พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250-251/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ อาวุธปืน: ศาลฎีกาพิจารณาความถูกต้องของการปรับบทและข้อจำกัดการฎีกา
ฟ้องว่าจำเลยมีและใช้อาวุธปืนปล้นทรัพย์ แต่ไม่ระบุว่าเป็นอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ อันจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 78 วรรคสามดังนี้ จึงลงโทษจำเลยหนักขึ้นไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษหนักขึ้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยฐานพาอาวุธปืนโดยผิดกฎหมายไม่เกิน5 ปี การที่จำเลยฎีกาว่ามิได้พาอาวุธปืน ซึ่งเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 และในกรณีศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ แต่จำเลยกลับฎีกาโต้แย้งว่ามิได้มีอาวุธปืนสั้นซึ่งมีนายทะเบียนของบุคคลอื่นไว้ในครอบครองดังนี้ถือว่าฎีกาที่ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตฐานฉ้อโกงประชาชน ต้องพิสูจน์การหลอกลวงโดยแสดงข้อความเท็จ หรือปกปิดความจริง
เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจดำเนินการสร้างอาคารชุดต่อไปได้เพราะขาดทุนดำเนินการ และ ส. ประธานกรรมการหลบหนีไปก็ได้รีบดำเนินการงดรับเงินค่าซื้ออาคารชุดงวดต่อ ๆ มาต่อผู้เสียหาย และยังหาทางชดใช้เงินผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่มีเจตนากระทำผิดฐานฉ้อโกงประชาชนและเป็นเพียงผู้ลงชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายเป็นคู่สัญญากับผู้เสียหายเท่านั้นหากจะฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก็เป็นเรื่องซึ่งจะต้องว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไป จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล ความประสงค์หรือการกระทำของจำเลยที่ 1 แสดงออกโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 กระทำผิดตามฟ้องจึงเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ความผิดหลายกรรม, โจทก์มิได้ฟ้องทุกกรรม ศาลลงโทษกรรมเดียวได้
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทุกกรรม ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำเลยได้เพียงกรรมเดียวเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน: พฤติการณ์ติดตาม ยิงขณะอยู่ในที่คับขัน และความแค้นส่วนตัว
จำเลยกับพวกร่วมกันขับรถยนต์ติดตามรถยนต์ ล. ถึง 3 กิโลเมตรและใช้อาวุธปืนยิง ล. 2 ครั้ง โดยเฉพาะครั้งหลัง เป็นการยิงขณะ ล. อยู่ในหนองน้ำไม่อาจหลบหนีได้อีก เป็นการส่อให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะฆ่า ล. ให้ได้ เมื่อประกอบกับพฤติการณ์ที่จำเลยประกาศชื่อตน และถาม ล. ว่า ล. เป็นผู้ฆ่าบิดามารดาและ น้องสาวจำเลยทำไม ทั้งได้ความว่าจำเลยตามฆ่า ล.มา 3 ปีแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) จำเลยยิง ล. แต่กระสุนปืนพลาดไปถูก จ. ถึงแก่ความตายจำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า จ. โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ประกอบมาตรา 60 กระทงหนึ่งต่อมาจำเลยกับพวกร่วมกันใช้อาวุธปืนยิง ล. บาดเจ็บและถึงแก่ความตายในภายหลัง จำเลยจึงมีความผิดฐานฆ่า ล. โดยไตร่ตรองตามมาตรา 289(4) อีกกระทงหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแต่โจทก์มิได้ฟ้องหรืออุทธรณ์ฎีกาประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทุกกรรม จึงไม่อาจลงโทษจำเลยเป็นแต่ละกรรมได้ คงลงโทษจำเลยฐานฆ่า ล. และ จ. โดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้าง vs. นายจ้าง: การพิจารณาความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนและสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
โจทก์เป็นผู้อำนวยการธนาคารจำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างตามคำนิยาม"นายจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2แต่ก็เป็นนายจ้างของพนักงานของจำเลยมิใช่เป็นนายจ้างของจำเลยฐานะระหว่างโจทก์และจำเลยนั้น โจทก์ก็เป็นผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่จำเลยเพื่อรับค่าจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลยตามคำนิยาม "ลูกจ้าง" ในประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชยย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยของจำนวนเงินค่าชดเชยนั้นในอัตราร้อยละ 7 ครึ่งต่อปี นับแต่วันที่1 ตุลาคม 2528 ซึ่งเป็นวันเลิกจ้างเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยเฉพาะส่วนที่นับจากวันที่ฟ้องย้อนหลังไปเกินกว่า 5 ปี จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 166
