คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ คำอ่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7063/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองในการได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดี
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และได้ยื่นคำร้องเข้ามาภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ผู้ร้องย่อมมีสิทธิที่จะร้องขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งออกหมายบังคับคดีให้เอาเงินที่ได้มานั้นชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ได้ โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะมีเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นมาขอเฉลี่ยหนี้ของจำเลยหรือไม่ การขายทอดตลาดทรัพย์จำนองนั้นขายได้ 2 วิธี คือขายโดยปลอดจำนองหรือขายโดยติดจำนอง การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตนได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ย่อมแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องประสงค์ให้นำทรัพย์สินจำนองออกขายโดยปลอดจำนองแล้วจำเงินที่ได้จากการขายมาชำระหนี้ตน ก่อนเจ้าหนี้อื่น และการที่วรรคสองของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 บัญญัติให้ผู้รับจำนองยื่นคำร้องเสียก่อนเอาทรัพย์สินนั้นออก ขายทอดตลาดก็เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีจะได้ดำเนินการขายไป ได้ถูกต้องตามเจตนาของผู้รับจำนอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้อง เป็นผู้รับจำนองผู้ร้องย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6806/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการฝ่าฝืนกฎหมาย, จำเป็นต้องไต่สวนและรับฟังทุกฝ่าย
คำร้องขอให้ยกเลิกการขายทอดตลาดของจำเลย อ้างว่าพนักงานของโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์สนิทสนมกับเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงขายทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาขายทอดตลาดในครั้งแรก คำร้องมีข้อความครบถ้วนแสดงให้เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองแล้ว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเป็นการไม่ชอบ แต่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด โดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นสั่งรับคำร้องและสำเนาให้ทุกฝ่ายคัดค้าน แล้วทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีนั้นก็ยังไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสาม ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของจำเลยทั้งสองไว้ดำเนินการไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: บริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทและขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลยไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวารและทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดีและเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทจึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้องและเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6702/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับบริวารจำเลย แม้ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี โดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความและหลักการบริวาร
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาท และขอให้บังคับจำเลยกับบริวารออกไปจากบ้านพิพาท ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงกันได้ โดยโจทก์ยอมขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลย หากจำเลยผิดนัดให้ถือว่าจำเลย ไม่ติดใจซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากโจทก์ และยอมขนย้ายบริวาร และทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาทภายในกำหนดระยะเวลา ที่ตกลงกัน และศาลชั้นต้นได้พิพากษาไปตาม สัญญาประนีประนอมยอมความ ต่อมาจำเลยผิดนัดไม่ปฏิบัติตาม สัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์จึงขอให้บังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ปิดประกาศกำหนดเวลาให้ผู้ที่อ้างว่า ไม่ใช่บริวารจำเลยแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายใน 8 วัน มิฉะนั้นจะถือว่าเป็นบริวารของจำเลย ดังนี้ เมื่อครบกำหนด เวลาดังกล่าว การที่ผู้ร้องยังอาศัยอยู่ในบ้านพิพาท จึงถือว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะบริวารของจำเลยแม้ผู้ร้องไม่ได้ถูกฟ้อง และเป็นคู่ความในคดีนี้ด้วยก็ตาม โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่ ผู้ร้องได้ ทั้งนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าฝากทรัพย์ในคลังสินค้า เริ่มนับจากวันสิ้นสัญญา ไม่ใช่วันขนย้ายสินค้า
