คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ คำอ่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6524/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการรอการลงโทษคดีจราจรและการไม่แก้ไขโทษที่ต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 43 (2) ฐานขับรถขณะเมาสุรา และมาตรา 78 วรรคหนึ่งฐานไม่หยุดให้การช่วยเหลือและแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ย่อมเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลล่างทั้งสองพิพากษายืนต้องกันมาให้รอการลงโทษแก่จำเลยกับให้คุมความประพฤติจำเลยไว้ ดังนี้ แต่โจทก์มิได้ฎีกาศาลอุทธรณ์ฎีกามาแต่เฉพาะในปัญหาว่าไม่ควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย ดังนี้เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าที่ศาลล่างทั้งสองรอการลงโทษจำคุกโดยคุมความประพฤติจำเลยไว้เป็นการใช้ดุลพินิจที่เหมาะสมแล้ว ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้เป็นอย่างอื่นได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องฎีกาของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5541/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนไร้ความสามารถ: ผู้ร้องต้องเป็นบุคคลตามที่กฎหมายกำหนด
ผู้ร้องเป็นเพียงพี่ชายร่วมบิดาของผู้คัดค้าน และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้มีส่วนปกครองดูแลผู้คัดค้านแต่อย่างใด ผู้ร้องจึงมิได้เป็นผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ผู้ซึ่งปกครองดูแลผู้คัดค้านอยู่ จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้คัดค้านเป็นคนไร้ความสามารถตาม ป.พ.พ. มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ของผู้ไม่เป็นคู่ความ: กรณีบุคคลภายนอกคดีล้มละลายไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้มีประกันนำยึดที่ดินพร้อมบ้านพิพาทซึ่งมีลูกหนี้ที่ 2 เป็น ผู้ถือกรรมสิทธิ์และจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ส. ยื่นคำร้องคัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้คัดค้านว่าบ้านหลังดังกล่าวเป็นของตนขอให้ผู้คัดค้าน ถอนการยึด ผู้คัดค้านสอบสวน แล้วมีคำสั่งให้ถอนการยึด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำสั่งของ ผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความใน คดีโดยยื่นคำคัดค้านต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านโดยไม่ให้ถอนการยึด ผู้คัดค้านไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ แต่ ส. อุทธรณ์ คู่ความในคดีคือ ผู้ร้องและผู้คัดค้านเท่านั้น ส่วนส.เป็นบุคคลภายนอกคดีไม่ใช่คู่ความที่ถูกโต้แย้งสิทธิในชั้นนี้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ไม่มีสิทธิที่จะเข้ามาในคดีเพื่ออุทธรณ์ และฎีกาในคดีนี้ได้ สิทธิของ ส. จะมีอย่างไรเป็นเรื่องที่ส.จะต้องไปดำเนินการอีกเรื่องหนึ่งส. จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานจำเลยชอบด้วยกฎหมายเมื่อจำเลยมีเจตนาประวิงคดี และการพิสูจน์ข้อตกลงพิเศษต้องเป็นหน้าที่ของจำเลย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยต่อศาลชั้นต้น แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอีกนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) แล้วจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5344/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน: การโต้แย้งและการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำพิพากษา แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยต่อศาลชั้นต้น แต่การที่จำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์จำเลยก็ได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวอีกนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) แล้วจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งให้งดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้
จำเลยขอเลื่อนคดีถึง 4 ครั้ง โดยมิได้ทำการสืบพยานจำเลยแม้แต่เพียงปากเดียว และเหตุที่ขอเลื่อนมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้น พฤติการณ์แห่งคดีฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4372/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ตามหนังสือรับสภาพความรับผิดขาดอายุความเมื่อยื่นขอรับชำระหนี้เกิน 2 ปีนับจากวันที่ลูกหนี้รับสภาพ
หนี้ตามหนังสือรับสภาพความรับผิดมีอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/35ปรากฏว่าลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพความรับผิดในวันที่ 5 สิงหาคม 2536แต่เจ้าหนี้รายที่ 6 ยื่นฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งวันที่ 31 มกราคม 2539 ต่อมาได้ถอนฟ้องและนำหนี้มายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ การที่เจ้าหนี้รายที่ 6 ฟ้องคดีดังกล่าวแล้วถอนฟ้องไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อเจ้าหนี้รายที่ 6 ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 13 มิถุนายน 2539 จึงเป็นเวลาเกินกว่า 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิด หนี้รายนี้จึงขาดอายุความไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: การเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครองโดยทุจริต
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินมามอบให้ผู้เสียหาย จำเลยรับสินค้าไปจากผู้เสียหายแล้ว มิได้นำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า แต่นำไปจำนำและขายฝาก เป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยโดยทุจริต ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะเป็นลูกจ้างผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์ของผู้เสียหายแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต จำเลยย่อมมีความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ.มาตรา 352 วรรคแรก ฎีกาของจำเลยที่ว่า พนักงานของผู้เสียหายไม่มีเงินเดือนแต่จะได้รับรายได้จากค่าคอมมิชชั่นของการขายและเปอร์เซ็นต์จากการขายเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่ใช่ลูกจ้างผู้เสียหายตาม ป.พ.พ.นั้น จึงไม่เป็นสาระสำคัญแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4181/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอกทรัพย์: ลูกจ้างเบียดบังสินค้าของผู้เสียหาย แม้รับค่าคอมมิชชั่น ไม่ใช่เหตุผิดสัญญาแพ่ง
จำเลยเป็นลูกจ้างผู้เสียหายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้า ให้แก่ลูกค้าแล้วนำเงินมามอบให้ผู้เสียหาย จำเลยรับสินค้าไปจากผู้เสียหายแล้ว มิได้นำไปจำหน่ายแก่ลูกค้า แต่นำไปจำนำ และขายฝาก เป็นการเบียดบังทรัพย์สินของผู้อื่นที่อยู่ในความครอบครอง ของจำเลยโดยทุจริต ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะเป็นลูกจ้าง ผู้เสียหายหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์ ของผู้เสียหายแล้วเบียดบังเอาทรัพย์นั้นไปโดยทุจริต จำเลยย่อม มีความผิดฐานยักยอกตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 วรรคแรกฎีกาของจำเลยที่ว่า พนักงานของผู้เสียหายไม่มีเงินเดือน แต่จะได้รับรายได้จากค่าคอมมิชชั่นของการขายและเปอร์เซ็นต์ จากการขายเป็นรายเดือน จำเลยจึงไม่ใช่ลูกจ้างผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น จึงไม่เป็นสาระสำคัญ แก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3779/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย และการวินิจฉัยสุจริตของผู้รับโอน
การที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะดำเนินการร้องขอต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 ย่อมเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าหนี้เช่นผู้ร้องหามีอำนาจที่จะเป็นผู้ร้องขอต่อศาลได้ไม่
ผู้คัดค้าน (จพท.) มิได้เป็นผู้ใช้อำนาจเพื่อร้องขอต่อศาลขอเพิกถอนการโอนตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย ฯ หากแต่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้เป็นผู้ร้องขอต่อผู้คัดค้านให้ใช้อำนาจตามมาตรา 114 ดังนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าสมควรจะร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งเพิกถอนการโอนหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลฎีกาพิพากษากลับให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลย เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะมีการชำระหนี้บางส่วน
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้นจึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์ย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยันอีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนอง กับเป็นมรดกระหว่างพี่น้องจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตามมาตรา 14
of 64