พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5513/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศภายใต้กฎหมายอนุญาโตตุลาการและการปฏิเสธการบังคับตามเหตุที่กฎหมายกำหนด
คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องเป็นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีอันจะได้รับการรับรองและบังคับในราชอาณาจักรไทยตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 29 วรรคหนึ่งซึ่งศาลจะทำคำสั่งปฏิเสธไม่บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามฟ้องได้ก็ต่อเมื่อปรากฏว่ามีเหตุที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 34 หรือมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เหตุใดเหตุหนึ่ง แต่ปรากฏว่าจำเลยซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวมิได้นำสืบพิสูจน์ให้เห็นเลยว่า มีเหตุที่ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดดังกล่าวตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530อย่างใด ทั้งไม่ปรากฏด้วยว่าคำชี้ขาดนั้นเกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถจะระงับโดยทางอนุญาโตตุลาการได้ตามกฎหมายไทยหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อหลักถ้อยทีถ้อยปฏิบัติระหว่างประเทศ ศาลจึงไม่มีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดนั้นโดยเหตุใดเหตุหนึ่งดังกล่าว
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
ตามคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด อนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้ว เห็นว่า จำเลยตกลงซื้อฝ้าย200 ตัน จากโจทก์ในราคาปอนด์ละ 76.50 เซนต์สหรัฐ ตามสัญญาซื้อขายลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ซึ่งจะมีการส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคมเมษายน และพฤษภาคม 2535 งวดละเท่า ๆ กัน โดยจำเลยจะต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตชำระเงินค่าซื้อฝ้ายก่อนการส่งฝ้ายเพื่อให้มีการปฏิบัติตามสัญญาตามข้อตกลงและเงื่อนไขในสัญญา แต่จำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์-ออฟเครดิต ซึ่งเมื่อผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามสัญญา ผู้ขายมีสิทธิที่จะปิดสัญญาโดยการเรียกเก็บเงินกลับตามข้อบังคับและกฎของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่เกี่ยวข้องโดยกฏข้อ 140 ระบุว่า ถ้าไม่มีการปฏิบัติหรือจะไม่มีการปฏิบัติตามสัญญาใด สัญญาจะปิดโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขายตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับในวันทำสัญญาและกฏข้อ 141 ระบุว่า ในกรณีที่สัญญาหรือส่วนของสัญญาได้ปิดลงโดยการเรียกเก็บเงินกลับโดยผู้ขาย ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับดังกล่าวจะกำหนดโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด เว้นแต่จะได้ตกลงโดยผู้ซื้อและผู้ขายโดยอยู่ภายใต้บังคับของการอุทธรณ์ ราคาสินค้าของการเรียกเก็บเงินกลับจะตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาด หรือในกรณีอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ทางเทคนิคจะพิจารณาโดยอ้างถึงราคาตลาดของฝ้ายตามกฏเกณฑ์และ/หรือข้อเท็จจริงอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาค่าเสียหายให้คู่สัญญาอย่างเพียงพอโดยอนุญาโตตุลาการได้ระบุในข้อ 13 ของคำชี้ขาดว่า เป็นธรรมเนียมมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูลที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญา โดยคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของข้อกำหนดของสัญญาดังกล่าวซึ่งอาจจะทำโดยการแก้ไขเป็นหนังสือหรือโดยการปฏิบัติของคู่สัญญาหรือตัวแทนซึ่งได้รับแต่งตั้ง หลักเกณฑ์เหล่านี้ได้รับการปฏิบัติทั่วไปในการค้าฝ้าย และระบุในข้อ 14 ว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวได้รับการปฏิบัติทั่วไปในทางบัญชี เพื่อปฏิบัติตามสัญญาหรือบางส่วนดังกล่าวโดยอ้างถึงราคาตลาดเสรีของฝ้ายที่ได้ตกลงทำสัญญากัน ณ วันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายหนึ่งได้ ซึ่งในกรณีนี้อนุญาโตตุลาการถือว่าเป็นวันที่ 28 ตุลาคม 2535 และชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อต้องชำระส่วนต่างของราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตันดังกล่าวกับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ให้แก่โจทก์ผู้ขาย ทั้งนี้ปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่าโจทก์ผู้ขายได้ส่งหนังสือบอกกล่าวอย่างเป็นทางการให้แก่ผู้ซื้อโดยจดหมายลงทะเบียนลงวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ระบุความประสงค์ที่จะดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการในการที่จำเลยผู้ซื้อได้ละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาเพื่อที่จะปิดสัญญาดังกล่าวซึ่งไม่ได้รับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฏของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล และโดยหนังสือฉบับเดียวกันนั้น ผู้ขายได้แต่งตั้งอนุญาโตตุลาการผู้ชี้ขาดและได้ร้องขอให้ผู้ซื้อดำเนินการเช่นเดียวกันนั้นแล้ว ซึ่งอนุญาโตตุลาการได้ตรวจสอบพยานหลักฐานทั้งหมดและตัดสินว่าวันผิดสัญญาของสัญญาดังกล่าวคือวันที่ 28 ตุลาคม 2535 ด้วยเมื่อการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้จำเลยผู้ซื้อชำระเงินซึ่งเป็นส่วนต่างระหว่างราคาตามสัญญาของฝ้ายจำนวน 200 ตัน กับราคาตลาดของฝ้ายดังกล่าวในวันที่28 ตุลาคม 2535 โดยถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่คู่สัญญาได้รู้หรือควรจะรู้ว่าตนไม่อาจคาดหวังค่าตอบแทนจากอีกฝ่ายได้นั้น มิได้ขัดต่อหลักเกณฑ์ตามข้อ 141ของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด หรือธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาช้านานของอนุญาโตตุลาการแห่งสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฏข้อ 141 ดังกล่าวในลักษณะที่จะให้คู่สัญญาอยู่ในสถานะทางการเงินที่เหมือนกันอย่างมากที่สุดราวกับว่าได้มีการปฏิบัติตามสัญญาแต่อย่างใดเพราะแม้สัญญาซื้อขายฝ้ายระหว่างโจทก์และจำเลยได้กำหนดให้ส่งฝ้ายในเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม เมษายนและพฤษภาคม 2535 โดยจำเลยผู้ซื้อต้องเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเต็มตามราคาฝ้ายทั้งหมดให้แก่โจทก์ก่อนส่งฝ้ายงวดแรกแล้วจำเลยผิดสัญญาไม่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตตามข้อตกลงดังกล่าวก็ตาม แต่จำเลยก็อาจปฏิบัติตามสัญญาในภายหลังได้ การคำนวณส่วนต่างของราคาฝ้ายดังกล่าวจึงไม่จำเป็นต้องคำนวณในวันที่ได้กำหนดให้มีการชำระราคาหรือส่งมอบฝ้ายตามสัญญาเสมอไปไม่ การบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวตามฟ้องหาเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใดไม่คำชี้ขาดนั้นจึงมีผลผูกพันบังคับจำเลยได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศที่อยู่ในบังคับแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการยอมรับนับถือและการใช้บังคับคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ฉบับนครนิวยอร์ค ลงวันที่ 10 มิถุนายน2501 (ค.ศ.1958) ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดเสียได้ต่อเมื่อจำเลยซึ่งจะถูกบังคับสามารถพิสูจน์ได้ว่ามีกรณีตามที่ระบุไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (6) ของมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 กรณีใดกรณีหนึ่ง หรือมีกรณีตามที่ระบุไว้ในมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวเท่านั้น แต่ข้อที่จำเลยแก้ฎีกาว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายฝ้ายตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยไม่เคยให้ ว.เป็นตัวแทนหรือเชิด ว.เป็นตัวแทนเชิดของจำเลย ถือไม่ได้ว่าจำเลยตกลงให้เสนอข้อพิพาทที่จะเกิดขึ้นให้อนุญาโตตุลาการของสมาคมฝ้ายแห่งลิเวอร์พูล จำกัด เป็นผู้ชี้ขาด สัญญาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่มีผลผูกพันจำเลยนั้นมิใช่กรณีตามที่ระบุไว้เช่นนั้น ทั้งปรากฏจากคำชี้ขาดด้วยว่า อนุญาโตตุลาการต่างประเทศได้พิจารณาเห็นว่าจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายรายพิพาทกับโจทก์แล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อที่จำเลยแก้ฎีกาดังกล่าวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลยกฟ้อง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOKเป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำที่ใช้รูปแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบกันแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ในลักษณะต่าง ๆหลายลักษณะนั้น ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษ ดังกล่าวด้วยกันโดยเขียนอักษรอังกฤษ ว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊กส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่า กุ๊กพรีเมียม หรือ COOKRREMIUM ด้วยแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาวหรือ FIVESTARSCOOK และมีรูปชามช้อน ซ่อม หมวกพ่อครัวและดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVESTARSCOOK อยู่ใต้คำอักษรไทยซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใด แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOKเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาอังกฤษว่า COOK ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ความว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่นซอสต่างๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช ดังนั้นจึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่เหมือนหรือคล้ายกัน แม้มีคำ 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลไม่ถือว่าเป็นการลวงสาธารณชน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่ของโจทก์ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกัน โดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่ากุ๊กพรีเมียม หรือ COOKPREMIUM ด้วย แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVESTARSCOOK และมีรูปชามช้อนส้อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVESTARSCOOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใด
แม้จำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊กเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืช ส่วนของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช จึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์
แม้จำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊กเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไป ไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืช ส่วนของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆเต้าเจี้ยว และเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช จึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5006/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกัน แม้มีคำว่า 'กุ๊ก' เหมือนกัน ศาลตัดสินว่าไม่มีการละเมิด
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยแม้มีอักษรภาษาไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรภาษาอังกฤษว่า COOK เป็นส่วนประกอบเหมือนกันก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาถึงคำที่ใช้ รูปแบบและส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งหมดประกอบกันแล้ว ปรากฏว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้ในลักษณะต่าง ๆ หลายลักษณะนั้น ส่วนที่เป็นตัวอักษรส่วนใหญ่ใช้คำพยางค์เดียวว่า กุ๊ก หรือ COOK หรือใช้คำอักษรไทยและอังกฤษดังกล่าวด้วยกันโดยเขียนอักษรอังกฤษว่า COOK อยู่เหนือคำว่า กุ๊ก ส่วนเครื่องหมายที่เป็นรูปก็มีเพียงรูปการ์ตูนในลักษณะขวดคล้ายพ่อครัวสวมหมวกพ่อครัวเท่านั้น และมีเครื่องหมายการค้าคำว่า กุ๊กพรีเมียม หรือ COOK PREMIUM ด้วยแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้คำสามพยางค์ว่า กุ๊กห้าดาว หรือ FIVE STARSCOOK และมีรูปชาม ช้อน ซ่อม หมวกพ่อครัว และดาว 5 ดวง ประกอบรวมกับตัวอักษรดังกล่าวโดยคำภาษาอังกฤษว่า FIVE STARS COOK อยู่ใต้คำอักษรไทย ซึ่งแตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์หลายประการจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายแต่อย่างใดแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีคำว่า กุ๊ก และคำว่า COOK เป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า ซึ่งคำดังกล่าวเป็นคำเดียวกับคำที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ก็ตาม แต่คำว่า กุ๊ก ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึงพ่อครัวทำกับข้าวฝรั่ง และคำดังกล่าวก็เป็นคำที่เลียนเสียงมาจากคำภาษาอังกฤษว่าCOOK ซึ่งเป็นคำสามัญที่มีคำแปลตามพจนานุกรม คำดังกล่าวจึงเป็นคำสามัญทั่ว ๆ ไปไม่ทำให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้คำดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวและหวงกันไม่ให้ผู้อื่นใช้คำดังกล่าวได้ การที่จำเลยนำคำดังกล่าวไปใช้ประกอบเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องหมาย-การค้าของจำเลยโดยประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าของจำเลยให้แตกต่างจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนสังเกตเห็นได้ชัดดังกล่าวแล้วเช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อลวงสาธารณชน นอกจากนี้ยังได้ความว่าเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ใช้กับสินค้าน้ำมันพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าพริกไทยป่น ซอสต่าง ๆ เต้าเจี้ยวและเครื่องกระป๋อง ไม่มีสินค้าน้ำมันพืช ดังนั้นจึงไม่ทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยดังกล่าวเป็นสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าเพื่อตัดสินว่ามีการลอกเลียนหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปที่ 1 เป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันเป็นตัว F และ J สีดำทึบ โดยตัวอักษรโรมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนกับส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยม แต่มีมุมที่เป็นเหลี่ยมเพียง 2 ด้าน และเป็นมุมที่โค้งมนอีก 2 ด้าน ภายในรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีส่วนประกอบของตัวอักษร F ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ และที่บริเวณส่วนหัวของแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) เป็นรูปวงกลมสีดำขนาดเล็กมีจุดสีขาวประปราย มีลักษณะคล้ายลูกกอล์ฟ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันตัว L และ J สีดำทึบ ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปตัวยู (U) ภายในช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีแป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) สีดำ ในลักษณะตั้งกับพื้น และมีลูกกอล์ฟสีขาววางอยู่บนแป้นรองลูกกอล์ฟ ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 2 ตัว ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ แป้นรองลูกกอล์ฟ (ที) และลูกกอล์ฟเหมือนกันก็ตาม แต่รูปประดิษฐ์มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วรูปประดิษฐ์ของจำเลยจะต้องมีตัวอักษรโรมันคำว่าLite - Joy อยู่ด้านล่างด้วย จึงจะประกอบกันเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนกับของโจทก์ซึ่งใช้เพียงรูปประดิษฐ์อย่างเดียว หรืออักษรโรมันคำว่าFoot - Joy เพียงอย่างเดียวก็เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว ส่วนคำว่าJoy เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีความหมายว่าสนุกสนานร่าเริง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ก็เป็นเครื่องหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปเช่นเดียวกัน ไม่ใช่เป็นคำและเครื่องหมายที่โจทก์คิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยใช้คำและเครื่องหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้น คำว่า Foot ของโจทก์มีความหมายว่าเท้า แต่คำว่า Lite ของจำเลยมีความหมายว่า เบา ซึ่งแตกต่างกันทั้งการอ่านออกเสียงและความหมาย สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่า GREEN - JOYS,SOFT - JOYS, SOFT - JOYS II, ULTRA - JOYS, DRYJOYS, COOL -JOYS และ COURT - JOYS ของโจทก์นั้น ตัวอักษรโรมันที่ใช้สะกดคำ การอ่านออกเสียงและความหมายก็แตกต่างกับคำว่า Lite - Joy ของจำเลยอย่างสิ้นเชิงซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปย่อมจะมองเห็นความแตกต่างกันดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยไม่สับสนหรือหลงผิด ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและอำนาจการฟ้องร้องในคดีทรัพย์สินทางปัญญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ รูปที่ 1 เป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันเป็นตัว F และ J สีดำทึบ โดยตัวอักษรโรมันทั้ง 2 ตัวดังกล่าว ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนกับส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยม แต่มีมุมที่เป็นเหลี่ยมเพียง 2 ด้าน และเป็นมุมที่โค้งมนอีก 2 ด้านภายในรูปสี่เหลี่ยมซึ่งเป็นช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีส่วนประกอบของตัวอักษร F ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)สีดำและที่บริเวณส่วนหัวของแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที) เป็นรูปวงกลมสีดำขนาดเล็กมีจุดสีขาวประปราย มีลักษณะคล้ายลูกกอล์ฟ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปประดิษฐ์ตัวอักษรโรมันตัว L และ J สีดำทึบ ประดิษฐ์ให้ดูเหมือนส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ วางตัวอักษรต่อกันคล้ายรูปตัวยู (u) ภายในช่องว่างระหว่างตัวอักษรทั้งสองมีแป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)สีดำในลักษณะตั้งกับพื้นและมีลูกกอล์ฟสีขาววางอยู่บนแป้นรองลูกกอล์ฟ ซึ่งแม้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยจะประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 2 ตัว ที่ประดิษฐ์ให้มีลักษณะคล้ายส่วนหัวของไม้ตีกอล์ฟ แป้นรองลูกกอล์ฟ(ที)และลูกกอล์ฟเหมือนกันก็ตาม แต่รูปประดิษฐ์มีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ไม่เหมือนกันหรือมีความคล้ายกันแต่อย่างใด นอกจากนั้นแล้วรูปประดิษฐ์ของจำเลยจะต้องมีตัวอักษรโรมันคำว่า Lite-Joy อยู่ด้านล่างด้วยจึงจะประกอบกันเป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนกับของโจทก์ซึ่งใช้เพียงรูปประดิษฐ์อย่างเดียว หรืออักษรโรมันคำว่า Foot-Joy เพียงอย่างเดียวก็เป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว ส่วนคำว่า Joy เป็นคำภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีความหมายว่าสนุกสนานร่าเริง และเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ก็เป็นเครื่องหมายที่ใช้กันโดยทั่วไปเช่นเดียวกันไม่ใช่เป็นคำและเครื่องหมายที่โจทก์คิดขึ้นเองโดยเฉพาะ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะห้ามมิให้จำเลยใช้คำและเครื่องหมายดังกล่าวได้ นอกจากนั้น คำว่า Foot ของโจทก์มีความหมายว่าเท้า แต่คำว่า Lite ของจำเลยมีความหมายว่า เบา ซึ่งแตกต่างกันทั้งการอ่านออกเสียงและความหมาย สำหรับเครื่องหมายการค้าคำว่าGREEN-JOYS,SOFT-JOYS,SOFT-JOYSII,ULTRA-JOYS,DRYJOYS,COOL-JOYS และ COURT-JOYS ของโจทก์นั้น ตัวอักษรโรมันที่ใช้สะกดคำ การอ่านออกเสียงและความหมายก็แตกต่างกับคำว่า Lite-Joy ของจำเลยอย่างสิ้นเชิงซึ่งวิญญูชนโดยทั่วไปย่อมจะมองเห็นความแตกต่างกันดังกล่าวได้อย่างชัดเจน โดยไม่สับสนหรือหลงผิด ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่เหมือนหรือคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ฟ้องอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าตามรูปลักษณะเครื่องหมายการค้าซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จึงฟังได้ว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจริง เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์เช่นนี้ ก็ไม่จำต้องมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยหรือไม่อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงและความลวงสาธารณชน รวมถึงสิทธิในการคัดค้านการจดทะเบียน
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีนนัทโกลด์ Greennut Gold" และ "GOLD NUT โกลด์นัท" จำเลยที่ 1 คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และจำเลยที่ 2 มีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2534 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีนแอนด์ โกลด์ Green & Gold" ที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อวันที่ 20เมษายน 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2535 อันเป็นวันที่พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มีผลบังคับ ดังนั้น การวินิจฉัยคดีจึงอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้น หากเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำก็ต้องพิจารณาคำในเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด สำเนียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวก และชนิดของสินค้าที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นประกอบเข้าด้วยกันว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
โจทก์ตั้งโรงงานผลิตถั่วลันเตากรอบ ถั่วลิสง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและกองควบคุมอาหาร กระทรวงสาธารณสุข โจทก์ผลิตสินค้าประเภทถั่วลันเตามานาน 8 ปี วางขายและจำหน่ายทั่วประเทศ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD" มานาน 10 ปี และจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2512 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 ชนิดสินค้ากาแฟ กาแฟสกัดน้ำเชื้อกาแฟ ชา และชาสกัด สินค้าของโจทก์ที่ผลิตมีแต่ถั่วลันเตากรอบ ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกาแฟสำเร็จรูปชนิดเกล็ดและกาแฟสำเร็จรูปที่สกัดแคฟเฟอีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการกล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีเฉพาะภาษาอังกฤษ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีสำเนียงเรียกขานว่า โกลด์นัท และกรีนนัทโกลด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 อ่านว่า โกลด์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์มี 2 พยางค์ และ 3 พยางค์ ตามลำดับ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีพยางค์เดียว และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเป็นถั่วลันเตากรอบกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกาแฟเห็นได้ชัดว่าแตกต่างกันมาก แม้จะจัดอยู่ในสินค้าจำพวกเดียวกันก็ตามจำเลยที่ 1 จดทะเบียนคำว่า"GOLD" มาตั้งแต่ปี 2512 แต่จำเลยที่ 1 ไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"GOLD" กับสินค้ากาแฟที่จำเลยที่ 1 ผลิต นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD BLEND" และ "โกลด์เบลนด์" กับสินค้ากาแฟและใช้ในลักษณะเป็นรุ่นหรือชนิดของสินค้ากาแฟประกอบกับเครื่องหมายการค้าอักษรประดิษฐ์ "NESCAFE" หรือ "เนสกาแฟ" เท่านั้น การเรียกขานสินค้าของโจทก์ อาจเรียกว่า "ถั่วกรีนนัทโกลด์" หรือ "ถั่วโกลด์นัท" ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 อาจเรียกว่า "เนสกาแฟโกลด์เบลนด์" เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการเช่นนี้ เครื่องหมายารค้าคำว่า "GOLD NUT โกลด์นัท" และ "กรีนนัท โกลด์ Greennut Gold"ของโจทก์ จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD"ของจำเลยที่ 1 จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "กรีน แอนด์ โกลด์"Green & Gold" ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD""GOLD BLEND" และ "โกลด์ เบลนด์" ของจำเลยที่ 1 ไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนภายหลังเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1แต่โจทก์มิได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มาเลียนแบบแล้วนำไปขอจดทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า"กรีน แอนด์ โกลด์ Green & Gold" ของโจทก์ดีกว่าโจทก์ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีน แอนด์ โกลด์ Green & Gold" ของโจทก์ได้
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 คำว่า"GOLD" คำว่า "โกลด์ เบลนด์" และคำว่า "GOLD BLEND" ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 มาตั้งแต่ก่อนวันที่ โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD NUT โกลด์นัท" และคำว่า"กรีนนัท โกลด์ Greennut Gold" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 และเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวซึ่งมีคำว่า"GOLD" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วย และขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่า เป็นการกระทบถึงสิทธิของตนได้ ตามที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์และคำคัดค้านของจำเลยที่ 1แล้วให้คำวินิจฉัยโดยมีคำสั่งรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามมาตรา 22 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์โดยเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้น หากเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำก็ต้องพิจารณาคำในเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด สำเนียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวก และชนิดของสินค้าที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นประกอบเข้าด้วยกันว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
โจทก์ตั้งโรงงานผลิตถั่วลันเตากรอบ ถั่วลิสง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและกองควบคุมอาหาร กระทรวงสาธารณสุข โจทก์ผลิตสินค้าประเภทถั่วลันเตามานาน 8 ปี วางขายและจำหน่ายทั่วประเทศ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD" มานาน 10 ปี และจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2512 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 ชนิดสินค้ากาแฟ กาแฟสกัดน้ำเชื้อกาแฟ ชา และชาสกัด สินค้าของโจทก์ที่ผลิตมีแต่ถั่วลันเตากรอบ ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกาแฟสำเร็จรูปชนิดเกล็ดและกาแฟสำเร็จรูปที่สกัดแคฟเฟอีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการกล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีเฉพาะภาษาอังกฤษ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีสำเนียงเรียกขานว่า โกลด์นัท และกรีนนัทโกลด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 อ่านว่า โกลด์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์มี 2 พยางค์ และ 3 พยางค์ ตามลำดับ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีพยางค์เดียว และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่าเป็นถั่วลันเตากรอบกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกาแฟเห็นได้ชัดว่าแตกต่างกันมาก แม้จะจัดอยู่ในสินค้าจำพวกเดียวกันก็ตามจำเลยที่ 1 จดทะเบียนคำว่า"GOLD" มาตั้งแต่ปี 2512 แต่จำเลยที่ 1 ไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"GOLD" กับสินค้ากาแฟที่จำเลยที่ 1 ผลิต นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD BLEND" และ "โกลด์เบลนด์" กับสินค้ากาแฟและใช้ในลักษณะเป็นรุ่นหรือชนิดของสินค้ากาแฟประกอบกับเครื่องหมายการค้าอักษรประดิษฐ์ "NESCAFE" หรือ "เนสกาแฟ" เท่านั้น การเรียกขานสินค้าของโจทก์ อาจเรียกว่า "ถั่วกรีนนัทโกลด์" หรือ "ถั่วโกลด์นัท" ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 อาจเรียกว่า "เนสกาแฟโกลด์เบลนด์" เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการเช่นนี้ เครื่องหมายารค้าคำว่า "GOLD NUT โกลด์นัท" และ "กรีนนัท โกลด์ Greennut Gold"ของโจทก์ จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD"ของจำเลยที่ 1 จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "กรีน แอนด์ โกลด์"Green & Gold" ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD""GOLD BLEND" และ "โกลด์ เบลนด์" ของจำเลยที่ 1 ไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนภายหลังเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1แต่โจทก์มิได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มาเลียนแบบแล้วนำไปขอจดทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า"กรีน แอนด์ โกลด์ Green & Gold" ของโจทก์ดีกว่าโจทก์ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีน แอนด์ โกลด์ Green & Gold" ของโจทก์ได้
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 คำว่า"GOLD" คำว่า "โกลด์ เบลนด์" และคำว่า "GOLD BLEND" ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 มาตั้งแต่ก่อนวันที่ โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD NUT โกลด์นัท" และคำว่า"กรีนนัท โกลด์ Greennut Gold" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 และเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวซึ่งมีคำว่า"GOLD" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วย และขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่า เป็นการกระทบถึงสิทธิของตนได้ ตามที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 มาตรา 22 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์และคำคัดค้านของจำเลยที่ 1แล้วให้คำวินิจฉัยโดยมีคำสั่งรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามมาตรา 22 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.