พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: ลูกหนี้ร่วมกันมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ยังไม่เพียงชำระหนี้ได้ทั้งหมด
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่ง สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3653/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: หนังสือมอบอำนาจครอบคลุมการฟ้องคดีแพ่งโดยรวม แม้ไม่ได้ระบุเฉพาะเจาะจง
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์ระบุมอบอำนาจให้ ป. เป็นโจทก์และดำเนินคดียื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง แต่ปรากฏว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายนั้น เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง โดยโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญมาแล้ว โจทก์ไม่มีความจำเป็นต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งสามัญอีก คดีล้มละลายถือเป็นส่วนหนึ่งของคดีแพ่งแม้โจทก์จะมิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่ามอบอำนาจให้ฟ้องคดีล้มละลายก็น่าจะหมายถึงให้ฟ้องคดีล้มละลายได้ และการยื่นฟ้องขอให้ล้มละลาย ต้องยื่นต่อศาลซึ่งลูกหนี้มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150โจทก์จึงมีอำนาจยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ซื้อขายที่ดินด้วยเช็คที่มิได้ทำตามฟอร์มและจดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
ศาลแขวงวินิจฉัยว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยแต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่การซื้อขายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 โจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายได้พิพากษา ยกฟ้อง และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าการสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยเป็นการ ชำระหนี้การซื้อขายที่ดินที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ผิดไปจากศาลชั้นต้นฟังมา โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัย ข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 243(3)(ก) ประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 194 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3224/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์ กรณีคดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลแขวงวินิจฉัยว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์ขายให้แก่จำเลย แต่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การซื้อขายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 โจทก์ไม่อาจฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายได้ พิพากษายกฟ้อง และคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ว่าการสั่งจ่ายเช็คพิพาทของจำเลยเป็นการชำระหนี้การซื้อขายที่ดินที่ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นฟังมา โดยศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นผิดต่อกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 243 (3)(ก) ประกอบกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 มาตรา 4 จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงขัดต่อ ป.วิ.อ.มาตรา194 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ.2499 มาตรา 4 ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: พิจารณาความมุ่งหมายของลูกหนี้ในการให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้แก่ผู้คัดค้านต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย การจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆซึ่งจำเลย (ลูกหนี้) ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามมาตรา 115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แต่การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้รับจดทะเบียนจำนองจากจำเลยจึงเป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยตรง มิได้เป็นบุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 116ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิอันจะอ้างได้ว่าเป็นผู้ได้รับโอนหรือได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ทั้งการจดทะเบียนจำนองที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันการกู้เงินนั้น หากจำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ เมื่อขายทรัพย์จำนองผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับชำระหนี้จนครบก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายไปเฉลี่ยตามอัตราส่วนกับเจ้าหนี้อื่นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 แล้วซึ่งการเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรานี้มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและการเสียค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่แล้วโดยมีเจ้าหนี้อื่นอีกหลายรายและจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวการจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวของลูกหนี้(จำเลย) จึงเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้าน ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้คัดค้านในการแจ้งให้ผู้รับซื้อทรัพย์สินโอนกรรมสิทธิ์คืนแก่ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย และการที่หนังสือแจ้งนั้นไม่ถือเป็นคำสั่งที่สามารถร้องคัดค้านได้
++ เรื่อง ล้มละลาย (ชั้นคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์)
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 87 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 87 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือแจ้งให้โอนทรัพย์สินจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่ถือเป็นคำสั่งที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม
การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือแจ้งให้ผู้ร้องโอนที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นการกระทำในขั้นตอนของการจัดกิจการและทรัพย์สิน ของลูกหนี้ที่ 1 ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 แต่ตามหนังสือของผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นเพียงแจ้งข้อเท็จจริงประกอบข้อกฎหมายให้ผู้ร้องทราบ แม้ในตอนท้ายจะมี ข้อความขอให้ผู้ร้องโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินคืนแก่ลูกหนี้ที่ 1 หาก ไม่ปฏิบัติตาม ผู้คัดค้านจะดำเนินการตามกฎหมายก็ตาม ก็มีลักษณะเป็นเพียงคำชี้แนะของผู้คัดค้าน มิใช่เป็นคำสั่ง หรือคำวินิจฉัยชี้ขาดที่ผู้ร้องต้องปฏิบัติตาม ถ้าผู้ร้องเห็นว่า คำชี้แนะไม่ถูกต้อง ผู้ร้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ ฉะนั้น ลำพัง หนังสือของผู้คัดค้านที่แจ้งไปยังผู้ร้องดังกล่าว จึงยังไม่เป็นการ กระทำหรือคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านที่ทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 ผู้ร้องจึงไม่มี อำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งกลับหรือแก้ไขได้ ฎีกาผู้ร้องที่ว่า ภายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาด ผู้คัดค้านมิได้ตรวจสอบอายัดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1โดยเร็ว เป็นเหตุให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับซื้อที่ดินในภายหลังได้ รับความเสียหาย และผู้คัดค้านไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอน การโอนที่ดินดังกล่าวโดยอ้างว่าเป็นโมฆะเพราะคดีขาดอายุความ เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้เป็นประเด็นประกอบ กับคดีนี้ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องโดยเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ แล้วมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยข้อกฎหมาย จึงเป็นการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องขอของ ผู้คัดค้านซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 คดีจึงเสร็จไปทั้งเรื่องตามปัญหาข้อกฎหมายดังที่วินิจฉัยแล้ว ไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาอื่นตามฎีกาผู้ร้องอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืนของกลาง: ปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ได้รับการยกขึ้นสู่การพิจารณา
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง ป.อ.มาตรา 371, 376 ฐานพาอาวุธปืนฯ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 ทวิ วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุด ปรับ 2,000 บาท ฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ ปรับ 500 บาทรวมปรับ 2,500 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงว่าศาลชั้นต้นไม่ควรใช้ดุลพินิจริบอาวุธปืนของกลาง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่า อาวุธปืนของกลางมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดหรือใช้ในการกระทำความผิด จึงริบไม่ได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 และ 33จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งคดีนี้เมื่อจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืนของจำเลยยิงในหมู่บ้านจริง อาวุธปืนของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืนของกลาง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาใหม่เกินกรอบประเด็นข้อเท็จจริงที่อุทธรณ์
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน พ.ศ. 2490มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371,376 ฐานพาอาวุธปืนฯ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 ทวิ วรรคสอง ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด ปรับ 2,000 บาท ฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ ปรับ 500 บาท รวมปรับ 2,500 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะ ปัญหาข้อเท็จจริงว่าศาลชั้นต้นไม่ควรใช้ดุลพินิจ ริบอาวุธปืนของกลาง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218จำเลยฎีกาว่า อาวุธปืนของกลางมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็น ความผิดหรือใช้ในการกระทำความผิด จึงริบไม่ได้ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และ 33 จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งคดีนี้เมื่อจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืน ของจำเลยยิงในหมู่บ้านจริง อาวุธปืนของกลาง จึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับ การวินิจฉัย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2204/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้เช่ารถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุ และการพิจารณาคดีแพ่งควบคู่กับคดีอาญา
แม้ขณะเกิดเหตุโจทก์ไม่ใช่เจ้าของรถยนต์โดยสารคันพิพาทแต่โจทก์เช่ารถยนต์คันพิพาทจากบริษัท ม.โจทก์ย่อมมีสิทธิครอบครองใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่ามาและมีหน้าที่ต้องส่งคืนรถยนต์ในลักษณะที่เรียบร้อยแก่ผู้ให้เช่า เมื่อรถยนต์คันที่โจทก์เช่ามาถูกเฉี่ยวชนได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมเป็น ผู้เสียหายและมีอำนาจฟ้องได้ พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง ส. กับจำเลยที่ 1ในคดีนี้เป็นจำเลยอีกคดี ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43(4) และ 157 ซึ่งเป็นความผิดที่รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย โจทก์คดีนี้จึง ไม่ใช่ผู้เสียหายหรือคู่ความในคดีอาญาดังกล่าว ดังนั้น ในการพิพากษาคดีนี้จึงไม่ต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏ ในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว