พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9165/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เมทแอมเฟตามีนครอบครอง-ขายกรรมเดียว: ศาลฎีกายกวินิจฉัยประเด็นความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฎีกา
หลังจากสายลับได้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน 8 เม็ด จากจำเลยแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าไปตรวจค้นบ้านจำเลยพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน 3 เม็ด ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอด ทั้งเมทแอมเฟตามีนจำนวน 8 เม็ด และ 3 เม็ด ไม่ปรากฏว่าต่างชนิดกัน และมีน้ำหนักใกล้เคียงกันจึงฟังได้ว่า เมทแอมเฟตามีนทั้ง 11 เม็ดเป็นจำนวนเดียวกัน การที่จำเลยมีเมทแอม-เฟตามีนจำนวน 3 เม็ด ในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกับที่จำเลยขายเมทแอม-เฟตามีนจำนวน 8 เม็ดไปนั้น ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน3 เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขายนั่นเอง ซึ่งการขายหรือมีไว้เพื่อขายเป็นความผิดอย่างเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวคือการขาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9165/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายและครอบครองยาเสพติดเป็นกรรมเดียว ศาลฎีกายกประเด็นกฎหมายเพื่อวินิจฉัยเอง
หลังจากสายลับได้ล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจำนวน8เม็ดจากจำเลยแล้วเจ้าพนักงานตำรวจได้เข้าไปตรวจค้นบ้านจำเลยพบเมทแอมเฟตามีนจำนวน3เม็ดซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่ต่อเนื่องกันมาโดยตลอดทั้งเมทแอมเฟตามีนจำนวน8เม็ดและ3เม็ดไม่ปรากฏว่าต่างชนิดกันและมีน้ำหนักใกล้เคียงกันจึงฟังได้ว่าเมทแอมเฟตามีนทั้ง11เม็ดเป็นจำนวนเดียวกันการที่จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน3เม็ดในวันเวลาเดียวกันและต่อเนื่องกับที่จำเลยขายเมทแอมเฟตามีนจำนวน8เม็ดไปนั้นตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน3เม็ดไว้ในครอบครองเพื่อขายนั่นเองซึ่งการขายหรือมีไว้เพื่อขายเป็นความผิดอย่างเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดกรรมเดียวคือการขายปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกามีอำนาจเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8514/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า: นับแต่วันจดทะเบียน, ไม่ใช่การติดตามทรัพย์สิน
การฟ้องเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ทรัพย์สินที่มีรูปร่างอันได้แก่อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองไว้โดยเฉพาะอันได้แก่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่อาจนำมาตรา 1336 มาใช้บังคับได้ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่า ส. เป็นการฟ้องคดีตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 41(1)ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เดิมคือนับตั้งแต่วันที่ ส. จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8514/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าต้องใช้กฎหมายเฉพาะ อายุความฟ้องเป็นไปตามบทบัญญัติทั่วไป ป.พ.พ.
การฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ทรัพย์สินที่มีรูปร่างอันได้แก่อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์-สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองไว้โดยเฉพาะอันได้แก่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ กรณีของโจทก์ไม่อาจนำมาตรา 1336 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับได้ ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีว่า ส. และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้รับมรดกของ ส. เป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม คือนับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2514 อันเป็นวันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 เกินกว่า 10 ปี แล้วคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8512/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงจนสับสน และสิทธิในการขอให้ถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "Dulcolax" มีอักษรโรมันรวม 8 ตัว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "DECOLAX" มีอักษรโรมันรวม 7 ตัว และในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยคงมีแตกต่างกันที่ตัวอักษรโรมันเพียง 2 ตัว คือตัวอักษร "ul" และ "E" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกคือตัวอักษร "D" ตัวอักษรอื่นเป็นตัวพิมพ์เล็ก ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองต่างก็ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ "D" เหมือนกัน และลงท้ายด้วยตัวอักษรโรมันคำว่า "COLAX" เหมือนกัน ทั้งการอ่านก็ออกเสียงเป็น 3 พยางค์ เหมือนกันซึ่งเมื่อพิจารณาโดยรวมทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงกันมาก ซึ่งแม้แต่ผู้ที่อ่านอักษรโรมันได้ หากไม่พิจารณาให้รอบคอบ ก็ยากที่จะสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าของโจทก์และจำเลยตามแผงบรรจุเม็ดยาต่างก็เป็นสินค้าประเภทยาระบายใช้สำหรับอาการท้องผูกเหมือนกันทั้งเม็ดยาและซองบรรจุยาก็มีลักษณะกลมนูนและมีขนาดเท่ากัน เม็ดยามีผิวเคลือบสีน้ำตาลเหลืองเหมือนกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าส่วนใหญ่ของสาธารณชนมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกความแตกต่างของตัวอักษรด้วยแล้วย่อมเป็นไปได้ง่ายที่สาธารณชนจะเกิดความสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "DECOLAX"จึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "Dulcolax" จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดแล้ว