คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8266/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินมีข้อห้ามโอน สิทธิครอบครองไม่เกิด จำเลยไม่มีสิทธิได้มาโดยการครอบครอง
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3) ที่มีข้อกำหนดห้ามโอนภายใน 10 ปี ตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฎิวัติฉบับที่ 334(พ.ศ.2515) ข้อ 6 ที่บังคับใช้ในกรณีนี้ในระยะเวลาที่ห้ามโอนนั้นถือได้ว่ารัฐยังไม่ได้มอบสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่บิดาโจทก์ บิดาโจทก์และโจทก์คงมีสิทธิเพียงทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นเมื่อบิดาโจทก์และโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงไม่อาจสละหรือโอนสิทธิครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1377,1378 ให้แก่ผู้อื่นได้ แม้จะรับฟังว่าบิดาโจทก์ขายที่ดินพิพาทและมอบการครอบครองที่ดินให้แก่จำเลย ก็ไม่มีผลตามกฎหมายจำเลยไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท การเปลี่ยนเจตนายึดถือหรือครอบครองที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 จะต้องเป็นกรณีที่ครอบครองที่ดินแทนผู้อื่น แต่เมื่อไม่ถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่จำเลยจะอ้างได้ว่าจำเลยเปลี่ยนเจตนาครอบครองหรือเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินพิพาทแทนโจทก์เป็นครอบครองหรือยึดถือเพื่อตนเองจำเลยจึงไม่ได้สิทธิในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายหุ้นและสัญญาต่างตอบแทน: ความชัดเจนในการฟ้องร้องและการปฏิบัติหนี้
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไป ต่อมา น. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่า น. ขอคืนหุ้นปั้นจั่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสามและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น3 งวดให้แก่ให้ น. ดังนี้ ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้น คงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้น คดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้น จึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้น มีข้อสัญญาว่า น. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้ น. จำนวน 600,000 บาท โดยแบ่งชำระเป็น 3 งวด และ น. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วน ดังนี้ ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายต่างจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8182/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายหุ้น: การชำระหนี้ค่าหุ้นและการโอนหุ้นเป็นสัญญาต่างตอบแทน
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องบรรยายฟ้องว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามเข้าหุ้นกับจำเลยทั้งสามทำกิจการปั้นจั่นรับจ้างทั่วไปต่อมาน. และจำเลยทั้งสามตกลงกันว่าน. ขอคืนหุ้นปั้นจั่่นและหุ้นในห้างหุ้นส่วนดังกล่าวทั้งหมดให้แก่จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสามจะคืนเงินค่าหุ้นจำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดให้แก่ให้น. ดังนี้ข้ออ้างในคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แบ่งแยกราคาตามประเภทของหุ้นคงเรียกร้องรวมกันมาว่าจำเลยทั้งสามไม่ชำระราคาค่าหุ้นตามที่ตกลงกันไว้เท่านั้นคดีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องบรรยายฟ้องแยกราคาตามประเภทของหุ้นจึงถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอที่จะให้จำเลยทั้งสามเข้าใจและต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม บันทึกข้อตกลงซื้อขายหุ้นมีข้อสัญญาว่าน. บิดาของโจทก์ทั้งสามขอคืนหุ้นปั้นจั่นกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนให้แก่จำเลยทั้งสามจำเลยทั้งสามจะชำระเงินคืนให้น. จำนวน600,000บาทโดยแบ่งชำระเป็น3งวดและน. จะเซ็นชื่อให้จำเลยทั้งสามในใบโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนดังนี้ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ต่างฝ่ายจะต้องปฏิบัติการชำระหนี้แก่กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8062/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และความรับผิดของผูกพันสัญญาค้ำประกัน/จำนอง
โจทก์นำคดีแพ่งมาฟ้องจำเลยที่1หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่1เด็ดขาดแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1แม้ต่อมาศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้พิจารณาคดีล้มละลายที่จำเลยที่1ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดใหม่ซึ่งมีผลให้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา153ก็ตามก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้โจทก์ซึ่งไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1กลับมีอำนาจฟ้องขึ้นอีกโดยอาศัยเหตุที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันยื่นคำฟ้องนั้น จำเลยที่2เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันและจำนองทรัพย์สินของตนประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกของจำเลยที่1ต่อโจทก์จำเลยที่3เป็นผู้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่2ของจำเลยที่1ต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3มิได้เป็นลูกหนี้ที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายล้มละลายที่ห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีแพ่งและแม้โจทก์จะไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1ก็ไม่มีผลกระทบถึงความรับผิดของจำเลยที่2และที่3ที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองจำเลยที่2และที่3จึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้สาธารณชนสับสน และการกำหนดค่าเสียหาย
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมี ค. โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อรับรองและยืนยันว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ลายมือชื่อในเอกสารฉบับนี้เป็นลายมือชื่อของ ร. ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจโดยถูกต้องในการลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ และ ร. ได้สาบานตนและลงลายมือชื่อต่อหน้าตนจริง จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบหักล้างให้เห็นว่า ร. มิใช่ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในการมอบอำนาจให้นายบุญมาฟ้องคดีนี้ และโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง ดังนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีใบสำคัญของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงว่า ค. เป็นโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซีผู้มีอำนาจเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แต่เมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงหนังสือมอบอำนาจนั้น จึงไม่ต้องทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งป.วิ.พ.
เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมัน และประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัว เหมือนกับตัวอักษร5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่า โมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้ จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฏว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโดนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว
โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ.2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมทำให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด แต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่ถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน 100,000บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ 10,000บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7833/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนสับสน และการกำหนดค่าเสียหายจากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีมี ค.โนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลงลายมือชื่อรับรองและยืนยันว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี ประเทศสหรัฐอเมริกาลายมือชื่อในเอกสารฉบับนี้เป็นลายมือชื่อของร.ผู้ช่วยเลขานุการ ซึ่งมีอำนาจโดยถูกต้องในการลงลายมือชื่อในนามของโจทก์ และ ร.ได้สาบานตนและลงลายมือชื่อต่อหน้าตนจริง จำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบหักล้างให้เห็นว่า ร.มิใช่ผู้ช่วยเลขานุการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในการมอบอำนาจให้นายบุญมาฟ้องคดีนี้ และโจทก์มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซี กรณีจึงไม่มีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง ดังนี้ แม้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่มีใบสำคัญของรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาแสดงว่า ค.เป็นโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐนิวเจอร์ซีผู้มีอำนาจเป็นพยานในหนังสือมอบอำนาจนั้น แต่เมื่อไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจไม่ใช่ หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริง หนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องทำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM" ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ที่จำเลยที่ 2 ใช้อยู่ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันและประดิษฐ์ขึ้นเองโดยไม่มีคำแปลเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษร 8 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 3 พยางค์ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" มีตัวอักษร 5 ตัว อ่านออกเสียงเป็น 2 พยางค์ ตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั้ง 5 ตัวเหมือนกับตัวอักษร 5 ตัวแรกของเครื่องหมายการค้าโจทก์และวางอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน คงมีข้อแตกต่างกันที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีตัวอักษรมากกว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลย 3 ตัว คือตัวอักษร IUM เครื่องหมายการค้าของโจทก์อ่านว่าโมทิเลียม ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองอ่านว่า โมทิล สำเนียงการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสองคล้ายคลึงกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ 2 พยางค์แรกมาก และบางครั้งมีผู้เรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยย่อว่าโมทิล ซึ่งสำเนียงการเรียกขานเหมือนกับการเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยทั้งสอง การที่จะวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันอันจะทำให้ประชาชนหลงผิดได้หรือไม่นั้น จะพิจารณาแต่เฉพาะความแตกต่างกันของตัวอักษรและจำนวนพยางค์ที่ใช้ประกอบขึ้นยังไม่ได้จะต้องพิจารณาจากพฤติการณ์อื่น ๆ ประกอบด้วยว่าสามารถทำให้สาธารณชนหลงผิดได้หรือไม่ ปรากฎว่าผลิตภัณฑ์ยาของโจทก์และผลิตภัณฑ์ยาของจำเลยทั้งสองต่างใช้ตัวยาดอมเพอริโอนเหมือนกัน เมื่อชื่อยาของโจทก์และของจำเลยที่ 2 คล้ายคลึงกันและเป็นชื่อทางภาษาต่างประเทศ ประชาชนจึงอาจซื้อยาของจำเลยที่ 2 ไปโดยสำคัญผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ดังนั้น เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ของจำเลยทั้งสองจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTILIUM"ของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดแล้ว โจทก์ผลิตยาภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า"MOTILIUM" ออกจำหน่ายแพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้ว โดยในประเทศไทยโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับยาของโจทก์ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 การที่จำเลยที่ 2 ผลิตยาชนิดเดียวกับยาของโจทก์ออกจำหน่ายในท้องตลาดเมื่อเดือนกันยายน 2532 แข่งกับโจทก์โดยใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของโจทก์ ย่อมมีให้ประชาชนซื้อยาของจำเลยที่ 2 ซึ่งมีสรรพคุณเช่นเดียวกับยาของโจทก์ไปโดยหลงผิดว่าเป็นยาของโจทก์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวย่อมมีผลทำให้โจทก์จำหน่ายยาได้น้อยกว่าปกติ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายแล้ว แม้โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ายอดการจำหน่ายยาของโจทก์ลดน้อยลงเพียงใดก็ตาม ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ได้โดยวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดแต่ตามคำฟ้องโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เป็นเงินเดือนละ 50,000 บาท ตั้งแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกการใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนเป็นเงิน100,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้ จึงเป็นการกำหนดค่าเสียหายนอกไปจากที่ปรากฎในคำฟ้อง ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องโดยกำหนดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นรายเดือน เดือนละ10,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยทั้งสองจะเลิกใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "MOTIL" อย่างไรก็ดี โจทก์มิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องจำนวนค่าเสียหายดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายรายเดือนแก่โจทก์ไม่เกิน 100,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7661/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีมีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท และผลของการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
คดีฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืน เป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ในการคำนวณทุนทรัพย์ค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงไว้ 70,000 บาท และมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งสอง และผู้ร้องสอดกับทายาทอื่นเพียงจำนวน 10 ใน 14 ส่วน แล้วให้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนให้โจทก์ทั้งสองคนละ 10 ใน 14 ส่วนและให้ผู้ร้องสอด 7 ใน 14 ส่วน จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์คือราคาที่ดินส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดชนะคดีคำนวณเป็นเงินแล้วไม่เกิน 50,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบ ต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นแล้ว เมื่อฎีกาของจำเลยที่ 2เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้ แต่คำรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วย่อมไม่เป็นผลศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7661/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในคดีแพ่ง: การคำนวณราคาที่ดินพิพาทและข้อจำกัดในการอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีฟ้องเรียกกรรมสิทธิ์ที่ดินคืนเป็นคดีมีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ในการคำนวณทุนทรัพย์ค่าขึ้นศาลศาลชั้นต้นตีราคาที่ดินพิพาททั้งแปลงไว้70,000บาทและมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยที่2เฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดกับทายาทอื่นเพียงจำนวน10ใน14ส่วนแล้วให้จำเลยที่1ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนให้โจทก์ทั้งสองคนละ10ใน14ส่วนและให้ผู้ร้องสอด7ใน14ส่วนจำเลยที่2อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์หรือราคาที่ดินที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์คือราคาที่ดินส่วนที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองและผู้ร้องสอดชนะคดีคำนวณเป็นเงินแล้วไม่เกิน50,000บาทคดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งการที่ศาลอุทธรณ์ภาค1รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่2ในข้อเท็จจริงจึงไม่ชอบต้องถือว่าข้อเท็จจริงเป็นอันยุติไปตามคำวินิจแัยของศาลชั้นต้นแล้วเมื่อฎีกาของจำเลยที่2เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงแม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาในศาลชั้นต้นได้รับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงได้แต่คำรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วย่อมไม่เป็นผลศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6995/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เป็นการ 'ขาย' ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ แม้ยังมิได้รับเงิน
ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518มาตรา 4 ให้คำนิยามว่า "ขาย" หมายความรวมถึง จำหน่าย จ่าย แจกแลกเปลี่ยน ส่งมอบ หรือมีไว้เพื่อขาย การที่เจ้าพนักงานตำรวจติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยโดยบอกว่า มีเมทแอมเฟตามีนเท่าใดต้องการซื้อหมดจำเลยบอกว่ามีอยู่ 30 เม็ด ราคาเม็ดละ 40 บาท เจ้าพนักงานตำรวจตกลงซื้อ จำเลยเดินไปหลังบ้านแล้วนำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจจำนวน 30 เม็ด แม้เจ้าพนักงานตำรวจจะยังมิได้ส่งมอบเงินให้จำเลย การกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการขายตามความหมายของ พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6995/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายยาเสพติด แม้ยังมิได้ส่งมอบเงิน ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา4ให้คำนิยามว่า"ขาย"หมายความรวมถึงจำหน่ายจ่ายแจกแลกเปลี่ยนส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขายการที่เจ้าพนักงานตำรวจติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยโดยบอกว่ามีเมทแอมเฟตามีนเท่าใดต้องการซื้อหมดจำเลยบอกว่ามีอยู่30เม็ดราคาเม็ดละ40บาทเจ้าพนักงานตำรวจตกลงซื้อจำเลยเดินไปหลังบ้านแล้วนำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจจำนวน30เม็ดแม้เจ้าพนักงานตำรวจจะยังมิได้ส่งมอบเงินให้จำเลยการกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการขายตามความหมายของพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518แล้ว
of 62