พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่เป็นสาระสำคัญ ฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ ไม่ขาดอายุความ
สัญญาซื้อขายระบุว่า ซื้อขายที่ดินเนื้อที่ประมาณ 65 ไร่ราคาไร่ละ 4,300 บาท แสดงว่าคู่สัญญาเจตนาถือเอาเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนเนื้อที่ดินไม่ใช่เป็นการซื้อขายเหมาที่ดินกันทั้งแปลง โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ตกลงซื้อขายกัน เป็นเรื่องฟ้องให้คืนเงินฐานลาภมิควรได้ มิใช่ฟ้องให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับ ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่าคดีไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความลาภมิควรได้ จึงไม่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9150/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกคืนเงินค่าที่ดิน: ลาภมิควรได้ vs. ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง
สัญญาซื้อขายระบุว่าเป็นการซื้อขายที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ประมาณ65 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา ในราคาไร่ละ 4,300 บาท เป็นเงิน 2,838,000 บาทย่อมแสดงให้เห็นว่าคู่สัญญามีเจตนาถือเอาเนื้อที่ดินเป็นสาระสำคัญ เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนเนื้อที่ดิน ไม่ใช่เป็นการซื้อขายเหมาที่ดินกันทั้งแปลง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนจำนวน 1,133,802.50 บาทคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกัน กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องจำเลยให้คืนเงินดังกล่าวฐานลาภมิควรได้ มิใช่เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 467 มาบังคับไม่ได้ ต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 419 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์รู้ว่าที่ดินขาดจำนวนเมื่อเดือนเมษายน 2535 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามที่ตกลงซื้อขายกัน ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าที่ดินบางส่วนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องลาภมิควรได้ขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินบางส่วนจำนวน 1,133,802.50 บาทคืนโดยอ้างว่าจำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าที่ดินตามที่ตกลงซื้อขายกัน กรณีจึงเป็นเรื่องฟ้องจำเลยให้คืนเงินดังกล่าวฐานลาภมิควรได้ มิใช่เป็นการฟ้องจำเลยให้รับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน จึงนำอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 467 มาบังคับไม่ได้ ต้องนำอายุความเรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 419 ซึ่งห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น โจทก์รู้ว่าที่ดินขาดจำนวนเมื่อเดือนเมษายน 2535 และโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องตั้งประเด็นว่า จำเลยส่งมอบที่ดินน้อยกว่าเนื้อที่ตามที่ตกลงซื้อขายกัน ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าที่ดินบางส่วนแก่โจทก์ฐานลาภมิควรได้ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นและยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นเป็นประเด็นว่า คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนฐานลาภมิควรได้ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาเรื่องลาภมิควรได้ขึ้นวินิจฉัย จึงมิใช่เป็นการนอกเหนือคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คชำระหนี้ที่อาจบังคับได้ แม้ไม่มีหลักฐานหนังสือ แต่จำเลยออกเช็คในขณะที่ไม่มีเงินในบัญชี
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653วรรคหนึ่งเป็นกรณีหนึ่งหนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งแต่สำหรับคดีนี้โจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือเอกสารหมายจ.1มาแสดงและจำเลยนำสืบรับว่าได้กู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายจริงสัญญากู้ยืมเงินอาจจะรวมเงินจำนวนที่กู้ยืมกันในครั้งก่อนๆมารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันได้ไม่มีกฎหมายห้ามดังนั้นการที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวน700,000บาทที่ให้จำเลยกู้ยืมไปเมื่อวันที่11เมษายน2537มารวมกับเงินจำนวน800,000บาทที่ให้จำเลยกู้ยืมอีกเมื่อวันที่21เมษายน2537รวมเป็นเงิน1,500,000บาทจึงชอบที่จะทำได้และเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ตามกฎหมายหากผู้เสียหายนำหลักฐานการกู้ยืมเงินตามเอกสารหมายจ.1มาฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวในทางแพ่งจำเลยก็อาจจะต้องรับผิดตามจำนวนที่ปรากฏในเอกสารนั้นเมื่อจำเลยทำหลักฐานการกู้ยืมตามเอกสารหมายจ.1แล้วในวันเดียวกันจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนเดียวกันกับที่กู้ยืมโดยลงวันที่ล่วงหน้าไว้ตรงกับกำหนดที่จะต้องชำระคืนหนี้เงินที่กู้ยืมนั้นจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมหนี้กู้ยืมและการออกเช็คชำระหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่หนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สำหรับคดีนี้โจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือคือเอกสารหมาย จ.1 มาแสดง และจำเลยนำสืบรับว่าได้กู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายจริง สัญญากู้ยืมเงินอาจจะรวมเงินจำนวนที่กู้ยืมกันในครั้งก่อน ๆ มารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันได้ ไม่มีกฎหมายห้ามดังนั้น การที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวน 700,000 บาท ที่ให้จำเลยกู้ยืมไปเมื่อวันที่11 เมษายน 2537 มารวมกับเงินจำนวน 800,000 บาท ที่ให้จำเลยกู้ยืมอีกเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2537 รวมเป็นเงิน 1,500,000 บาท จึงชอบที่จะทำได้และเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย หากผู้เสียหายนำหลักฐานการกู้ยืมเงินตามเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวในทางแพ่ง จำเลยก็อาจจะต้องรับผิดตามจำนวนที่ปรากฏในเอกสารนั้น เมื่อจำเลยทำหลักฐานการกู้ยืมตามเอกสารหมาย จ.1 แล้วในวันเดียวกันจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนเดียวกันกับที่กู้ยืมโดยลงวันที่ล่วงหน้าไว้ตรงกับกำหนดที่จะต้องชำระคืนหนี้เงินที่กู้ยืมนั้นจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีไม่จ่ายค่าจ้าง: เจ้าหน้าที่แรงงานร้องทุกข์แทนลูกจ้างได้ แม้ลูกจ้างมิได้ร้องทุกข์เอง
ความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้างเป็นกรณีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ซึ่งลูกจ้างซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ด้วยตนเองเมื่อปรากฎว่าเจ้าหน้าที่แรงงานผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ร้องทุกข์ไว้แล้วพนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวน-ฟ้องคดีค่าจ้าง: เจ้าหน้าที่แรงงานร้องทุกข์แทนลูกจ้างได้
ความผิดฐานไม่จ่ายค่าจ้าง เป็นกรณีมิใช่ความผิดอันยอมความได้ซึ่งลูกจ้างซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์ด้วยตนเอง เมื่อปรากฏว่าเจ้าหน้าที่แรงงานผูัมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ได้ร้องทุกข์ไว้แล้ว พนักงานสอบสวนจึงมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7273/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำโทษที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาพิจารณาลงโทษในคดีหลังได้ แม้ศาลจะไม่ได้ถูกแจ้งในคดีก่อน
ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2532 ซึ่งใช้บังคับก่อนการกระทำผิดคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1500/2537 ของศาลชั้นต้นบทบัญญัติดังกล่าวนี้แก้ไขและใช้บังคับพร้อมกับ ป.อ.มาตรา 56 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลย แต่ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ เมื่อมาตรา58 วรรคหนึ่ง กับมาตรา 56 วรรคสอง มีการแก้ไขพร้อมกันแสดงว่ามีเจตนาจะให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยกระทำความผิดอีก แม้ว่า ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหนึ่ง จะได้บัญญัติว่า ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องก็ตาม เมื่อ ป.วิ.อ.เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ ย่อมจะต้องไม่ขัดต่อป.อ.ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่นเมื่อ ป.อ.บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องโทษไว้อย่างไรการพิพากษาคดีย่อมจะต้องอาศัย ป.อ.ในการกำหนดโทษมิให้ผิดไปจากที่ ป.อ.บัญญัติไว้ เช่นนี้ย่อมตีความ ป.อ.มาตรา 58 วรรคหนึ่งได้ว่า แม้ความปรากฏแก่ศาลเองก็ให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีหลังปฏิบัติตาม แต่สำหรับกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการกระทำผิดของจำเลยก่อนที่ศาลพิพากษา เมื่อพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษลงโทษจำคุกและปรับ โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี และกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลย โดยให้จำเลยมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3 เดือนต่อครั้งภายในกำหนดระยะเวลา 1 ปี และให้จำเลยเว้นจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ หรือมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายใด ๆ แต่หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งได้ยอมรับต่อพนักงานคุมประพฤติว่ายังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอยู่ ซึ่งรายงานดังกล่าวถือว่าเป็นรายงานที่เป็นผลร้ายต่อจำเลย ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2522 มาตรา 13 กล่าวคือแจ้งรายงานนั้นให้จำเลยทราบ จำเลยแถลงไม่คัดค้าน เป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงาน รายงานดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับคำแถลงของเจ้าพนักงานตาม ป.อ.มาตรา 58 ที่แก้ไขแล้ว ศาลจึงนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกโทษในคดีหลังได้ในกรณีที่ศาลคดีหลังพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7273/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนมาบวกกับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่10)พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับก่อนการกระทำผิดคดีนี้และคดีอาญาหมายเลขแดงที่1500/2537ของศาลชั้นต้นบทบัญญัติดังกล่าวนี้แก้ไขและใช้บังคับพร้อมกับประมวลกฎหมายอาญามาตรา56วรรคสองซึ่งบัญญัติเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของผู้กระทำผิดในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ให้รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้เมื่อมาตรา58วรรคหนึ่งกับมาตรา56วรรคสองมีการแก้ไขพร้อมกันแสดงว่ามีเจตนาจะให้สอดคล้องกันทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