คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7029/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักฐานการกู้ยืมเงินจากใบรับเงินและการมีหนี้โดยปริยาย
ใบรับเงินพิมพ์เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมด มีชื่อบริษัทโจทก์ที่หัวกระดาษ ถัดลงมาเป็นช่องจ่ายให้แก่ใคร ซึ่งได้กรอกชื่อจำเลย ถัดลงมาเป็นช่องCREDIT A/C CODE ... DATE 4-12-92 ถัดลงมาเป็นช่องกรอกรายการและจำนวนเงิน มีกรอกรายการเป็นอักษรภาษาไทยว่า "ได้รับเงินแล้วจำนวน" และกรอกจำนวนเงินเป็นตัวอักษรและตัวเลขว่า "สามแสนบาทถ้วน" และ "300,000"มุมล่างด้านขวามือมีช่องสำหรับลงชื่อผู้รับเงิน มีลายเซ็นผู้รับเงินปรากฏอยู่ในช่องดังกล่าว ซึ่งคำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับเงิน จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ข้อความในเอกสารดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานว่า จำเลยได้รับเงินไปจากโจทก์จำนวน 300,000 บาท โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินจำนวนนี้ไปจากโจทก์จำเลยให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ โดยไม่ปรากฏข้อต่อสู้ว่าเหตุใดจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวคืนโจทก์ ถือได้ว่าจำเลยมีหนี้ที่จะต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้โจทก์ จึงถือได้ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับประกันภัยขนส่ง: การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับจ้างขนถ่ายสินค้า
องค์การคลังสินค้าได้สั่งซื้อสินค้าปูนซีเมนต์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ขายได้ว่าจ้างบริษัทซ. เป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยโดยเรือเดินทะเลเมื่อเรือบรรทุกสินค้าปูนซีเมนต์มาถึงท่าเรือกรุงเทพและจอดเรือรอขนถ่ายปลดเปลื้องสินค้าองค์การคลังสินค้าได้ว่าจ้างจำเลยที่2ขนถ่ายสินค้าโดยเรือฉลอมจากเรือเดินทะเลมายังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าบริษัทซ.ไม่ใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่2ให้ขนถ่ายสินค้าจำเลยที่2จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลแต่จำเลยที่2ต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าตามสัญญาว่าจ้างที่ทำไว้กับองค์การคลังสินค้าเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าได้ชำระค่าเสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าแล้วโจทก์จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่2ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้า กรณีจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอด
องค์การคลังสินค้าได้สั่งซื้อสินค้าปูนซีเมนต์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ขายได้ว่าจ้างบริษัท ซ.เป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยโดยเรือเดินทะเล เมื่อเรือบรรทุกสินค้าปูนซีเมนต์มาถึงท่าเรือกรุงเทพ และจอดเรือรอขนถ่ายปลดเปลื้องสินค้า องค์การคลังสินค้าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนถ่ายสินค้าโดยเรือฉลอมจากเรือเดินทะเลมายังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้า บริษัท ซ.ไม่ใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ขนถ่ายสินค้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล แต่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าตามสัญญาว่าจ้างที่ทำไว้กับองค์การคลังสินค้า เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าได้ชำระค่าเสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าแล้ว โจทก์จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้เครื่องหมายการค้าตามข้อตกลงตัวแทนจำหน่าย สิ้นสุดเมื่อสิ้นสุดสัญญา
จำเลยที่ 1 ใช้คำว่า เคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ 1 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 1และจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่ 2 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1แล้ว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่า เคอนิก (KOENIG) เป็นชื่อของจำเลยที่ 1โดยชอบอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6507/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อบริษัทที่สอดคล้องกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น และการยกเลิกสิทธิเมื่อไม่เป็นตัวแทนจำหน่าย
จำเลยที่1ใช้คำว่าเคอนิก ซึ่งเป็นชื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่1เมื่อชื่อของจำเลยที่1ได้เพราะมีข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่1และจำเลยที่2ให้จำเลยที่1ใช้ชื่อดังกล่าวได้ในระหว่างที่จำเลยที่2เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ที่2ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของโจทก์ที่1ดังนั้นเมื่อจำเลยที่2มิได้เป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าดังกล่าวของจำเลยที่1แล้วจำเลยที่1ก็ไม่มีสิทธิใช้คำว่าเคอนิก(KOENIGX) เป็นชื่อของจำเลยที่1โดยชอบอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6457/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยทบต้นฝ่าฝืนกฎหมาย, อายุความจำนอง, สิทธิบังคับจำนอง
ตามคำขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โจทก์ได้ระบุวัตถุประสงค์จะขอกู้เงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยจากจำเลยจำนวน 984,000 บาท โดยขอนำที่ดินจำนองเป็นประกัน กำหนดชำระคืนภายใน 120 เดือน เดือนละ 16,400 บาทซึ่งต่อมาก็มีการกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์จำเลย โดยโจทก์จำนองที่ดิน เป็นประกันจึงเป็นเรื่องสัญญากู้ยืมเงินธรรมดา แม้ตามบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองระบุข้อความว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 21 ต่อปี ยอมส่งเงินดอกเบี้ยทุก ๆ เดือนเสมอไป ถ้าผิดนัดชำระดอกเบี้ยยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างทบเข้าในบัญชีของผู้จำนองด้วย ก็เห็นได้ว่า โจทก์เป็นลูกหนี้จำเลยแต่ฝ่ายเดียวไม่มีหนี้สินอะไรที่จะหักกลบลบหนี้ในทางบัญชีเดินสะพัดได้ ส่วนบัญชีที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองดังกล่าว ก็เป็นเรื่องที่จำเลยทำบัญชีเพื่อประสงค์จะทราบว่าโจทก์กู้เงินไปเมื่อใด จำนวนเท่าใด ผ่อนชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแล้วเพียงใดกับยังค้างชำระอีกเท่าใด หาใช่บัญชีเดินสะพัดหรือการค้าขายอย่างอื่นทำนองบัญชีเดินสะพัดไม่ เมื่อบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความว่า ต้องรอให้ดอกเบี้ยค้างชำระไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนจึงจะนำมาทบเข้ากับต้นเงิน แล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้น กรณีต้องปรับด้วย ป.พ.พ. มาตรา 655 วรรคหนึ่ง ซึ่งห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงิน ข้อตกลงเฉพาะที่ให้คิดดอกเบี้ยทบต้นดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายข้างต้นตกเป็นโมฆะ ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
หนี้กู้ยืมที่สัญญาจำนองประกันอยู่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 แต่กรณีต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจำนองจึงบังคับจำนองแม้เมื่อหนี้ที่ประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่าห้าปีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์จากความเสียหายของสินค้าอันตรายเนื่องจากความประมาทเลินเล่อ
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเคมีภัณฑ์ของแข็งไวไฟประเภทถ่านผงสีดำ ซึ่งผู้เอาประกันสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้รับฝากสินค้าดังกล่าวไว้โดยนำไปเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่ 3 บริเวณท่าเรือกรุงเทพต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้คลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่ 3 ทำให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหาย โจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว จึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องคดีนี้ได้
สถานที่ที่จำเลยที่ 3 นำสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทของแข็งไวไฟไปเก็บรักษาไว้ได้แก่คลังสินค้าอันตรายนั้นมีการจัดเก็บสารเคมีอื่นที่อาจทำปฏิกริยากับสินค้าดังกล่าวรวมอยู่ด้วย และสถานที่ที่จัดเก็บมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอ ดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีที่เก็บไว้รวมกัน แล้วลุกลามไหม้สินค้าพิพาทเสียหายจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ ดังนั้นตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสอง บัญญัติไว้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับฝากทรัพย์จากความเสียหายสินค้าอันเกิดจากระบบป้องกันอัคคีภัยบกพร่องและการจัดเก็บสารเคมีไม่ถูกต้อง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยความสูญหายหรือเสียหายของสินค้าเคมีภัณฑ์ของแข็งไวไฟประเภทถ่านผงสีดำซึ่งผู้เอาประกันสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา สินค้าดังกล่าวขนส่งมาถึงประเทศไทยการท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จค่าฝากได้รับฝากสินค้าดังกล่าวไว้โดยนำไปเก็บรักษาไว้ในคลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่3บริเวณท่าเรือกรุงเทพต่อมาเกิดเหตุเพลิงไหม้คลังสินค้าอันตรายของจำเลยที่3ทำให้สินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้เสียหายโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจึงรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องคดีนี้ได้ สถานที่ที่จำเลยที่3นำสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นสารเคมีประเภทของแข็งไวไฟไปเก็บรักษาไว้ได้แก่คลังสินค้าอันตรายนั้นมีการจัดเก็บสารเคมีอื่นที่อาจทำปฏิกริยากับสินค้าดังกล่าวรวมอยู่ด้วยและสถานที่ที่จัดเก็บมีระบบการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพดีเพียงพอดังนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ขึ้นซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำปฏิกริยาทางเคมีของสารเคมีที่เก็บไว้รวมกันแล้วลุกลามไหม้สินค้าพิพาทเสียหายจึงถือได้ว่าจำเลยที่3มิได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินที่รับฝากเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้นตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา659วรรคสองบัญญัติไว้จำเลยที่3จึงต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6202/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ผู้รับสินค้าในการขนถ่ายสินค้าทางทะเล และความรับผิดชอบค่าเสียเวลาเรือจอดรอ
โจทก์มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ท่าปลายทางตรงตามความหมายของคำว่าไลเนอร์เทอมส์(LinerTerms)ในใบตราส่งและมีประเพณีปฏิบัติในการขนถ่ายสินค้าว่าผู้รับสินค้าข้างลำเรือจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายเนื่องจากการจัดหาเรือลำเลียงอยู่ในอำนาจควบคุมของผู้รับสินค้าไม่ใช่ผู้ขนส่งเมื่อตัวแทนโจทก์แจ้งให้จำเลยเตรียมการรับขนถ่ายสินค้าข้างลำเรือและจำเลยได้เลือกวิธีการจัดหาเรือลำเลียไปรับการขนถ่ายสินค้าแล้วจึงถือเป็นข้อตกลงโดยปริยายระหว่างโจทก์และจำเลยว่าจำเลยจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับการขนถ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายเมื่อจำเลยจัดเรือลำเลียงไปขนถ่ายสินค้าล่าช้าจึงเป็นการผิดหน้าที่ตามข้อตกลงทำให้โจทก์ต้องเสียเวลาจอดเรือรอการขนถ่ายสินค้าของจำเลยโจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียเวลาที่โจทก์ต้องจอดเรือรอเนื่องในการที่จำเลยทำให้การขนถ่ายสินค้าล่าช้า จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ1ปีในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้อ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มาตรา46ดังนั้นฎีกาในเรื่องอายุความของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6202/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จัดหาเรือลำเลียงต่อเนื่องตาม Liner Terms และความรับผิดจากความล่าช้า
โจทก์มีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือแล้วส่งมอบให้จำเลยที่ท่าปลายทางตรงตามความหมายของคำว่าไลเนอร์เทอมส์ (Liner Terms)ในใบตราส่งและมีประเพณีปฏิบัติในการขนถ่ายสินค้าว่าผู้รับสินค้าข้างลำเรือจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เนื่องจากการจัดหาเรือลำเลียงอยู่ในอำนาจควบคุมของผู้รับสินค้า ไม่ใช่ผู้ขนส่ง เมื่อตัวแทนโจทก์แจ้งให้จำเลยเตรียมการรับขนถ่ายสินค้าข้างลำเรือและจำเลยได้เลือกวิธีการจัดหาเรือลำเลียงไปรับการขนถ่ายสินค้าแล้ว จึงถือเป็นข้อตกลงโดยปริยายระหว่างโจทก์และจำเลยว่า จำเลยจะต้องจัดหาเรือลำเลียงไปรับการขนถ่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เมื่อจำเลยจัดเรือลำเลียงไปขนถ่ายสินค้าล่าช้าจึงเป็นการผิดหน้าที่ตามข้อตกลง ทำให้โจทก์ต้องเสียเวลาจอดเรือรอการขนถ่ายสินค้าของจำเลย โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียเวลาที่โจทก์ต้องจอดเรือรอเนื่องในการที่จำเลยทำให้การขนถ่ายสินค้าล่าช้า
จำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ในมูลละเมิดตาม ป.พ.พ.มิได้อ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 ดังนั้น ฎีกาในเรื่องอายุความของจำเลยดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
of 62