พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อวัสดุก่อสร้างโดยมิได้ทำตามระเบียบพัสดุ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหนี้
แม้พันตำรวจเอก ผ. นายกเทศมนตรีจะสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างโดยเขียนข้อความลงในนามบัตรของตนแล้วมอบให้ ว. ไปติดต่อสั่งซื้อจากโจทก์ก็ตามแต่การซื้อโดยวิธีพิเศษนี้ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 17,20 และ 22 กำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุต้องจัดทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรีผู้มีอำนาจสั่งซื้อถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อ ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหลังสุดภายในเวลา 2 ปีงบประมาณวงเงินที่จะซื้อ กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีนั้น รวมทั้งการขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการซื้อเพื่อในนายกเทศมนตรีอนุมัติก่อน แต่ปรากฏว่าโจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้จำเลยทันทีทั้งที่เจ้าหน้าที่พัสดุยังไม่ได้ทำรายงานเสนอนายกเทศมนตรี เมื่อนายกเทศมนตรียังมิได้ให้ความเห็นชอบในรายงานดังกล่าว แสดงว่าจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ด้วยวิธีพิเศษ การที่โจทก์ส่งวัสดุก่อสร้างให้แก่จำเลยจึงเป็นการกระทำโดยพลการของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว โดยจำเลยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดชำระหนี้ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายวัสดุก่อสร้างโดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบการจัดซื้อของหน่วยราชการ ทำให้สัญญาไม่ผูกพัน
++ เรื่อง ซื้อขาย ++
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 11 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โจทก์ฎีกา
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 1 หน้า 11 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8845/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง
โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยมิได้กรอกข้อความทั้งมอบหนังสือยินยอมของภริยาซึ่งลงลายมือชื่อของภริยาโดยมิได้กรอกข้อความพร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ผู้อื่นไป แสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อมีผู้กรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอก จนบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก เพราะผู้รับซื้อฝากได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่าบุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก ทั้งผู้รับซื้อฝากเบิกความยืนยันความสุจริตของตนจึงต้องฟังว่าผู้รับซื้อฝากกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก
เมื่อโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก เพราะผู้รับซื้อฝากได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6 ว่าบุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก ทั้งผู้รับซื้อฝากเบิกความยืนยันความสุจริตของตนจึงต้องฟังว่าผู้รับซื้อฝากกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8845/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของผู้มอบอำนาจและการโอนทรัพย์สินโดยสุจริต ผู้รับซื้อฝากไม่ต้องรับผิด
โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ โดยมิได้กรอกข้อความทั้งมอบหนังสือยินยอมของภริยาซึ่งลงลายมือชื่อของภริยาโดยมิได้กรอกข้อความพร้อมกับสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนให้ผู้อื่นไปแสดงถึงความประมาทเลินเล่อของโจทก์ เมื่อมีผู้กรอกข้อความลงในใบมอบอำนาจนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ของโจทก์และนำไปแสดงต่อบุคคลภายนอกจนบุคคลภายนอกหลงเชื่อว่าโจทก์ได้มอบอำนาจเช่นนั้นจริง โจทก์จะยกความประมาทเลินเล่อของตนขึ้นเป็นข้ออ้างเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่บุคคลภายนอกรับโอนโดยสุจริตหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 822 ประกอบมาตรา 821 ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ที่จะต้องนำสืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก เพราะผู้รับซื้อฝาก ได้รับประโยชน์แห่งข้อสันนิษฐาน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ว่าบุคคลทุกคนกระทำโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้สืบให้เห็นถึงความไม่สุจริตของผู้รับซื้อฝาก ทั้งผู้รับซื้อฝาก เบิกความยืนยันความสุจริตของตน จึงต้องฟังว่าผู้รับซื้อฝากกระทำการโดยสุจริต โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7154/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ต้องแสดงเหตุผลความไม่ถูกต้องของคำพิพากษาเดิมและโอกาสชนะคดีใหม่ มิฉะนั้นถือเป็นคำร้องที่ไม่ชอบ
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยบรรยายว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยฟังข้อเท็จจริงจากพยานเอกสารและพยานบุคคลของฝ่ายโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว แต่จำเลยมิได้อ้างเหตุให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องอย่างไร และหากมีการพิจารณาใหม่จำเลยจะชนะคดีอย่างไร แม้จะกล่าวมาด้วยว่าจำเลยมีหลักฐานเอกสารที่จะหักล้างข้อกล่าวอ้างของโจทก์ ก็เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไม่ จึงเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7040/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เบิกเงินเกินบัญชีและการรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามข้อตกลงในการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อความว่าให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงเมื่อใด เมื่อปรากฏว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาตามหนังสือต่ออายุสัญญาดังกล่าว เจ้าหนี้และบริษัท พ. ยังคงมีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อบริษัท