พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขนส่งหลายทอดรับผิดร่วมกันต่อความเสียหายของสินค้า แม้ความเสียหายเกิดบนเรือเดินทะเล ฟ้องไม่ขาดอายุความ
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการนำเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าช่วงจากเกาะสีชังไปยังท่าเรือกรุงเทพ เพื่อนำสินค้ามอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ปลายทาง เมื่อจำเลยที่ 2 จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทมีวัตถุประสงค์ทางการค้าเกี่ยวกับกิจการขนส่งลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้า และหากเรือเดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามาจากต่างประเทศมีระวางว่าง จำเลยที่ 2 สามารถรับจองระวางและเรียกเก็บค่าระวางได้ทันทีจำเลยที่ 2 จึงเป็นบุคคลรับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ การที่จำเลยที่ 2ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลที่เกาะสีชังไปยังจุดหมายปลายทางที่กรุงเทพมหานครเป็นการทำหน้าที่ขนส่งทอดหนึ่งในเส้นทางขนส่งทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล แม้สินค้านั้นจะสูญหายและบุบสลายในเรือเดินทะเล ผู้ขนส่งหลายทอดทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่ 2 ต้องชดใช้ค่าสินไหม-ทดแทนให้แก่โจทก์
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน2534 หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานคร ทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือ ต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้ โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2534 ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบ โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2535 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปีนับแต่ส่งมอบ ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6163/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งหลายทอดทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และอายุความฟ้องร้อง
จำเลยที่2เป็นผู้จัดการนำเรือฉลอมไปขนถ่ายสินค้าช่วงจากเกาะสีชังไปยังท่าเรือกรุงเทพเพื่อนำสินค้ามอบให้แก่ผู้รับตราส่งที่ปลายทางเมื่อจำเลยที่2จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทมีวัตถุประสงค์ทางการค้าเกี่ยวกับกิจการขนส่งลำเลียงหรือขนถ่ายสินค้าและหากเรือเดินทะเลที่ขนส่งสินค้ามาจากต่างประเทศมีระวางว่างจำเลยที่2สามารถรับของระวางและเรียกเก็บค่าระวางได้ทันทีจำเลยที่2จึงเป็นบุคคลรับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติการที่จำเลยที่2ขนถ่ายสินค้าจากเรือเดินทะเลที่เกาะสีชังไปยังจุดหมายปลายทางที่กรุงเทพมหานครเป็นการทำหน้าที่ขนส่งทอดหนึ่งในเส้นทางขนส่งทั้งหมดจำเลยที่2จึงเป็นผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเลแม้สินค้านั้นจะสูญหายและบุบสลายในเรือเดินทะเลผู้ขนส่งหลายทอดทุกคนจะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่2ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ เรือเดินทะเลเข้าเทียบที่เกาะสีชังเมื่อวันที่21พฤศจิกายน2534หลังจากตรวจสอบสินค้าแล้วต้องลำเลียงไปที่กรุงเทพมหานครทำพิธีการศุลกากรและท่าเรือต้องได้รับอนุญาตปล่อยสินค้าจึงจะรับได้โดยได้สั่งปล่อยสินค้าเมื่อวันที่29พฤศจิกายน2534ถือว่าวันสั่งปล่อยสินค้าเป็นวันส่งมอบโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่23พฤศจิกายน2535ยังไม่พ้นกำหนด1ปีนับแต่ส่งมอบฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6130/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทและตั๋วสัญญาใช้เงินตามูลหนี้ที่โจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าเครื่องจักรแทนจำเลยที่1จำเลยที่1ได้ร่วมกับจำเลยที่2และที่3ปลอมเอกสารดวงตราของโจทก์นำไปจดทะเบียนว่าเครื่องจักรดังกล่าวเป็นของจำเลยที่2แล้วนำไปจำนองไว้แก่จำเลยที่4ขอให้บังคับจำเลยที่2ถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และการจำนองเครื่องจักรแล้วให้จำเลยที่1ถึงที่3คืนเครื่องจักรแก่โจทก์หรือมิฉะนั้นให้ใช้ราคาพร้อมทั้งชำระค่าเสียหายการที่จำเลยที่2ฟ้องแย้งอ้างว่าโจทก์ทำละเมิดกลั่นแกล้งนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่3กรรมการของจำเลยที่2ทำให้จำเลยที่2ต้องเสียหายโดยนำเงินไปประกันตัวจำเลยที่3และขาดผลประโยชน์จากทางทำมาหาได้ เสื่อมเสียชื่อเสียงขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหายเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมชอบที่จำเลยที่2จะต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6130/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งคดีแพ่งและการแยกข้อพิพาทออกจากคดีเดิม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาทรัสต์รีซีทและตั๋วสัญญาใช้เงินตามมูลหนี้ที่โจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและชำระเงินค่าเครื่องจักรแทนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปลอมเอกสารดวงตราของโจทก์นำไปจดทะเบียนว่าเครื่องจักรดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 2 แล้วนำไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์และการจำนองเครื่องจักร แล้วให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คืนเครื่องจักรแก่โจทก์ หรือมิฉะนั้นให้ใช้ราคาพร้อมทั้งชำระค่าเสียหาย การที่จำเลยที่ 2ฟ้องแย้งอ้างว่า โจทก์ทำละเมิดกลั่นแกล้งนำเจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยที่ 3 กรรมการของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ต้องเสียหาย โดยนำเงินไปประกันตัวจำเลยที่ 3 และขาดผลประโยชน์จากทางทำมาหาได้ เสื่อมเสียชื่อเสียงขอให้โจทก์ชำระค่าเสียหาย เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิม ชอบที่จำเลยที่ 2จะต้องไปฟ้องเป็นคดีต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์สินจากบังคับคดี กรณีทรัพย์สินเป็นสินสมรส แม้มีการขายทอดตลาดหลายครั้ง
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่1แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่2เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภรรยากันผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่1และที่2เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง6รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1และที่2ถือว่าจำเลยที่1มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่1กับที่2อยู่ด้วยผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา290วรรคสี่ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สินระยะเวลา14วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม6รายการซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม4รายการในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สองดังนั้นเมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมดผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดโดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกแม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่2ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา14วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่2ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1หมดไปเพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่1ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6075/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในการขอเฉลี่ยทรัพย์สินสามีภรรยาและการนับระยะเวลาตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่ก็ได้ความว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นสามีภรรยากัน