คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ คำอ่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืมเฉพาะส่วน: สิทธิของผู้ร้องสอด
โจทก์มิได้ฟ้องว่าหนี้เงินกู้ยืมของจำเลยตามฟ้องเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด เมื่อผลแห่งคำพิพากษาผูกพันเฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสเฉพาะส่วนของจำเลย ไม่กระทบกระเทือนส่วนของผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะร้องสอดเป็นจำเลยร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เงินกู้ยืมส่วนตัว: สิทธิการร้องสอดเป็นจำเลยร่วม
โจทก์มิได้ฟ้องว่าหนี้เงินกู้ยืมของจำเลยตามฟ้องเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดซึ่งเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ร้องสอด เมื่อผลแห่งคำพิพากษาผูกพันเฉพาะสินส่วนตัวและสินสมรสเฉพาะส่วนของจำเลย ไม่กระทบกระเทือนส่วนของ ผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะร้องสอดเป็นจำเลยร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน การครอบครองปรปักษ์ และการสืบสิทธิมรดก
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่งและป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการรับมรดก การครอบครองปรปักษ์ต้องมีเจตนาเป็นเจ้าของ
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่งเมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่หนึ่ง และป. บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมกันหาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่า ป. หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ จำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของ ป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5111/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการครอบครองปรปักษ์ เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ
เมื่อในสารบัญจดทะเบียนในโฉนดที่ดินระบุว่ามีกรรมสิทธิ์ร่วมกันซึ่งก็ต้องหมายความว่ามีกรรมสิทธิ์คนละครึ่ง เมื่อส่วนของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมยังมีอยู่ครึ่งหนึ่ง และ ป.บิดาจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของรวมก็หาได้โต้แย้งเป็นอย่างอื่นไม่ทั้งไม่เคยบอกกล่าวโจทก์ว่าได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือว่ามิได้ครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่า ป.หรือจำเลยครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจำเลยจึงไม่ได้ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ เมื่อจำเลยทั้งสองสืบสิทธิของ ป.บิดาซึ่งมีกรรมสิทธิ์ร่วมกับโจทก์ จึงต้องฟังว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเท่ากับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5071/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายของจำเลยที่ร่วมกระทำผิดฉ้อโกงประชาชน แม้มิได้มีอำนาจลงนามแทน นิติบุคคล
จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาได้ร่วมกับบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลทำการกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน แม้จำเลยที่ 3 จะมิใช่กรรมการผู้จัดการหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 และมิได้ลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 ก็เป็นผู้กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 เช่นกันและต้องถือว่าจำเลยที่ 3เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของจำเลยที่ 1 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 3 เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527มาตรา 4 และ 5 แม้จะยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลเพราะหลบหนีไป โจทก์ก็ฟ้องขอให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตามพระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 10

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินภายหลังทำพินัยกรรมยังคงอยู่ภายใต้ข้อกำหนด
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1696 และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4836/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตพินัยกรรม: ทรัพย์สินที่มีอยู่และที่จะได้มาในอนาคต ยังคงเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรม แม้จำหน่ายทรัพย์สินเดิมไปแล้ว
ข้อกำหนดตามพินัยกรรมฉบับพิพาทระบุถึงทรัพย์สินที่มีอยู่ในขณะทำพินัยกรรมหรือที่จะมีต่อไปภายหน้าอันเป็นการทั่วไป มิได้จำกัดเฉพาะที่ดินหรือทรัพย์สินสิ่งใดไว้โดยเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แม้ผู้ทำพินัยกรรมจะจำหน่ายที่ดินหรือทรัพย์สินส่วนของตนไปหมดแล้ว แต่หากได้ทรัพย์สินอื่นมาภายหลัง ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดในพินัยกรรม กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรมตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696และต้องถือว่าข้อกำหนดตามพินัยกรรมยังมีผลบังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของศาลเจ้า: กุศลสถานประเภทศาลเจ้ามีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้มิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคมพุทธศักราช 2463 ข้อ 4 กำหนดว่า ที่ดินที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐบาลก็ดีหรือในที่ดินของเอกชน แต่ได้อุทิศให้เป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิขาดแล้วก็ดีในหัวเมืองนอกจากเขตกรุงเทพมหานครให้มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ในนามกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามโฉนดที่ดินระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ากรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย (ศาลเจ้าเจตึ๊ง) เมื่อกรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย ก็คือกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันนี้ ตามกฎเสนาบดีดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโจทก์ได้ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวข้อ 13 และตามกฎเสนาบดีข้อ 14 กำหนดให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าในฐานะและกาลอันสมควร และมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทก็ตาม
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์เป็นกุศลสถานประเภทศาลเจ้า มี ว.เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่ดินของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยกระทรวงมหาดไทย ตามสำเนาแผนที่จำลองในโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ดังนั้น โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำฟ้อง
การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 84 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4806/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของศาลเจ้า: แม้ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่มีผู้จัดการที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ว่าฯ สามารถฟ้องได้ตามกฎหมาย
กฎเสนาบดีว่าด้วยกุศลสถานชนิดศาลเจ้า ลงวันที่ 15 มีนาคมพุทธศักราช 2463 ข้อ 4 กำหนดว่า ที่ดินที่ศาลเจ้าตั้งอยู่ในที่ดินของรัฐบาล ก็ดีหรือในที่ดินของเอกชน แต่ได้อุทิศให้เป็นสมบัติสำหรับศาลเจ้าโดยสิทธิขาดแล้วก็ดีในหัวเมืองนอกจากเขตกรุงเทพมหานครให้มีโฉนดหรือหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินไว้ในนามกรมปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามโฉนดที่ดินระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ว่ากรมพะลำภังค์กระทรวงมหาดไทย(ศาลเจ้าเจตึ๊ง)เมื่อกรมพะลำภังค์ กระทรวงมหาดไทย ก็คือกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ในปัจจุบันนี้ ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมีอำนาจแต่งตั้งผู้จัดการปกครองศาลเจ้าโจทก์ได้ตามกฎเสนาบดีดังกล่าวข้อ 13 และตามกฎเสนาบดีข้อ 14กำหนดให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าในฐานะและกาล อันสมควรและมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดพิพาทก็ตาม โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์เป็นกุศลสถานประเภทศาลเจ้า มีว.เป็นผู้จัดการปกครองศาลเจ้า ที่ดินของโจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยกระทรวงมหาดไทย ตามสำเนาแผนที่จำลองในโฉนดที่ดินเอกสารท้ายฟ้องซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องดังนั้น โจทก์จึงนำสืบข้อเท็จจริงดังกล่าวได้ไม่เป็นการนำสืบนอกเหนือคำฟ้อง การประกาศเปลี่ยนชื่อหน่วยราชการเป็นข้อเท็จจริง ที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมเป็นเรื่องที่ศาลรู้เองและหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1)
of 64