พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวต้องมีเหตุตามกฎหมาย หากไม่ทำตามสัญญาต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวจะกระทำได้ต่อเมื่อมีข้อสัญญาหรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา386วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 233/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดสัญญาใช้ชื่อทางการค้าและดำเนินธุรกิจแข่งขันกัน ศาลพิพากษายืนค่าปรับและห้ามดำเนินธุรกิจแข่งขัน
การบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียวได้จะต้องมีข้อสัญญาหรือมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา386วรรคหนึ่งเท่านั้นแต่ตามสัญญาบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อกำหนดว่าจำเลยจะเลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้างจึงไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยจะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ได้การที่จำเลยบอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ตั๋วสัญญาใช้เงิน: นับจากวันตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน หรือวันที่โจทก์รับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
แม้พิจารณาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมายจ.8จ.9จ.11ถึงจ.17และจ.41ซึ่งถึงกำหนดใช้เงินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2531ถึงเดือนพฤษภาคม2531เป็นหลักและโจทก์ผู้รับเงินซึ่งนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกำหนดเมื่อวันที่9กุมภาพันธ์2531และโจทก์ไปขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัทผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถูกฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่27ตุลาคม2531ก็ตามอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(3)ซึ่งเป็นระยะเวลา8เดือนเศษกรณีระหว่างโจทก์กับบริษัทเป็นเรื่องระหว่างผู้ออกตั๋วกับผู้รับเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา982อายุความฟ้องบริษัทคือมาตรา1001ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา3ปีนับแต่วันตั๋วนั้นถึงกำหนดใช้เงินอันมีผลไปถึงผู้ค้ำประกันด้วยและแม้โจทก์จะสลักหลังตั๋วนำไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยและโจทก์ใช้เงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมรับตั๋วคืนมาถึงวันที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเกินกว่า6เดือนก็ตามก็เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออก(ฉบับที่2)พ.ศ.2529อันเป็นการอนุเคราะห์ผู้ส่งออกให้ได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ7ต่อปีตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงินโจทก์ไม่ใช่ผู้สลักหลังผู้เข้าถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินและใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1003ซึ่งมีอายุความ6เดือนคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตั๋วสัญญาใช้เงินและการสะดุดหยุดของอายุความตามระเบียบ ธปท. กรณีซื้อตั๋วลด
แม้พิจารณาตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งถึงกำหนดใช้เงินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2531ถึงเดือนพฤษภาคม2531เป็นหลักและโจทก์ผู้รับเงินซึ่งนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกำหนดเมื่อวันที่9กุมภาพันธ์2531และโจทก์ไปขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัทผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถูกฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่27ตุลาคม2531ก็ตามอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/14(3)ซึ่งเป็นเวลา8เดือนเศษกรณีระหว่างโจทก์กับบริษัทเป็นเรื่องระหว่างผู้ออกตั๋วกับผู้รับเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา982อายุความฟ้องบริษัทคือมาตรา1001ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา3ปีนับแต่วันตั๋วนั้นถึงกำหนดใช้เงินอันมีผลไปถึงผู้ค้ำประกันด้วยและแม้โจทก์จะสลักหลังตั๋วนำไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยและใช้เงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมรับตั๋วคืนมาถึงวันที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเกินกว่า6เดือนก็ตามก็เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออก(ฉบับที่2)พ.ศ.2529อันเป็นการอนุเคราะห์ผู้ส่งออกให้ได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ7ต่อปีโจทก์จึงไม่ใช่ผู้สลักหลังผู้เข้าถือตั๋วสัญญาใช้เงินและใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1003ซึ่งมีอายุความ6เดือนคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 231/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องตั๋วสัญญาใช้เงินและการสะดุดหยุดของอายุความในคดีล้มละลาย
แม้พิจารณาตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.8 จ.9 จ.11ถึง จ.17 และ จ.41 ซึ่งถึงกำหนดใช้เงินตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2531 ถึงเดือนพฤษภาคม 2531 เป็นหลัก และโจทก์ผู้รับเงินซึ่งนำตั๋วสัญญาใช้เงินไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ชำระเงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนกำหนดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2531 และโจทก์ไปขอรับชำระหนี้ในคดีที่บริษัทผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินถูกฟ้องล้มละลายเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2531 ก็ตาม อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/14 (3) ซึ่งเป็นระยะเวลา 8 เดือนเศษกรณีระหว่างโจทก์กับบริษัทเป็นเรื่องระหว่างผู้ออกตั๋วกับผู้รับเงิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 982 อายุความฟ้องบริษัทคือมาตรา 1001 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นเวลา3 ปี นับแต่วันตั๋วนั้นถึงกำหนดใช้เงิน อันมีผลไปถึงผู้ค้ำประกันด้วย และแม้โจทก์จะสลักหลังตั๋วนำไปขายลดแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย และโจทก์ใช้เงินคืนแก่ธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมรับตั๋วคืนมาถึงวันที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเกินกว่า 6 เดือนก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ปฏิบัติตามระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการส่งสินค้าออก (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2529อันเป็นการอนุเคราะห์ผู้ส่งออกให้ได้รับเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพียงร้อยละ 7 ต่อปีตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงิน โจทก์ไม่ใช่ผู้สลักหลังผู้เข้าถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินและใช้เงิน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ หากเป็นรายละเอียดของการกระทำผิดที่ชัดเจน และยังไม่ถึงขั้นพิพากษา