ผู้ร้องได้อ้างในการยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ครั้งแรกแล้วว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้ง 6 รายการเป็นทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองซึ่งโจทก์มิได้คัดค้าน ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ถือว่าจำเลยที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 อยู่ด้วย ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินจากการขายทอดตลาดที่ดินดังกล่าว
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ระยะเวลา 14 วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม 6 รายการ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม 4 รายการ ในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีก แม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 2 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หมดไป เพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคสี่ ได้บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดทรัพย์สิน ระยะเวลา 14 วันนั้นนับแต่วันสิ้นสุดการขายทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองออกขายทอดตลาดเพื่อบังคับคดีรวม 6 รายการ ซึ่งมีที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยและได้ขายทอดตลาดไปรวม 4 รายการ ในการขายทอดตลาดครั้งแรกคงเหลือที่ดินพิพาทซึ่งได้ขายทอดตลาดไปในการขายทอดตลาดครั้งที่สอง ดังนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เข้ามาก่อนวันขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาคราวนั้นในครั้งที่สองเป็นการยื่นขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันสิ้นสุดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดมาในคราวนั้นทั้งหมด ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมด โดยไม่ต้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีก แม้หลังจากขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 2 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์อีกเมื่อพ้นระยะเวลา 14 วันนับแต่วันขายทอดตลาดครั้งที่ 2 ก็มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 หมดไป เพราะผู้ร้องมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ทั้งหมดตามคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในครั้งแรกซึ่งศาลได้อนุญาตแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ติดต่อท่าเรือไม่ใช่ผู้ขนส่ง - ไม่ต้องรับผิดชอบสินค้าสูญหาย
จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและขนถ่ายสินค้าจากเรือเข้าโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยรายงานเรื่องเรือเข้าออกต่อกรมเจ้าท่าและกรมศุลกากรติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจคนที่มากับเรือแจ้งให้บริษัทอ.ผู้รับสินค้าทราบถึงการมาถึงของสินค้าและให้ผู้รับสินค้าไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าเป็นการกระทำแทนบริษัทผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้นไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับบริษัทดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616และมาตรา618ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทและเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับเรื่องรับขนของทางทะเลเพราะในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการนั้นและไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าวเมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งร่วมในการขนส่งสินค้าพิพาทจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปในระหว่างการขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6062/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ประกอบการท่าเรือ: ไม่ถือเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งร่วม
จำเลยเป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและขนถ่ายสินค้าจากเรือเข้าโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย รายงานเรื่องเรือเข้าออกต่อกรมเจ้าท่าและกรมศุลกากร ติดต่อกองตรวจคนเข้าเมืองให้ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจคนที่มากับเรือแจ้งให้บริษัท อ.ผู้รับสินค้าทราบถึงการมาถึงของสินค้า และให้ผู้รับสินค้าไปรับสินค้าจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยจำเลยเป็นผู้ออกใบสั่งปล่อยสินค้าเป็นการกระทำแทนบริษัทผู้ขนส่งสินค้าเท่านั้น ไม่พอให้ถือว่าจำเลยเป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งสินค้าพิพาทร่วมกับบริษัทดังกล่าว ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 และมาตรา 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทและเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งกับเรื่องรับขนของทางทะเล เพราะในขณะเกิดข้อพิพาทคดีนี้ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการนั้นและไม่ปรากฏจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นในเรื่องดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่ได้เป็นผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งร่วมในการขนส่งสินค้าพิพาท จำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในการที่สินค้าพิพาทสูญหายไปในระหว่างการขนส่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6014/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อคู่สัญญาไม่ลงนาม แม้จะมีการเสนอราคาและทำสัญญาเบื้องต้น
โจทก์ยื่นซองประกวดราคาเสนอขายเครื่องดูดฝุ่นให้จำเลยต่อมาจำเลยมีหนังสือเชิญโจทก์ไปทำสัญญา โจทก์ส่งผู้แทนไปลงนามในสัญญาซื้อขายแล้ว แต่ผู้อำนวยการของจำเลยยังไม่ลงนามเนื่องจากยังมีการต่อรองราคากันอยู่และปรากฏเงื่อนไขในการประกวดราคาว่า ถ้าโจทก์ไม่ไปทำสัญญากับจำเลยจำเลยจะริบหลักประกัน แสดงว่าสัญญาที่มุ่งจะทำนี้จะต้องทำเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยยังไม่ลงนามในสัญญา ต้องถือว่ายังไม่มีสัญญาต่อกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 366 วรรคสอง สัญญาซื้อขายจึงยังไม่เกิดขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5965/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การขอไถ่ถอนไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครอง
ฝ่ายจำเลยเคยขอไถ่ถอนการขายฝากก่อนครบกำหนด แต่โจทก์ ไม่ยอมให้ไถ่เป็นกรณีโจทก์ผิดสัญญา ไม่อาจถือได้ว่าจำเลย บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยจะเอาที่ดินพิพาท เป็นของจำเลยเองแต่อย่างใด