้จำเลยกระทำความผิดอีกแม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคหนึ่งจะได้บัญญัติว่าห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องก็ตามเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติย่อมจะต้องไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติเช่นเมื่อประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องโทษไว้อย่างไรการพิพากษาคดีย่อมจะต้องอาศัยประมวลกฎหมายอาญาในการกำหนดโทษมิให้ผิดไปจากประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติไว้เช่นนี้ย่อมตีความประมวลกฎหมายอาญามาตรา58วรรคหนึ่งได้ว่าแม้ความปรากฎแก่ศาลเองก็ให้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีหลังปฎิบัติตามแต่สำหรับกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะและพินิจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับประวัติการกระทำผิดของจำเลยก่อนที่ศาลพิพากษาเมื่อพนักงานคุมประพฤติรายงานว่าจำเลยเคยมีประวัติถูกศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษลงโทษจำคุกและปรับโทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด2ปีและกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติจำเลยโดยให้จำเลยมารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก3เดือนต่อครั้งภายในกำหนดระยะเวลา1ปีและให้จำเลยเว้นจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษหรือมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมายใดๆแต่หลังจากที่ศาลมีคำพิพากษาแล้วจำเลยมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งได้ยอมรับต่อพนักงานคุมประพฤติว่ายังคงเกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษอยู่ซึ่งรายงานดังกล่าวถือว่าเป็นรายงานที่เป็นผลร้ายต่อจำเลยศาลชั้นต้นปฎิบัติตามพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตามประมวลกฎหมายอาญาพ.ศ.2522มาตรา13กล่าวคือแจ้งรายงานนั้นให้จำเลยทราบจำเลยแถลงไม่คัดค้านเป็นการยอมรับข้อเท็จจริงตามรายงานรายงานดังกล่าวมีลักษณะเช่นเดียวกับคำแถลงของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา58ที่แก้ไขแล้วศาลจึงนำโทษที่รอไว้ในคดีก่อนมาบวกโทษในคดีหลังได้ในกรณีที่ศาลคดีหลังพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7123/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น ก่อให้เกิดความสับสนและละเมิดสิทธิ
ชื่อของนิติบุคคลอาคารชุดจำเลยร่วมมีคำว่า "โอเรียนเต็ล"เหมือนกับเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของบริษัทโจทก์ที่ 1 จำเลยร่วมมีเจตนาใช้คำว่า "โอเรียนเต็ล" เป็นชื่อทางการค้าของจำเลยร่วมเพราะชื่อดังกล่าวมีอักษรโรมันคำว่า "ORIENTAL" เป็นอักษรประดิษฐ์ขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ในขณะที่อักษรโรมันคำว่า "HILL - RESORT CONDOMINIUM" เป็นอักษรขนาดเล็กเขียนไว้ด้านใต้คำว่า "ORIENTAL" แสดงว่าจำเลยร่วมต้องการให้บุคคลทั่วไปเรียกขานชื่อทางการค้าของจำเลยร่วมว่า "โอเรียนเต็ล" ดังนั้น ชื่อและตราเครื่องหมายของจำเลยร่วมคำว่า "โอเรียลเต็ล" จึงเหมือนกับเครื่องหมายการค้าและชื่อทางการค้าของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ได้ใช้คำว่า "โอเรียนเต็ล"เป็นชื่อทางการค้าในกิจการโรงแรมมานานจนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่สาธารณชนทั่วไปและโจทก์ที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าหลายจำพวก ดังนั้นหากมีการนำคำว่า "โอเรียนเต็ล" มาใช้ในธุรกิจโรงแรมหรือธุรกิจอื่นในลักษณะเดียวกัน สาธารณชนย่อมเข้าใจว่ากิจการดังกล่าวเป็นกิจการของโจทก์ที่ 1 เมื่อจำเลยร่วมได้ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ชื่อทางการค้าส่วนหนึ่งว่า "โอเรียนเต็ล"เพื่อประกอบกิจการอันมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกิจการโรงแรมซึ่งเปิดให้บุคคลภายนอกทั่วไปเข้าพักและใช้บริการได้เช่นเดียวกับโรงแรม การกระทำของจำเลยร่วมดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดความสับสนหลงผิดต่อสาธารณชน การกระทำของจำเลยร่วมเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต และเป็นการละเมิดต่อโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารรับเงินพร้อมลายมือชื่อ ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมได้ หากจำเลยไม่โต้แย้งการรับเงินและไม่มีเหตุไม่ต้องรับผิด
ใบรับเงินพิมพ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมดมีชื่อบริษัทโจทก์ที่หัวกระดาษถัดลงมาเป็นช่องจ่ายให้แก่ใครซึ่งได้กรอกชื่อจำเลยถัดลงมาเป็นช่องCREDITA/CCODEDATE4-12-92ถัดลงมาเป็นช่องกรอกรายการและจำนวนเงินมีกรอกรายการเป็นอักษรภาษาไทยว่า"ได้รับเงินแล้วจำนวน"และกรอกจำนวนเงินเป็นตัวอักษรและตัวเลขว่า"สามแสนบาทถ้วน"และ"300,000"มุมล่างด้านขวามือมีช่องสำหรับลงชื่อผู้รับเงินมีลายเซ็นผู้รับเงินปรากฎอยู่ในช่องดังกล่าวซึ่งคำฟ้องระบุว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเงินจำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานว่าจำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวน300,000บาทโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจำนวนนี้ไปจากโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์โดยไม่ปรากฎข้อต่อสู้ว่าเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวคืนโจทก์ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์จึงถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม