คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: สัญญาจะซื้อขาย, การครอบครองแทน, และการครอบครองปรปักษ์
จ. บิดาโจทก์ได้ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นเงิน 125,000 บาท แต่ชำระราคากันไว้เพียง 25,000 บาท ยังไม่ครบถ้วนราคาที่ดินและมีข้อตกลงในสัญญาด้วยว่า ล. จะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้บิดาโจทก์เมื่อ ล. กลับจากต่างประเทศ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบเขตที่ดินเสียก่อนด้วย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นลักษณะสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ ล. จะมอบที่ดินพิพาทให้บิดาโจทก์ครอบครอง และบิดาโจทก์ได้มอบให้โจทก์ครอบครองแทนต่อมาก็ตาม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ล. การที่บิดาโจทก์และโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน ล.ดังนี้ การร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของ อ. และจำเลยที่ 4 ต่อศาลชั้นต้นก็ดีการกระทำของ อ. กับจำเลยที่ 4ดังกล่าว รวมทั้งที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ. จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ. กับจำเลยที่ 4และมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของอ. ก็ดีจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทั้งไม่ได้ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่า ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์และรับเงินราคาที่โจทก์วางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์ตลอดจนสอบแนวเขตที่ดินแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มุ่งประสงค์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยตรงโดยมิได้มีเจตนากล่าวถึงเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลจึงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย, ครอบครองแทน, สิทธิในที่ดิน, การฟ้องบังคับตามสัญญา, ครอบครองปรปักษ์ (ไม่ได้)
จ.บิดาโจทก์ได้ตกลงซื้อที่ดินพิพาทจาก ล.ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าเป็นเงิน 125,000 บาท แต่ชำระราคากันไว้เพียง 25,000 บาท ยังไม่ครบถ้วนราคาที่ดิน และมีข้อตกลงในสัญญาด้วยว่า ล.จะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้บิดาโจทก์เมื่อ ล.กลับจากต่างประเทศ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่สอบเขตที่ดินเสียก่อนด้วย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงเป็นลักษณะสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดแม้ ล.จะมอบที่ดินพิพาทให้บิดาโจทก์ครอบครอง และบิดาโจทก์ได้มอบให้โจทก์ครอบครองแทนต่อมาก็ตาม กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังคงเป็นของ ล. การที่บิดาโจทก์และโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทน ล.ดังนี้ การร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของ อ.และจำเลยที่ 4 ต่อศาลชั้นต้นก็ดีการกระทำของ อ.กับจำเลยที่ 4 ดังกล่าว รวมทั้งที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นแต่งตั้งจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทเป็นของ อ.กับจำเลยที่ 4 และมีคำสั่งแต่งตั้งให้จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดการมรดกของ อ.ก็ดีจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4
ตามคำฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า โจทก์ได้ครอบครองที่ดินพิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทั้งไม่ได้ขอให้ศาลพิพากษาว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องเพียงว่า ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ในหน้าที่ทรัสตีป่าช้าจีนบ้าบ๋าจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาที่ทำไว้แก่โจทก์และรับเงินราคาที่โจทก์วางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์ตลอดจนสอบแนวเขตที่ดินแก่โจทก์ด้วย เห็นได้ชัดแจ้งว่าโจทก์มุ่งประสงค์ฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินโดยตรง โดยมิได้มีเจตนากล่าวถึงเรื่องการได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ศาลจึงวินิจฉัยประเด็นที่ว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาด และขอบเขตการชำระดอกเบี้ยตามกฎหมายอังกฤษ
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมายจ.4และร.5ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่าสัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่119ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่นทั้งผู้ซื้อ(ผู้ร้อง)และผู้ขาย(ผู้คัดค้าน)ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ของสมาคมกาฟต้าด้วยผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้องแสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมายร.6ข้อ29มีใจความว่าหากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใดๆซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่125ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญากฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้วนอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่ากฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่125สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5เกิดขึ้นผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนออ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านทางสมาคมได้แต่งตั้งอ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ข้อ3.7และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วการแต่งตั้งอ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้วและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530 ในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่ออ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วยแสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับอ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่125ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วยดังนั้นเมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้วสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการให้ผู้คัดค้านติดต่อกับอ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่ออ. แต่อย่างใดผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยังอ. เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่ายคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นพร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้วจึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมายร.4และร.5และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรมค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่าหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสมการที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12ต่อปีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมายกรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นกำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้นเมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสองการที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ การบังคับตามคำชี้ขาด และดอกเบี้ยตามกฎหมายอังกฤษ
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมาย จ.4 และ ร.5 ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่า สัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่ 119 ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่นทั้งผู้ซื้อ (ผู้ร้อง) และผู้ขาย (ผู้คัดค้าน) ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าด้วยผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมาย ร.4และร.5 จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมายร.6 ข้อ 29 มีใจความว่าหากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญา กฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้วนอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่า กฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่ 125 สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมายร.4และร.5 เกิดขึ้น ผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนอ อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียวผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านทางสมาคมได้แต่งตั้ง อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ข้อ 3.7 และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้วการแต่งตั้ง อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ. เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาด จึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้อ. เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ. แต่อย่างใดผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ. เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4และร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ. 1982 บัญญัติไว้ว่าหากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2562/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงอนุญาโตตุลาการตามสัญญาซื้อขายข้าว การแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการ และคำชี้ขาดที่ใช้บังคับได้
ตามสัญญาซื้อข้าวเอกสารหมาย จ.4 และ ร.5 ได้วางข้อกำหนดและเงื่อนไขไว้ว่า สัญญานี้ทำขึ้นโดยให้ใช้ข้อกำหนดและเงื่อนไขทั่วไปตามที่ระบุในสัญญาของสมาคมกาฟต้าเลขที่ 119 ยกเว้นในส่วนที่ได้กำหนดไว้ในสัญญานี้เป็นอย่างอื่น ทั้งผู้ซื้อ (ผู้ร้อง) และผู้ขาย (ผู้คัดค้าน) ได้ยอมรับโดยชัดแจ้งซึ่งข้อกำหนดเรื่องการประนีประนอมยอมความรวมทั้งข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้าด้วย ผู้คัดค้านได้รับสัญญาเอกสารหมายร.4 และ ร.5 จากผู้ร้องก่อนจะส่งมอบข้าวที่ขายให้แก่ผู้ร้อง แสดงว่าผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาทั้งสองฉบับแล้วและตามข้อกำหนดทั่วไปของสัญญาซื้อขายของสมาคมกาฟต้าเอกสารหมาย ร.6ข้อ 29 มีใจความว่า หากมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งใด ๆ ซึ่งเกิดจากหรือภายใต้สัญญาดังกล่าวให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามนัยกฎข้อบังคับเลขที่ 125ของสมาคมกาฟต้าฉบับที่ใช้อยู่ในวันทำสัญญา กฎข้อบังคับดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและเป็นกฎข้อบังคับที่ถือว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายรับทราบอยู่แล้ว นอกจากนั้นทางสมาคมกาฟต้าก็เคยรับรองกับผู้ร้องว่า กฎข้อบังคับของสมาคมเลขที่ 125สามารถใช้บังคับตามสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 เกิดขึ้น ผู้ร้องได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบว่าจะเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดโดยผู้ร้องเสนอ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องแต่ผู้เดียว ผู้คัดค้านจะยอมรับหรือไม่ หรือจะแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอีกคนแต่ผู้คัดค้านไม่ได้แจ้งให้ผู้ร้องทราบ ผู้ร้องจึงร้องขอให้สมาคมกาฟต้าแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ทางสมาคมได้แต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นการแต่งตั้งตามเงื่อนไขของข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125ข้อ 3.7 และทางสมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบแล้ว การแต่งตั้ง อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว และไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการพ.ศ.2530
ในชั้นอนุญาโตตุลาการ ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีของผู้ร้องและร้องแย้งเรียกค่าเสียหายจากผู้ร้องต่อ อ. การยื่นเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพียงการโต้แย้งการดำเนินการของอนุญาโตตุลาการเนื่องจากผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งเรียกค่าเสียหายด้วย แสดงให้เห็นว่าผู้คัดค้านต้องการให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดข้อเรียกร้องของผู้คัดค้านพร้อมกับข้อเรียกร้องของผู้ร้องพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าผู้คัดค้านยอมรับ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว
ตามสัญญาซื้อขายข้าวมีข้อตกลงให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการตามกฎข้อบังคับอนุญาโตตุลาการเลขที่ 125 ของสมาคมกาฟต้า โดยผู้คัดค้านได้ทราบและยอมรับจะปฏิบัติตามกฎข้อบังคับดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อมีข้อพิพาทตามสัญญาซื้อขายข้าวเกิดขึ้นและผู้ร้องได้ยื่นข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นการกระทำไปตามเงื่อนไขข้อตกลงของคู่สัญญา คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงใช้บังคับผู้คัดค้านได้ เมื่อสมาคมกาฟต้าแต่งตั้งให้ อ.เป็นอนุญาโตตุลาการแทนฝ่ายผู้คัดค้านแล้ว สมาคมได้แจ้งให้ผู้คัดค้านทราบพร้อมกับแจ้งว่าหากผู้คัดค้านประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ให้ผู้คัดค้านติดต่อกับ อ.เพื่อทราบวันและเวลาดังกล่าวแต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้แสดงความประสงค์จะเข้าฟังการพิจารณาต่อ อ.แต่อย่างใด ผู้คัดค้านเพียงแต่ยื่นคำคัดค้านต่อสู้คดีไปยัง อ.เท่านั้นต่อมาประธานอนุญาโตตุลาการสอบถามไปยังผู้ร้องและผู้คัดค้านว่าจะส่งเอกสารเพิ่มเติมอีกหรือไม่ แสดงว่าทางอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้ผู้คัดค้านเข้าฟังการพิจารณาและนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีได้ ก่อนที่จะชี้ขาดข้อพิพาทแล้วและเมื่ออนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยข้อพิพาทโดยพิจารณาจากพยานหลักฐาน และข้อต่อสู้ของทั้งสองฝ่าย คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้กล่าวถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งให้เหตุผลในการชี้ขาดข้อพิพาทเป็นที่เข้าใจดีและถูกต้องแล้ว จึงไม่มีเหตุให้ฟังได้ว่าคณะอนุญาโตตุลาการได้กระทำการเข้าข้างฝ่ายผู้ร้องโดยไม่สุจริต
ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องขอให้อนุญาโตตุลาการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยเป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้ตกลงกันไว้ก่อนเกิดข้อพิพาทตามเอกสารหมาย ร.4 และ ร.5 และตามกฎหมายประเทศอังกฤษได้แก่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการบริหารงานยุติธรรม ค.ศ.1982บัญญัติไว้ว่า หากอนุญาโตตุลาการเห็นสมควรอาจชี้ขาดให้ชดใช้ดอกเบี้ยในอัตราที่เหมาะสม การที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ผู้คัดค้านชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี ซึ่งเป็นการใช้ดุลพินิจไปตามขอบเขตของกฎหมาย กรณีจึงยังฟังไม่ได้ว่าอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทโดยไม่สุจริตและขัดต่อกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กำหนดให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยถึงวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทเท่านั้น เมื่อผู้ร้องไม่ได้อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลล่างทั้งสอง การที่ผู้ร้องเพียงแต่ทำคำแก้ฎีกาในทำนองขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยเพิ่มจนถึงวันที่ผู้คัดค้านชำระเงินให้ผู้ร้องเสร็จตามคำร้องของผู้ร้อง จึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาขนส่งทางอากาศ, การแข่งขันทางธุรกิจ, และการปิดอากรแสตมป์
โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศ ตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทย สัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตาราง ก.ว่า จำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ 60 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออก และต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ 40 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้น ทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทน สัญญาฉบับนี้ ตาราง ก.เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่า โจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ 40 ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ (revenues billed) เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการ แม้ตามสัญญาข้อ 10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตาม ก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตาราง ก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริง แต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทาง จำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้ว โดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่ เพราะไม่มีข้อความใดในตาราง ก. ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว
ตามสัญญาข้อ 6 ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญา คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เมื่อปรากฏว่าการขนส่งในช่วงวันที่ 1กรกฎาคม 2533 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2534 ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2 บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้น การที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัท พ.และบริษัท อ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้น แม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตาม แต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วย จึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริการของจำเลย แม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้ การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลย ต้องห้ามตามสัญญาข้อ 6 แล้ว
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร เรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ 7 (ข) ว่า มอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท และระบุในข้อ 7 (ค) ว่า มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกัน คิดตามรายตัวบุคคลคนละ 30 บาท ใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตาม แต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการ กล่าวคือ ส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียว มิใช่ต่างตนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดี ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30 บาท ถูกต้องตาม ป.รัษฎากร ข้อ 7 (ข) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2320/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาขนส่งทางอากาศ การประพฤติผิดสัญญา และการหักลบหนี้
โจทก์และจำเลยได้ร่วมดำเนินการขนส่งเอกสารหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศตามสัญญาให้ดำเนินการแต่เพียงผู้เดียวโดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการในประเทศไทยสัญญานี้ตกลงให้ค่าตอบแทนตามตารางก.ว่าจำเลยมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนร้อยละ60ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับให้แก่การขนส่งขาออกและต้องจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับนั้นทั้งจำเลยต้องดำเนินการจัดส่งสิ่งของที่โจทก์ส่งเข้ามาในประเทศไทยโดยไม่คิดค่าตอบแทนสัญญาฉบับนี้ตารางก. เรื่องค่าใช้จ่ายและค่าตอบแทนกำหนดไว้ว่าโจทก์จะได้รับค่าตอบแทนอัตราร้อยละ40ของรายรับตามที่ได้ออกใบรับ(revenuesbilled)เป็นการตกลงให้โจทก์มีสิทธิจะได้รับส่วนแบ่งตามยอดรายรับตามที่ได้มีการเรียกเก็บเงินโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจำเลยจะเก็บเงินได้น้อยกว่าใบรับหรือไม่จำเลยจึงต้องจ่ายค่าตอบแทนให้แก่โจทก์ตามตัวเลขรายรับที่ได้ออกใบรับทุกรายการแม้ตามสัญญาข้อ10จะหมายถึงการเรียกเก็บเงินปลายทางซึ่งคู่สัญญาฝ่ายที่เป็นผู้ส่งของจะต้องรับผิดชอบการเรียกเก็บเงินแม้จะเรียกเก็บเงินไม่ได้ไม่ได้หมายถึงการเรียกเก็บเงินต้นทางก็ตามก็ไม่มีเหตุผลที่จะแปลสัญญาดังกล่าวไปในทางที่ว่าการคำนวณส่วนแบ่งของรายรับตามตารางก.เฉพาะกรณีเรียกเก็บเงินต้นทางเท่านั้นที่จะต้องคำนวณจากรายรับที่จำเลยเรียกเก็บได้จริงแต่กรณีเรียกเก็บเงินปลายทางจำเลยจะให้คำนวณจากรายรับที่ได้ออกใบรับแล้วโดยไม่คำนึงว่าโจทก์จะเรียกเก็บเงินได้จริงหรือไม่เพราะไม่มีข้อความใดในตารางก.ที่จะแสดงให้เห็นดังกล่าว ตามสัญญาข้อ6ระบุว่าในระหว่างอายุสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะต้องไม่เป็นผู้ดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นใดซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งก่อนเมื่อปรากฎว่าการขนส่งในช่วงวันที่1กรกฎาคม2533ถึงวันที่31กรกฎาคม2534ซึ่งอยู่ในช่วงอายุสัญญามีบริษัท2บริษัทรับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยจากลูกค้าในประเทศไทยไปยังต่างประเทศโดยผ่านบริษัทโจทก์ที่ประเทศสิงคโปร์ ดังนั้นการที่บริษัทโจทก์สำนักงานที่ประเทศสิงคโปร์รับส่งเอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศจากบริษัทพ.และบริษัทอ.ซึ่งเป็นบริษัทในประเทศไทยเพื่อส่งต่อไปนั้นแม้บริษัททั้งสองจะไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจก็ตามแต่บริษัททั้งสองบริษัทดังกล่าวก็ได้อ้างอิงเครื่องหมายการค้าหรือชื่อทางการค้าของโจทก์ในการประกอบธุรกิจด้วยจึงทำให้ผู้ส่งเอกสารด่วนหรือพัสดุภัณฑ์ย่อยทางอากาศในประเทศไทยไม่จำต้องใช้บริษัทของจำเลยแม้ใช้บริการของบุคคลอื่นก็มีผลทำให้เอกสารด่วนและพัสดุภัณฑ์ย่อยของตนได้รับการขนส่งจากโจทก์จนถึงผู้รับปลายทางในต่างประเทศได้การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นการดำเนินการรับส่งของให้แก่บุคคลอื่นซึ่งประกอบธุรกิจขนส่งทางอากาศอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของจำเลยต้องห้ามตามสัญญาข้อ6แล้ว ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรเรื่องใบมอบอำนาจระบุไว้ในข้อ7(ข)ว่ามอบอำนาจให้แก่บุคคลเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวค่าอากรแสตมป์30บาทและระบุในข้อ7(ค)ว่ามอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันคิดตามรายตัวบุคคลคนละ30บาทใบมอบฉันทะพิพาทแม้จะเป็นการมอบอำนาจแก่บุคคลหลายคนก็ตามแต่เป็นกรณีร่วมกันกระทำการกล่าวคือส.และ/หรืออ.รวมกระทำการฟ้องร้องคดีนี้เพียงกิจการเดียวมิใช่ต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันฟ้องร้องหลายคดีใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์เช่นนี้จึงปิดอากรแสตมป์เพียง30บาทถูกต้องตามประมวลรัษฎากรข้อ7แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ - กรรมเดียว - ปลอมเครื่องหมายการค้า - ศาลยกฟ้อง - เหตุผลความผิดกรรมเดียวกับคดีก่อน
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา273และ275ระบุว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1มกราคม2531ถึงวันที่28กรกฎาคม2531วันเวลาใดไม่ปรากฎชัดส่วนในคำฟ้องคดีเดิมโจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่19มกราคม2531ดังนี้เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกันเพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่19มกราคม2531เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด2กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกันซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกันเป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกันความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด2กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิมและเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิตราดอกทานตะวันโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมจำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้องพิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดดังนั้นเมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา271ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้นเมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเองจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าวกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำความผิดฐานปลอมเครื่องหมายการค้า แม้ต่างเวลา-สถานที่ หากเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน สิทธิฟ้องระงับ
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 273 และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28 กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฎชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวันดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรมที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4) สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้างหากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง
of 62