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันพระบรมราชโองการห้ามฟ้องร้องที่ดินฮวงซุ้ยและการครอบครองปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินพิพาทให้ ร. โดยมีพระบรมราชโองการให้ใช้ที่ดินเป็นฮวงซุ้ย ฝังศพบุคคลในตระกูลของร. ตลอดไป ไม่พึงประสงค์ให้บุคคลภายนอกคนใดคนหนึ่งละเมิดสิทธิทำลายรื้อถอนสิ่งที่บุคคลในตระกูลของร.ก่อสร้างในที่ดินดังกล่าว และต่อมา ร. ได้ทำพินัยกรรมแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูล ต่างมีสิทธิร่วมกันในที่ดินพิพาทไม่ให้โอนขายจำหน่ายที่ดินดังกล่าว อันเป็นการไม่ประสงค์ให้ที่ดินพิพาทเปลี่ยนมือ โดยมีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรม และมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพของบุคคลในตระกูลของร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรมหากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรม ดังนี้พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช มี ผลเด็ดขาดตามกฎหมายเมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านเองหรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใด อันมีเจตนารมณ์ ยกเลิกเพิกถอน โดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมมีผลอยู่ ซึ่งพระบรมราชโองการดังกล่าวมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการอ้างการครอบครองปรปักษ์ด้วย ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ที่พิพาทขึ้นต่อสู้โจทก์ ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ร. ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินสงวนตามพินัยกรรมและพระบรมราชโองการ: ป้องกันการครอบครองปรปักษ์
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินให้ ร. เพื่อใช้เป็นฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลของร.ตลอดไปพินัยกรรมของร. ที่ทำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6ในเวลาต่อมามีข้อความว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นที่กลางสำหรับตระกูลมิให้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใดในตระกูลเป็นอันขาดแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูลต่างมีส่วนร่วมในที่ดินไม่ให้โอนขายจำหน่าย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการข้อความว่าพินัยกรรมเป็นการทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมาย ถ้าจะมีผู้ใดไปฟ้องร้องว่ากล่าวขอให้เปลี่ยนแปลงไปจากความประสงค์ของ ร. ห้ามอย่าให้ผู้พิพากษารับไว้พิจารณาไว้พิจารณาให้ผิดไปจากความประสงค์นี้ แสดงถึงการที่ทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรม และมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพในตระกูลของร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรม หากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรม พระบรมราชโองการดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ด้วย ที่ดินพิพาทจึงไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้ พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมาย เมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์หรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดอันมีเจตนารมณ์ยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้ว พระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 1 และบรรพ 4 เป็นกฎหมายทั่วไปที่มีผลเพียงยกเลิกกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีข้อความใดระบุให้ยกเลิกพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีผลอย่างกฎหมายแต่อย่างใด ข้อความในพระบรมราชโองการจึงยังมีผลบังคับอยู่ จำเลยทุกคนไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. การที่จำเลยและบริวารเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและได้ขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่สามารถจะทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทายาทของ ร. เจ้าของที่ดินพิพาทจะมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปหาผลประโยชน์ตามที่ ร. ทำพินัยกรรมระบุไว้ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346-1377/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามพินัยกรรมและพระบรมราชโองการ: การครอบครองปรปักษ์ไม่อาจล้มล้างสิทธิเดิมได้
