นความผิด
การฟ้องขอให้ลงโทษผู้ใด ต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นได้กระทำผิดมาแล้วก่อนวันเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้อง การที่โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นพิจารณาวินิจฉัยได้ อีกทั้งการที่จำเลยรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด จึงพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
of 20