พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประกันภัยรถยนต์: ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบค่าเสียหายแม้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกตามกรมธรรม์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ไว้จากจำเลยที่ 1 เพื่อความรับผิดต่อบุคคลภายนอกในลักษณะประกันภัยค้ำจุนในขณะเกิดเหตุคดีนี้ โดยมีเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 183 วรรคสอง
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ผู้ตายขับ จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อผู้ตายขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุโดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่า เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคแรกการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัยว่า จำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะรับผิดในความเสียหายต่อบุคคลภายนอกที่เกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ทั้งมิได้นำกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมาแสดงจึงไม่อาจรับฟังได้นั้นเป็นการมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 มิได้อุทธรณ์ และเป็นข้อเท็จจริงที่ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับแล้วเพราะไม่ได้ให้การถึง ศาลอุทธรณ์ต้องฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นอย่างเดียวกับศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยเป็นอย่างอื่นหาชอบด้วยวิธีพิจารณาไม่ศาลฎีกาจึงมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ใหม่ โดยฟังข้อเท็จจริงตามศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย
จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุเรื่องการคุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลภายนอกไว้ว่า จำเลยที่ 2 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายของบุคคลภายนอกซึ่งเกิดจากผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 หรือผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเอง ซึ่งหมายความว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับประกันภัยจะเป็นผู้ใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามผู้ขับขี่เสมือนหนึ่งผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ขับขี่เอง เมื่อ พ. ผู้ตายขอยืมรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2รับประกันภัยไว้ไปขับขี่โดยได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 และเหตุรถยนต์ชนกันเกิดจากความประมาทของผู้ตายฝ่ายเดียว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามนัยแห่งกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะอ้างบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 วรรคหนึ่ง เพื่อให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดเพราะจำเลยที่ 1 ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกอันเป็นการขัดกับข้อความในกรมธรรม์ประกันภัยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อนจดทะเบียนและการโอนสิทธิทำให้โจทก์มีสิทธิเหนือกว่าจำเลย
โจทก์ได้จดทะเบียนบริษัทจำกัด ณ มลรัฐเดลาแวร์ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย อ.ประธานกรรมการโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งให้ จ. หรือ ว. เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในศาลจนสำเร็จ หนังสือฉบับนี้มี ซ.โนตารี่ปับลิกแห่งมลรัฐเคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาลงชื่อและประทับตรารับรองว่าผู้มอบอำนาจเป็นประธานกรรมการบริษัทได้แสดงตนว่า บริษัทนี้ได้ทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวตามกฎหมายหรือโดยมติคณะกรรมการ และมีการลงชื่อกับประทับตราสถานกงสุลใหญ่ประจำนครลอสแองเจลิสไว้ด้วยถือได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้จ.เป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าเครื่องเสียงของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แม้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า"EARTHQUAKE" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการจดทะเบียนในนาม ล. ตั้งแต่ปี 2532 และต่อมา ล. โอนเครื่องหมายการค้านี้แก่โจทก์โดยไม่แน่ชัดว่าการโอนมีผลสมบูรณ์ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ก็ใช้คำว่า"EARTHQUAKE" เป็นส่วนสำคัญของชื่อโจทก์ตลอดมา ทั้งที่อยู่ของ ล. ที่จดแจ้งลงในทะเบียนสำคัญเครื่องหมายการค้าก็เป็นที่เดียวกับสำนักงานของโจทก์ในปี 2532 และไม่ปรากฏว่าล. ใช้เครื่องหมายการค้านี้หรือโต้แย้งคัดค้านการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เลย แต่กลับยืนยันว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้และในที่สุดที่โอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า ล. และโจทก์มีความประสงค์ให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้โจทก์จึงใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าของโจทก์จนแพ่งหลายตลอดมา เช่นนี้โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3711/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การใช้ก่อน การโอนสิทธิ และเจตนาของผู้โอน
