คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ คำอ่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีค้ำประกัน: ผลของการยกฟ้องลูกหนี้ต่อการสะดุดหยุดของอายุความ
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดช.กับลูกหนี้ที่2เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่2ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่2ไม่เคยสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/17วรรคหนึ่งเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด10ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่2ได้เป็นต้นไปสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเรียกร้องหนี้จากสัญญาค้ำประกัน: ผลกระทบจากการฟ้องคดีและผลการพิจารณาคดีต่อลูกหนี้
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2 ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2756/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความจากการฟ้องคดีและการบังคับสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย
การที่เจ้าหนี้ได้ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.กับลูกหนี้ที่ 2 เป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องสำหรับลูกหนี้ที่ 2ต้องถือว่าอายุความในส่วนที่เกี่ยวกับลูกหนี้ที่ 2 ไม่เคยสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/17 วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อล่วงพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่เจ้าหนี้ได้ชำระหนี้แก่ ส. อันเป็นวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับสิทธิเรียกร้องกับลูกหนี้ที่ 2 ได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ได้รับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุยาเสพติดแม้ปริมาณน้อย ถือเป็นการ 'ผลิต' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
แม้เฮโรอีนของกลางมีจำนวนเพียงเล็กน้อย น้ำหนักเพียง0.45 กรัม ก็ตาม แต่ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522ให้คำนิยามคำว่า "ผลิต" ให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วย ดังนั้น การที่จำเลยเทเฮโรอีนจากในหลอดพลาสติกใส่ในหลอดกาแฟ แล้วนำหลอดกาแฟไปลนไปจากเทียนไขปิดหัวท้ายเพื่อจำหน่าย เป็นการแบ่งบรรจุอันเป็นการผลิตยาเสพติดให้โทษตามความหมายในมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้ว ไม่จำเป็นต้องกระทำกับยาเสพติดให้โทษจำนวนมาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่ทำสัญญาเช่าซื้อและอำนาจศาล: การลงลายมือชื่อคู่สัญญาเป็นสำคัญ
สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือซึ่งต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายมิฉะนั้นจะเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา572วรรคสองดังนั้นแม้มีการจัดทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อให้จำเลยที่1ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าซื้อที่จังหวัดลพบุรีแล้วแต่ยังไม่มีการลงลายมือชื่อคู่สัญญาฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อจึงยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เมื่อมีการส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในนามผู้ให้เช่าซื้อที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในท้องที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพื่อให้สัญญาครบถ้วนบริบูรณ์เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่ทำสัญญาฉบับนี้อันเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่2ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดในมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)และมาตรา5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย สถานที่ลงลายมือชื่อผู้ให้เช่าซื้อเป็นสถานที่ทำสัญญา
สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือซึ่งต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 วรรคสอง ดังนั้นแม้มีการจัดทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าซื้อที่จังหวัดลพบุรีแล้ว แต่ยังไม่มีการลงลายมือชื่อคู่สัญญาฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อ จึงยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์เมื่อมีการส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในนามผู้ให้เช่าซื้อที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในท้องที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพื่อให้สัญญาครบถ้วนบริบูรณ์ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่า สำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่ทำสัญญาฉบับนี้อันเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดในมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 4(1) และมาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย สถานที่ทำสัญญาสำคัญต่อเขตอำนาจศาล
สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือซึ่งต้องลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 วรรคสอง ดังนั้นแม้มีการจัดทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าซื้อที่จังหวัดลพบุรีแล้ว แต่ยังไม่มีการลงลายมือชื่อคู่สัญญาฝ่ายผู้ให้เช่าซื้อ จึงยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ เมื่อมีการส่งสัญญาดังกล่าวไปให้ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในนามผู้ให้เช่าซื้อที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ในท้องที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลแพ่งกรุงเทพใต้เพื่อให้สัญญาครบถ้วนบริบูรณ์ เช่นนี้ ย่อมถือได้ว่า สำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่ทำสัญญาฉบับนี้อันเป็นสถานที่ที่มูลคดีนี้เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดในมูลความแห่งคดีเกี่ยวข้องกันได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4(1) และมาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, ภูมิลำเนา, อายุความหนี้จากการรับทำงานและชำระหนี้แทนลูกหนี้, ลูกหนี้ร่วม
จำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี แห่งหนึ่ง และเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 40 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งแล้วจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่ 40 ดังกล่าวไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 355 หมู่ที่ 3แขวงลาดยาว เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ต่อมาจำเลยที่ 1 ย้ายจากบ้านเลขที่355 ไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8 อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 42/57 หมู่ที่ 8อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี แห่งหนึ่งและยังมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดปราจีนบุรี โดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของผู้ใด และจำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งย้ายออกไป หรือขอให้ทางราชการแก้ไขจำหน่ายชื่อออก แสดงว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะย้ายภูมิลำเนาออกจากบ้านเลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลวังใหม่ อำเภอวังน้ำเย็นจังหวัดปราจีนบุรี ถือได้ว่าบ้านเลขที่ 100 ดังกล่าวตามฟ้องเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1อีกแห่งหนึ่งด้วย แม้จำเลยที่ 2 จะมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลจังหวัดปราจีนบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) และมาตรา 5
โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการออกบัตรซื้อของเชื่อให้แก่สมาชิกผู้พำนักอยู่ในประเทศไทย เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการทั่วไปได้จากสถานประกอบการต่าง ๆ ในเครือห้างของบริษัททั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีสัญญายอมรับบัตรซื้อของเชื่อนั้นเพื่อขายสินค้าและบริการโดยโจทก์จะชำระเงินแทนแล้วโจทก์มาเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้บัตรที่โจทก์ออกให้ในภายหลัง ในการออกบัตรนี้โจทก์เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อปรากฏว่าการให้บริการของโจทก์ โจทก์ได้เรียกเก็บค่าสมาชิกค่าธรรมเนียมรายปีด้วย โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ และการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้ของสมาชิกแทนสมาชิกไปก่อนแล้ว จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลังเป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกทดรองไปก่อน ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาค่าที่ได้ออกเงินทดรองไปสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 165 (7) เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้
จำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้ร่วม มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ ประกอบกับจำเลยที่ 1 เป็นสมาชิกบัตร จำเลยที่ 2 เป็นสมาชิกบัตรเสริม สิทธิเรียกร้องของโจทก์ต่อจำเลยทั้งสองเป็นอย่างเดียวกัน การที่จำเลยที่ 1 ยกอายุความขึ้นต่อสู้ ถือได้ว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้ว เช่นกัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 59 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้และการยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้รับชำระหนี้และยกคำขอของเจ้าหนี้รายที่ 1 การที่เจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ที่จะสละสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ถอนคำขอรับชำระหนี้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้อง และเมื่อไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตเสียแล้ว กรณีก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน
ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 84 และ 87 มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ 4 รายสำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 1 ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำขอ ส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไป ดังนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามมาตรา 135 (2) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2436/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้ในการถอนคำขอรับชำระหนี้ และอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอให้ยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ได้รับชำระหนี้และยกคำขอของเจ้าหนี้รายที่1การที่เจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ยื่นคำร้องขอถอนคำขอรับชำระหนี้ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ที่จะสละสิทธิในการที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นให้ถอนคำขอรับชำระหนี้กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตอีกการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตจึงไม่ถูกต้องและเมื่อไม่มีกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องอนุญาตเสียแล้วกรณีก็ไม่จำต้องสอบถามจำเลยหรือจะต้องไต่สวนคำร้องคัดค้านของจำเลยก่อน ศาลฎีกาได้พิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา84และ87มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้4รายสำหรับคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่1ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งยกคำขอส่วนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้รายที่2ที่3และที่4ได้มีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้แล้วจึงไม่มีเจ้าหนี้ที่จะขอรับชำระหนี้ต่อไปดังนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจร้องขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ตามมาตรา135(2)แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483
of 64