พ. นำเงินเข้าฝากในรูปตั๋วเงินและกู้เงินโดยผ่านบัญชีเงินฝากกระแสรายวันครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2531 หลังจากนั้นไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อไป คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยทบต้นเท่านั้น และเจ้าหนี้คิดหักทอนบัญชีกับบริษัท พ. ในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งถือได้ว่าเป็นการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายภายหลังจากที่ไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีต่อกัน แสดงให้เห็นว่าทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาบัญชีเดินสะพัดที่มีต่อกันเป็นอันสิ้นสุดลงในวันที่ 31 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นวันคิดหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 856 และ 859 สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2533 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2538 เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนด 10 ปี หนี้ดังกล่าวไม่ขาดอายุความ
ลูกหนี้ที่ 4 ร่วมค้ำประกันหนี้ของบริษัท พ. เป็นเงิน 5,000,000 บาท แม้จะยอมตกลงค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แต่ก็หาใช่รับผิดชำระหนี้แทนบริษัท พ. โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ คงรับผิดชำระหนี้เป็นเงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น และการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ยอดหนี้ของบริษัท พ. อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยการนำเงินเข้าหรือถอนเงินออกจากบัญชี ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่ถ้าบริษัท พ. นำเงินมาชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่บริษัท พ. ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะได้มีการเบิกถอนจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่ บริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้าย ตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อบริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้ายคือวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ลูกหนี้ที่ 4 จึงต้องชำระดอกเบี้ยทบต้นให้แก่เจ้าหนี้นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2533 อันเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นจากลูกหนี้ที่ 4 เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100
ลูกหนี้ที่ 4 ร่วมค้ำประกันหนี้ของบริษัท พ. เป็นเงิน 5,000,000 บาท แม้จะยอมตกลงค้ำประกันการชำระหนี้รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน จนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง แต่ก็หาใช่รับผิดชำระหนี้แทนบริษัท พ. โดยไม่จำกัดจำนวนไม่ คงรับผิดชำระหนี้เป็นเงิน 5,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเท่านั้น และการค้ำประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี ยอดหนี้ของบริษัท พ. อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยการนำเงินเข้าหรือถอนเงินออกจากบัญชี ผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่มีการเบิกถอนเงินเต็มวงเงินค้ำประกันเป็นต้นไป แต่ถ้าบริษัท พ. นำเงินมาชำระหนี้หักทอนบัญชีจนเป็นหนี้ต่ำกว่าวงเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมไม่ต้องรับผิดในหนี้ส่วนที่บริษัท พ. ได้ชำระแล้ว คงรับผิดเท่าวงเงินที่เหลือจนกว่าจะได้มีการเบิกถอนจนเต็มวงเงินค้ำประกันใหม่ ผู้ค้ำประกันจึงจะรับผิดเต็มตามวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนั้นอีก ฉะนั้น ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเต็มวงเงินค้ำประกันพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันใด จึงต้องพิจารณาในวันที่ บริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้าย ตามบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน เมื่อบริษัท พ. เป็นหนี้เจ้าหนี้เต็มวงเงินครั้งสุดท้ายคือวันที่ 30 ธันวาคม 2526 ลูกหนี้ที่ 4 จึงต้องชำระดอกเบี้ยทบต้นให้แก่เจ้าหนี้นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2526 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2533 อันเป็นวันที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลง แต่เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่ทบต้นจากลูกหนี้ที่ 4 เกินกว่า 5 ปี เพราะอายุความในการเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระมีกำหนด 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (1) เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระเพียง 5 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ย้อนหลังไปเท่านั้น แต่จากวันพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถึงวันยื่นคำขอรับชำระหนี้ เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยค้างชำระในส่วนนี้เพราะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดจำนองในคดีล้มละลาย ต้องพิเคราะห์สถานะเจ้าหนี้ก่อนการโอนทรัพย์และผลกระทบต่อเจ้าหนี้รายอื่น
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำและทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ เสียเปรียบ ปรากฏว่าการทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนองตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและจำเลยที่ 2 ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่าธนาคารผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่จำเลยที่ 2 หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้ว จึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา 2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาทจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท โดยทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา 2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ก่อสร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาทจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท โดยทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง ทำให้จำเลยที่ 2 มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ผู้ร้องไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างจำเลยที่ 2 กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินภายใน 3 เดือนก่อนยื่นคำร้อง และทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ
การทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนอง ตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและลูกหนี้ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่า ผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่ลูกหนี้หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้วกรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง นอกจากนั้นลูกหนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. สร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาท รวมราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน3,950,000 บาท ลูกหนี้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างทำให้ลูกหนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)
การทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนอง ตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและลูกหนี้ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่า ผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่ลูกหนี้หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้วกรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง นอกจากนั้นลูกหนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. สร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาท รวมราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน3,950,000 บาท ลูกหนี้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างทำให้ลูกหนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7039/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนทรัพย์สินภายใน 3 เดือนก่อนขอให้ล้มละลาย และทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ
การโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ ที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ต้องเป็นการโอนหรือการกระทำในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนการโอนหรือการกระทำ และการโอนหรือการกระทำนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของลูกหนี้เสียเปรียบ
การทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนอง ตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและลูกหนี้ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่า ผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่ลูกหนี้หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้วกรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง นอกจากนั้นลูกหนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา 2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. สร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาท รวมราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 3,950,000 บาท ลูกหนี้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างทำให้ลูกหนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)
การทำสัญญากู้ยืมเงิน สัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการจดทะเบียนจำนอง ตลอดจนการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นทรัพย์จำนองระหว่างผู้ขายและลูกหนี้ได้กระทำในวันเดียวกันและต่อเนื่องกัน และยังปรากฏว่า ผู้คัดค้านจ่ายเงินกู้ยืมให้แก่ลูกหนี้หลังจากจดทะเบียนจำนองแล้วกรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของลูกหนี้อยู่แล้วก่อนจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง นอกจากนั้นลูกหนี้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทราคา 2,250,000 บาท และจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. สร้างอาคารในที่ดินพิพาทอีกเป็นเงิน 1,700,000 บาท รวมราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นเงิน 3,950,000 บาท ลูกหนี้ยืมเงินจากผู้คัดค้านเพื่อนำมาชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ยังค้างชำระอยู่เพียง 2,000,000 บาท และทำสัญญาจำนองที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ที่กู้ยืมมา เห็นได้ว่า ราคาที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างมีจำนวนสูงกว่าหนี้จำนองมาก การที่ลูกหนี้กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านมาชำระค่าที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างทำให้ลูกหนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ย่อมเป็นผลดีแก่เจ้าหนี้อื่นของลูกหนี้จึงไม่มีกรณีที่ผู้คัดค้านจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องย่อมไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2542)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6929/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ต้องชำระหนี้ก่อนจึงจะขอให้บังคับจำเลยได้
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยมีข้อความว่าโจทก์ยอมชำระเงินให้แก่จำเลยและจำเลยยอมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนคู่สัญญาต่างก็มีหน้าที่จะต้องชำระหนี้ต่อกัน ดังนั้น การที่โจทก์จะดำเนินการให้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้เป็นของโจทก์นั้น โจทก์ก็ต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่จำเลยด้วย เมื่อโจทก์ไม่ดำเนินการดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเพื่อขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาได้