พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายแม้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงและบังคับชำระหนี้ได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามความในมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่
ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เนื่องจากที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายโดยยินยอมชำระหนี้ตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยเพื่อไถ่ถอนจำนอง ผู้คัดค้านที่ 1จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โดยปลอดจำนอง ลูกหนี้หามีสิทธิตามสัญญาที่จะเรียกร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1 กรณีจึงเป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับไม่ จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่ 2ที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้คัดค้านที่ 1 จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์ที่จะพึงได้ในการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายรายนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 2 มีคำสั่งสั่งให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยปลอดจำนองและให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงชอบแล้ว
ผู้คัดค้านที่ 1 ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายที่ดินกับลูกหนี้โดยในวันทำสัญญาผู้คัดค้านที่ 1 วางมัดจำเป็นเงิน 250,000 บาท ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาท ให้แก่ลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เพราะที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ลูกหนี้จึงได้ส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ครอบครองโดยถือว่าที่ดินเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ลูกหนี้จะดำเนินการไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยเร็ว เมื่อการเข้าครอบครองที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 เป็นไปตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายซึ่งมีผลผูกพันลูกหนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้ครอบครองที่ดินของลูกหนี้ในฐานะผู้ซื้อและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เกี่ยวด้วยที่ดินซึ่งครอบครองนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าลูกหนี้จะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 แม้นับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ จนถึงวันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายเป็นเวลา 17ปีเศษ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากที่ดินที่ยึดถือไว้โดยร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายจึงไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เนื่องจากที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายโดยยินยอมชำระหนี้ตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยเพื่อไถ่ถอนจำนอง ผู้คัดค้านที่ 1จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โดยปลอดจำนอง ลูกหนี้หามีสิทธิตามสัญญาที่จะเรียกร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1 กรณีจึงเป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับไม่ จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่ 2ที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้คัดค้านที่ 1 จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์ที่จะพึงได้ในการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายรายนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 2 มีคำสั่งสั่งให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยปลอดจำนองและให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงชอบแล้ว
ผู้คัดค้านที่ 1 ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายที่ดินกับลูกหนี้โดยในวันทำสัญญาผู้คัดค้านที่ 1 วางมัดจำเป็นเงิน 250,000 บาท ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาท ให้แก่ลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เพราะที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ลูกหนี้จึงได้ส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ครอบครองโดยถือว่าที่ดินเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ลูกหนี้จะดำเนินการไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยเร็ว เมื่อการเข้าครอบครองที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 เป็นไปตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายซึ่งมีผลผูกพันลูกหนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้ครอบครองที่ดินของลูกหนี้ในฐานะผู้ซื้อและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เกี่ยวด้วยที่ดินซึ่งครอบครองนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าลูกหนี้จะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 แม้นับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ จนถึงวันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายเป็นเวลา 17ปีเศษ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากที่ดินที่ยึดถือไว้โดยร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในที่ดินซื้อขาย สัญญาเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 156
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทเพราะพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยและส. หลอกลวงโจทก์ให้ซื้อที่ดิน แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทโดยสำคัญผิดว่าที่ดิน แปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลง หมายเลข 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 และต่อมาพบว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งหมายเลข 2 ตามเอกสารหมายดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้นการแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยและ ส. หลอกลวงโจทก์เสนอขายและนำชี้ที่ดินว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เสนอขายเป็นที่ดินแปลงหมายเลข 1 ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องจนโจทก์หลงเชื่อเข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกัน คุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเข้าทำสัญญาของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลทำให้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นการกล่าวอ้างแล้วว่า โจทก์เข้าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5175/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมซื้อขายที่ดิน ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทเพราะพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยและ ส.หลอกลวงโจทก์ให้ซื้อที่ดิน แต่ปรากฏว่าโจทก์ได้เข้าทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทโดยสำคัญผิดว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ตามเอกสารหมาย จ.2 และต่อมาพบว่าที่ดินแปลงพิพาทตั้งอยู่ในตำแหน่งหมายเลข 2 ตามเอกสารหมายดังกล่าว จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมนั้น การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยและ ส.หลอกลวงโจทก์เสนอขายและนำชี้ที่ดินว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ที่เสนอขายเป็นที่ดินแปลงหมายเลข 1ตามแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้อง จนโจทก์หลงเชื่อเข้าทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกัน คุณสมบัติแตกต่างกันมาก การเข้าทำสัญญาของโจทก์เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลทำให้สำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นการกล่าวอ้างแล้วว่า โจทก์เข้าทำนิติกรรมโดยสำคัญผิดในทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรมอันเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมการวินิจฉัยของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่เป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2 จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 156
โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับจำเลย โดยสำคัญผิดว่าที่ดินที่จะซื้อขายตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 1 ซึ่งไม่ใช่ที่ดินที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ดินแปลงหมายเลข 2 จึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในที่ดินที่จะซื้อขายย่อมเป็นสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม การแสดงเจตนาของโจทก์จึงเป็นโมฆะตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 156
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ทรัสต์รีซีท และการกำหนดจำนวนหนี้ที่แน่นอน
เดิมจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเล็ตเตอร์ออฟเครดิตไว้กับโจทก์แต่ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาได้ จึงได้ทำสัญญา ทรัสต์รีซีทกับโจทก์เพื่อขอรับเอกสารจากโจทก์ไปรับสินค้าก่อน แล้วจะชำระเงินแก่โจทก์ภายหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 รับสินค้า ไปแล้วไม่ชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นหนี้โจทก์ ตามสัญญาทรัสต์รีซีท มิใช่เป็นหนี้ตามตั๋วแลกเงินอันเป็นหนี้ คนละส่วนแยกต่างหากจากกัน หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ย่อมมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 10 ปี หนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทยังไม่ขาดอายุความ ตามใบแจ้งยอดหนี้ทรัสต์รีซีทมีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนหนี้และการคำนวณดอกเบี้ย ซึ่งสามารถทราบยอดหนี้ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทจำนวนเท่าใดหนี้จำนวนนี้จึงเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายจัดหางานย้อนหลังไม่ได้ แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งขณะนั้นพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ยังไม่มีผลใช้บังคับกรณีจึงนำมาตรา 91 ตรี มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานฯ มาตรา 91 ตรี ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4815/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายจัดหางานย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2536 ซึ่งขณะนั้น พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 มาตรา 34 ที่ให้เพิ่มความตามมาตรา 91 ตรี แห่งพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ยังไม่มีผลใช้บังคับ กรณีจึงนำมาตรา 91 ตรี มาใช้ย้อนหลังเป็นผลร้ายแก่จำเลยมิได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 2 วรรคแรก ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 225 ประกอบมาตรา 195
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค้างชำระในคดีล้มละลาย และอายุความฟ้องร้องตั๋วสัญญาใช้เงิน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้ เมื่อวันที่ 29ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 100
เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับจึงไม่ขาดอายุความ
เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4634/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยหนี้และการฟ้องคดีภายในอายุความในคดีล้มละลาย: การพิจารณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และระยะเวลาฟ้อง
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวในคดีล้มละลายเรื่องหนึ่งไว้แล้ว แต่หลังจากนั้นเจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนี้อีกและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยไว้เด็ดขาดในคดีนี้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2536 เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ได้จนถึงวันที่ 29 ธันวาคม 2536อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ไว้เด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ได้ฟ้องจำเลยและผู้ค้ำประกันให้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินทั้ง 27 ฉบับ ต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2531 เมื่อนับถึงวันที่ตั๋วสัญญา ใช้เงินแต่ละฉบับถึงกำหนดใช้เงินยังไม่พ้น 3 ปี ถือว่าโจทก์ ได้ฟ้องจำเลยภายในอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 แล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดี เฉพาะจำเลยชั่วคราว แต่ต่อมาศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษา ให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว แก่เจ้าหนี้ หนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจำนวน 27 ฉบับ จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุองค์ประกอบความผิดครบถ้วน หากฟ้องไม่ชัดเจน แม้จำเลยรับสารภาพก็ลงโทษไม่ได้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติ ว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499มาตรา 19 ด้วย และหากโจทก์ฟ้องด้วยวาจามีข้อเท็จจริง ดังกล่าวแล้ว ศาลก็จะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติรับราชการทหารพ.ศ. 2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมานัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบ ความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัดจำเลยรับหมายนัดแล้ว และมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้อง เพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้ เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4136/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีทหารกองเกินหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ต้องระบุหมายนัดและการขัดขืนอย่างชัดเจน
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องให้ปรากฏถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 19 ด้วยและหากโจทก์ฟ้องด้วยวาจามีข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ศาลก็จะบันทึกคำฟ้องของโจทก์ให้ได้ใจความแห่งข้อหาไว้เป็นหลักฐานเพื่อพิพากษาคดีนั้นต่อไป
การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมายนัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัด จำเลยรับหมายนัดแล้วและมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540 แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4
การที่จะถือว่าทหารกองเกินหลีกเลี่ยงขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารกองประจำการตาม พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ.2499 มาตรา 45 ต้องเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนหมายนัดของนายอำเภอตามมาตรา 34 ด้วย ดังนั้น องค์ประกอบความผิดตามมาตรา 45 จึงประกอบด้วยนายอำเภอออกหมายนัด จำเลยรับหมายนัดแล้วและมีการขัดขืนหมายนั้น แต่บันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยซึ่งเป็นทหารกองเกินและถูกคัดเลือกให้เข้ากองประจำการในผลัดที่ 1/2540 ในวันที่ 5 เมษายน 2540 แต่หลีกเลี่ยงขัดขืนไม่ไปรายงานตัวตามกำหนด อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า กำหนดให้ไปรายงานตัวได้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพราะไม่ปรากฏว่านายอำเภอได้ออกหมายนัด และจำเลยได้รับหมายนัดแล้ว เมื่อฟ้องโจทก์ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทมาตราดังกล่าว จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4