พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8343/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิด: ผู้ขับ/ครอบครองรถยนต์ที่ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์ ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าซ่อมเอง
โจทก์เป็นเพียงผู้ขับและครอบครองรถยนต์คันที่ถูกจำเลย ชนโดยละเมิด แต่โจทก์มิใช่เจ้าของรถยนต์คันดังกล่าวและไม่ปรากฏว่าการที่โจทก์ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าวทำให้โจทก์ ต้องมีหน้าที่ซ่อมแซมรถยนต์คันดังกล่าวให้อยู่ในสภาพเดิมด้วย ดังนี้ แม้โจทก์จะนำรถยนต์ไปซ่อมและเสียค่าซ่อมรถยนต์ ก็ตามโจทก์ก็มิใช่ผู้ได้รับความเสียหายในส่วนของค่าซ่อม ดังกล่าวจากการกระทำละเมิดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยด้วยตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเรียกคืนเงินค่าสินค้าผิดพลาด: ไม่ใช่ความรับผิดชำรุดบกพร่อง แต่เป็นเรื่องไม่ชำระหนี้ตามสัญญา
การเรียกคืนเงินส่วนที่ชำระเกินในกรณีโจทก์ส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้ หาใช่เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องซึ่งมีอายุความ 1 ปี ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะอายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 164 (เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8339/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแย้งกรณีสินค้าไม่ตรงตามสัญญา ไม่ใช่ความรับผิดชำรุดบกพร่อง อายุความ 10 ปี
การเรียกคืนเงินส่วนที่ชำระเกินในกรณีโจทก์ส่งมอบ สินค้าไม่ถูกต้องตรงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาซื้อขายเป็น เรื่องที่โจทก์ไม่ชำระหนี้ให้ต้องตามความประสงค์อันแท้จริง แห่งมูลหนี้ หาใช่เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ไม่ และกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติ เรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะอายุความจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8195/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจัดการมรดก: ภริยาโดยชอบธรรมมีสิทธิมากกว่าผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วม
แม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจะมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยต่างมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวม แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมตกเป็นของผู้คัดค้านส่วนหนึ่งและตกเป็นมรดกของผู้ตายที่จะต้องเอามาแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยตรงจึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเฉพาะในทรัพย์สินที่เป็นของผู้คัดค้านและผู้ตายแต่ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8195/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดก: ภริยาโดยชอบธรรมมีสิทธิเหนือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินร่วม
แม้ผู้คัดค้านและผู้ตายจะมีทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกันโดยต่างมีส่วนในทรัพย์สินดังกล่าวในฐานะเจ้าของรวม แต่เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินเหล่านั้นย่อมตกเป็นของผู้คัดค้านส่วนหนึ่งและตกเป็นมรดกของผู้ตายที่จะต้องเอามาแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายอีกส่วนหนึ่ง ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายโดยตรงจึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเฉพาะในทรัพย์สินที่เป็นของผู้คัดค้านและผู้ตายแต่ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย จึงไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7441/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: เจตนาเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้รายหนึ่ง
การจำนองเป็นสัญญาที่เอาทรัพย์สินตราไว้เป็นประกันการชำระหนี้ จึงมีหน้าที่จะต้องชำระแก่กันอันเป็นหนี้ประธานส่วนหนึ่ง คือหนี้เงินกู้ที่ผู้คัดค้านจ่ายให้ จำเลยรับไป ส่วนจำนองที่จำเลยทำสัญญาและจดทะเบียนให้แก่ผู้คัดค้านนั้นเป็นเพียงอุปกรณ์แห่งหนี้อันเป็นประธาน ซึ่งเป็นหนี้คนละส่วนแยกออกจากกันได้ การกู้เงินคดีนี้จำเลยได้รับเงินจากผู้คัดค้านไปแล้วในวันทำสัญญาและเพื่อเป็นหลักประกันที่จำเลยจะปฏิบัติตามสัญญาจำเลยได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทมาจำนองเป็นประกันหนี้ดังกล่าวไว้แก่ผู้คัดค้านเช่นนี้ การที่จำเลยกู้เงินผู้คัดค้านและได้รับเงินกู้จากผู้คัดค้านไปแล้ว ในทันทีทันใดนั้น การกู้เงินระหว่างผู้คัดค้านกับจำเลยได้เกิดขึ้นแล้ว หลังจากนั้นแม้จะเป็นวันเดียวกันจำเลยมาทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทกับผู้คัดค้านอีก กรณีถือได้ว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่ก่อนแล้วในขณะที่มีการ ทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 5 รายรวมเป็นเงิน 157,572,672.38 บาทแต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องรวบรวมทรัพย์สินได้เพียง31,000 