พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องอายุความ เพราะจำเลยอ้างบทกฎหมายไม่ตรงกับที่ยื่นศาลชั้นต้น
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอายุความและยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายโดยอ้างว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624เพราะโจทก์มิได้ฟ้องคดีภายใน1ปีนับแต่วันที่จำเลยรับมอบของคดีโจทก์จึงขาดอายุความและศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำร้องของจำเลยโดยเห็นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์มิได้ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624การที่จำเลยฎีกาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34ไม่ตรงกับที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากเป็นการลวงสาธารณชนและมีเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่18มีนาคม2534นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่4ตุลาคม2534ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่14กุมภาพันธ์2535ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา119(2)ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎเป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริตเมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้านนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยโจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา41(1)แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474โจทก์มีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดมีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวาและมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน"อยู่ข้างล่างทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก1รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอดประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎแม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้านก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนักส่วนอักษรไทยคำว่าตรามงกุฎบินก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลยแม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก1ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานานจำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนกับสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้า: การลอกเลียนแบบโดยไม่สุจริต และการอาศัยชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าผู้อื่น
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่ 4 ตุลาคม 2534 ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่ 14กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ กรณีจึงต้องด้วย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา119 (2) ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบิน เป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอด มีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวา และมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน" อยู่ข้างล่าง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17 ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอด ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎ แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้าน ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนัก ส่วนอักษรไทยคำว่า ตรามงกุฎบิน ก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 1 ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานาน จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดะทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้ว เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรี รูปเพชร และรูปสิงโต ใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบิน เป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์มีอำนาจฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอด มีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวา และมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า"ตรามงกุฎบิน" อยู่ข้างล่าง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD.วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก17 ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอด ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎ แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้าน ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนัก ส่วนอักษรไทยคำว่า ตรามงกุฎบิน ก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 1 ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานาน จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดะทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้ว เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรี รูปเพชร และรูปสิงโต ใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5422/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าเดิม และการกระทำโดยไม่สุจริต
จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎบินเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2534 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วเห็นควรรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว จึงมีคำสั่งให้โฆษณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และโจทก์ได้ยื่นคำคัดค้านลงวันที่ 4 ตุลาคม 2534 ถือได้ว่านายทะเบียนได้มีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นวันที่พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับกรณีจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534มาตรา 119(2) ซึ่งบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ต่อไปจนกว่าจะถึงที่สุด โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ จำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎ เป็นการแอบอ้างเครื่องหมายการค้าของโจทก์และลอกเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้ยกคำคัดค้านของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ในฐานะผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 โจทก์มีอำนาจฟ้อง เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอด มีปีกประกอบทั้งด้านซ้ายและขวา และมีอักษรไทยประดิษฐ์คำว่า "ตรามงกุฎบิน" อยู่ข้างล่าง ทั้งหมดอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมจตุรัสสองชั้นทึบยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปมงกุฎในลักษณะประดิษฐ์ห้ายอดอยู่ในกรอบวงกลมสองชั้นโดยมีอักษรไทยคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในยื่นขอจดทะเบียนใช้กับสินค้าจำพวก 17 ชนิดสินค้าปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีสาระสำคัญอยู่ที่มงกุฎห้ายอด ประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรามงกุฎแม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีรูปปีกอยู่ข้างมงกุฎทั้งสองด้าน ก็เป็นเพียงส่วนประกอบที่ไม่สำคัญมากนัก ส่วนอักษรไทยคำว่า ตรามงกุฎบินก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าน้ำยาเคมีใช้ผสมปูนซีเมนต์นั้นเป็นของจำเลย แม้จำเลยจะใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 1 ต่างกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวก 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตรามงกุฎมานานจำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนมาแล้ว 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้และจำเลยเคยใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีของโจทก์กับสินค้าของจำเลยจนถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้าและถูกศาลลงโทษไปแล้ว เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรี รูปเพชร และรูปสิงโตใช้กับสินค้าปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปนกอินทรีเพชรมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินคดี แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนกับสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรีซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหงายลำตัวด้านท้องออกหันหัวไปทางด้านซ้ายมือมีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า"ตรานกถือเกรียง"ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายในกรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัดและอักษรโรมันคำว่าSIAMCITYCEMENTCO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นในและในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียวเมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่าสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรีมีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรีแม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้ายหงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่าตรานกถือเกรียงอยู่ใต้รูปนกก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้นทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็กไม่ใช่ลักษณะเด่นไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกตประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลยจำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่17แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานานและได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปจำเลยเพิ่งจะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทภายหลังโจทก์20ปีจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเสียลนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎรูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ก็ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปเพชรมีปีกมงกุฏมีปีกและสิงโตคู่เหยียบลูกโลกใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ๆโดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตจำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5421/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าเดิม และการใช้สิทธิไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปนกในลักษณะประดิษฐ์คล้ายรูปนกอินทรี ซึ่งเป็นนกประเภทเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยรูปนกดังกล่าวเป็นรูปนกในลักษณะกางปีกหลายลำตัวด้านท้องออก หันหัวไปทางด้านซ้ายมือ มีหงอนที่หัวและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนอยู่ภายในกรอบสี่เหลี่ยมและมีอักษรไทยกำกับภายใต้รูปนกว่า "ตรานกถือเกรียง" ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะสำคัญเป็นรูปนกอินทรีกางปีกหันข้างและขาทั้งสองข้างมิได้ถือเกรียงโบกปูนและอยู่ภายใต้กรอบวงกลมโดยมีอักษรไทยคำว่าบริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงจำกัด และอักษรโรมันคำว่า SIAM CITY CEMENT CO.,LTD. วางอยู่ระหว่างวงกลมชั้นนอกและชั้นใน และในอีกลักษณะหนึ่งวางอยู่ในกรอบวงกลมชั้นเดียว เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจะเห็นได้ว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคือรูปนกอินทรี มีลักษณะเด่นคือรูปนกอินทรีที่กางปีกอยู่ในกรอบคล้ายคลึงกันประชาชนผู้ซื้อสินค้าอาจเรียกขานว่าตรานกอินทรี แม้จะมีข้อแตกต่างกันอยู่บ้างตรงที่รูปเเครื่องหมายกาค้าของจำเลยเป็นรูปนกอินทรีหันหน้าไปทางด้านซ้าย หงายลำตัวด้านท้องออกและขาทั้งสองข้างถือเกรียงโบกปูนและมีอักษรไทยคำว่า ตรานกถือเกรียงอยู่ใต้ปูนก็ตาม ก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น ทั้งรูปเกรียงและอักษรไทยดังกล่าวก็มีขนาดเล็ก ไม่ใช่ลักษณะเด่น ไม่เป็นสาระสำคัญแก่การสังเกต ประกอบกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่ปรากฏข้อความหรือเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นเด่นชัดว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นสินค้าของจำเลย จำเลยขอจดทะเบียนใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าน้ำยาเคมีผสมซีเมนต์ แม้จะเป็นสินค้าในจำพวกที่ 1ต่างจำพวกกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นสินค้าในจำพวกที่ 17 แต่ก็เป็นวัสดุที่ใช้ในการกสอร้างและเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าปูนซีเมนต์ของโจทก์ โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีมานาน และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งยื่นคำขอจดทะบเยนเครื่องหมายการค้าภายหลังโจทก์ 20 ปี จำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีหันข้างและกางปีกเช่นเดียวกับรูปนกอินทรีตามเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนให้ จำเลยเคยถูกฟ้องในข้อหาเลียนเครื่องหมายการค้ารูปนกอินทรีและถูกศาลลงโทษไปแล้วเมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในรูปของมงกุฎ รูปเพชรและรูปสิงโตใช้กับปูนซีเมนต์ ก็ปากฏว่าจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยในรูปของเพชรมีปีก มงกุฎมีปีก และสิงโตคู่เหยียบลูกโลก ใช้กับสินค้าน้ำยาเคมีผสมปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นคดีฟ้องร้องกันอยู่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับโจทก์เป็นคู่ ๆ โดยมุ่งหมายที่จะอาศัยแอบอ้างชื่อเสียงเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันเมื่อผู้เอาประกันยินยอมให้ผู้อื่นขับขี่ และข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อย
โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 2 และหรือผู้มีชื่อซึ่งมีข้อสัญญาว่า จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยที่ 1 ลูกจ้างจำเลยที่ 2 ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 โดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ ส.บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว หาจำต้องบรรยายฟ้องด้วยว่า จำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กับ ย. ผู้เอาประกันภัยอย่างไร และจำเลยที่ 3 มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัย แต่อย่างใดไม่ และการที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น ศาลจะพิเคราะห์จากคำฟ้อง มิได้พิเคราะห์จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการพิจารณามาวินิจฉัยแต่อย่างใด เมื่อฟ้องของโจทก์มีสาระครบถ้วนแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ฎีกาจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ย.ผู้เอาประกันภัยยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อ ย.ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดด้วยนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันมาเป็นยุติแล้วว่า ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนและมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ย.ผู้เอาประกันภัยยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อ ย.ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดด้วยนั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันมาเป็นยุติแล้วว่า ผู้เอาประกันภัยยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ เมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนและมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัยจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเคลือบคลุมและขอบเขตความรับผิดของผู้รับประกันภัยในคดีละเมิด กรณีผู้ขับขี่ได้รับอนุญาต
โจทก์ทั้งสองได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่3เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่2และหรือผู้มีชื่อซึ่งมีข้อสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกอันเกิดจากการใช้รถยนต์คันดังกล่าวแทนจำเลยที่1และที่2โดยไม่จำกัดจำนวนจำเลยที่1ลูกจ้างจำเลยที่2ขับรถยนต์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่2โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ส. บุตรโจทก์ทั้งสองถึงแก่ความตายจำเลยที่1ที่2และที่3ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาจำต้องบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยที่1มีความสัมพันธ์กับย. ผู้เอาประกันภัยอย่างไร่และจำเลยที่3มีนิติสัมพันธ์กับผู้เอาประกันภัยแต่อย่างใดไม่และการที่จะวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้นศาลจะพิเคราะห์จากคำฟ้องมิได้พิเคราะห์จากข้อเท็จจริงที่ปรากฎจากการพิจารณามาวินิจฉัยแต่อย่างใดไม่เมื่อฟ้องของโจทก์มีสารครบถ้วนแล้วจึงไม่เคลือบคลุม ฎีกาจำเลยที่3ว่าจำเลยที่3ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสองเพราะข้อเท็จจริงไม่ปรากฎว่าย. ผู้เอาประกันภัยยอมให้จำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเมื่อย. ไม่ต้องรับผิดจำเลยที่3จึงไม่ต้องรับผิดด้วยนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงตรงกันมาเป็นยุติแล้วว่าผู้เอาประกันยินยอมให้จำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุเมื่อเกิดเหตุเฉี่ยวชนและมีความเสียหายเกิดขึ้นผู้เอาประกันภัยจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ตามข้อตกลงในสัญญาประกันภัยจำเลยที่3จึงต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยฎีกาของจำเลยที่3จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5265/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความจัดการมรดก, การแบ่งทรัพย์มรดก, สิทธิส่วนแบ่งราคาขาย, การซื้อขายโดยชอบ
จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนบ้านและที่พิพาทแก่จำเลยที่1ในนามจำเลยที่1เป็นผู้รับมรดกเองเพื่อความสะดวกในการที่จะขายเอาเงินมาแบ่งปันกันยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทเสร็จสิ้นการจัดการมรดกจะเสร็จสิ้นต่อเมื่อได้แบ่งเงินราคาขายกันแล้วเมื่อยังไม่ได้แบ่งเงินราคาขายแก่ทายาทการจัดการมรดกจึงยังไม่เสร็จสิ้นลงอายุความยังไม่เริ่มนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1733วรรคสอง จำเลยที่1ขายบ้านและที่ดินทรัพย์มรดกให้จำเลยที่2โดยชอบไม่อาจเพิกถอนได้โจทก์จึงไม่อาจขอให้ใส่ชื่อโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของคงมีสิทธิเพียงได้รับส่วนแบ่งเงินค่าขายทรัพย์มรดกดังกล่าวตามราคาที่ขายไปเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะซื้อขายก่อนกำหนดและการคืนเงินมัดจำ กรณีจำเลยยังไม่ชำระหนี้ตามสัญญา
วัตถุประสงค์แห่งสัญญาจะซื้อขายว่าโดยสภาพหรือโดยเจตนาที่คู่สัญญาแสดงไว้ ไม่มีพฤติการณ์ให้เห็นว่าระยะเวลาในการจัดหาทางภาระจำยอมให้ได้ภายในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2534 ของจำเลยเป็นสาระสำคัญแก่ผลสำเร็จและประโยชน์ที่โจทก์จะพึงได้รับตามสัญญา ซึ่งหากล่าช้าไปแล้วย่อมเป็นอันไร้ประโยชน์แก่โจทก์ กรณีจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 387 กล่าวคือ เมื่อจำเลยผิดสัญญายังไม่สามารถจัดหาทางภาระจำยอมให้แก่ที่ดินพิพาทได้ตามสัญญา เป็นการไม่ชำระหนี้ในส่วนที่เป็นหน้าที่ของตน ซึ่งเป็นเวลาก่อนกำหนดระยะเวลาโอนที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ด้วย โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยจัดหาทางภาระจำยอมให้ได้ โดยกำหนดระยะเวลาพอสมควรก่อน ถ้าจำเลยไม่ดำเนินการให้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว โจทก์จึงจะเลิกสัญญาได้ เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อขาย การบอกเลิกสัญญาของทนายความโจทก์ต่อจำเลยตามเอกสารหมาย จ.20 ถึง จ.25 จึงเป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยยังมีผลผูกพันอยู่ ดังนั้นโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 5,000,000 บาท และเงินค่าที่ดินที่จำเลยเบิกล่วงหน้าไปจากโจทก์ก่อน 2,000,000 บาท เพราะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้จำเลยไว้ตามข้อกำหนดในสัญญาจะซื้อขาย