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองแล้วจำเลยที่2ได้ให้การปฎิเสธว่าไม่ได้กระทำความผิดโดยมิได้อ้างฐานที่อยู่แต่ประการใดดังนั้นการที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องจากข้อความว่า"เมื่อวันที่21มิถุนายน2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"เป็นเมื่อวันที่21มีนาคม2537เวลากลางคืนหลังเที่ยง"จึงเป็นการแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อเท็จจริงที่เป็นรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำที่อ้างว่าเป็นความผิดที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีมิใช่เป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดโจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขหรือเพิ่มเติมคำฟ้องได้โดยจำเลยที่2มิได้เสียเปรียบในการต่อสู้คดีหรือหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดอีกทั้งในขณะที่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษาคดีจึงนับว่ามีเหตุอันควรที่จะอนุญาต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับขนของทางทะเลและการไม่มีอำนาจฟ้องของผู้รับโอนสิทธิเมื่อสินค้าเสียหายก่อนถึงปลายทาง
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 มาตรา 627 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง" แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง เพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่ง บริษัท ย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัท ย. บริษัท ย.จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5 ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 ด้วยเช่นกัน
เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งหลายทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247
เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งหลายทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วย มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้รับประกันภัยเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง และการพิสูจน์ความรับผิดของผู้ขนส่ง
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันได้แก่บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8มาตรา 627 ซึ่งบัญญัติว่า "เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้ว ท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง"แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่ง เพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่ง บริษัท ย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่ 5ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้ สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัทย.บริษัทย. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 5ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย และอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัท ย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5ด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้ขนส่งทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้ว แม้จำเลยที่ 2 และที่ 4 ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 5 มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2และที่ 4 ได้ด้วย เพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องของผู้รับประกันภัยเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างขนส่ง สิทธิของผู้รับโอนตราส่ง และการไม่มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญารับขน
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเลซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเทียบกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา4แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ3ลักษณะ8มาตรา627ซึ่งบัญญัติว่า"เมื่อของถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งและผู้รับตราส่งได้เรียกให้ส่งมอบแล้วท่านว่าแต่นั้นไปสิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนนั้นย่อมตกไปได้แก่ผู้รับตราส่ง"แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่าสินค้ารายพิพาทมิได้ไปถึงตำบลที่กำหนดให้ส่งเพราะถูกไฟไหม้เสียหายไปหมดก่อนระหว่างการขนส่งบริษัทย.ผู้รับโอนตราส่งจากธนาคารมาจึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยที่5ซึ่งเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายให้ส่งมอบสินค้ารายพิพาทได้สิทธิทั้งหลายของผู้ส่งอันเกิดแต่สัญญารับขนไม่อาจตกไปได้แก่บริษัทย.บริษัทย. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่5ให้รับผิดตามสัญญารับขนรายพิพาทได้ดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยและอ้างว่ารับช่วงสิทธิจากบริษัทย.ผู้เอาประกันภัยในสินค้ารายพิพาทย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่5ด้วยเช่นกัน เมื่อจำเลยที่5ผู้ขนส่งทอดไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องแล้วแม้จำเลยที่2และที่4ผู้ขนส่งหลายทอดเช่นกันซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ร่วมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่5มิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่2และที่4ได้ด้วยเพราะเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ประกอบด้วยมาตรา247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งต่อความเสียหายสินค้าจากตู้คอนเทนเนอร์ชำรุด แม้ส่งมอบให้ท่าเรือแล้ว
พระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่21กุมภาพันธ์2535แต่มูลกรณีในคดีนี้เกิดขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับจึงต้องใช้กฎหมายในขณะนั้นคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ปรับแก่กรณีแม้โจทก์จะฟ้องคดีหลังจากกฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วก็ไม่อาจนำกฎหมายนี้มาปรับแก่คดีได้ ไม่ว่าความรับผิดของผู้ขนส่งจะสิ้นสุดลงเมื่อมีการส่งมอบตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรจุสินค้าให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยหรือไม่แต่เมื่อความชำรุดของตู้คอนเทนเนอร์มีมานานแล้วเป็นเหตุให้น้ำรั่วเข้าไปจนสินค้าเสียหายระหว่างขนส่งผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น