โจทก์ได้ใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลยจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์คำว่า "Dulcolax" เป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX" ของจำเลยได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและมีสิทธิดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 175169 ซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "Dulcolax" ของโจทก์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์ดังกล่าว เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 41 (1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้มาตรา 41 (1) ดังกล่าวจะเป็นบทบัญญัติให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้มีสิทธิดีกว่าขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้า และคดีนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนนั้น เพราะแม้เครื่องหมาย-การค้านั้นได้รับการจดทะเบียนไปแล้วยังอาจถูกเพิกถอนได้ คำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิดีกว่าย่อมขอให้บังคับผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ถอนคำขอนั้นได้อยู่ในตัว การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์เพราะเห็นว่าเครื่องหมาย-การค้าตามคำขอของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาว่าเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่อันเป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินการตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้ตัดสิทธิโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 (1) ไม่ ดังนี้แม้ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วยังมิได้ถอนอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำคดีนี้มาฟ้องได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 4,000 บาท แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนและมีสิทธิดีกว่าจำเลยในเครื่องหมายการค้าคำว่า "DECOLAX"ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 175169 ซึ่งเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "Dulcolax" ของโจทก์สำหรับสินค้าจำพวกที่ 3 ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์ดังกล่าว เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิที่มีอยู่ตามมาตรา 41 (1)แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ แม้มาตรา 41 (1) ดังกล่าวจะเป็นบทบัญญัติให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าผู้มีสิทธิดีกว่าขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมาย-การค้า และคดีนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยยังไม่ได้รับการจดทะเบียนก็ตามแต่โจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนนั้น เพราะแม้เครื่องหมาย-การค้านั้นได้รับการจดทะเบียนไปแล้วยังอาจถูกเพิกถอนได้ คำขอที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิดีกว่าย่อมขอให้บังคับผู้ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ถอนคำขอนั้นได้อยู่ในตัว การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยให้ยกคำคัดค้านของโจทก์เพราะเห็นว่าเครื่องหมาย-การค้าตามคำขอของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่โจทก์ไม่เห็นด้วย จึงอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้น เป็นเรื่องที่โต้แย้งกันเกี่ยวกับปัญหาว่าเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่อันเป็นกรณีที่โจทก์ดำเนินการตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวหาได้ตัดสิทธิโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยอ้างว่ามีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลยดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41 (1) ไม่ ดังนี้แม้ขณะฟ้องคดีนี้โจทก์จะได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้วยังมิได้ถอนอุทธรณ์ก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิที่จะนำคดีนี้มาฟ้องได้
ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์ 4,000 บาท แต่คดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.ได้กำหนดอัตราค่าทนายความขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไว้เพียง 1,500 บาท การกำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องจดทะเบียน การให้ยืมโฉนดไม่ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจากป.ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวารจำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินพิพาทมิได้อาศัยสิทธิของป.จำเลยส.อ.และป.เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทแต่ให้ใส่ชื่อป.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ขอยืมโฉนดที่ดินจากป.และจำเลยเพื่อนำไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากธนาคารและเพื่อความสะดวกในการดำเนินการจึงเปลี่ยนชื่อในโฉนดจากป.มาใส่ชื่อโจทก์แทนคดีจึงมีประเด็นพิพาทเพียงว่าการที่ป.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้นศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าป.ไม่มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพียงแต่ต้องการให้โจทก์ยืมโฉนดไปจำนองเท่านั้นผลจึงมีว่าป.ไม่ได้ให้ที่ดินแก่โจทก์คดีไม่มีประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยว่าป.แสดงเจตนายกให้ตอนที่ป.เบิกความต่อศาลอีกการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต่อไปว่าในการสืบพยานป.เบิกความว่าป.เต็มใจที่จะยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แสดงว่าหลังจากนั้นป.ได้เปลี่ยนใจยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ซึ่งปรากฏว่าป.ได้จดทะเบียนยกให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ตอนแรกจึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนการให้อีกถือว่าไม่สมบูรณ์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้นั้นเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8276/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: เจตนาที่แท้จริงของผู้ให้ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาล
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยได้รับโอนกรรมสิทธิ์มาจาก ป. ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยมีสิทธิอยู่อาศัยในที่ดินพิพาท มิได้อาศัยสิทธิของ ป. จำเลย ส.อ. และ ป.เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท แต่ให้ใส่ชื่อ ป.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ขอยืมโฉนดที่ดินจาก ป.และจำเลยเพื่อนำไปเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากธนาคาร และเพื่อความสะดวกในการดำเนินการจึงเปลี่ยนชื่อในโฉนดจาก ป. มาใส่ชื่อโจทก์แทน คดีจึงมีประเด็นพิพาทเพียงว่า การที่ ป.ยกที่ดินพิพาทให้โจทก์มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ป.ไม่มีเจตนาจะยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เพียงแต่ต้องการให้โจทก์ยืมโฉนดไปจำนองเท่านั้น ผลจึงมีว่า ป.ไม่ได้ให้ที่ดินแก่โจทก์ คดีไม่มีประเด็นที่ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยว่า ป.แสดงเจตนายกให้ตอนที่ ป.เบิกความต่อศาลอีก การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยต่อไปว่า ในการสืบพยาน ป.เบิกความว่า ป.เต็มใจที่จะยกที่ดินพิพาทให้โจทก์แสดงว่าหลังจากนั้น ป.ได้เปลี่ยนใจยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ ซึ่งปรากฏว่า ป.ได้จดทะเบียนยกให้แก่โจทก์แล้วตั้งแต่ตอนแรก จึงไม่จำต้องไปจดทะเบียนการให้อีกถือว่าการให้สมบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกประเด็นแห่งคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8267/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์แทนทายาท ต้องแบ่งปันให้ทายาทตามสิทธิ
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาทคือโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ตามป.พ.พ.มาตรา 1720 ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสองแปลงไว้ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วยตลอดมา จำเลยจะอ้างว่าจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่ผู้เดียวโดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือหาได้ไม่ หากจำเลยประสงค์จะครอบครองที่ดินแต่ผู้เดียว จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดกขึ้นต่อสู้เพื่อที่จะบอกปัดไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ และเมื่อถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแทนโจทก์ด้วยตลอดมาเช่นนี้แล้วคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8267/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดก การครอบครองทรัพย์สินแทนทายาท และการแบ่งมรดกเมื่อมีทายาทจำกัด
จำเลยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกย่อมเป็นตัวแทนของทายาทคือโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์1720 ดังนั้น การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้งสองแปลงไว้ ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ด้วยตลอดมา จำเลยจะอ้างว่าจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแต่ผู้เดียวโดยจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือหาได้ไม่ หากจำเลยประสงค์จะครอบครองที่ดินแต่ผู้เดียว จำเลยจะต้องบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจะไม่ครอบครองที่ดินแทนโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จำเลยยังมิได้แบ่งปันที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเป็นทรัพย์มรดกที่ยังอยู่ในระหว่างการจัดการ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมไม่มีสิทธิอ้างอายุความมรดกขึ้นต่อสู้เพื่อที่จะบอกปัดไม่แบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ และเมื่อถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแทนโจทก์ด้วยตลอดมาเช่นนี้แล้วคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความมรดก โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้ามรดกมีโจทก์และจำเลยเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเพียง 2 คน จำเลยมิได้ให้การปฎิเสธว่า ยังมีทายาทอื่นอันควรได้รับส่วนแบ่งด้วย จึงต้องฟังตามฟ้อง ดังนั้น การแบ่งที่ดินมรดกทั้งสองแปลง จึงต้องแบ่งให้แก่โจทก์และจำเลยเพียง 2 คน เพราะถือได้ว่าทายาทอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีข้อจำกัดการโอนสิทธิ: สิทธิครอบครองยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การซื้อขายและการครอบครองเพื่อตนเองไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3)ที่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 334 (พ.ศ.2515) ข้อ 6 ที่บังคับใช้ในกรณีนี้ในระยะเวลาที่ห้ามโอนนั้นถือได้ว่ารัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์คงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นเมื่อบิดาโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1377, 1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ แม้จะรับฟังว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลย ก็ไม่มีผลตามกฎหมายจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท
การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง
การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตาม ป.พ.พ.มาตรา1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเอง จำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง