คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมชัย ศิริบุตร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 198 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 965/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของบริษัทขนส่งที่เอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าไม่มีใบอนุญาตดำเนินการขนส่ง และลูกจ้างประมาท
จำเลยที่2เป็น บริษัทในเครือบริษัท ค. และตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการจดทะเบียนประกอบกิจการขนส่งให้แก่ลูกค้าที่ซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท ค. ในกรณีลูกค้าอยู่ต่างจังหวัดไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งก็สามารถใช้ชื่อของห้างจำเลยที่2ประกอบกิจการขนส่งจำเลยที่1เป็นลูกค้าที่ซื้อรถยนต์บรรทุกจากบริษัท ค. และประกอบกิจการขนส่งในนามของห้างจำเลยที่2พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่2ได้รับประโยชน์ร่วมกับจำเลยที่1เมื่อลูกจ้างจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกไปใน ทางการที่จ้างโดย ประมาท กรณีถือได้ว่าลูกจ้างของจำเลยที่1เป็นลูกจ้างของจำเลยที่2ด้วยจำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ในผลแห่ง ละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขข้อบังคับอาคารชุดเรื่องค่าใช้จ่ายร่วมกันต้องแยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 แห่ง พ.ร.บ.อาคารชุด
ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 32ชื่อนิติบุคคลอาคารชุดย่อมมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เพียงแต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น และเมื่อพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่ได้กำหนดมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดเป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมใหญ่ให้เปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดจึงต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุมตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องได้รับความยินยอมเห็นชอบจากเจ้าของร่วมทุกคนไม่ ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 มาตรา 18 นั้น แยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสองออกต่างหากจากกันโดยเด็ดขาด และการคิดส่วนค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกัน กล่าวคือ ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่เกิดจากบริการส่วนรวม และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามส่วนแห่งประโยชน์ ที่ไม่ต่อห้องชุดและชำระกันตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมนี้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามมาตรา 32(10) ประกอบด้วยมาตรา 49(1) ส่วนค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ได้แก่ค่าภาษีอากรซึ่งจะต้องจ่ายในนามของอาคารชุดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 กล่าวคือเป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาของห้องชุดแต่ละห้องชุดกับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6 และค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสองนี้ ต้องเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 กำหนดเท่านั้น คือตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 หาใช่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับได้ดังเช่นมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ไม่ ดังนั้น การที่ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยได้นำเอาค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งและมาตรา 18 วรรคสอง มาปะปนกันและให้ตัวอย่างค่าใช้จ่ายปะปนรวม ๆ กันมา จึงทำให้เกิดปัญหา เมื่อจำเลยประสงค์จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่นำเอาค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยข้อบังคับไม่ได้มารวมเข้าด้วย เหตุนี้มติที่ประชุมใหญ่ให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมเฉพาะค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ที่ให้ใช้อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ห้องชุดพื้นที่ซักล้างและพื้นที่จอดรถของอาคารชุดทั้งหมด จึงขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อนิติบุคคลอาคารชุด และการคำนวณค่าใช้จ่ายร่วมกันตาม พ.ร.บ.อาคารชุด
ตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 32 ชื่อนิติบุคคลอาคารชุดย่อมมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้เพียงแต่จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เท่านั้น และเมื่อ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 ไม่ได้กำหนดมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดเป็นอย่างอื่น มติของที่ประชุมใหญ่ให้เปลี่ยนชื่อนิติบุคคลอาคารชุดจึงต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากของเจ้าของร่วมที่เข้าประชุมตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องได้รับความยินยอมเห็นชอบจากเจ้าของร่วมทุกคนไม่
ค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตาม พ.ร.บ. อาคารชุดพ.ศ.2522 มาตรา 18 นั้น แยกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18วรรคสอง ออกต่างหากจากกันโดยเด็ดขาด และการคิดส่วนค่าใช้จ่ายก็แตกต่างกันกล่าวคือ ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่เกิดจากบริการส่วนรวม และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุดและชำระกันตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมนี้สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ตามมาตรา 32 (10) ประกอบด้วยมาตรา 49 (1) ส่วนค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ได้แก่ ค่าภาษีอากรซึ่งจะต้องจ่ายในนามของอาคารชุดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดูแลรักษาทรัพย์ส่วนกลาง และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องร่วมกันออกตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14 กล่าวคือเป็นไปตามอัตราส่วนระหว่างราคาของห้องชุดแต่ละห้องชุด กับราคารวมของห้องชุดทั้งหมดในขณะที่ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามมาตรา 6 และค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18วรรคสองนี้ ต้องเป็นไปตามที่ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 กำหนดเท่านั้น คือตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 14หาใช่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ ซึ่งสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับได้ดังเช่นมาตรา 18 วรรคหนึ่ง ไม่ ดังนั้น การที่ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยได้นำเอาค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสอง มาปะปนกันและให้ตัวอย่างค่าใช้จ่ายปะปนรวม ๆ กันมา จึงทำให้เกิดปัญหา เมื่อจำเลยประสงค์จะเปลี่ยนแปลงข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่นำเอาค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออกตามมาตรา 18วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยข้อบังคับไม่ได้มารวมเข้าด้วย เหตุนี้มติที่ประชุมใหญ่ให้แก้ไขข้อบังคับเกี่ยวกับอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันของเจ้าของร่วมเฉพาะค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคสอง ที่ให้ใช้อัตราส่วนระหว่างพื้นที่ห้องชุดพื้นที่ซักล้างและพื้นที่จอดรถของอาคารชุดทั้งหมด จึงขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและของผู้เสียหายต่างเจ้าของ ถือเป็นความผิดหลายกระทง
จำเลยที่ 1 ปลอมเครื่องหมายการค้า ROLEX ของผู้เสียหายที่ 1เครื่องหมายการค้า must de Cartier ของผู้เสียหายที่ 2 เครื่องหมายการค้าCUCCI ของผู้เสียหายที่ 3 เครื่องหมายการค้า LONGINES ของผู้เสียหายที่ 4และเครื่องหมายการค้า dunhill ของผู้เสียหายที่ 5 ซึ่งเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและของผู้เสียหายต่างเจ้าของกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากัน ต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติ-เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 108 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หาใช่ความผิดกรรมเดียวกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและต่างเจ้าของถือเป็นหลายกรรมต่างเจตนา ต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยที่ 1 ปลอมเครื่องหมายการค้า ROLEX ของผู้เสียหายที่ 1เครื่องหมายการค้า mustdeCartier ของผู้เสียหายที่ 2เครื่องหมายการค้า CUCCI ของผู้เสียหายที่ 3 เครื่องหมายการค้าLONGINES ของผู้เสียหายที่ 4 และเครื่องหมายการค้า dunhillของผู้เสียหายที่ 5 ซึ่งเป็นการปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและของผู้เสียหายต่างเจ้าของกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากัน ต้องลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป หาใช่ความผิดกรรมเดียวกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5905/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและต่างเจ้าของ ถือเป็นหลายกรรมต้องลงโทษทุกกรรม
จำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าต่างชนิดและของผู้เสียหายต่างเจ้าของกัน ถือได้ว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนากันต้องลงโทษฐานปลอมเครื่องหมายการค้าตามพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108 ทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฎีกาจำกัดเฉพาะโจทก์/โจทก์ร่วม การฎีกาขอลงโทษจำเลยโดยผู้ไม่เกี่ยวข้องเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 299ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วมศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาในคดีชุลมุนต่อสู้และการฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดกับพวกเข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันพยายามฆ่าจำเลยที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.อ.มาตรา 288, 80 ยกฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 6และที่ 7 ตาม ป.อ.มาตรา 299 ยกฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฐานพยายามฆ่าจำเลยที่ 7 จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ได้ เพราะมิได้อยู่ในฐานะเป็นโจทก์หรือโจทก์ร่วม ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยที่ 7 ข้อนี้มาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็ค และผลกระทบต่อการยกเว้นความรับผิดชอบจากลายมือชื่อปลอม
ธนาคารจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม เหตุแห่งความเสียหายในเรื่องนี้บังเกิดจากการปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คปลอมฉบับนั้น แม้การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดีผู้ร้ายจะหาโอกาสลักเช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ยากก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่ปลอมเช็ค การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี จึงไม่ให้ผลโดยตรงที่จะให้บังเกิดการปลอมเช็คและนำไปขึ้นเงินได้สำเร็จ
โจทก์เก็บสมุดเช็คพิพาทไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงานของห้างหุ้นส่วน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบว่าโจทก์เก็บเช็คไว้ในกระป๋องดังกล่าวการกระทำของโจทก์เพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คพิพาทเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตนำไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาทจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อเช็คปลอม: การประมาทของผู้สั่งจ่ายไม่ถึงขั้นตัดสิทธิการต่อสู้
ธนาคารจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมไปเหตุแห่งความเสียหายเกิดจากการปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยจ่ายเงินตามเช็คปลอมฉบับนั้น แม้การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี ผู้ร้ายจะหาโอกาสสลักเช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ยากก็ตาม แต่ความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่ปลอมเช็ค การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี จึงไม่ใช่ผลโดยตรงที่จะให้บังเกิดการปลอมเช็คและนำไปขึ้นเงินได้สำเร็จ โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงาน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบก็เป็นเพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาท จำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์
of 20