คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย ศิริบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4704/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด การเปลี่ยนแปลงวิธีการบังคับคดี
ศาลพิพากษาถึงที่สุด และกำหนดวิธีการบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้วจึงไม่อาจจะเปลี่ยนหรือกำหนดวิธีการบังคับคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เหตุสุดวิสัย ทนายความเพิ่งได้รับมอบอำนาจและสำเนาคำพิพากษา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากฎีกาไม่ชัดแจ้ง
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ยื่นเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยคำร้องขอขยายระยะเวลาจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าศาลชั้นต้นใช้เวลาพิจารณาพิพากษา2 ปี จำเลยที่ 1 แต่งทนายความชั้นอุทธรณ์ในระยะกระชั้นชิดทนายจำเลยที่ 1 ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ในระยะเวลาได้ จึงเป็นเหตุสุดวิสัยนั้น ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องด้วยข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายประการใดบ้าง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น ทางสาธารณะ และการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาล: การเปิดทางพิพาทที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายรายและผ่านที่ดิน น.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้" ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฯลฯ 2. โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3. ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภารจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วย แต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่าโจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใด ตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วยซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏในน.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ 1 เมตรเศษนอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกประเด็น: ศาลมิอาจวินิจฉัยประเด็นที่มิได้กำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถาน แม้คู่ความมิได้โต้แย้ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินของโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินของจำเลยเข้าออกไปยังที่ดินของโจทก์ตลอดมาตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายน 2526 จำเลยได้ปิดกั้นทาง ทำให้โจทก์ไม่อาจนำรถยนต์เข้าไปขนส่งพืชผลออกจากที่ดินของโจทก์ได้คำบรรยายฟ้องดังกล่าวแสดงว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นจำเลยให้การปฏิเสธ ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นและหรือทางภารจำยอมหรือไม่ โดยมิได้กำหนดว่าเป็นทางสาธารณะ หรือไม่ไว้ด้วย แต่เมื่อทำคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เพิกถอน ประเด็นข้อพิพาทสองข้อดังกล่าวเสียแล้วกำหนดใหม่รวมเข้าเป็น ข้อเดียวกันในคำพิพากษาว่า โจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาท ได้หรือไม่ ตามประเด็นใหม่นี้ได้ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วย ซึ่งเดิมมิให้กำหนด และคู่ความมิได้โต้แย้งไว้ อันถือได้ว่าคู่ความได้สละประเด็น ดังกล่าวแล้ว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกลับนำประเด็นข้อที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ขึ้นมาวินิจฉัยอีกย่อมเป็น การวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4643/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็นและการเปลี่ยนแปลงประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีกาพิจารณาตามประเด็นเดิมได้
ป.พ.พ. มาตรา 1349, 1387ป.วิ.พ. มาตรา 142, 182, 183, 243 (1)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์อยู่ในที่ปิดล้อม ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะ โจทก์ใช้เส้นทางผ่านที่ดินของบุคคลอื่นหลายราย และผ่านที่ดินน.ส.3 ของจำเลยเข้าสู่ที่ดินของโจทก์ตามเส้นทางที่ระบุว่า "ทางชักลากไม้"ตั้งแต่ปี 2508 ถึง เดือนมิถุนายน 2526 โดยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าเกี่ยวข้องคัดค้านตามคำบรรยายฟ้องแสดงให้เห็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า ฯลฯ 2.โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ 3.ทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่พิพาทเอกสารหมาย จ.ล.1 เป็นทางจำเป็นและหรือทางภาระจำยอมหรือไม่ ฯลฯ โดยมิได้กำหนดว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ไว้ด้วยแต่ครั้นเมื่อทำคำพิพากษา ศาลชั้นต้นให้เพิกถอนประเด็นข้อ 2 ข้อ 3 เสียแล้วกำหนดประเด็นสองข้อนี้เสียใหม่เป็นว่า โจทก์มีอำนาจให้จำเลยเปิดทางพิพาทตามเส้นประสีเหลืองในแผนที่เอกสารหมาย จ.ล.1 ได้หรือไม่เพียงใดตามประเด็นใหม่ครอบคลุมประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่เข้าไปด้วย ซึ่งประเด็นข้อนี้เดิมศาลไม่ได้กำหนดไว้ คู่ความมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าคู่ความสละไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นนำประเด็นข้อที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ มาวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว ประกอบกับคู่ความได้นำสืบพยานหลักฐานตามประเด็นที่ศาลกำหนดไว้ตอนแรกครบถ้วนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่จำต้องย้อนสำนวน
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทาง-สาธารณะได้ โจทก์ได้ใช้ทางพิพาทหรือทางชักลากไม้ที่ปรากฏใน น.ส.3 ผ่านเข้าออกสู่ที่ดินของโจทก์ตั้งแต่ปี 2508 จนถึงเดือนมิถุนายนปี 2526 แม้จะมีทางอื่นเข้าออกได้อีกทางหนึ่ง แต่ก็เป็นทางเดินขึ้นเขามีลักษณะลาดชัน ไม่อาจใช้รถยนต์วิ่งผ่านได้และไกลกว่าทางพิพาท ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
สภาพทางพิพาทเป็นทางที่ชาวบ้านลากไม้ กว้างประมาณ1 เมตรเศษ นอกจากร่องรอยทางเดินเท้าแล้ว ไม่มีร่องรอยทางรถยนต์ ปรากฏตามรายงานการเผชิญสืบของศาลว่าทางพิพาทก็กว้าง 1.50 เมตร ศาลชั้นต้นกำหนดความกว้างของทางพิพาทให้ 1.50 เมตร เป็นการสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โต้เถียงข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์เกี่ยวกับอาวุธปืนและการครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทกฎหมายบางกระทง มิได้แก้โทษจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เอกสารหมาย ปจ.1ไม่เป็นเอกสารสำหรับอาวุธปืนของกลาง และฟังไม่ได้ว่าจำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์ สวัสดิ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์จำเลยนำอาวุธปืนของกลางพร้อมเอกสารหมาย ปจ.1 มายื่นคำร้องขอซื้ออาวุธปืนของกลางจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมีหนังสืออนุญาตให้ไปขอรับโอนซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ยังไม่ได้โอนเป็นชื่อของจำเลย อาวุธปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายนับว่าเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยวางอาวุธปืนของกลางในรถคันที่จำเลยขับ ซึ่งจอดอยู่หน้าร้านอาหาร ส่วนจำเลยกับพวกนั่งรับประทานอาหารในร้านดังกล่าว ไม่มีทรัพย์สินมีค่าในรถ การพาอาวุธปืนติดตัวไปถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามพฤติการณ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมิดชิดไม่เปิดเผยเพื่อป้องกันทรัพย์สินของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะสรุปโดยง่ายว่าเป็นความผิดและไม่มีเหตุสมควรเร่งด่วน เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 218 วรรคแรก กรณีโต้เถียงข้อเท็จจริงและดุลพินิจศาลอุทธรณ์ในคดีอาวุธปืน
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะบทกฎหมายบางกระทง มิได้แก้โทษจึงต้องห้าม มิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรกศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า เอกสารหมาย ปจ.1 ไม่เป็นเอกสารสำหรับอาวุธปืนของกลาง และฟังไม่ได้ว่าจำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์สวัสดิ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้ออาวุธปืนของกลางจากนายสมพงษ์จำเลยนำอาวุธปืนของกลางพร้อมเอกสารหมาย ปจ.1 มายื่นคำร้องขอซื้ออาวุธปืนของกลางจากพนักงานเจ้าหน้าที่และมีหนังสืออนุญาตให้ไปขอรับโอนซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ แม้ยังไม่ได้โอนเป็นชื่อของจำเลยอาวุธปืนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายนับว่าเป็นฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยวางอาวุธปืนของกลางในรถคันที่จำเลยขับ ซึ่งจอดอยู่หน้าร้านอาหาร ส่วนจำเลยกับพวกนั่งรับประทานอาหารในร้านดังกล่าว ไม่มีทรัพย์สินมีค่าในรถ การพาอาวุธปืนติดตัวไปถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามพฤติการณ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยพาอาวุธปืนของกลางไปโดยมิดชิดไม่เปิดเผยเพื่อป้องกันทรัพย์สินของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่ไม่อาจจะสรุปโดยง่ายว่าเป็นความผิดและไม่มีเหตุสมควรเร่งด่วน เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนการเลือกตั้งและผลกระทบต่อสิทธิผู้สมัคร: การรับสมัครใหม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อย แห่งชาติได้มีประกาศรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 19 เมื่อวันที่ 23กุมภาพันธ์ 2534 ให้เลื่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาจังหวัดสมาชิกสภาเทศบาล และกรรมการสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรออกไปโดยไม่มีกำหนดจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ให้คณะผู้บริหารชุดเดิมยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป และในกรณีที่มีตำแหน่งว่าง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งผู้มีคุณสมบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นดำรงตำแหน่งแทน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตได้มีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลผู้มีชื่อจำนวน 9 คน ให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการสุขาภิบาลป่าตองที่จะมาจากการเลือกตั้งตามมาตรา 7(4) แห่งพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ. 2495 แล้ว ดังนี้ ประกาศจังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2533 เรื่องให้เลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลป่าตองเนื่องจากกรรมการสุขาภิบาลป่าตองที่มาจากการเลือกตั้งเดิมได้ออกตามวาระจึงถือว่ายกเลิกไปตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 19 แม้ต่อมาจะมี พระราชบัญญัติยกเลิกประกาศดังกล่าว ก็หาทำให้การสมัครรับเลือกตั้งตามประกาศจังหวัดภูเก็ตเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2533 กลับมีผลขึ้นอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของการประกาศ คสช. ต่อการเลือกตั้งสุขาภิบาล และผลของ พ.ร.บ. ยกเลิกประกาศ คสช.
เมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติประกาศให้เลื่อนการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรออกไปโดยไม่มีกำหนด จึงเป็นการยกเลิกประกาศจังหวัดภูเก็ตที่ให้เลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลที่โจทก์เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งคนหนึ่ง แม้ต่อมาจะมี พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 19 และฉบับที่ 20 ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534 โดยมาตรา 4 ให้จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสุขาภิบาลแทนผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งได้รับแต่งตั้งโดยผลของประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 19 ก็ตาม ก็ได้มีการรับสมัครเลือกตั้งเพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งชอบด้วยกฎหมายมีผลบังคับได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาเจตนาในการกระทำเพื่อลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยกับพวกไล่ชกผู้ตายจนถอยหลังตกคลอง เป็นเหตุให้ผู้ตายจมน้ำตาย การตายของผู้ตายเป็นผลโดยตรงจากการที่จำเลยกับพวกไล่ชกผู้ตาย การกระทำของจำเลยกับพวกเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้ตายโดยมิได้มีเจตนาฆ่าศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ได้
of 20