คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ไพโรจน์ คำอ่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 636 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิด พ.ร.บ.เล่นแชร์: สิทธิฟ้องร้องของสมาชิกวงแชร์ต่อบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 และมาตรา 7 ได้แยกการกระทำของนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาในการเป็นนายวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ที่จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวไว้ต่างหากจากกัน ทั้งได้บัญญัติให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์ในการเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เฉพาะบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เท่านั้น แต่กรณีนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์เป็นนิติบุคคลแล้วกฎหมายมิได้ให้สิทธิแก่สมาชิกวงแชร์แต่อย่างใด และตามบัญญัติมาตรา 7 หาได้จำกัดให้สมาชิกวงแชร์ฟ้องได้เฉพาะคดีแพ่งไม่ เมื่อ พ.ร.บ.การเล่นแชร์มีบทบัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้เป็นความผิดทางอาญาด้วย สมาชิกวงแชร์ย่อมมีสิทธิฟ้องบุคคลธรรมดาที่เป็นนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์ที่กระทำการตามมาตรา 6 เป็นคดีอาญาได้
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล เมื่อตามคำฟ้องปรากฏว่าโจทก์ได้ร่วมเล่นแชร์ที่จำเลยที่ 1 จัดขึ้นย่อมถือว่ามีส่วนร่วมในการกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 5 โจทก์ย่อมมิใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ว่ากระทำความผิดตามมาตรา 5 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 16 ได้
ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลธรรมดา กรณีต้องด้วยมาตรา 6 และ 7 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้รับผิดตามมาตรา 6ซึ่งมีโทษตามมาตรา 17 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขายสินค้า: การผ่อนชำระไม่สะดุดอายุความ
จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องยนต์จากโจทก์ในราคา 100,000 บาท ตกลงเงื่อนไข การชำระเงินไว้ว่าให้จำเลยชำระร้อยละ 30 ของราคาสินค้าในวันส่งของ ส่วนที่เหลือจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าจำนวน 6 ฉบับถึงกำหนดชำระทุก 30 วัน ดังนั้นจำเลยต้องชำระเงินจำนวน 34,000 บาท ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยในวันส่งของนั้นเองส่วนค่าสินค้าจำนวน 66,000 บาท ที่จำเลยชำระเป็นเช็คจำนวน 6 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินทุก 30 วันตามลำดับ เป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ มิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนของเงินจำนวน 34,000 บาท อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1) สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปีนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(1)ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6038/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการเรียกร้องค่าสินค้า: การชำระหนี้บางส่วนไม่สะดุดอายุความเมื่อยังไม่ถึงกำหนดชำระทั้งหมด
จำเลยได้สั่งซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์เครื่องยนต์จากโจทก์ในราคา 100,000 บาท ตกลงเงื่อนไขการชำระเงินไว้ว่าให้จำเลยชำระร้อยละ30 ของราคาสินค้าในวันส่งของ ส่วนที่เหลือจ่ายเป็นเช็คล่วงหน้าจำนวน 6 ฉบับถึงกำหนดชำระทุก 30 วัน ดังนั้น จำเลยต้องชำระเงินจำนวน 34,000 บาทซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยในวันส่งของนั้นเอง ส่วนค่าสินค้าจำนวน66,000 บาท ที่จำเลยชำระเป็นเช็คจำนวน 6 ฉบับ ถึงกำหนดชำระเงินทุก 30 วันตามลำดับ เป็นการผ่อนชำระค่าสินค้าเป็นคราว ๆ มิใช่เป็นการรับสภาพหนี้ด้วยการชำระหนี้บางส่วนของเงินจำนวน 34,000 บาท อายุความจึงไม่สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (1)
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบมีอายุความ 2 ปี นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1) ประกอบมาตรา 193/12 เมื่อนับจากวันที่โจทก์ส่งสินค้าให้จำเลยถึงวันฟ้องเกิน 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5890/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การกำหนดชำระหนี้ไม่แน่นอน & การผิดสัญญาของผู้ซื้อ
ตามสัญญาจะซื้อจะขาย ข้อ 2 ระบุว่า "ส่วนเงินที่ค้าง ชำระเป็นเงิน 1,365,000 บาท ผู้จะซื้อให้สัญญาว่าจะชำระเงินภายใน 6 เดือน หรือต่อเมื่อผู้จะซื้อได้รับโอนกรรมสิทธิ์ น.ส.3 ก. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว" ได้ความว่าขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์นั้น การออก น.ส.3 ก. จะแล้วเสร็จเมื่อไรยังไม่ทราบ แสดงว่าการขอออก น.ส.3 ก. ดังกล่าวอาจจะมีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือน ก็ได้ ดังนั้น จึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว ปรากฏว่าเมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้ว จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ มารับโอนที่ดินแต่โจทก์แจ้งว่าให้จำเลยถมทางเข้าที่ดินก่อน จำเลยจึงได้ดำเนินการถมที่ดิน แสดงว่าจำเลยก็มิได้ ถือกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ หลังจากถมที่ดิน เสร็จแล้วโจทก์แจ้งว่าประมาณเดือนมีนาคม 2536 จะมารับโอน ที่ดินพร้อมกับจ่ายเงินให้ แต่ครั้นถึงกำหนดโจทก์ก็ ไม่มารับโอนโดยอ้างว่ายังไม่พร้อมและจะนัดใหม่ประมาณ ปลายเดือนมีนาคม 2536 โดยไม่ได้ระบุวันที่แน่นอนไว้เมื่อครบกำหนดโจทก์ก็มิได้ติดต่อมา แสดงว่าโจทก์จำเลย มิได้กำหนดวันโอนที่ดินกันไว้ให้แน่นอน เมื่อโจทก์ยังไม่มา รับโอนจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ ต่อมาเมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา แต่จำเลยไม่ไปตามกำหนด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์และตกเป็น ผู้ผิดนัดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตามสัญญาซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5890/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การกำหนดเวลาโอนที่ดินและความผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่ง จ.ตาของจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นที่ดินเนื้อที่ 55 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา ในราคาไร่ละ30,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว ส่วนเงินที่เหลือจำนวน 1,365,000 บาท จะชำระให้ภายใน 6 เดือน หรือต่อเมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวซึ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เรียบร้อยแล้ว ต่อมาหลังทำสัญญา 3 เดือน เจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 3595แต่ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ การขอออก น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินดังกล่าวอาจจะมีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนก็ได้ จึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว เมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้ว จำเลยได้ติดต่อจ่าสิบตำรวจ ภ.ให้โจทก์มารับโอนที่ดิน แต่โจทก์แจ้งว่าให้จำเลยถมทางเข้าที่ดินก่อนเพื่อที่จะให้ทางธนาคารมาดู จำเลยจึงได้ดำเนินการถมที่ดินเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 10,000 บาท แสดงว่าจำเลยก็มิได้ถือกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ทั้งหลังจากถมที่ดินเสร็จแล้วจ่าสิบตำรวจ ภ.ได้มาดูที่ดินและแจ้งกับจำเลยว่าประมาณเดือนมีนาคม 2536 จะมารับโอนที่ดินพร้อมกับจ่ายเงินให้ ครั้นถึงกำหนดโจทก์ก็ไม่ได้มารับโอนที่ดิน เมื่อจำเลยไปที่บ้านโจทก์ โจทก์แจ้งว่ายังไม่พร้อม แต่จะนัดหมายใหม่ประมาณปลายเดือนมีนาคม2536 โดยไม่ได้ระบุวันที่แน่นอนไว้ ครั้นครบกำหนดแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ติดต่อมา แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้กำหนดวันโอนที่ดินดังกล่าวกันไว้ให้แน่นอน เมื่อโจทก์ยังไม่มารับโอนจึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ ดังนี้ เมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่จำเลยไม่ได้ไปตามกำหนดนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ และตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการจดทะเบียนสิทธิ: สิทธิใครเหนือกว่าเมื่อผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองเดิม
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวจึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปีโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องจดทะเบียนเพื่อใช้ยันสิทธิของผู้อื่น การฟ้องขับไล่เริ่มนับจากวันจดทะเบียน
จำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 แต่เมื่อจำเลยยังมิได้จดทะเบียนสิทธิการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าว จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์ซึ่งได้ซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดของกรมสรรพากรโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิตั้งแต่ปี 2531 ได้ และโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนับแต่ปี 2531 แล้ว หาใช่นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระราคาที่ดินพิพาทครบถ้วนคือวันที่ 19 มิถุนายน 2524 ไม่ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อปี 2536 เป็นเวลาไม่เกินกว่า 10 ปี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนเกิดอันตรายสาหัส: การพิจารณาอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักรักษา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย โดยใช้ก้อนหินทุบกรามผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ไปให้แพทย์ที่คลินิครักษาบาดแผล หลังจากผู้เสียหายไปให้แพทย์ที่คลินิครักษาบาดแผลแล้วไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวน ปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งตัวผู้เสียหายไปให้แพทย์โรงพยาบาลตรวจรักษาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีอาการได้รับบาดเจ็บมาก แพทย์โรงพยาบาลได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีเอกซเรย์พบว่า กระดูกแก้มขวาแตกมีเลือดออกในโพรงกระดูก และมีความเห็นว่า ตามปกติต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผู้เสียหายเองก็เบิกความยืนยันว่า ได้รับบาดเจ็บกรามหัก เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ รักษาอยู่ประมาณ25 วันจึงหาย จึงรับฟังได้ว่า ผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันเป็นอันตรายสาหัสตาม ป.อ.มาตรา 297 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5830/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส: การพิเคราะห์อาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักรักษาเพื่อประกอบการพิจารณาความผิด
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหาย โดยใช้ก้อนหินทุบกราม ผู้เสียหาย ผู้เสียหายได้ไปให้แพทย์ที่คลินิก รักษาบาดแผล หลังจากผู้เสียหายไปให้แพทย์ที่คลินิก รักษาบาดแผลแล้วไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนปรากฏว่าพนักงานสอบสวนได้ส่งตัวผู้เสียหายไปให้แพทย์โรงพยาบาลตรวจรักษาอีกครั้ง แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายมีอาการได้รับบาดเจ็บมาก แพทย์โรงพยาบาลได้ตรวจร่างกายผู้เสียหายด้วยวิธีเอกซเรย์ พบว่า กระดูกแก้มขวาแตกมีเลือดออกในโพรงกระดูก และมีความเห็นว่า ตามปกติต้องใช้เวลารักษาประมาณ 3 เดือน ผู้เสียหายเองก็เบิกความยืนยันว่า ได้รับบาดเจ็บกราม หัก เคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติ รักษาอยู่ประมาณ 25 วันจึงหาย จึงรับฟังได้ว่าผู้เสียหายป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวันและประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันอันเป็นอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายแม้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้ซื้อมีสิทธิยึดหน่วงและบังคับชำระหนี้ได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาที่มีต่อบุคคลอื่นตามความในมาตรา 122 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483นั้น หมายถึงสิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับไม่
ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินให้แก่ลูกหนี้ครบถ้วนตามสัญญา แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เนื่องจากที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายโดยยินยอมชำระหนี้ตามสัญญาจำนองพร้อมดอกเบี้ยเพื่อไถ่ถอนจำนอง ผู้คัดค้านที่ 1จึงมีสิทธิเรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ได้โดยปลอดจำนอง ลูกหนี้หามีสิทธิตามสัญญาที่จะเรียกร้องต่อผู้คัดค้านที่ 1 กรณีจึงเป็นสิทธิตามสัญญาที่ผู้อื่นจะพึงได้รับ หาใช่สิทธิตามสัญญาที่ลูกหนี้จะพึงได้รับไม่ จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่ 2ที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้คัดค้านที่ 1 จะพึงได้รับมีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์ที่จะพึงได้ในการที่ผู้คัดค้านที่ 1 ใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายรายนี้การที่ผู้คัดค้านที่ 2 มีคำสั่งสั่งให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยปลอดจำนองและให้ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระหนี้จำนองพร้อมดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จึงชอบแล้ว
ผู้คัดค้านที่ 1 ทำสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายที่ดินกับลูกหนี้โดยในวันทำสัญญาผู้คัดค้านที่ 1 วางมัดจำเป็นเงิน 250,000 บาท ต่อมาผู้คัดค้านที่ 1 ชำระเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลืออีก 200,000 บาท ให้แก่ลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เพราะที่ดินติดจำนองไว้แก่ผู้ร้อง ลูกหนี้จึงได้ส่งมอบที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ครอบครองโดยถือว่าที่ดินเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ลูกหนี้จะดำเนินการไถ่ถอนจำนองและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 โดยเร็ว เมื่อการเข้าครอบครองที่ดินของผู้คัดค้านที่ 1 เป็นไปตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายซึ่งมีผลผูกพันลูกหนี้ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1เป็นผู้ครอบครองที่ดินของลูกหนี้ในฐานะผู้ซื้อและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้คัดค้านที่ 1 เกี่ยวด้วยที่ดินซึ่งครอบครองนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงที่ดินนั้นไว้จนกว่าลูกหนี้จะได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 241 แม้นับแต่วันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ จนถึงวันที่ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายเป็นเวลา 17ปีเศษ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงก็มีสิทธิบังคับชำระหนี้จากที่ดินที่ยึดถือไว้โดยร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/27 สิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะขอให้ผู้คัดค้านที่ 2 ปฏิบัติตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายจึงไม่ขาดอายุความ
of 64