โจทก์ได้จดทะเบียนบริษัทจำกัด ณ มลรัฐเดลาแวร์ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย ฮ.ประธานกรรมการโจทก์เป็นผู้ลงชื่อแต่งตั้งให้ จ.หรือ ว.เป็นผู้มีอำนาจฟ้องคดีในศาลจนสำเร็จ หนังสือฉบับนี้มี ซ.โนตารี่ปับลิกแห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาลงชื่อและประทับตรารับรองว่าผู้มอบอำนาจเป็นประธานกรรมการบริษัทได้แสดงตนว่า บริษัทนี้ได้ทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวตามกฎหมายหรือโดยมติคณะกรรมการ และมีการลงชื่อกับประทับตราสถานกงสุลใหญ่ประเทศไทยประจำนครลอสแองเจลิสไว้ด้วย ถือได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลและมอบอำนาจให้ จ.เป็นผู้ดำเนินคดีแทนโจทก์โดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าเครื่องเสียงของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แม้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการจดทะเบียนในนาม ล.ตั้งแต่ปี 2532 และต่อมา ล.โอนเครื่องหมายการค้านี้แก่โจทก์โดยไม่แน่ชัดว่าการโอนมีผลสมบูรณ์ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ก็ใช้คำว่า "EARTHQUAKE"เป็นส่วนสำคัญของชื่อโจทก์ตลอดมา ทั้งที่อยู่ของ ล.ที่จดแจ้งลงในทะเบียนสำคัญเครื่องหมายการค้าก็เป็นที่เดียวกับสำนักงานของโจทก์ในปี 2532 และไม่ปรากฏว่าล.ใช้เครื่องหมายการค้านี้หรือโต้แย้งคัดค้านการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เลยแต่กลับยืนยันว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้และในที่สุดก็โอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า ล.และโจทก์มีความประสงค์ให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ โจทก์จึงใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE"กับสินค้าของโจทก์จนแพร่หลายตลอดมา เช่นนี้โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" กับสินค้าเครื่องเสียงของโจทก์จำหน่ายแพร่หลายทั้งต่างประเทศและในประเทศไทยมาก่อนที่จำเลยจะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า แม้การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE" ในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการจดทะเบียนในนาม ล.ตั้งแต่ปี 2532 และต่อมา ล.โอนเครื่องหมายการค้านี้แก่โจทก์โดยไม่แน่ชัดว่าการโอนมีผลสมบูรณ์ก่อนโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้หรือไม่ก็ตาม แต่โจทก์ก็ใช้คำว่า "EARTHQUAKE"เป็นส่วนสำคัญของชื่อโจทก์ตลอดมา ทั้งที่อยู่ของ ล.ที่จดแจ้งลงในทะเบียนสำคัญเครื่องหมายการค้าก็เป็นที่เดียวกับสำนักงานของโจทก์ในปี 2532 และไม่ปรากฏว่าล.ใช้เครื่องหมายการค้านี้หรือโต้แย้งคัดค้านการใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เลยแต่กลับยืนยันว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้และในที่สุดก็โอนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่า ล.และโจทก์มีความประสงค์ให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านี้ โจทก์จึงใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "EARTHQUAKE"กับสินค้าของโจทก์จนแพร่หลายตลอดมา เช่นนี้โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่มีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แม้มีเจตนาผลิตและจำหน่ายสินค้าเดียวกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 109,110,114 และ 115 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33,83,91,273 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการใช้เครื่องหมายการค้าเลียนแบบ: ศาลล่างพิพากษาถูกต้องตามเจตนาจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 109, 110, 114 และ 115 ป.อ.มาตรา 32, 33,83, 91, 272 และ 274 จำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสามแต่ละข้อหาตามฟ้องเป็นการกระทำโดยมีเจตนาในการกระทำผิดแยกต่างหากจากกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ประกอบกับจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดทั้งสามข้อหาตามฟ้องโดยมีเจตนาต่างกัน จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่า การกระทำผิดของจำเลยตามคำฟ้องโจทก์เป็นการกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียว โดยจำเลยมีเจตนาเพียงต้องการผลิตสินค้าแล้วใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายเพื่อการจำหน่าย ซึ่งเป็นการกระทำผิดกรรมเดียวหาได้ไม่ ดังนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเรียงกระทงลงโทษจำเลยจึงถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3157/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาทระหว่างเจ้าของรวม กรณีแจ้งส.ค.1 และการครอบครองทำประโยชน์
