คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ คำอ่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีในคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจพิจารณาให้งดการบังคับคดีได้ แต่ต้องดำเนินการโดยเคร่งครัดกว่าคดีแพ่งทั่วไป
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม
การบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยปกติผู้ที่ถูกบังคับคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งงดการบังคับคดีไว้ก่อนโดยแสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำร้องส่วนศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีหรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ให้เหมาะสมแก่รูปคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 292(2)
การร้องขอให้เพิกถอนการโอน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายซึ่งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ให้ดำเนินเป็นการด่วน เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนการโอน การบังคับคดีจึงต้องดำเนินการเป็นการด่วน เพื่อประโยชน์ในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้นการพิจารณาให้งดการบังคับคดีจึงต้องกระทำโดยเคร่งครัดยิ่งกว่าคดีแพ่งสามัญ ข้ออ้างตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านติดต่อเจรจาผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนเจ้าหนี้ทุกรายพอใจ และเมื่อเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ครบถ้วนแล้วจะขอถอนคำขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านกระทำเองโดยผู้ร้องมิได้รับรู้ด้วยข้อตกลงใด ๆ ระหว่างผู้คัดค้านกับเจ้าหนี้หากจะพึงมี ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่อาจยกขึ้นใช้ยันผู้ร้องในชั้นนี้ได้ จึงหาเป็นเหตุที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3654/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเพิกถอนการโอนในคดีล้มละลาย: ศาลพิจารณาเหตุงดการบังคับคดีอย่างเคร่งครัด
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มิได้บัญญัติเกี่ยวกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม การบังคับคดีตามคำพิพากษาโดยปกติผู้ที่ถูกบังคับคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งงด การ บังคับคดีไว้ก่อนโดย แสดงเหตุผลให้ปรากฏในคำร้องส่วนศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดี หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ให้เหมาะสมแก่รูปคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) การร้องขอให้เพิกถอนการโอน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายซึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 ให้ดำเนินเป็นการด่วน เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนการโอน การบังคับคดีจึงต้องดำเนินการเป็นการด่วนเพื่อประโยชน์ในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยดังนั้นการพิจารณาให้งดการบังคับคดีจึงต้องกระทำโดยเคร่งครัดยิ่งกว่าคดีแพ่งสามัญ ข้ออ้างตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ว่า ผู้คัดค้านติดต่อเจรจาผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จนเจ้าหนี้ทุกรายพอใจ และเมื่อเจ้าหนี้ได้รับ ชำระหนี้ครบถ้วนแล้วจะขอถอนคำขอรับชำระหนี้เป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านกระทำเองโดยผู้ร้องมิได้รับรู้ด้วยข้อตกลงใด ๆระหว่างผู้คัดค้านกับเจ้าหนี้หากจะพึงมี ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากไม่อาจยกขึ้นใช้ยันผู้ร้องในชั้นนี้ได้ จึงหาเป็นเหตุที่ผู้คัดค้านจะยกขึ้นอ้างเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง ให้งดการบังคับคดีไว้ได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในคดีล้มละลาย และความรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ.มาตรา 1021 และ 1022 หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ป.วิ.พ.มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2ที่ถูกเอกสารนั้นมายัน ต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เพราะเมื่อจำเลยที่ 1ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามป.พ.พ.มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลายของหุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดในหนี้สิน
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่าจำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารเมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าว ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้วโจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2หรือไม่ และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9) ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล้มละลาย: เอกสารมหาชน, ความรับผิดไม่จำกัด, พิทักษ์ทรัพย์
การเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคลนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1021 และ 1022หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ระบุว่า จำเลยที่ 1เป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงเป็นเอกสารมหาชน ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 อันนำมาใช้บังคับโดยอนุโลมแก่คดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 2อ้างว่ามิได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ย่อมเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ที่ถูกเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบถึงความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสาร เมื่อพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบไม่มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 โดยชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาดแล้ว โจทก์ย่อมขอให้จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยไม่ต้องคำนึงว่าหนี้สินของจำเลยที่ 1 เป็นหนี้สินของจำเลยที่ 2 หรือไม่และไม่ต้องคำนึงด้วยว่ากรณีของจำเลยที่ 2 ต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(9)ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เพราะเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้จำเลยที่ 2ย่อมต้องรับผิดในหนี้สินดังกล่าวโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2955/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์สินรวมในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมและการขายทอดตลาด
ปัญหาที่ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดแล้วกันเงินกึ่งหนึ่งที่ได้จากการขายทอดตลาดตามสิทธิของผู้ร้องทั้งสี่ให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ได้หรือไม่นั้นแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกเป็นข้อคัดค้านในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านย่อมยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสองประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 เมื่อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมีผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมโดยมีบ้านเลขที่ 113/10ปลูกคร่อมอยู่โดยไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ร้องทั้งสี่ได้ครอบครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างส่วนใดมาก่อน แสดงว่าผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยมิได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดผู้คัดค้านซึ่งมีหน้าที่จัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยจึงมีสิทธิยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้ จะเจาะจงให้ผู้คัดค้านยึดเฉพาะส่วนของจำเลยและให้ขายทอดตลาดเฉพาะส่วนของจำเลยไม่มีทางจะกระทำได้ เรื่องเช่นนี้ แม้แต่ในกรณีระหว่างผู้ร้องทั้งสี่กับจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ถ้าการแบ่งกันเองไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนัก ศาลก็ต้องสั่งให้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อผู้คัดค้านยืนยันให้ขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดจึงชอบที่จะปฏิบัติไปตามนั้นและผู้ร้องทั้งสี่ย่อมมีทางจะร้องขอให้แบ่งส่วนของตนตามสิทธิของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในทางการบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ภาษีและการล้มละลาย: การสั่งบังคับเป็นเหตุสะดุดอายุความ
ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์ การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินต่อ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณายกเลิก เพิกถอนแก้การประเมินได้ แต่จำเลยไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ การประเมิน ย่อมถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวชอบแล้วและเป็นอันยุติ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าการ ประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะเงินรายรับบางส่วนไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่ จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลการสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(5)อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/31คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษีอากร: การประเมินและการบังคับชำระหนี้ภาษีทำให้สะดุดอายุความ
ป.รัษฎากร มาตรา 30 กำหนดให้อุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เพื่อให้พิจารณายกเลิกเพิกถอนแก้ไขการประเมินได้ แต่จำเลยไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมิน ย่อมถือได้ว่าการประเมินดังกล่าวชอบแล้วและเป็นอันยุติ จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าการประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบเพราะเงินรายรับบางส่วนไม่ใช่ของจำเลยหาได้ไม่
จำเลยเป็นหนี้ภาษีอากรค้างจำนวน 1,094,507.21 บาทหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามูลหนี้ที่นำมาฟ้องคดีล้มละลายต้องดำเนินการฟ้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลให้มีคำพิพากษาเสียก่อนจึงจะเป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
จำเลยรับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบบหนังสือแจ้งภาษีการค้าและหนังสือแจ้งให้นำส่งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2531 ให้ชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับเงินเพิ่ม ภาษีการค้าเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับกับภาษีบำรุงจังหวัด และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายพร้อมเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่เจ้าพนักงานประเมินมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นระยะเวลา 30 วัน ที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 15 กันยายน 2531 โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 26 กันยายน2537 จึงยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/31 คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคืนการครอบครองที่ดิน: การแยกแยะ 'การถูกรบกวน' กับ 'การถูกแย่ง' และการชำระค่าธรรมเนียมในนามโจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองในที่ดินมือเปล่าในเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกรบกวนการครอบครอง โจทก์จึงขาดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องเป็นคำให้การต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1374 วรรคสอง ส่วนการถูกแย่งการครอบครอง เป็นกรณีตามบทบัญญัติ มาตรา 1375 วรรคสอง การถูกรบกวน การครอบครองและการถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นคนละเรื่องกันเมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยในปัญหาเรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 158ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง โดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2044/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเรื่องการครอบครองที่ดิน และข้อผิดพลาดในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
จำเลยให้การว่า โจทก์ฟ้องขอให้ปลดเปลื้องการรบกวนการครอบครองในที่ดินมือเปล่าในเวลาเกินกว่า 1 ปี นับแต่ถูกรบกวนการครอบครองโจทก์จึงขาดสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้อง เป็นคำให้การต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1374วรรคสอง ส่วนการถูกแย่งการครอบครองเป็นกรณีตามบทบัญญัติ มาตรา 1375วรรคสอง การถูกรบกวนการครอบครองและการถูกแย่งการครอบครองจึงเป็นคนละเรื่องกัน เมื่อจำเลยไม่ได้ต่อสู้เรื่องการถูกแย่งการครอบครอง ชอบที่ศาลจะไม่รับวินิจฉัยในปัญหาเรื่องการถูกแย่งการครอบครอง
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและพิพากษาให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ แต่มิได้สั่งให้จำเลยชำระต่อศาลในนามของโจทก์ จึงเป็นการไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้องโดยให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องใช้แทนโจทก์ต่อศาลในนามของโจทก์
of 64