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5ทรงมีพระบรมราชโองการพระราชทานที่ดินให้ ร. เพื่อใช้เป็นฮวงซุ้ยฝังศพบุคคลในตระกูลของ ร. ตลอดไปพินัยกรรมของ ร. ที่ทำขึ้นทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่6ในเวลาต่อมามีข้อความว่าให้ที่ดินพิพาทเป็นที่กลางสำหรับตระกูลมิให้เป็นทรัพย์สมบัติส่วนตัวของผู้หนึ่งผู้ใดในตระกูลเป็นอันขาดแสดงเจตนารมณ์ว่าให้ผู้สืบตระกูลต่างมีส่วนร่วมในที่ดินไม่ให้โอนขายจำหน่ายซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชโองการข้อความว่าพินัยกรรมเป็นการทำถูกต้องตามพระราชกำหนดกฎหมายถ้าจะมีผู้ใดไปฟ้องร้องว่ากล่าวขอให้เปลี่ยนแปลงไปจากความประสงค์ของ ร. ห้ามอย่าให้ผู้พิพากษารับไว้พิจารณาไว้พิจารณาให้ผิดไปจากความประสงค์นี้แสดงถึงการที่ทรงรับรองความถูกต้องของพินัยกรรมและมีพระราชประสงค์ให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ฝังศพในตระกูลของ ร. เป็นการถาวรดั่งข้อความในพินัยกรรมหากมีบุคคลใดก็ตามฟ้องร้องว่ากล่าวเพื่อบังคับเอาที่ดินพิพาทไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ก็ห้ามมิให้ผู้พิพากษารับฟ้องรับวินิจฉัยคดีให้ผิดไปจากพินัยกรรมพระบรมราชโองการดังกล่าวจึงมีพระราชประสงค์รวมถึงการห้ามมิให้ฟ้องร้องเอาที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ด้วยที่ดินพิพาทจึงไม่อาจถูกครอบครองปรปักษ์ได้ พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีผลเด็ดขาดตามกฎหมายเมื่อมิได้มีพระบรมราชโองการของพระองค์หรืออำนาจเด็ดขาดอื่นใดอันมีเจตนารมณ์ยกเลิกเพิกถอนโดยเฉพาะแล้วพระบรมราชโองการนั้นย่อมยังมีผลอยู่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ1และบรรพ4เป็นกฎหมายทั่วไปที่มีผลเพียงยกเลิกกฎหมายกฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีแล้วในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวเท่านั้นไม่มีข้อความใดระบุให้ยกเลิกพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งมีผลอย่างกฎหมายแต่อย่างใดข้อความในพระบรมราชโองการจึงยังมีผลบังคับอยู่จำเลยทุกคนไม่อาจยกอายุความการครอบครองปรปักษ์ขึ้นต่อสู้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ร. การที่จำเลยและบริวารเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทและได้ขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์อันเนื่องมาจากการที่โจทก์ไม่สามารถจะทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าทายาทของ ร. เจ้าของที่ดินพิพาทจะมีสิทธินำที่ดินพิพาทไปหาผลประโยชน์ตามที่ ร. ทำพินัยกรรมระบุไว้ได้หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 664/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการเรียกดอกเบี้ยเกิน 5 ปี แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงและชำระหนี้บางส่วน
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเพียง5 ปี ในชั้นฎีกาโจทก์จะขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันกู้ถึงวันฟ้องซึ่งเป็นเวลาเกินกว่า 5 ปีหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 614/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม: การกระทำความผิดต่างกรรมกัน
จำเลยที่ 2 ลักแบบพิมพ์เช็คของโจทก์ร่วมไปให้จำเลยที่ 1กรอกวันที่ จำนวนเงิน และลงลายมือชื่อปลอมของโจทก์ร่วมเป็นผู้สั่งจ่ายลงในแบบพิมพ์เช็คดังกล่าว โดยจำเลยที่ 2 นำสำเนาภาพถ่ายเช็คที่มีลายมือชื่อโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 1 หัดปลอมลายมือชื่อโจทก์ร่วมก่อนหลังจากปลอมเช็คแล้วจำเลยที่ 2 ได้พาจำเลยที่ 1ไปที่ธนาคารเพื่อเบิกเงินเมื่อเบิกเงินได้แล้วจำเลยที่ 2 ได้เตรียมรถแท็กซี่รออยู่และพากันกลับด้วยกัน จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม จำเลยที่ 2 ลักแบบพิมพ์เช็ค แล้วปลอมเช็คและใช้เช็คปลอมดังกล่าว มีเจตนาแยกต่างหากจากกันได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นความผิดต่างกรรมกัน