คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ คำอ่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลายตามมาตรา 73(1) พ.ร.บ.ล้มละลายฯ: ทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้ไม่ถึง 50% ของหนี้
คำสั่งคำขอปลดจากล้มละลายอาจแยกได้เป็น 2 กรณีคือ กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 71 วรรคสอง ที่ห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งปลดจาก ล้มละลาย ถ้าได้ความว่าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต นอกจากจะมี เหตุผลพิเศษและลูกหนี้ได้ล้มละลายแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และตามมาตรา 72 ที่กำหนดว่าถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความ อย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73 แล้ว ให้ศาลมีคำสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตาม (1) ถึง (4) ถ้าไม่ใช่กรณี ดังกล่าวแล้วก็เป็นกรณีทั่วไปซึ่งศาลมีอำนาจมีคำสั่ง อย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดตามมาตรา 73(1) จึงเป็น กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4) ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ได้ ต้องมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72(4) เท่านั้น กรณีพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73(1) ระบุว่า สินทรัพย์ของบุคคลล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้มีเหลือ ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันนั้นหมายความว่า ในขณะที่บุคคลล้มละลายร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปลดจาก ล้มละลายบุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันการที่เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้หลังจาก ศาลมีคำสั่งปิดคดี ย่อมอยู่ในความหมายของมาตรา 73(1) ดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เต็มจำนวนหนี้ซึ่งยังไม่ได้ชำระให้เสร็จ ภายในกำหนดเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีคำสั่งตามมาตรา 72(4) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลาย: กรณีพิเศษตามมาตรา 73 (1) พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และอำนาจศาล
คำสั่งคำขอปลดจากล้มละลายอาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ อันได้แก่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 71วรรคสอง ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลมีคำสั่งปลดจากล้มละลาย ถ้าได้ความว่าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต นอกจากจะมีเหตุผลพิเศษและลูกหนี้ได้ล้มละลายแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี และตามมาตรา 72 ที่บัญญัติว่า ถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73 แล้ว ให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตาม (1) ถึง (4) ถ้าไม่ใช่กรณีดังที่บัญญัติในมาตรา 71 วรรคสอง และมาตรา 72ดังกล่าวข้างต้นแล้วก็เป็นกรณีทั่วไปซึ่งศาลมีอำนาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง
ตามรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ความว่า มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 รวม 4 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น2,916,766.76 บาท ต่อมาเจ้าหนี้รายที่ 5 และที่ 7 ขอถอนคำขอรับชำระหนี้คงเหลือเจ้าหนี้รายที่ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 240,301.37 บาท และเจ้าหนี้รายที่ 9 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 132,305 บาท จำเลยที่ 2 มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดและขายทอดตลาดชำระหนี้จำนองให้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง หลังจากศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้อีก แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีสินทรัพย์เหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความประมาทหรือความผิดพลาดของจำเลยที่ 2ที่ยอมทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันควรตำหนิจำเลยที่ 2 มากกว่า และจำเลยที่ 2 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 สามารถชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ได้จึงได้ยอมก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73 (1)จึงเป็นกรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72 (1) ถึง (4) ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ได้ ต้องมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72 (4) เท่านั้นทั้งไม่ใช่กรณีทั่วไปที่ศาลมีอำนาจมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73 (1) ที่ระบุว่าสินทรัพย์ของบุคคลล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้มีเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันหมายความว่า ในขณะที่บุคคลล้มละลายร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งปลดจากล้มละลาย บุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้หลังจากศาลมีคำสั่งปิดคดี ย่อมอยู่ในความหมายของมาตรา 73 (1)ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตามมาตรา 73 (1) ศาลจึงต้องมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72 (1) ถึง (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2131/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ต้องพิจารณาจากทรัพย์สินที่อาจแบ่งได้แก่เจ้าหนี้ แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมไม่ได้
คำสั่งคำขอปลดจากล้มละลายอาจแยกได้เป็น 2 กรณี คือ กรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ อันได้แก่ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 71 วรรคสอง ที่บัญญัติห้ามมิให้ศาลมีคำสั่ง ปลดจากล้มละลาย ถ้าได้ความว่าเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต นอกจากจะมีเหตุผลพิเศษและลูกหนี้ได้ล้มละลายแล้วเป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 5 ปี และตามมาตรา 72 ที่บัญญัติว่า ถ้าพิจารณาข้อเท็จจริงได้ความอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวไว้ในมาตรา 73แล้ว ให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตาม(1) ถึง (4) ถ้าไม่ใช่กรณีดังที่บัญญัติในมาตรา 71 วรรคสองและมาตรา 72 ดังกล่าวข้างต้นแล้วก็เป็นกรณีทั่วไปซึ่งศาลมีอำนาจมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ตามรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ความว่า