บาท ที่ผู้คัดค้านนำมาชำระหนี้ตามคำสั่งศาลให้เพิกถอนการชำระหนี้เท่านั้น และไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาชำระให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายได้ครบถ้วน การที่จำเลยได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวมีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยเจ้าหนี้อื่นไม่มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเพื่อชำระหนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีย่อมเห็นได้ว่าจำเลยกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น แม้ผู้คัดค้านจะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตไม่ทราบว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการจำนองเป็นนิติกรรมต่างตอบแทน ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการจำนองรายนี้เสียได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: คุ้มครองเฉพาะผู้รับโอนโดยสุจริตก่อนการขอให้ล้มละลาย
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้วผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้วผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลายผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 116 ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: สิทธิของผู้ร้องและข้อยกเว้นสำหรับบุคคลภายนอก
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7440/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหลังล้มละลาย: ผู้รับโอนไม่สุจริต/ไม่มีสิทธิคุ้มครองตามมาตรา 116
ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 และระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 2 และให้เพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท พร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 ตามมาตรา 116 สำหรับการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ดังนี้ ผู้คัดค้านที่ 1มีภาระการพิสูจน์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ผู้คัดค้านที่ 1 ผู้รับโอนรับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินจากลูกหนี้โดยรู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงรับโอนโดยไม่สุจริต เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114
ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3 รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 2 โดยมิได้รับโอนหรือกระทำการใด ๆเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้กับลูกหนี้แต่อย่างใด ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยไม่สุจริตแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยชอบ จึงไม่มีสิทธิที่จะโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้อื่น ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 จะได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 116 ดังกล่าวจะต้องได้ความว่าผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย
คดีนี้แม้ข้อเท็จจริง จะได้ความว่าก่อนที่มีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากลูกหนี้ แต่ก่อนที่ผู้คัดค้านที่ 3 จะรับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ได้มีการชำระหนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 3 และไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วทุกครั้ง การรับจำนองที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 3 กับระหว่างผู้คัดค้านที่ 1 กับผู้คัดค้านที่ 3และระหว่างผู้คัดค้านที่ 2 กับผู้คัดค้านที่ 3 จึงหาใช่เป็นกรณีสืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเพียงแต่เป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามสัญญาจำนองเดิมที่ลูกหนี้ทำกับผู้คัดค้านที่ 3ผู้คัดค้านที่ 2 รับโอนที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างจากผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 3รับจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2 หลังจากมีการขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116ไม่จำต้องวินิจฉัยว่า ผู้คัดค้านที่ 2 และที่ 3 สุจริต และเสียค่าตอบแทนหรือไม่
การฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้น มิใช่เป็นการเพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา 113 ไม่มีบทบัญญัติกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7334/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน ยึดขายทอดตลาดได้หากผู้ให้เช่ายินยอม แม้สัญญาเช่าสิ้นสุดแล้ว
สิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สินและเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยแต่เมื่อ ก. ผู้ให้เช่ายินยอมให้โอนสิทธิการเช่าดังกล่าวโดยยอมให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านยึดและขายทอดตลาดได้เช่นนี้ ผู้คัดค้านจึงมีอำนาจยึดและขายทอดตลาดสิทธิการเช่าอาคารพิพาทของจำเลย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22