คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5930/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่ที่ดินราชพัสดุ: การโต้แย้งเรื่องอำนาจฟ้องและข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยได้เช่าจากโจทก์เพื่อปลูกสร้างร้านขายอาหารในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,500 บาท กับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายก่อนฟ้องรวมเป็นเงิน 67,500 บาท จำเลยให้การว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุที่ทางราชการสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5813/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 880 และการคำนวณดอกเบี้ยค่าเสียหาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880บัญญัติให้ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกได้เมื่อผู้เอาประกันภัยมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกในอายุความอย่างใดผู้รับประกันภัยก็ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องบุคคลภายนอกภายในอายุความอย่างเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเลก่อน พ.ร.บ. 2534 ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ แม้มีข้อตกลงฟ้องศาลต่างประเทศ
การว่าจ้างขนส่งสินค้าทำสัญญาก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะนั้น อันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งปรับแก่คดีตามมาตรา 4 แม้ผู้ส่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ขนส่งมีข้อตกลงกันว่าหากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจะต้องฟ้องคดีต่อศาลตามที่ระบุไว้ในใบตราส่ง แต่เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่ง โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทมีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยและเป็นผู้เข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากผู้ขนส่ง การรับช่วงสิทธิเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 วรรคหนึ่งหาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้นข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ผู้รับประกันภัย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องข้อจำกัดความรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิทางกฎหมายในสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเล และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เพิ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่การว่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททำสัญญากันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 616 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 4 จะนำเอา พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาปรับใช้แก่คดีนี้หาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาท เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา877 และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตาม มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง หาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับ จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศกับการรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งทางทะเล
พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534เพิ่งใช้บังคับเมื่อวันที่21กุมภาพันธ์2535แต่การว่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททำสัญญากันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับดังนั้นในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทจึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา616ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา4จะนำเอาพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534มาปรับใช้แก่คดีนี้หาได้ไม่ โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาทเมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา877และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตามมาตรา880วรรคหนึ่ง การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา880วรรคหนึ่งหาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ดังนั้นข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5684-5685/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดเครื่องหมายการค้า: สิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่า VS คำวินิจฉัยการจดทะเบียน
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วจึงขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและเรียกค่าเสียหายจากการที่จำเลยเอาสินค้าของจำเลยไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิตามที่โจทก์ได้รับความคุ้มครองดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)และมาตรา29วรรคสองเป็นคนละกรณีกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา22ที่วินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียนไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของผู้ที่โอนเครื่องหมายการค้านั้นให้โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนย่อมมีสิทธิดีกว่า แม้จดทะเบียนในไทยทีหลัง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474มาตรา41(1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่าทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่าผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้นหาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้วจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตามทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้มีสิทธิก่อนมีสิทธิที่ดีกว่า แม้จะจดทะเบียนภายหลัง
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41 (1)บัญญัติไว้แต่เพียงว่า ทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น ศาลอาจมีคำสั่งเพิกถอนได้เมื่อผู้มีส่วนได้เสียได้ยื่นคำร้องและแสดงได้ว่า ผู้ร้องมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเท่านั้น หาได้บัญญัติว่าหากผู้ที่ได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยโดยสุจริตแล้วจะมีสิทธิดีกว่าไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทและมีสิทธิจดทะเบียนในประเทศไทยก่อนโจทก์แล้ว จำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์ แม้โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศไทยก่อนจำเลยก็ตาม ทั้งสิทธิของจำเลยจะดีกว่าโจทก์หรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยจะเป็นที่นิยมแพร่หลายของสาธารณชนทั่วโลกหรือไม่
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทและวินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาว่า เครื่องหมายการค้าพิพาทของโจทก์จำเลยเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าถือได้ว่าเป็นประเด็นเดียวกับการลวงขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอายุความ เพราะจำเลยอ้างบทกฎหมายไม่ตรงกับที่ยื่นศาลชั้นต้น
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลยโดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624การที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี: การยกข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่างเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลย โดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา624 ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 624 การที่จำเลยฎีกาว่า คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา193/34 ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 62