บริษัทท.ผู้ฝากของในคลังสินค้าได้สลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่โจทก์รับฝากไว้ไปเป็นของจำเลย และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วจำเลยจึงเป็นผู้สวนสิทธิบริษัทท.ผู้ฝาก เมื่อใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 774 โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัทท.ผู้ฝาก ถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า1 เดือน โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2536 ถึงจำเลยแจ้งว่า อายุของการฝากสินค้าได้สิ้นสุดลงแล้ว ให้จำเลยชำระค่าฝากสินค้าและขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าของโจทก์ ดังนั้น สัญญาย่อมสิ้นสุดตั้งแต่วันครบ 1 เดือนคือวันที่ 18 มีนาคม 2536 และโจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายในอายุความตามกฎหมายนับแต่วันที่สิ้นสุดของสัญญาดังกล่าวมิใช่เริ่มนับอายุความนับแต่วันที่มีการขนย้ายสินค้าออกจาก คลังสินค้า กฎหมายลักษณะเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ และตามมาตรา 771 ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยฝากทรัพย์มาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะเก็บของ ในคลังสินค้า จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา 671 มาใช้บังคับ ในคดีนี้โดยอนุโลม โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2538จึงพ้นกำหนด 6 เดือน แล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าฝากสินค้าในคลังสินค้า เริ่มนับจากวันสิ้นสัญญา ไม่ใช่วันขนย้ายสินค้า
บริษัท ท.นำสินค้าฝากไว้กับคลังสินค้าของโจทก์ต่อมาบริษัทท. สลักหลังจำนำสินค้าตามใบประทวนสินค้าและสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ใบรับของคลังสินค้าดังกล่าวให้จำเลย แต่บริษัท ท. ค้างชำระค่าฝากสินค้า ปรากฏว่าใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัท ท. ผู้ฝากถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า 1 เดือน เมื่อโจทก์ได้บอกกล่าวไปแล้ว สัญญาย่อมสิ้นสุดลงตั้งแต่วันครบ 1 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 774 โจทก์ต้องฟ้องคดีให้จำเลยใช้เงินค่าฝากสินค้าภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสัญญา โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะเก็บของในคลังสินค้า มาตรา 771 ให้นำอายุความของลักษณะฝากทรัพย์ มาตรา 671 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเก็บของในคลังสินค้า: เริ่มนับเมื่อสัญญาสิ้นสุด ไม่ใช่นับจากวันขนย้ายสินค้า
บริษัท ท.ผู้ฝากของในคลังสินค้าได้สลักหลังใบรับของคลังสินค้าโอนกรรมสิทธิ์สินค้าที่โจทก์รับฝากไว้ไปเป็นของจำเลย และจำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยจึงเป็นผู้สวมสิทธิบริษัท ท.ผู้ฝาก เมื่อใบประทวนสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาฝากสินค้าว่าสิ้นสุดลงเมื่อใด ตาม ป.พ.พ.มาตรา 774 โจทก์ในฐานะนายคลังสินค้าจะเรียกให้จำเลยผู้สวมสิทธิของบริษัท ท.ผู้ฝาก ถอนสินค้าได้ต่อเมื่อบอกกล่าวให้จำเลยทราบล่วงหน้า 1 เดือน โจทก์มีหนังสือลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์2536 ถึงจำเลยแจ้งว่า อายุของการฝากสินค้าได้สิ้นสุดลงแล้ว ให้จำเลยชำระค่าฝากสินค้าและขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้าของโจทก์ ดังนั้น สัญญาย่อมสิ้นสุดตั้งแต่วันครบ1 เดือน คือวันที่ 18 มีนาคม 2536 และโจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายในอายุความตามกฎหมายนับแต่วันที่สิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว มิใช่เริ่มนับอายุความนับแต่วันที่มีการขนย้ายสินค้าออกจากคลังสินค้า
กฎหมายลักษณะเก็บของในคลังสินค้าไม่ได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ และตามมาตรา 771 ซึ่งเป็นบทเบ็ดเสร็จทั่วไปของลักษณะเก็บของในคลังสินค้าบัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยฝากทรัพย์มาใช้บังคับแก่การเก็บของในคลังสินค้าด้วยเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติในลักษณะเก็บของในคลังสินค้า จึงต้องนำบทบัญญัติมาตรา671 มาใช้บังคับในคดีนี้โดยอนุโลม โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 14 มิถุนายน 2538 จึงพ้นกำหนด 6 เดือน แล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขรก.บำนาญกลับรับราชการใหม่ สิทธิรับเงินบำนาญ/ค่าครองชีพเปลี่ยนแปลง การแจ้งข้อมูลสำคัญต่อหน่วยงาน
