คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9773-9774/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้าและการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม: การคุ้มครองเครื่องหมายการค้า POLO และรูปม้า
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อนจำเลยที่ 3 ทั้งได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศ และได้ส่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยก่อนที่จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยที่ 3 แม้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 3 ขอจดทะเบียนจะได้รับการจดทะเบียนไว้แล้วก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 3 มีสิทธิดีกว่าโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 3 เป็นรูปคนขี่ม้าตีคลีอยู่เหนืออักษรโรมันคำว่า GALLOP รูปคนขี่ม้าตีคลีเป็นสิ่งสาระสำคัญในการสังเกตจดจำของบุคคลทั่วไป เพราะมีขนาดใหญ่และเห็นเด่นชัดกว่าตัวอักษรคำว่า GALLOP มาก รูปลักษณะคนขี่ม้าตีคลีของจำเลยที่ 3 ก็คล้ายคลึงกับรูปคนขี่ม้าตีคลีของโจทก์ เครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีของจำเลยที่ 3 จึงคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีกับสินค้าเครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายและสินค้าอื่นอีกหลายชนิดที่ประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศรวมทั้งประเทศไทยมาก่อนจำเลยที่ 3 สินค้าของโจทก์ก็มีบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยได้สั่งมาขายที่ห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพมหานครหลายแห่งรวมทั้งที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วย และได้มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ในนิตยสารหนังสือพิมพ์ในประเทศไทยแพร่หลายมาเป็นเวลานานปีแล้ว การที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปคนขี่ม้าตีคลีเพื่อใช้กับสินค้าเครื่องนุ่งห่มและแต่งกายเช่นเดียวกับสินค้าของโจทก์ โดยประสงค์จะฉวยโอกาสแอบอิงเครื่องหมายการค้าของโจทก์แสวงหาประโยชน์จากการจำหน่ายสินค้าของจำเลย การกระทำดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์เสียหาย เพราะผู้ซื้อหรือใช้สินค้านั้นอาจหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่ 3 เป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิจะทำได้
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศสหรัฐอเมริกา มีชื่อภาษาอังกฤษว่า THEPOLOLAURENCOMPANY ชื่อเป็นภาษาไทยว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดเดอะโปโลลอเรนคัมปะนี โจทก์ประกอบการค้าโดยส่งสินค้าไปจำหน่ายตามประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย สินค้าที่จำหน่ายได้แก่เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายและสินค้าอื่น ๆ ส่วนจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อว่าบริษัทโปโลช้อปปิ้งเฮ้าส์ จำกัด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า POLOSHOPPINGHOUSECO.,LTD. และใช้ชื่อร้านค้าซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ว่า POLOSHOPPINGHOUSE ประกอบกิจการค้าขายสินค้าหลายชนิด รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกายเช่นเดียวกับโจทก์ ชื่อของจำเลยที่ 1 รวมทั้งชื่อร้านค้าดังกล่าวก็มีความหมายว่า เป็นสถานที่จำหน่ายสินค้ายี่ห้อหรือตรา POLO หรือโปโลซึ่งคำว่า POLO หรือโปโลนี้เป็นส่วนหนึ่งของชื่อโจทก์ รวมทั้งเป็นคำในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ซึ่งใช้แพร่หลายอยู่ทั่วโลกดังกล่าวมาข้างต้น นอกจากนั้นจำเลยยังใช้คำ POLO ให้ปรากฏอยู่อย่างเด่นชัดในดวงตราประทับของจำเลยที่ 1 ใบเสร็จรับเงิน ถุงบรรจุสินค้าและใช้ป้ายซึ่งมีคำ POLO ติดที่สินค้าเสื้อผ้าซึ่งผลิตและจำหน่ายอยู่ในร้านค้าที่ตั้งขึ้นดังกล่าวด้วย ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 คือโจทก์และกิจการร้านค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกิจการค้าของโจทก์ เนื่องจากชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 และร้านค้าดังกล่าวมีคำว่า POLO หรือโปโลอยู่ด้วยเมื่อโจทก์ใช้ชื่อว่าPOLOหรือโปโลมานานจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก และจำเลยได้นำชื่อนี้ไปใช้ในกิจการค้าขายสินค้าเช่นเดียวกับของโจทก์ ส่อแสดงว่าจำเลยมีเจตนานำชื่อ POLO หรือโปโลมาใช้โดยเจตนาไม่สุจริต โดยเจตนาแสวงหาประโยชน์และความนิยมในชื่อและเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่มีสิทธิจะทำได้ แม้โจทก์จะไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แต่ส่งสินค้ามาจำหน่ายที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นสถานที่จำเลยประกอบกิจการค้าอยู่ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ทั้งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิมิให้โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศฟ้องคดีต่อศาลในประเทศไทย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
โจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องตามที่โจทก์ฎีกาแล้ว และศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์ในเรื่องนี้ว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ แต่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้พิพากษาให้เพราะความผิดหลงเนื่องจากศาลอุทธรณ์ระบุคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ไม่ครบถ้วน จึงเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาบังคับจำเลยที่ 3 เกินไปกว่าที่โจทก์มีคำขอมาทั้งกำหนดให้จำเลยทั้งสามใช้ค่าทนายความแทนโจทก์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะคดีทั้งสองสำนวนเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยทั้งสามไม่ได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9679/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจะซื้อขายและขอบเขตการนำสืบพยาน การนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติมจากเอกสารสัญญาไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายมีข้อความระบุไว้ในข้อ 4 ว่าในการจะซื้อจะขาย ผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ให้กับผู้จะซื้อ ถ้าหากที่ดินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะขายจะต้องคืนเงินให้แก่ผู้จะซื้อ ถ้าหากจำนวนที่ดินเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะซื้อจะต้องออกเงินให้ผู้จะขายจนครบจำนวนซึ่งในการจะซื้อจะขายนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะออกเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษีเงินได้ ค่าขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดออกโฉนดใหม่ ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่มีข้อความชัดเจนว่า การขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบพยานบุคคลว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันว่าเมื่อจดทะเบียนโอนกันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ จึงเป็นการนำสืบประกอบข้ออ้างในการตีความหมายของข้อความในสัญญาจึงนำสืบได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย หาได้เป็นการนำสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา 94 (ข)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9679/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: การตีความข้อตกลงเรื่องการรังวัดและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายมีข้อความระบุไว้ในข้อ4ว่าในการจะซื้อจะขายผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ให้กับผู้จะซื้อถ้าหากที่ดินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะขายจะต้องคืนเงินให้แก่ผู้จะซื้อถ้าหากจำนวนที่ดินเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะซื้อจะต้องออกเงินให้ผู้จะขายจนครบจำนวนซึ่งในการจะซื้อจะขายนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะออกเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษีเงินได้ค่าขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดออกโฉนดใหม่ฝ่ายละเท่าๆกันซึ่งไม่มีข้อความชัดเจนว่าการขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ดังนี้การที่จำเลยทั้งสองนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันว่าเมื่อจดทะเบียนโอนกันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่จึงเป็นการนำสืบประกอบข้ออ้างในการตีความหมายของข้อความในสัญญาจึงนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายหาได้เป็นนำสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา94(ข)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9607/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังเอกสารและพยานหลักฐานในคดีทรัพย์สินทางปัญญา การกำหนดค่าทนายความ
จำเลยร่วมอุทธรณ์ข้อแรกว่า การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า NEXT เริ่มจดทะเบียนที่ต่างประเทศตั้งแต่ปี 2525 โดยรับฟังจากเอกสารหมาย จ.10 และรับฟังว่าจำเลยร่วมมิได้คัดค้านเอกสารดังกล่าว ทั้งที่จำเลยร่วมได้ให้การว่าเอกสารท้ายคำฟ้องซึ่งรวมทั้งเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 เป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายและไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย การรับฟังเอกสารดังกล่าวขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 93 และเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10โจทก์เพิ่งส่งคำแปลต่อศาลเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วโดยมิได้ส่งสำเนาให้จำเลยร่วมการยื่นคำแปลดังกล่าวย่อมขัดต่อกฎหมายรับฟังไม่ได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าว ศาลชั้นต้นมิได้รับฟังเฉพาะแต่พยานเอกสารหมาย จ.9และ จ.10 แต่เพียงอย่างเดียว แต่ได้วินิจฉัยคำเบิกความของ ธ.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้เป็นผู้ฟ้องคดีนี้ด้วย จำเลยร่วมมิได้นำสืบพยานหลักฐานหักล้างเป็นอย่างอื่นลำพังคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้แล้วว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศอังกฤษและ ธ.มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้ จ.ฟ้องคดีแทนได้ ไม่จำเป็นต้องรับฟังจากพยานเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10แต่ประการใดนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ข้อแรกของจำเลยร่วม ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยไป โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เอกสารหมาย จ.9 เป็นการรับรองเอกสารหมาย จ.3 ถึง จ.7แม้โจทก์ไม่มีต้นฉบับมาแสดง ศาลย่อมรับฟังเอกสารหมาย จ.9 ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา93(2) ในข้อที่ว่าไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และที่โจทก์เพิ่งส่งคำแปลเอกสารหมาย จ.9 และ จ.10 ต่อศาลหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จนั้น ก็ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย เพราะศาลมีอำนาจสั่งให้ทำคำแปลมายื่นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 46วรรคสาม
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "NEXT" และ"next" และจำเลยร่วมทราบดีมาก่อนว่าสินค้าเสื้อผ้าของโจทก์ที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายเป็นที่นิยมของลูกค้า การที่จำเลยร่วมผลิตสินค้าเสื้อผ้าเช่นกันโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ถือได้ว่าเป็นการเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องหมาย-การค้านั้น
คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยร่วมใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 5,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9478/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนแบบจนสับสน และการฟ้องห้ามใช้เครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นบริษัทจำกัด ตามกฎหมายของประเทศฝรั่งเศสมีโนตารีปับลิกแห่งกรุงปารีสรับรองว่าร. เป็นกรรมการของโจทก์ และเลขานุการสถานเอกอัครราชฑูตไทยประจำกรุงปารีสรับรองลายมือชื่อของโนตารีปับลิกอีกชั้นเมื่อร.มอบอำนาจให้ ธ. ดำเนินคดีแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย เนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้า ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์และใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าของตนไปจดทะเบียนทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าและแหล่งกำเนิดสินค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว และในเครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนด้วย โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วตามนัยมาตรา 27 และ 29 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 แต่การที่ศาลพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย ย่อมมีผลทำให้จำเลยไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของจำเลยได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าของจำเลยอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9478/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและการล่วงสิทธิ - แม้ไม่ได้จดทะเบียนในไทย
ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์นำสืบว่า โจทก์ได้นำเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ไปจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ องค์การดังกล่าวคุ้มครองเครื่องหมายการค้าทุกประเทศที่เป็นสมาชิกของอนุสัญญา ซึ่งมีผลคุ้มครองเฉพาะแก่ประเทศที่เป็นสมาชิกเท่านั้น เมื่อประเทศไทยมิได้เป็นสมาชิกในอนุสัญญาดังกล่าว อนุสัญญานี้จึงไม่มีผลกระทบต่อเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย อนุสัญญาดังกล่าวไม่มีสภาพบังคับเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น แม้ปัญหาดังกล่าวโจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้อง แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน คู่ความมีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยทั้งสองเนื่องจากโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศอันเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งยังมิได้จดทะเบียนในประเทศไทยตามที่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41(1) แห่งพ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์หาได้อ้างว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้รับความคุ้มครองเนื่องจากการจดทะเบียนที่องค์การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศไม่การนำสืบของโจทก์ดังที่จำเลยทั้งสองฎีกาเป็นเพียงข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่สนับสนุนให้เห็นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งสองเท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 41(1) ดังกล่าว
เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROTPARIS คำว่า made in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ โจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยทั้งสองจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตามคำขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าคำว่าFRANCOIS MAROT PARIS และ made in france โดยเขียนตัวอักษรดังกล่าวให้มีลักษณะเป็นวงกลมโดยคำแรกอยู่ด้านบนและคำหลังอยู่ด้านล่างของวงกลมล้อมรอบรูปสุนัขประดิษฐ์ในท่านั่ง หัวสุนัขอยู่ระหว่างคำว่า FRANCOISกับคำว่า MAROT ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 162328 ทะเบียนเลขที่ 112792 เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยทั้งสองเพิ่มเส้นวงกลมล้อมรอบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อีก 1 เส้น และใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีอักษรภาษาไทยคำว่า ฟรานคอส มารอท เท่านั้น สำหรับเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 170225 คำขอเลขที่ 170224 ทะเบียนเลขที่ 120032 คำขอเลขที่ 170223 และ 179637 ก็เหมือนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอเลขที่ 162328 ทุกประการ ต่างกันเพียงเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอทั้งสี่ดังกล่าวไม่มีคำว่า made in franceเท่านั้น ส่วนสำคัญของเครื่องหมายการค้าทั้งสองได้แก่ รูปสุนัขประดิษฐ์ที่มีรูปลักษณะและกิริยาท่านั่งเหมือนกัน และรูปแบบการเขียนและขนาดกับตำแหน่งช่องไฟของตัวอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS และคำว่า made in franceเหมือนกัน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยเป็นเส้นวงกลมล้อมรอบและอักษรภาษาไทยกำกับข้างล่างว่า ฟรานคอส มารอท นั้น ไม่เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปได้เห็นความแตกต่างว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองมิใช่เครื่องหมายการค้าเดียวกันได้ ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนและคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าและแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลยทั้งสองจะนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียน โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า FRANCOIS MAROT PARIS คำว่าmade in france และรูปสุนัขประดิษฐ์ดีกว่าจำเลยทั้งสองในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและในเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามคำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน แต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน จึงไม่อาจฟ้องคดีเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าของตนและห้ามผู้อื่นมิให้ใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้ดังเช่นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว ตามมาตรา 27 และ29 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท และที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้าและคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองตามฟ้อง ย่อมมีผลทำให้จำเลยทั้งสองไม่อาจใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของจำเลยทั้งสองได้อีกต่อไปอยู่ในตัว ไม่จำต้องพิพากษาให้ยกคำขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมาย-การค้ากับสินค้าของจำเลยทั้งสองอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9426/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อขอความเป็นธรรมในการประกวดราคา ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาท
การกระทำของโจทก์ทำให้จำเลยทั้งสองมีความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จำเลยทั้งสองทำหนังสือร้องเรียนโจทก์ต่อผู้มีอำนาจเหนือกว่า ทำนองว่าโจทก์ใช้อิทธิพลบีบบังคับคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอนุมัติให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. เป็นผู้ได้งาน การที่โจทก์เป็นผู้บังคับบัญชาและเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาและเป็นผู้ชี้ขาดในการประชุมในความเข้าใจของบุคคลทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยทั้งสองซึ่งได้รับผลกระทบจากการกระทำของโจทก์ ย่อมมีสิทธิแสดงความคิดเห็นและเสนอความคิดเห็นไปยังผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าโจทก์พิจารณาให้ความเป็นธรรมได้โดยเชื่อว่าโจทก์มีพฤติการณ์ตามนั้นจริง จึงเป็นการกระทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1) การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9374/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอที่ราชพัสดุคืนหลังโอนให้ อบต. และระยะเวลาการนับสิทธิในการขอคืน
โจทก์จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นเพื่อสร้างโรงเรียนระดับประถมศึกษาเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2522 ก็ไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 ซึ่งไม่ใช้บังคับกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดินพิพาทเริ่มเป็นที่ราชพัสดุเมื่อพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2523 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2523 ซึ่งเป็นไปโดยผลของพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 โดยไม่จำต้องให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 2 ก่อน การเริ่มนับระยะเวลายื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5(พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อ 3 จึงต้องเริ่มนับเมื่อที่ดินพิพาทมีฐานะเป็นที่ราชพัสดุ และทางราชการมิได้ใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุนั้นตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้ภายในสิบปีคือภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2533 โจทก์จึงมีสิทธิยื่นเรื่องราวขอที่ราชพัสดุคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันครบระยะเวลาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9279/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวทางอาญา: การกระทำตอบโต้เพื่อป้องกันอันตรายจากผู้เริ่มทำร้ายก่อน
โจทก์ฟ้องให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 295 โจทก์และจำเลยที่ 2อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ยกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2เท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาตามมาตรา 297 โจทก์จึงฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ตามมาตรา 297 อีกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ผู้เสียหายเดินเข้าไปพูดห้ามมิให้จำเลยที่ 2 โทรศัพท์ติดต่อกับ ส. พี่ชายผู้เสียหายซึ่งเป็นสามีเก่าของจำเลยที่ 2 ต่อหน้าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนรักใหม่ของจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ไม่พอใจเพราะเท่ากับเป็นการอ้างว่าจำเลยที่ 2 ยังคงติดต่อกับ ส. อยู่อาจทำให้จำเลยที่ 1เข้าใจผิดได้ จำเลยที่ 2 จึงด่าว่าผู้เสียหาย ถือว่าผู้เสียหายเป็นผู้เริ่มก่อให้เกิดเหตุการณ์ขึ้น การที่ผู้เสียหายตบหน้าจำเลยที่ 2 จำนวน 1 ครั้ง และใช้ขวดเปล่าทุบกับโต๊ะจนขวดแตกปลายแหลมคมเป็นอาวุธแทงจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2จึงได้ยกหัวเตาแก๊สขึ้นทุ่มใส่ผู้เสียหายและใช้ขวดน้ำอัดลมตีศีรษะ ผู้เสียหาย แต่ผู้เสียหายยกแขนขวาขึ้นรับขวดถูกบริเวณนิ้วก้อยขวา ได้รับบาดเจ็บและขวดน้ำอัดลมตกกระแทกกับโต๊ะแตกกระจาย เศษแก้วกระเด็นขึ้นมาถูกนิ้วกลางขวาของผู้เสียหายมีบาดแผล เลือดไหล การกระทำของจำเลยที่ 2 มีลักษณะติดพันต่อเนื่องกับ การที่ผู้เสียหายทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 2 ก่อน ถือว่าเป็นการป้องกันตัวให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงและกระทำไปพอสมควรแก่เหตุ จึงเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9257/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: แก้ไขเล็กน้อยฐานความผิดเดิม, ลงโทษบทหนักเดิม, ไม่ถือเป็นข้อเท็จจริงใหม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ5 ปี และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162(1) รวม 2 กระทงจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 14 ปี ลดโทษหนึ่งในสามคงจำคุก9 ปี 4 เดือนศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147,162(1) ให้ลงโทษบทหนักตามมาตรา 147 รวม 2 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปีรวมจำคุก 10 ปี ลดโทษหนึ่งในสามคงจำคุก 6 ปี 8 เดือนเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เพียงว่า เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยรวม 2 กระทงเช่นเดิมกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้าม ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
of 62