มีเจ้าหนี้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 รวม 4 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 2,916,766.76 บาท ต่อมาเจ้าหนี้ รายที่ 5 และที่ 7 ขอถอนคำขอรับชำระหนี้คงเหลือเจ้าหนี้ รายที่ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 240,301.37 บาท และ เจ้าหนี้รายที่ 9 ที่ได้รับอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้ 132,305 บาท จำเลยที่ 2 มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง แต่ถูก เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดและขายทอดตลาดชำระหนี้ จำนองให้แก่ธนาคารทหารไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนองหลังจากศาลมีคำสั่งให้ปิดคดีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้อีก แสดงว่าจำเลยที่ 2 มีสินทรัพย์เหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน เหตุที่เป็นเช่นนั้นไม่ใช่เป็นเหตุสุดวิสัย แต่เป็นเพราะความประมาทหรือความผิดพลาดของจำเลยที่ 2 ที่ยอมทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันควรตำหนิจำเลยที่ 2มากกว่า และจำเลยที่ 2 ไม่อาจแสดงให้เป็นที่พอใจต่อศาลได้ว่า จำเลยที่ 2 มีเหตุผลที่ควรเชื่อได้ว่า หากจำเลยที่ 1ไม่ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 สามารถชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ได้จึงได้ยอมก่อหนี้ตามสัญญาค้ำประกัน ข้อเท็จจริงต้องด้วยข้อกำหนดมาตรา 73(1) จึงเป็นกรณีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ ให้ศาลมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายอย่างตามมาตรา 72(1)ถึง (4) ศาลจะมีคำสั่งปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไขไม่ได้ ต้องมีคำสั่งปลดจากล้มละลายตามวิธีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 72(4) เท่านั้นทั้งไม่ใช่กรณีทั่วไปที่ศาลมีอำนาจมีคำสั่งปลดจาก ล้มละลายตามมาตรา 71 วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 73(1)ที่ระบุว่าสินทรัพย์ของบุคคลล้มละลายที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้มีเหลือไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกันหมายความว่า ในขณะที่บุคคลล้มละลายร้องขอต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่ง ปลดจากล้มละลาย บุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ไม่ถึงห้าสิบในร้อยของหนี้ที่ไม่มีประกัน การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถรวบรวมทรัพย์สินของ จำเลยที่ 2 ได้หลังจากศาลมีคำสั่งปิดคดี ย่อมอยู่ในความหมาย ของมาตรา 73(1) ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความตาม มาตรา 73(1) ศาลจึงต้องมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดหรือ หลายอย่างตามมาตรา 72(1) ถึง (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ: การฟ้องความรับผิดจากความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม จำเลยต้องรับผิดตามมาตรา 420 ไม่ใช่ 428
กำแพงรั้วของโจทก์เกิดความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม ของผู้รับจ้างก่อสร้างบ้านจำเลย โดยจำเลยได้คอยควบคุมดูแล อยู่ตลอดเวลา ถือว่าการตอกเสาเข็มเป็นไปตามคำสั่ง ของจำเลยโดยตรง โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า ในระหว่างการก่อสร้างบ้านจำเลย ได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ปรากฏว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม โจทก์เกรงว่าอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่งให้จำเลยแก้ไขแล้ว แต่จำเลยกลับเพิกเฉยและยังใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มต่อไปจนเสร็จ อีกทั้งมิได้หาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล.บนกำแพงรั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆ ที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีต ได้รับความเสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิด จากการกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่อง ผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้าง ได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง เพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร แม้ความรับผิด ตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่คำฟ้องโจทก์ ก็จะต้องแสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอคำบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษา เกินคำขอ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ: จำเลยต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ไม่ใช่มาตรา 428
กำแพงรั้วของโจทก์เกิดความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม ของผู้รับจ้างก่อสร้างจากจำเลย โดยจำเลยได้คอยควบคุม ดูแลอยู่ตลอดเวลา ถือว่าการตอกเสาเข็มเป็นไปตามคำสั่ง ของจำเลยโดยตรง แต่โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า ในระหว่าง การก่อสร้างบ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ปรากฏว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม โจทก์เกรงว่าอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่ง ให้จำเลยแก้ไขแล้ว แต่จำเลยเพิกเฉยและยังใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรงสั่นสะเทือนหรือ เปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็ม อีกทั้งมิได้หาทางป้องกัน มิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อ ของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพงรั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆ ที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีตได้รับความเสียหาย อันเป็น การบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการกระทำของจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้ จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 เพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยาย ว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไรแม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่ คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดงให้แจ้งชัดสภาพแห่งข้อหาและคำขอ คำบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งแห่งข้อหาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 การที่ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากความประมาทเลินเล่อจากการก่อสร้าง การพิพากษาเกินคำขอ