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. 2500 มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า "ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้ว ภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือน รวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิมต้องลดบำนาญลงในระหว่าง ที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญ ไม่สูงกว่าเดือนเดิม" ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับเงินเดือน ในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิม เมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือน ที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน 290 บาท สำหรับเงินช่วย ค่าครองชีพข้าราชการบำนาญจำนวน 63,460 บาท ที่จำเลยรับไป จากโจทก์ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2521 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2533 นั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2514 จำเลยจึงไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวตามพระราชกฤษฎีกาช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญพ.ศ. 2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2523 และเป็น หน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับ เข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่น เพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่มและเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6660/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับบำนาญและผลกระทบจากการกลับเข้ารับราชการใหม่ รวมถึงหน้าที่แจ้งข้อมูลและการเรียกคืนเงิน
พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2500มาตรา 34 วรรคแรก กำหนดหลักเกณฑ์สำหรับข้าราชการบำนาญที่กลับรับราชการใหม่ไว้ว่า ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้ซึ่งได้รับหรือมีสิทธิในบำนาญปกติแล้วภายหลังกลับเข้ารับราชการใหม่ ถ้าเงินเดือนที่ได้รับในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำนาญรวมกันไปด้วยก็ได้ แต่ถ้าเงินเดือนรวมกับบำนาญสูงกว่าเงินเดือนเดิม ต้องลดบำนาญลงในระหว่างที่รับราชการครั้งหลังจนเงินเดือนใหม่รวมกับบำนาญไม่สูงกว่าเงินเดือนเดิม ดังนั้น เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนในขณะที่เข้ารับราชการครั้งใหม่น้อยกว่าเงินเดือนเดิมเมื่อก่อนออกจากราชการเป็นเงิน 290 บาท บำนาญแต่ละเดือนที่จำเลยมีสิทธิได้รับจึงมีไม่เกิน290 บาท และสำหรับเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญที่จำเลยรับไปจากโจทก์ระหว่างวันที่ออกจากราชการนั้น เมื่อจำเลยเข้ารับราชการใหม่แล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิรับเงินดังกล่าวอีกตาม พ.ร.ฏ.ช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ พ.ศ.2521 มาตรา 5 เดิม ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2521 และที่แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ.2523
เมื่อเป็นหน้าที่ของจำเลยในอันที่จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการใหม่ในหน่วยราชการอื่นเพื่อโจทก์จะได้จ่ายเงินบำนาญให้แก่จำเลยได้ถูกต้องตามสิทธิของจำเลย การที่จำเลยไม่แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกลับเข้ารับราชการใหม่ทำให้โจทก์จ่ายเงินบำนาญรวมเงินเพิ่ม และเงินช่วยค่าครองชีพข้าราชการบำนาญแก่จำเลยไปเกินกว่าสิทธิที่จำเลยจะได้รับนั้นเป็นการปิดบังทำให้โจทก์เสียหาย โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่าย: พยานหลักฐานจากปริมาณ, การแบ่งบรรจุ, และคำรับสารภาพ
สภาพและลักษณะกัญชาของกลางมีปริมาณมากโดยมีน้ำหนัก รวมถึง 474.30 กรัม เกินกว่าวิสัยแห่งการมีไว้เพื่อเสพเอง แต่เป็นปริมาณมากพอจะนำไปจำหน่ายจ่ายแจกได้และกัญชาของกลาง ถูกจัดแบ่งบรรจุถุงเล็ก ๆ ไว้ถึง 23 ถุง ซึ่งรวมบรรจุใน ถุงหิ้วบรรจุกัญชาแห้งอีกส่วนหนึ่ง อันแสดงลักษณะว่าจำเลย ได้จัดแบ่งไว้เพื่อขายหรือจำหน่ายแก่บุคคลอื่น ประกอบกับ ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหามี กัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และยังนำชี้ที่เกิดเหตุแสดงท่าทางประกอบคำรับสารภาพ ทั้งเจ้าพนักงานผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนต่างก็เบิกความยืนยันว่าจำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ จึงไม่มีเหตุสงสัยว่าจะเบิกความปรักปรำจำเลย ดังนั้น แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานรู้เห็นว่าจำเลยได้จำหน่ายกัญชาก็ตาม พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาก็มีน้ำหนักมั่นคงรับฟังลงโทษจำเลยฐานมีกัญชาของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายได้
of 64