เดิมร. พ. และน. ร่วมกันแจ้งส.ค.1สำหรับที่ดินพิพาทต่อมาบุคคลทั้งสามร่วมกันยื่นคำขอออกน.ส.3ไว้แต่ทางราชการยังไม่ออกให้จนกระทั่งบุคคลทั้งสามถึงแก่กรรมไปก่อนโจทก์ที่1เป็นบุตรของร. และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของร. ตามคำสั่งศาลส่วนจำเลยที่ 1เป็นบุตรบุญธรรมของน. เมื่อโจทก์ที่1ร่วมเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินพิพาทและจำเลยที่1เพิ่งจะเข้าไปทำประโยชน์เพียงส่วนน้อยซึ่งไม่ถึง1ใน3ของที่ดินพิพาทที่จำเลยที่1มีส่วนอยู่แม้จำเลยที่1ยื่นคำขอออกโฉนดในที่ดินพิพาทและลงประกาศหนังสือพิมพ์เอาที่ดินพิพาทเป็นของตนแต่ผู้เดียวก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิใดๆขึ้นใหม่แก่จำเลยที่1โดยเฉพาะการที่จำเลยที่1คัดค้านมิให้แนวเขตที่ดินราชพัสดุรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทเป็นการกระทำในทางจัดการเพื่อรักษาทรัพย์สินโดยใช้สิทธิต่อสู้บุคคลภายนอกซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งมีอำนาจกระทำได้ถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองจากเจ้าของรวมคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เป็นโมฆะ หากได้มาโดยเจตนาทุจริต ปกปิดข้อเท็จจริงว่าที่ดินเป็นป่าช้า
ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทที่ชาวจีนฮกเกี้ยนได้ช่วยกันออกเงินซื้อที่ดินโดยให้ ล.เป็นผู้จัดการ ขณะร่วมกันออกเงินซื้อที่พิพาทซึ่งยังไม่มีใบสำคัญสำหรับที่ดินเพื่อทำเป็นป่าช้าฝังศพ โดยตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าและให้ ล. เป็นทรัสตี ต่อมา ล.ได้ไปดำเนินการออกโฉนดที่พิพาทและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋า อันเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 2พ.ศ. 2459 มาตรา 8 การตั้งทรัสต์และทรัสตีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1686 แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการจดทะเบียนกันไว้หรือไม่ก็มีผลบังคับได้ ลักษณะของป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่สถานีที่ฝังศพสำหรับเฉพาะคนในตระกูลหรือกลุ่มพวกพ้องของ ล. เท่านั้น แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นใครถือได้ว่าทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังศพและบำเพ็ญกุศลให้ผู้ตายอันเป็นประโยชน์ต่อชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วไปลักษณะของทรัสต์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัสต์เพื่อการกุศลหรือทรัสต์มหาชน จึงเป็นทรัสต์ถาวรไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไปเองดังเช่นทรัสต์เอกชนทั่วไป แม้ต่อมา ล. ได้ถึงแก่กรรมที่ประเทศสิงคโปร์แล้วก็ตาม แต่ทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าก็ไม่ได้เลิกหรือสิ้นสภาพไป ผู้มีส่วนได้เสียของทรัสต์ดังกล่าวหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งทรัสตีคนใหม่แทนได้ แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของ ล. คนในบังคับอังกฤษ ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นบังคับคดีว่าที่พิพาทเป็นของ ล. ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋า ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ล. ดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ทั้งตามลักษณะที่พิพาทในขณะนั้นก็ยังเป็นป่าช้าฝังศพของชาวจีนอยู่ และที่พิพาทส่วนใหญ่เป็นที่ฝังศพก่อปูนซีเมนต์มีรูปแบบเป็นฮวงซุ้ยของชาวจีนทั่วไปจากสภาพของป่าช้าดังกล่าวย่อมไม่มีบุคคลใดเข้าไปยึดถือเพื่อตน ทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ร้องตั้งแต่ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและนำสืบพยานผู้ร้องในชั้นไต่สวนคำร้องเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ศาลทราบความจริงว่าที่พิพาทเป็นป่าช้าฝังศพ เนื่องจากผู้ร้องเกรงว่าจะเป็นสาเหตุให้ศาลทราบว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าไปครอบครองที่พิพาทอย่างเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่ผู้ร้องอ้าง การดำเนินคดีของผู้ร้องดังกล่าวมาทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 ไม่สมควรที่ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากการกระทำอันไม่สุจริตของตน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จึงไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เป็นโมฆะ หากได้มาจากการปกปิดข้อเท็จจริงว่าที่ดินเป็นป่าช้าและกระทำการไม่สุจริต
ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทที่ชาวจีนฮกเกี้ยนได้ช่วยกันออกเงินซื้อที่ดินโดยให้ล.เป็นผู้จัดการขณะร่วมกันออกเงินซื้อที่พิพาทซึ่งยังไม่มีใบสำคัญสำหรับที่ดินเพื่อทำเป็นป่าช้าฝังศพโดยตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าและให้ล. เป็นทรัสตีต่อมาล.ได้ไปดำเนินการออกโฉนดที่พิพาทและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าอันเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการออกโฉนดที่ดินฉบับที่2พ.ศ.2459มาตรา8การตั้งทรัสต์และทรัสตีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1686แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการจดทะเบียนกันไว้หรือไม่ก็มีผลบังคับได้ ลักษณะของป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่สถานีที่ฝังศพสำหรับเฉพาะคนในตระกูลหรือกลุ่มพวกพ้องของล. เท่านั้นแต่ใช้เป็นที่ฝังศพของชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมากโดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นใครถือได้ว่าทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังศพและบำเพ็ญกุศลให้ผู้ตายอันเป็นประโยชน์ต่อชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วไปลักษณะของทรัสต์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัสต์เพื่อการกุศลหรือทรัสต์มหาชนจึงเป็นทรัสต์ถาวรไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไปเองดังเช่นทรัสต์เอกชนทั่วไปแม้ต่อมาล. ได้ถึงแก่กรรมที่ประเทศสิงคโปร์แล้วก็ตามแต่ทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าก็ไม่ได้เลิกหรือสิ้นสภาพไปผู้มีส่วนได้เสียของทรัสต์ดังกล่าวหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งทรัสตีคนใหม่แทนได้ แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของล. คนในบังคับอังกฤษผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นบังคับคดีว่าที่พิพาทเป็นของล. ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของล. ดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอทั้งตามลักษณะที่พิพาทในขณะนั้นก็ยังเป็นป่าช้าฝังศพของชาวจีนอยู่และที่พิพาทส่วนใหญ่เป็นที่ฝังศพก่อปูนซีเมนต์มีรูปแบบเป็นฮวงซุ้ยของชาวจีนทั่วไปจากสภาพของป่าช้าดังกล่าวย่อมไม่มีบุคคลใดเข้าไปยึดถือเพื่อตนทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ร้องตั้งแต่ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและนำสืบพยานผู้ร้องในชั้นไต่สวนคำร้องเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ศาลทราบความจริงว่าที่พิพาทเป็นป่าช้าฝังศพเนื่องจากผู้ร้องเกรงว่าจะเป็นสาเหตุให้ศาลทราบว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าไปครอบครองที่พิพาทอย่างเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่ผู้ร้องอ้างการดำเนินคดีของผู้ร้องดังกล่าวมาทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5ไม่สมควรที่ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากการกระทำอันไม่สุจริตของตนคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จึงไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินป่าช้า: ทรัสต์เพื่อการกุศลและการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่สุจริต
ป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ที่ชาวจีนฮกเกี้ยนได้ช่วยกันออกเงินซื้อที่ดินโดยให้ ล.เป็นผู้จัดการ ขณะร่วมกันออกเงินซื้อที่พิพาทซึ่งยังไม่มีใบสำคัญสำหรับที่ดินเพื่อทำเป็นป่าช้าฝังศพ โดยตั้งเป็นทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าและให้ ล.เป็นทรัสตี ต่อมา ล.ได้ไปดำเนินการออกโฉนดที่พิพาทและเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะเป็นทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋า อันเป็นการกระทำที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การออกโฉนดที่ดิน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2459 มาตรา 8 การตั้งทรัสต์และทรัสตีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันใช้ ป.พ.พ.มาตรา 1686 แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการจดทะเบียนกันไว้หรือไม่ก็มีผลบังคับได้
ลักษณะของป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่สถานที่ฝังศพสำหรับเฉพาะคนในตระกูลหรือกลุ่มพวกพ้องของ ล.เท่านั้น แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นใคร ถือได้ว่าทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังศพและบำเพ็ญกุศลให้ผู้ตายอันเป็นประโยชน์ต่อชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วไป ลักษณะของทรัสต์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัสต์เพื่อการกุศลหรือทรัสต์มหาชน จึงเป็นทรัสต์ถาวรไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไปเองดังเช่นทรัสต์เอกชนทั่วไป แม้ต่อมา ล.ได้ถึงแก่กรรมที่ประเทศสิงคโปร์แล้วก็ตาม แต่ทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าก็ไม่ได้เลิกหรือสิ้นสภาพไป ผู้มีส่วนได้เสียของทรัสต์ดังกล่าวหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งทรัสตีคนใหม่แทนได้
แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของ ล.คนในบังคับอังกฤษ ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นบังคับคดีว่าที่พิพาทเป็นของ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋า ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ล.ดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ทั้งตามลักษณะที่พิพาทในขณะนั้นก็ยังเป็นป่าช้าฝังศพของชาวจีนอยู่ และที่พิพาทส่วนใหญ่เป็นที่ฝังศพก่อปูนซีเมนต์มีรูปแบบเป็นฮวงซุ้ยของชาวจีนทั่วไป จากสภาพของป่าช้าดังกล่าวย่อมไม่มีบุคคลใดเข้าไปยึดถือเพื่อตน ทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ร้องตั้งแต่ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและนำสืบพยานผู้ร้องในชั้นไต่สวนคำร้องเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ศาลทราบความจริงว่าที่พิพาทเป็นป่าช้าฝังศพเนื่องจากผู้ร้องเกรงว่าจะเป็นสาเหตุให้ศาลทราบว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าไปครอบครองที่พิพาทอย่างเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่ผู้ร้องอ้าง การดำเนินคดีของผู้ร้องดังกล่าวมาทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 5ไม่สมควรที่ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากการกระทำอันไม่สุจริตของตน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จึงไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้
ลักษณะของป่าช้าจีนบ้าบ๋าไม่ใช่สถานที่ฝังศพสำหรับเฉพาะคนในตระกูลหรือกลุ่มพวกพ้องของ ล.เท่านั้น แต่ใช้เป็นที่ฝังศพของชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นกลุ่มคนจำนวนมาก โดยไม่มีข้อจำกัดว่าเป็นใคร ถือได้ว่าทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ฝังศพและบำเพ็ญกุศลให้ผู้ตายอันเป็นประโยชน์ต่อชาวจีนฮกเกี้ยนทั่วไป ลักษณะของทรัสต์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทรัสต์เพื่อการกุศลหรือทรัสต์มหาชน จึงเป็นทรัสต์ถาวรไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดไปเองดังเช่นทรัสต์เอกชนทั่วไป แม้ต่อมา ล.ได้ถึงแก่กรรมที่ประเทศสิงคโปร์แล้วก็ตาม แต่ทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋าก็ไม่ได้เลิกหรือสิ้นสภาพไป ผู้มีส่วนได้เสียของทรัสต์ดังกล่าวหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอต่อศาลให้ตั้งทรัสตีคนใหม่แทนได้
แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของ ล.คนในบังคับอังกฤษ ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทมาโดยการครอบครองปรปักษ์และศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในชั้นบังคับคดีว่าที่พิพาทเป็นของ ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋า ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ล.ดังที่ผู้ร้องอ้างในคำร้องขอ ทั้งตามลักษณะที่พิพาทในขณะนั้นก็ยังเป็นป่าช้าฝังศพของชาวจีนอยู่ และที่พิพาทส่วนใหญ่เป็นที่ฝังศพก่อปูนซีเมนต์มีรูปแบบเป็นฮวงซุ้ยของชาวจีนทั่วไป จากสภาพของป่าช้าดังกล่าวย่อมไม่มีบุคคลใดเข้าไปยึดถือเพื่อตน ทั้งตามพฤติการณ์ของผู้ร้องตั้งแต่ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่พิพาทและนำสืบพยานผู้ร้องในชั้นไต่สวนคำร้องเห็นได้อย่างชัดเจนว่าผู้ร้องมีเจตนาปกปิดไม่ให้ศาลทราบความจริงว่าที่พิพาทเป็นป่าช้าฝังศพเนื่องจากผู้ร้องเกรงว่าจะเป็นสาเหตุให้ศาลทราบว่าผู้ร้องไม่ได้เข้าไปครอบครองที่พิพาทอย่างเปิดเผยและด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตามที่ผู้ร้องอ้าง การดำเนินคดีของผู้ร้องดังกล่าวมาทั้งหมดเป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 5ไม่สมควรที่ผู้ร้องจะได้รับประโยชน์จากการกระทำอันไม่สุจริตของตน คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จึงไม่อาจบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: สัญญาจะซื้อขาย, การครอบครองแทน, และการครอบครองปรปักษ์
จ. บิดาโจทก์ได้ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นเงิน 125,000 บาท แต่ชำระราคากันไว้เพียง 25,000 บาท ยังไม่ครบถ้วนราคาที่ดินและมีข้อตกลงในสัญญาด้วยว่า ล. จะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้บิดาโจทก์เมื่อ ล. กลับจากต่างประเทศ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบเขตที่ดินเสียก่อนด้วย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นลักษณะสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ ล. จะมอบที่ดินพิพาทให้บิดาโจทก์ครอบครอง และบิดาโจทก์ได้มอบให้โจทก์ครอบครองแทนต่อมาก็ตาม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ล. การที่บิดาโจทก์และโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน ล.ดังนี้ การร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของ อ. และจำเลยที่ 4 ต่อศาลชั้นต้นก็ดีการกระทำของ อ. กับจำเลยที่ 4ดังกล่าว รวมทั้งที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ. กับจำเลยที่ 4และมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของอ. ก็ดีจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทั้งไม่ได้ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่า ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์และรับเงินราคาที่โจทก์วางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์ตลอดจนสอบแนวเขตที่ดินแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มุ่งประสงค์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยตรงโดยมิได้มีเจตนากล่าวถึงเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลจึงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้ไม่ได้