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ในระหว่างการก่อสร้าง บ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่งให้จำเลยแก้ไขแล้วแต่จำเลยกลับเพิกเฉยและยังใช้ ปั้นจั่นตอกเสาเข็มต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรง สั่นสะเทือนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็มแต่อย่างใด อีกทั้งมิได้หาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพง รั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีต ได้รับความเสียหายนั้น เป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจาก การกระทำของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่องผู้ว่าจ้าง ทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อ ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้าง เพราะ ตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิด ในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร และแม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดง ให้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ดังนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิด ตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1882/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ว่าจ้างจากการกระทำของผู้รับจ้าง: การบรรยายฟ้องที่ชัดเจนและการบังคับตามคำขอ
กำแพงรั้วของโจทก์เกิดความเสียหายจากการตอกเสาเข็มของผู้รับจ้างก่อสร้างจากจำเลย โดยจำเลยได้คอยควบคุมดูแลอยู่ตลอดเวลา ถือว่าการตอกเสาเข็มเป็นไปตามคำสั่งของจำเลยโดยตรง แต่โจทก์บรรยายฟ้องคดีนี้ว่า ในระหว่างการก่อสร้างบ้านจำเลยได้มีการใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม ปรากฏว่าแรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็ม โจทก์เกรงว่าอาจทำให้กำแพงรั้วคอนกรีตและตัวบ้านเสียหาย โจทก์ได้สั่งให้จำเลยแก้ไขแล้วแต่จำเลยกลับเพิกเฉยและยังใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มต่อไปจนเสร็จ โดยไม่ได้แก้ไขเรื่องแรงสั่นสะเทือนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องตอกเสาเข็มแต่อย่างใด อีกทั้งมิได้หาทางป้องกันมิให้เกิดความเสียหายแก่บ้านโจทก์ และด้วยความประมาทเลินเล่อของจำเลยทำให้กำแพงรั้วคอนกรีต คานและหลังคา ค.ส.ล. บนกำแพงรั้วคอนกรีตของบ้านโจทก์ รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งอื่น ๆที่ติดอยู่ภายในกำแพงรั้วคอนกรีตได้รับความเสียหาย อันเป็นการบรรยายฟ้องให้จำเลยรับผิดจากการกระทำของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 มิใช่ให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 ซึ่งเป็นเรื่องผู้ว่าจ้างทำของไม่ต้องรับผิดเพื่อความเสียหายอันผู้รับจ้างได้ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างทำการงานที่ว่าจ้าง เว้นแต่ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ หรือในคำสั่งที่ตนให้ไว้ หรือในการเลือกหาผู้รับจ้างเพราะตามคำฟ้องไม่ได้บรรยายว่าจำเลยว่าจ้างใคร และมีส่วนผิดในการงานที่สั่งให้ทำอย่างไร แม้ความรับผิดตามมาตรา 420 อาจซ้อนกับมาตรา 428 ได้ แต่คำฟ้องโจทก์ก็จะต้องแสดงให้แจ้งชัดสภาพแห่งข้อหาและคำขอคำบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแหล่งแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยรับผิดตามมาตรา 428 จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด เมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่ คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้ จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงไม่อาจนำบทบัญญัติ เกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ ดังนี้ แม้โจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึด ทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ก็ตาม แต่เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมา ขอรับชำระหนี้อีก หนี้ของเจ้าหนี้จึงต้องห้ามมิให้ ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีการบังคับคดีแต่ไม่ทันอายุความ
เจ้าหนี้จึงยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาแต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเมื่อปรากฏว่าหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้ว หนี้ตามคำพิพากษาของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/32 แม้โจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดจนครบกำหนดสิบปีและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แต่กำหนดเวลาให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ.จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดเจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้อีก ดังนั้นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1506/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย การบังคับคดีไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความสะดุดหยุดลง
เจ้าหนี้ยึดทรัพย์จำนองที่จำเลยจำนองไว้เป็นประกันหนี้ออกขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา แต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ เมื่อหักยอดหนี้ที่ค้างชำระและคิดดอกเบี้ยจนถึงวันที่ขายทอดตลาดแล้ว จำเลยยังคงเป็นหนี้เจ้าหนี้รวมเป็นเงิน 96,551,833.69 บาท ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดเจ้าหนี้จึงนำหนี้ที่ค้างชำระดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อปรากฏว่าหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อพ้น 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาในคดีแพ่งถึงที่สุดแล้วจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 แม้โจทก์จะได้ดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยโดยมีการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดจนครบกำหนดสิบปีและได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ก็ตาม แต่กำหนดเวลาให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271มิใช่อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องอันจะอยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติเกี่ยวกับอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ เมื่อเจ้าหนี้มิได้บังคับคดีในหนี้ส่วนที่เหลือภายใน 10 ปี นับแต่วันที่คดีแพ่งได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้ย่อมหมดสิทธิบังคับในหนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้อีกดังนั้นหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นหนี้ที่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 94(1)
of 64