คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งยาเสพติดเพื่อเสพเอง ไม่ถือเป็น 'ผลิต' แต่มีโทษฐานครอบครองตามกฎหมาย
จำเลยซื้อเฮโรอีนหลอดใหญ่มาแบ่งบรรจุใส่หลอดกาแฟเล็กโดยมิได้กระทำเพื่อจำหน่าย การแบ่งบรรจุไว้เสพเองเท่ากับจำเลยมีไว้ในครอบครองเท่านั้น ไม่อาจถือว่าเป็นการผลิตตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ และการมีไว้ในครอบครองเป็นการกระทำอย่างหนึ่งในความผิดฐานผลิต แม้โจทก์ไม่ได้ฟ้องในความผิดฐานมีไว้ในครอบครองก็ลงโทษในความผิดฐานนี้ได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การพิสูจน์ความรู้ในการได้มาซึ่งทรัพย์สินที่ถูกลักมา และขอบเขตอำนาจศาลในการยกฟ้อง
เจ้าพนักงานตำรวจพบรถยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่1จำเลยที่1แจ้งว่าซื้อมาจากจำเลยที่2แต่จำเลยที่2ปฏิเสธว่าไม่ได้ขายโดยไม่ยอมเปิดเผยความจริงว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยวิธีใดและไม่มีหลักฐานเอกสารใดๆในการได้รถยนต์นั้นมาเป็นข้อพิรุธเชื่อได้ว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์ของกลางมาโดยรู้ว่าถูกคนร้ายลักมาจำเลยที่2มีความผิดฐานรับของโจร ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่2ซึ่งฎีกาขึ้นมาแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่1ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา215และมาตรา225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: จำเลยที่ 2 มีเจตนาและครอบครองรถที่ถูกขโมย ส่วนจำเลยที่ 1 ซื้อโดยสุจริตและไม่มีส่วนรู้เห็น
จำเลยที่2ครอบครองรถยนต์กระบะของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปแล้วนำไปขายให้จำเลยที่1แต่จำเลยที่2กลับปฏิเสธว่าไม่ได้ขายโดยไม่ยอมเปิดเผยความจริงว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยวิธีใดเป็นการผิดปกติวิสัยทั้งไม่มีหลักฐานเอกสารใดๆในการได้รถยนต์นั้นมาเชื่อว่าจำเลยที่2ได้รถยนต์มาโดยรู้ว่าถูกคนร้ายลักมาจึงมีความผิดฐานรับของโจรส่วนจำเลยที่1นั้นซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่2ตามราคาท้องตลาดและได้แสดงความบริสุทธิ์ตั้งแต่แรกโดยแจ้งความจริงแก่จ่าสิบตำรวจ จ.ในทันทีที่เข้าสอบถามอีกทั้งยังใช้รถอย่างเปิดเผยโดยไม่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพรถเชื่อว่าจำเลยที่1ไม่รู้ว่าเป็นรถที่ถูกคนร้ายลักมาส่วนที่จำเลยที่1ไม่ได้ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกเอาเอกสารหลักฐานใดๆจากจำเลยที่2จนกระทั่งถูกจับคงเป็นเพราะเชื่อถือจำเลยที่2ซึ่งเป็นคู่เขยว่าเมื่อผ่อนชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่2ก็จะโอนทะเบียนรถให้รวมทั้งจำเลยที่2จะต่อทะเบียนรถประจำปีให้ด้วยไม่พอถือเป็นข้อพิรุธจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานรับของโจรแม้จำเลยที่1มิได้ฎีกาแต่เมื่อฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1กระทำความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่2ซึ่งฎีกาศาลฎีกาจึงมีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การครอบครองรถยนต์ที่ได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ลักมา และอำนาจศาลในการยกฟ้อง
เจ้าพนักงานตำรวจพบรถยนต์ของผู้เสียหายที่ถูกคนร้ายลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 แจ้งว่าซื้อมาจากจำเลยที่ 2แต่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่า ไม่ได้ขายโดยไม่ยอมเปิดเผยความจริงว่าจำเลยที่ 2ได้รถยนต์คันดังกล่าวมาด้วยวิธีใด และไม่มีหลักฐานเอกสารใด ๆ ในการได้รถยนต์นั้นมา เป็นข้อพิรุธเชื่อได้ว่า จำเลยที่ 2 ได้รถยนต์ของกลางมาโดยรู้ว่าถูกคนร้ายลักมา จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานรับของโจร
ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวพันกับจำเลยที่ 2 ซึ่งฎีกาขึ้นมา แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติสัมพันธ์ซื้อขายมะม่วงผ่านบัญชีเดินสะพัด มิใช่การกู้ยืมเงิน
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้เอาเงินไปจากโจทก์เป็นคราว ๆ โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยเอาเงินที่รับไปเหมามะม่วงและเอามะม่วงมาส่งให้โจทก์โดยหักค่ามะม่วงจากเงินที่รับไป เมื่อส่งมะม่วงหมดแล้วจึงคิดบัญชีกันหากค่ามะม่วงที่ส่งให้โจทก์ยังไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเอาไป จำเลยจะต้องรับผิดชอบ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 แต่กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลักษณะของบัญชีเดินสะพัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856 แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไปแต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วยซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้องอันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไปและข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมาย ที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9345/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะนิติสัมพันธ์เป็นบัญชีเดินสะพัด ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน แม้ฟ้องอ้างเป็นการกู้ยืม
