พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงและการมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง
ในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้อง โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการดังกล่าวตามหนังสือมอบอำนาจเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส.ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 3 แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้ตามหนังสือมอบอำนาจและมอบอำนาจช่วงที่ได้แนบมาท้ายฟ้อง แม้วันที่ที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจช่วงจะเป็นวันที่ภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส.ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้องอันจะทำให้ ว.ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่
คดีนี้ยังมีประเด็นตามอุทธรณ์โจทก์และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย และหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วคดีอาจต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป
คดีนี้ยังมีประเด็นตามอุทธรณ์โจทก์และอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังไม่ได้วินิจฉัย และหากศาลอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วคดีอาจต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4309/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี: การมอบอำนาจช่วงก่อนยื่นฟ้อง แม้หนังสือมอบอำนาจลงวันที่หลัง แต่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังได้
โจทก์ยื่นคำฟ้องเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้มอบอำนาจให้ ส. ดำเนินกระบวนพิจารณาแทนโจทก์ตลอดจนให้มีอำนาจแต่งตั้งตัวแทนช่วงกระทำการแทน และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ส. ผู้รับมอบอำนาจได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจยื่นฟ้องและแต่งตั้งทนายความแทนโจทก์ได้ แสดงว่าในขณะยื่นคำฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองแทนโจทก์ได้แม้หนังสือมอบอำนาจช่วงจะลงวันที่ 4 มกราคม 2537 อันเป็นเวลาภายหลังที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วก็ตาม เมื่อหนังสือมอบอำนาจช่วงไม่ได้ระบุเงื่อนเวลาเริ่มต้นของการมอบอำนาจช่วงว่าจะให้ผู้รับมอบอำนาจช่วงเริ่มมีอำนาจเมื่อใด จึงเป็นที่เห็นได้ว่าในขณะยื่นฟ้อง ส. ได้มอบอำนาจช่วงให้ ว. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้หาทำให้กลับกลายเป็นการมอบอำนาจช่วงภายหลังยื่นคำฟ้อง อันจะทำให้ ว. ไม่มีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขต 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทน vs ผู้รับมอบหมาย
"ผู้ขนส่งอื่น" ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ.มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความ 'ผู้ขนส่งอื่น' ตาม พ.ร.บ.รับขนทางทะเล: ตัวแทนของผู้ขนส่งไม่ใช่ผู้ขนส่งอื่น
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4277/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งอื่นตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล: ตัวแทนไม่ใช่ผู้ขนส่ง
"ผู้ขนส่งอื่น" ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง มีอยู่ 2 ประเภท คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเลประเภทหนึ่ง และบุคคลอื่นซึ่งผู้ขนส่งอื่นได้มอบหมายช่วงต่อไปให้ทำการขนส่งของนั้นอีกประเภทหนึ่ง แต่บุคคลซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายตามประเพณีในธุรกิจการรับขนของทางทะเลให้เป็นตัวแทนผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นในการดำเนินงานอันเกี่ยวกับธุรกิจเนื่องจากการรับขนของทางทะเลนั้นไม่ถือว่าเป็นผู้ขนส่งอื่นด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้ทำการขนส่งของตามสัญญารับขนของทางทะเล แต่จำเลยที่ 1 เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการติดต่อว่าจ้างผู้รับเหมาให้ขนถ่ายสินค้าบางส่วนลงเรือฉลอมที่เกาะสีชังเพื่อให้เรือ ฟ. มีน้ำหนักเบาแล้วนำสินค้าเข้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพ เพื่อให้การรับขนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนี้ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ขนส่งอื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 3 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวกัน: การฟ้องซ้ำหลังมีคำพิพากษายกฟ้องคดีเดิม แม้รายละเอียดต่างกันเล็กน้อย
เมื่อเวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมเป็นเวลาเดียวกันเพราะแม้คำฟ้องคดีนี้จะระบุว่าเวลากระทำผิดเป็นระหว่างเดือนมกราคม 2531ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2531 แต่ก็ระบุว่าวันเวลาใดไม่ปรากฏชัดจึงอาจเป็นวันที่19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้ และการกระทำของจำเลยทั้งสองในความผิด 2 กรรม ทั้งสองคดีดังกล่าว ก็เป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกัน และร่วมกันจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกัน แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันจำหน่ายสินค้าดังกล่าว ส่วนในคดีเดิมโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้านั้นก็ตาม แต่การกระทำอันเป็นการจำหน่ายย่อมรวมถึงการเสนอจำหน่ายอยู่ด้วยในตัว ทั้งปรากฏในคำฟ้องคดีเดิมและในคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันเสนอจำหน่ายหรือจำหน่ายสินค้าดังกล่าวต่อร้านค้าต่าง ๆ ทั่วไปในกรุงเทพ-มหานครเช่นเดียวกัน ดังนี้ ความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ทั้งสองคดีฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดได้เกิดขึ้นในเวลาและสถานที่เดียวกัน ทั้งเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยทั้งสองถูกฟ้องคดีนี้และร่วมกันเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยทั้งสองไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ถือได้ว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์จะนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ เพราะสิทธินำคดีอาญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการลอกเลียนแบบ
โจทก์ได้ใช้ตัวอักษรโรมันคำว่า "Miramar" โดยจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดตามกฎหมายของดินแดนฮ่องกงมาตั้งแต่ปี 2500 ก่อนจำเลยซึ่งเพิ่งจะใช้คำดังกล่าวโดยจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปี 2526 นอกจากนั้นโจทก์ยังได้ใช้ตัวอักษรโรมันดังกล่าวเป็นชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าประเภทกระดาษ สบู่ผ้าเช็ดตัว ปากกา และเครื่องเขียนต่าง ๆ ภายในโรงแรมจนเป็นที่รู้จักแพร่หลายในดินแดนฮ่องกงด้วย ส่วนจำเลยไม่ได้คิดประดิษฐ์อักษรโรมันคำว่า "Miramar"ขึ้นมาเอง แต่ได้นำมาจากชื่อที่พักแห่งหนึ่งที่ประธานกรรมการบริษัทจำเลยเคยเห็นชื่อของโจทก์ในดินแดนฮ่องกงแล้วนำมาใช้ ทั้งเมื่อพิเคราะห์ลักษณะตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า "Miramar" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เปรียบเทียบกับตัวอักษรประดิษฐ์คำว่า "Miramar" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยแล้วมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก โดยเฉพาะตัวอักษร 3 ตัวแรก และตัวอักษร R ตัวสุดท้าย เขียนในลักษณะตวัดปลายให้โค้งงอขึ้นคล้ายก้ามปูเหมือนกันทุกประการ อีกทั้งอักษรโรมันคำว่า"Miramar" ดังกล่าวเป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยไม่มีคำแปล จึงเป็นคำเฉพาะ ไม่ใช่เป็นคำที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป และไม่น่าเชื่อว่าจะมีการนำมาใช้ตรงกันโดยบังเอิญทั้งชื่อและลักษณะการเขียนตัวอักษรประดิษฐ์ดังกล่าว พฤติการณ์แห่งคดีบ่งชี้ว่าจำเลยได้นำเอาคำว่า "Miramar" ของโจทก์มาใช้โดยไม่สุจริต ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้คำว่า "Miramar" เป็นชื่อทางการค้าและเป็นเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้ากระดาษ เครื่องเขียน และเครื่องเย็บสมุด ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกที่ 39ในต่างประเทศมาก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Miramar"และคำว่า "HOTEL" พร้อมรูปรอยประดิษฐ์เป็นอักษรโรมันตัว "M" 2 ตัว และจุดแดงอยู่เหนือตัว "M" ทั้งสองคล้ายรูปมงกุฎสำหรับสินค้าจำพวกที่ 39 ทั้งจำพวกในประเทศไทยเป็นเวลานานนับสิบปีแล้วเช่นนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "Miramar" ทั้งในเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดีกว่าจำเลย แม้ว่าจำเลยจะได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวในประเทศไทยแล้ว และโจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยก็ตาม โจทก์ก็เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา41 (1) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเครื่องหมายการค้า: การเพิกถอนทะเบียนและห้ามใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบและทำให้สาธารณชนสับสน
โจทก์ฟ้องว่า นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "F FENDI" ตามคำขอเลขที่ 199227 สำหรับสินค้าจำพวกที่ 37 ชนิดสินค้ากระเป๋าสตางค์ กระเป๋าถือ กระเป๋าใส่ธนบัตร ห่วงร้อยกุญแจ หีบหนังขนาดกลาง หีบเดินทางขนาดใหญ่ และของที่ทำด้วยหนังสัตว์ฟอกซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ ซึ่งโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนดังกล่าวดีกว่าจำเลยมิใช่กรณีที่โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการวินิจฉัยยกอุทธรณ์ และไม่ว่าโจทก์จะได้อุทธรณ์คัดค้านคำสั่งไม่รับจดทะเบียนของนายทะเบียนดังกล่าวหรือไม่ โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ ตามมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ เพราะโจทก์มิได้ขอให้ศาลพิพากษาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลย อันเป็นปัญหาในชั้นการพิจารณาของนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"FF-FENDI" และ "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในลักษณะรวมกันและแยกกัน สำหรับเครื่องหมายการค้า "F " โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์จำพวกกระเป๋าสตางค์กระเป๋าถือ กระเป๋าอื่น ๆ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ฟ.ได้สั่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2533 โจทก์โฆษณาสินค้าและเครื่องหมายการค้า จนสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวมาก่อนที่จำเลยจะไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า "F " จำนวน 6 คู่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมพร้อมคำว่า "FFเอฟเอฟ." ของจำเลย กับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ดีกว่าจำเลยดังนี้ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ประกอบกับสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ และสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยมีเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ทั่วพื้นของกระเป๋าถือทั้งหมดและที่โลหะเหนือหัวเข็มขัดปิดกระเป๋าเหมือนกับสินค้ากระเป๋าถือสตรีของโจทก์ด้วย ประชาชนผู้ซื้อย่อมสับสนหลงผิดว่าสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง และห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเครื่องหมายการค้าโรมัน "F "ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยได้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่จำเลยฎีกาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ 6 ตัว และมีอักษรโรมันFF และอักษรไทยว่า "เอฟเอฟ" รวมอยู่ด้วย ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "FF_FENDI" และ"F " ในลักษณะประดิษฐ์ของโจทก์อีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์รบกวนการผลิตจำหน่ายสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้า "F " และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะปฏิบัติตามคำขอของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า"FF-FENDI" และ "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในลักษณะรวมกันและแยกกัน สำหรับเครื่องหมายการค้า "F " โจทก์คิดประดิษฐ์ขึ้นและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าของโจทก์จำพวกกระเป๋าสตางค์กระเป๋าถือ กระเป๋าอื่น ๆ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกาย และสินค้าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวที่ประเทศต่าง ๆ และบริษัท ฟ.ได้สั่งสินค้าของโจทก์เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2532 ถึง 2533 โจทก์โฆษณาสินค้าและเครื่องหมายการค้า จนสินค้าของโจทก์เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวมาก่อนที่จำเลยจะไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า "F " จำนวน 6 คู่ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมพร้อมคำว่า "FFเอฟเอฟ." ของจำเลย กับให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
เมื่อโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ดีกว่าจำเลยดังนี้ การที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์จึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้า ประกอบกับสินค้าของโจทก์และจำเลยต่างเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน ย่อมทำให้สาธารณชนหลงผิดหรือเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์หรือเกี่ยวข้องกับสินค้าของโจทก์ และสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยมีเครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ทั่วพื้นของกระเป๋าถือทั้งหมดและที่โลหะเหนือหัวเข็มขัดปิดกระเป๋าเหมือนกับสินค้ากระเป๋าถือสตรีของโจทก์ด้วย ประชาชนผู้ซื้อย่อมสับสนหลงผิดว่าสินค้ากระเป๋าถือสตรีของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ทำการลวงขายสินค้าของจำเลยว่าเป็นสินค้าของโจทก์ จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 29 วรรคสอง และห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิเครื่องหมายการค้าโรมัน "F "ในลักษณะประดิษฐ์ไขว้สลับหัวดีกว่าจำเลย และมีสิทธิขอให้เพิกถอนทะเบียนและคำขอจดทะเบียนเครื่อง-หมายการค้าของจำเลยได้แล้ว กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่จำเลยฎีกาว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน "F " ในลักษณะประดิษฐ์ 6 ตัว และมีอักษรโรมันFF และอักษรไทยว่า "เอฟเอฟ" รวมอยู่ด้วย ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า "FF_FENDI" และ"F " ในลักษณะประดิษฐ์ของโจทก์อีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป
จำเลยฟ้องแย้งขอให้ห้ามโจทก์รบกวนการผลิตจำหน่ายสินค้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้า "F " และให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเดือนละ 100,000 บาท นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะปฏิบัติตามคำขอของจำเลยฟ้องแย้งของจำเลยดังกล่าวเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์ประกันภัยค้ำจุน แม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่