เดียวกันได้ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์โดยเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4434/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า การละเมิด และการเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"กรีนด์นัทโกลด์GreenutGolf"และ"GOLDNUTโกลด์นัท"จำเลยที่ 1 คัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 2 มีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2534 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"กรีนแอนด์โกลด์ Green&Gold" ที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขอให้เพิกถอนเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2533 ซึ่งเป็นระยะเวลาก่อนวันที่14 กุมภาพันธ์ 2535 อันเป็นวันที่ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 มีผลบังคับ ดังนั้น การวินิจฉัยคดีจึงอยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วเหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนหรือไม่นั้น หากเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำก็ต้องพิจารณาคำในเครื่องหมายการค้านั้นทั้งหมด สำเนียงเรียกขาน ตลอดจนจำพวก และชนิดของสินค้าที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นประกอบเข้าด้วยกันว่าอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่ โจทก์ตั้งโรงงานผลิตถั่วลันเตากรอบถั่วลิสง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรมและกองควบคุมอาหาร กระทรวงสาธารณสุขโจทก์ผลิตสินค้าประเภทถั่วลันเตามานาน 8 ปี วางขายและจำหน่าย ทั่วประเทศ ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLD" มานาน 10 ปี และจดทะเบียนในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2512 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 ชนิดสินค้ากาแฟ กาแฟสกัด น้ำเชื้อกาแฟ ชาและชาสกัด สินค้าของโจทก์ที่ผลิตมีแต่ถั่วลันเตากรอบ ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นกาแฟสำเร็จรูปชนิดเกล็ดและกาแฟสำเร็จรูปที่สกัดแคฟเฟอีนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการ กล่าวคือ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มีเฉพาะภาษาอังกฤษ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีสำเนียงเรียกขานว่า โกลด์นัทและกรีนนัทโกลด์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1อ่านว่า โกลด์ เครื่องหมายการค้าทั้งสองของโจทก์มี 2 พยางค์และ 3 พยางค์ ตามลำดับ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1มีพยางค์เดียว และสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ว่า เป็นถั่วลันเตากรอบกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นกาแฟเห็นได้ชัดว่าแตกต่างกันมาก แม้จะจัดอยู่ในสินค้าจำพวกเดียวกันก็ตามจำเลยที่ 1 จดทะเบียนคำว่า "GOLD" มาตั้งแต่ปี 2512 แต่จำเลยที่ 1 ไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า"GOLD" กับสินค้ากาแฟที่จำเลยที่ 1 ผลิต นอกจากนี้จำเลยที่ 1ใช้เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLDBLEND" และ"โกลด์เบลนด์" กับสินค้ากาแฟและใช้ในลักษณะเป็นรุ่นหรือชนิดของสินค้ากาแฟประกอบกับเครื่องหมายการค้าอักษรประดิษฐ์"NESCAFE" หรือ "เนสกาแฟ" เท่านั้น การเรียกขานสินค้าของโจทก์ อาจเรียกว่า "ถั่วกรีนนัทโกลด์"หรือ"ถั่วโกลด์นัท"ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1 อาจเรียกว่า "เนสกาแฟโกลด์เบลนด์"เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันหลายประการเช่นนี้ เครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLDNUT โกลด์นัท"และ "กรีนนัทโกลด์ GreennutGold" ของโจทก์ จึงไม่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "GOLD" ของจำเลยที่ 1จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "กรีนแอนด์โกลด์Green&Gold" ของโจทก์ กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า"Gold""GOLDBLEND" และ "โกลด์เบลนด์" ของจำเลยที่ 1 ไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะได้รับการจดทะเบียนภายหลัง เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แต่โจทก์มิได้นำเอาเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 มาเลียนแบบแล้วนำไปขอจดทะเบียน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า "กรีนแอนด์โกลด์ Green&Gold" ของโจทก์ดีกว่าโจทก์ผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "กรีนแอนด์โกลด์ Green&Gold"ของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 คำว่า "GOLD" คำว่า "โกลด์เบลนด์" และคำว่า "GOLDBLEND" ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 มาตั้งแต่ก่อนวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "GOLDNUT""โกลด์นัท"และคำว่า"กรีนนัทโกลด์ GreennutGold" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 42 และเมื่อจำเลยที่ 1 ทราบว่าโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวซึ่งมีคำว่า "GOLD" เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 รวมอยู่ด้วย และขอจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกัน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนของโจทก์ดังกล่าวซึ่งจำเลยที่ 1 เห็นว่าเป็นการกระทบถึงสิทธิของตนได้ ตามที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาตรา 22 วรรคหนึ่งซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นการที่จำเลยที่ 1ยื่นคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในฐานะนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์และคำคัดค้านของจำเลยที่ 1 แล้วให้คำวินิจฉัยโดยมีคำสั่งรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามมาตรา 22 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติเดียวกันได้ ดังนี้ เมื่อไม่ปรากฏว่าที่จำเลยที่ 2 ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของโจทก์โดยเห็นว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนนั้นเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบการกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายและไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองฎีกาโดยอัยการสูงสุดและการพิสูจน์ความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า
โจทก์ได้อ้างในฎีกาแล้วว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองที่แนบท้ายฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย เมื่อหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาโจทก์ จึงถือได้ว่าอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 221 แล้ว ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้นแม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการสูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้ บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (ChinaNationalNativeProduceandAnimalByProductsImportandExportCorporationFujianTeaBranch) ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชาหาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4360/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองฎีกาและการฟ้องร้องกรณีเครื่องหมายการค้าปลอม
โจทก์ได้อ้างในฎีกาแล้วว่าอัยการสูงสุดลงลายมือชื่อในหนังสือรับรองที่แนบท้ายฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย เมื่อหนังสือรับรองดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาโจทก์ จึงถือได้ว่าอัยการสูงสุดได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 221 แล้ว
ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้น แม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการ-สูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้
บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (China National Native Produce and Animal By-Products Import and Export Corporation Fujian Tea Branch)ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046 โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัมหมายเลข 1046 จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชา หาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่
ส่วนหนังสือรับรองของอัยการสูงสุดที่รับรองฎีกาของโจทก์ร่วมว่ารูปคดีมีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยนั้น แม้โจทก์ร่วมจะมิได้ยื่นพร้อมฎีกาของโจทก์ร่วม แต่เมื่อข้อความในหนังสือรับรองดังกล่าวแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอัยการ-สูงสุดได้พิจารณาฎีกาของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลแล้วว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย จึงรับรองให้โจทก์ร่วมฎีกาเช่นนี้ กรณีถือได้ว่ามีการรับรองให้ฎีกาโดยชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา 221 ดังกล่าวแล้วเช่นกัน ศาลฎีกาจึงชอบที่จะวินิจฉัยฎีกาของโจทก์และโจทก์ร่วมได้
บริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน (China National Native Produce and Animal By-Products Import and Export Corporation Fujian Tea Branch)ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราดอกทานตะวันไว้ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ชากลิ่นมะลิขนาด 113 กรัม หมายเลข 1046 โจทก์ร่วมเป็นตัวแทนจำหน่ายใบชาของบริษัทดังกล่าวแต่ผู้เดียวในประเทศไทย ทั้งโจทก์ร่วมและจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้นำเข้าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักรและขึ้นทะเบียนตำรับอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้ร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าและจำหน่ายใบชาที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมตามฟ้องและจำเลยที่ 1 เคยสั่งใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน ขนาด 113 กรัมหมายเลข 1046 จากบริษัทนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์พื้นเมืองและผลิตภัณฑ์จากสัตว์แห่งประเทศจีน ส่งผ่านเมืองฮ่องกงเช่นเดียวกับโจทก์ร่วม เครื่องหมายการค้าของใบชาที่จำเลยที่ 1 นำเข้ามาดังกล่าวจึงเป็นเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงของผู้ผลิตใบชา หาใช่เครื่องหมายการค้าปลอมไม่