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยได้เอาเงินไปจากโจทก์เป็นคราว ๆ โดยโจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยเอาเงินที่รับไปเหมามะม่วงและเอามะม่วงมาส่งให้โจทก์โดยหักค่ามะม่วงจากเงินที่รับไป เมื่อส่งมะม่วงหมดแล้วจึงคิดบัญชีกัน หากค่ามะม่วงที่ส่งให้โจทก์ยังไม่พอกับจำนวนเงินที่จำเลยเอาไป จำเลยจะต้องรับผิดชอบ ตามข้อเท็จจริงดังกล่าวหาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และตกลงจะนำเงินมาใช้คืนให้โจทก์ไม่ จึงไม่ใช่เรื่องกู้ยืมเงินตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 แต่กรณีเช่นนี้นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลักษณะของบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 856
แม้โจทก์จะฟ้องและฎีกาว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ไป แต่โจทก์ก็ได้อ้างเอกสารท้ายฟ้องมาเป็นหลักในการฟ้องด้วย ซึ่งเมื่อพิเคราะห์คำฟ้องประกอบกับเอกสารท้ายฟ้อง อันกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการที่จำเลยเอาเงินโจทก์ไป และข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยรวมทั้งการคิดราคาค่ามะม่วงแต่ละครั้งที่จำเลยนำมาส่งให้โจทก์แล้ว เห็นได้ว่าฟ้องโจทก์บรรยายเข้าลักษณะของบัญชีเดินสะพัด ซึ่งศาลมีอำนาจยกบทกฎหมายที่ถูกต้องมาปรับแก่คดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาแก้โทษจากยักยอกเป็นฉ้อโกง ประเด็นอายุความ และอำนาจศาลในการปรับบท
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วยในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมายดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา194แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีในวงเงินเอาประกันภัย100,000บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปีและได้รับส่วนลดเป็นพิเศษโจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัทท. กับจำเลยโดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง1กรมธรรม์และทำสัญญาประกันชีวิตให้ม. อีก1กรมธรรม์โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง2กรมธรรม์ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน179,500บาทแต่ปรากฏว่าบริษัทท. ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและม. เป็นเงินเพียง10,584บาทและ8,659บาทตามลำดับซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง1ปีและโจทก์ร่วมกับม. จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปีปีละครั้งแสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม. ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัทท. แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย21ปีแต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าวกลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วมและจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและม. ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วมจำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องคดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสาม เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าวจึงทักท้วงต่อจำเลยจำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1เดือนในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24กันยายน2534และจำเลยได้ปฏิเสธว่าโจทก์ร่วมและม. ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่9ธันวาคม2534คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9339/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฉ้อโกงและการขาดอายุความในคดีฉ้อโกง การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาและการพิพากษา
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายได้ และจำเลยก็อุทธรณ์ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย ในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่มีอุทธรณ์แต่ในปัญหาข้อกฎหมาย ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงแตกต่างกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของมาตรา 194 แห่ง ป.วิ.อ.
จำเลยได้ติดต่อให้โจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี ในวงเงินเอาประกันภัย 100,000 บาทผู้เอาประกันภัยชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยไม่ต้องจ่ายเป็นรายปี และได้รับส่วนลดเป็นพิเศษ โจทก์ร่วมตกลงทำสัญญาประกันชีวิตต่อบริษัท ท.กับจำเลย โดยโจทก์ร่วมทำสัญญาประกันชีวิตตนเอง 1 กรมธรรม์ และทำสัญญาประกันชีวิตให้ ม.อีก 1 กรมธรรม์ โจทก์ร่วมได้ชำระเงินเบี้ยประกันภัยทั้ง 2 กรมธรรม์ ให้แก่จำเลยไปแล้วทั้งหมดรวมเป็นเงิน 179,500 บาท แต่ปรากฏว่าบริษัท ท.ได้รับชำระเบี้ยประกันภัยของโจทก์ร่วมและ ม.เป็นเงินเพียง 10,584 บาท และ 8,659 บาทตามลำดับ ซึ่งเป็นการชำระเบี้ยประกันภัยแบบเอาประกันภัยในระยะเวลาเพียง 1 ปีและโจทก์ร่วมกับ ม.จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี ปีละครั้ง แสดงว่าโจทก์ร่วมส่งมอบเงินให้จำเลยไปโดยหลงเชื่อว่าจำเลยจะจัดให้โจทก์ร่วมและม.ทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ท.แบบชำระเบี้ยประกันภัยครั้งเดียวโดยมีระยะเวลาเอาประกันภัย 21 ปี แต่จำเลยไม่ได้จัดให้มีการทำสัญญาประกันชีวิตในแบบดังกล่าว กลับนำสืบปฏิเสธว่าจำเลยไม่เคยรับเงินจากโจทก์ร่วม และจำเลยเป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ร่วมและ ม.ด้วยพฤติการณ์ของจำเลยถือได้ว่าจำเลยมีเจตนาฉ้อโกงโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง คดีนี้แม้ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาลงโทษจำเลยฐานยักยอกโดยโจทก์และโจทก์ร่วมไม่ได้อุทธรณ์ ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192วรรคสาม
เมื่อโจทก์ร่วมรู้ว่ากรมธรรม์ประกันชีวิตไม่ได้เป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ดังกล่าว จึงทักท้วงต่อจำเลย จำเลยได้ขอเวลาแก้ไขให้ภายใน1 เดือน ในระยะเวลาดังกล่าวโจทก์ร่วมย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดหรือไม่ เพราะการออกกรมธรรม์ประกันชีวิตอาจมีข้อบกพร่องผิดพลาดโดยไม่ได้เจตนาก็เป็นได้ ต่อเมื่อโจทก์ร่วมพบกับจำเลยอีกครั้งในวันที่24 กันยายน 2534 และจำเลยได้ปฏิเสธว่า โจทก์ร่วมและ ม.ไม่ได้ทำสัญญาประกันชีวิตกับจำเลยและจำเลยไม่ได้รับเงินค่าเบี้ยประกันภัยจากบุคคลทั้งสองนับแต่วันนั้นจึงถือได้ว่าโจทก์ร่วมรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อโจทก์ร่วมไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในวันที่ 9 ธันวาคม 2534 คดีของโจทก์ร่วมจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายที่ขัดต่อกฎหมาย และการครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้คำนิยามคำว่า"ใบจอง" ว่าหมายถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว จากคำนิยามดังกล่าวถือได้ว่าทางราชการยังไม่ได้ให้สิทธิครอบครองอย่างเด็ดขาดแก่จำเลย จำเลยมีเพียงแต่สิทธิเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด รวมทั้งเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนด แต่ในระหว่างที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินพิพาท จำเลยจะต้องอยู่ภายในบังคับของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497มาตรา 8 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้จับจอง ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยมรดก เมื่อการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนายค.กับจำเลยยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวนิติกรรมการซื้อขายและส่งมอบที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทจะครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากนาย ค. มานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทยังเป็นของรัฐอันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง>ตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี 2497 แล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับทั้งการยึดถือครอบครองของโจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆแก่โจทก์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9326/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินที่ได้รับใบจองก่อนบังคับใช้ประมวลกฎหมายที่ดินเป็นโมฆะ และการครอบครองภายหลังจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 1 ให้คำนิยามคำว่า "ใบจอง"ว่าหมายถึง หนังสือแสดงการยอมให้เข้าครอบครองที่ดินชั่วคราว จากคำนิยามดังกล่าวถือได้ว่าทางราชการยังไม่ได้ให้สิทธิครอบครองอย่างเด็ดขาดแก่จำเลย จำเลยมีเพียงแต่สิทธิเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท โดยต้องปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับข้อกำหนด รวมทั้งเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนด แต่ในระหว่างที่จำเลยได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินพิพาท จำเลยจะต้องอยู่ภายในบังคับของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ที่ดินที่ได้รับใบอนุญาตให้จับจอง...ผู้ได้รับอนุญาตจะโอนไม่ได้ เว้นแต่จะตกทอดโดยมรดก เมื่อการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างนาย ค. กับจำเลยยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวนิติกรรมการซื้อขายและส่งมอบที่ดินพิพาทเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายจึงเป็นโมฆะกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นทายาทจะครอบครองที่ดินพิพาทสืบต่อจากนาย ค. มานานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง ที่ดินพิพาทยังเป็นของรัฐอันบุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่โจทก์ทั้งสองเข้าครอบครองภายหลังจากประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับในปี 2497 แล้ว จึงมิใช่ผู้ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ ทั้งการยึดถือครอบครองของโจทก์ทั้งสองก็ไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 62