คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2258/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำกรรมเดียวกัน: คดีความผิดฐานปลอมแปลงเครื่องหมายการค้าและขายของหลอกลวง ศาลยกฟ้องเนื่องจากเคยมีคำพิพากษาเด็ดขาดแล้ว
คำฟ้องโจทก์คดีนี้ที่ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 273และ 275 ระบุว่า จำเลยกระทำผิดเมื่อระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2531 ถึงวันที่ 28กรกฎาคม 2531 วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในคำฟ้องคดีเดิม โจทก์ฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำผิดทั้งสองกรรมดังกล่าวเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2531 ดังนี้ เวลากระทำผิดตามฟ้องคดีนี้กับคดีเดิมจึงเป็นเวลาเดียวกัน เพราะวันที่จำเลยกระทำผิดคดีนี้อาจเป็นวันที่ 19 มกราคม 2531 เวลากลางวัน ดังที่ระบุไว้ในคำฟ้องคดีเดิมก็ได้เมื่อการกระทำของจำเลยในความผิด 2 กรรมทั้งสองคดีดังกล่าวเป็นการร่วมกันปลอมเครื่องหมายการค้าของบริษัทผู้เสียหายรายเดียวกัน ซึ่งใช้กับสินค้าเหมือนกันและจำหน่ายหรือเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมดังกล่าวเช่นเดียวกันทั้งคำฟ้องคดีเดิมและคดีนี้โจทก์ก็ระบุว่าจำเลยกระทำความผิดในเวลาและสถานที่เดียวกัน เป็นการกระทำความผิดในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองในแต่ละกรรมทั้งสองคดีจึงเป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียวกัน ความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ในแต่ละกรรมย่อมเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิด 2 กรรม ที่โจทก์ได้ฟ้องจำเลยในคดีเดิม และเมื่อคดีอาญาเดิมดังกล่าวศาลได้พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยปลอมเครื่องหมายการค้าดอกทานตะวันของบริษัทเดียวกันกับที่จำเลยถูกฟ้องคดีนี้และเสนอจำหน่ายสินค้าใบชากลิ่นมะลิ ตราดอกทานตะวัน โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม จำเลยไม่มีความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุด ดังนั้น เมื่อมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้วจึงนำคดีนี้ซึ่งเป็นความผิดกรรมเดียวกันกับความผิดที่ได้ฟ้องจำเลยในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้อีกหาได้ไม่ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4)
สำหรับความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตาม ป.อ.มาตรา271 ที่โจทก์กล่าวหาจำเลยนั้น เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยได้ขายสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมโดยหลอกลวงอย่างไรบ้าง หากแต่โจทก์ร่วมไปซื้อสินค้าพิพาทจากบุคคลอื่นที่วางขายในห้างสรรพสินค้าเอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดในข้อหาดังกล่าว กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าข้อหานี้เป็นฟ้องซ้ำกับข้อหาในคดีอาญาเรื่องเดิมหรือไม่ เพราะแม้จะวินิจฉัยให้ ผลแห่งคดีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งทรัพย์มรดก: ศาลมีอำนาจสั่งประมูลหากตกลงแบ่งกันไม่ได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์สองในสี่ส่วนและที่ดินที่มีชื่ออ. เป็นเจ้าของให้โจทก์อีกหนึ่งในสามส่วนหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองนั้นกรณีที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่พิพาทให้โจทก์เป็นการให้แบ่งตัวทรัพย์ส่วนที่ศาลพิพากษาว่าหากจำเลยทั้งสองไม่ปฎิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยทั้งสองเป็นการให้ดำเนินการให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามส่วนในทางทะเบียนอันเป็นวิธีการบังคับตามคำพิพากษาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองแบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นตัวทรัพย์ได้แต่วิธีการแบ่งที่ดินพิพาทในชั้นบังคับคดีนั้นถ้าคู่ความไม่ตกลงกันก็ให้ประมูลราคากันเองระหว่างคู่ความก่อนถ้าไม่ตกลงก็ให้ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันตามส่วนตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1364ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ติดต่อจำเลยทั้งสองให้แบ่งที่ดินพิพาทแล้วแต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมแบ่งทั้งยังขัดขวางการแบ่งโจทก์จึงขอให้ศาลตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีนำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินแบ่งปันกันตามส่วนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนเพื่อฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งว่าในการแบ่งที่ดินพิพาทคู่ความตกลงหรือประมูลราคาระหว่างกันเองได้หรือไม่ก่อนที่จะออกหมายบังคับคดีตามคำขอของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างขนส่งน้ำมัน: การผิดสัญญา, การบอกเลิกสัญญา, และอายุความฟ้องร้องค่าเสียหาย
สัญญาว่าจ้างได้ตกลงกันให้จำเลยต้องให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันไม่น้อยกว่าเดือนละสองหรือสามเที่ยวมีกำหนดเวลาแน่นอน เป็นสาระสำคัญและเป็นเงื่อนไขอย่างหนึ่งของสัญญา เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเพียงเที่ยวเดียว โดยไม่ให้โจทก์บรรทุกผลิตภัณฑ์น้ำมันเดือนละสองหรือสามเที่ยวภายในกำหนดเวลา ถือได้ว่าจำเลยประพฤติผิดเงื่อนไขตามที่ระบุไว้ในสัญญาแล้ว โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาหลังจากขนส่งน้ำมันให้จำเลยเสร็จเที่ยวแรกแล้ว 3 เดือนเศษ การบอกเลิกสัญญาว่าจ้างของโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยว่าจ้างโจทก์ภายในระยะเวลาที่กำหนดอีกเพราะเป็นการบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 388 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาคือการที่จำเลยผิดสัญญาที่ไม่ว่าจ้างโจทก์ให้บรรทุกน้ำมัน และคำขอบังคับคือค่าเสียหายที่โจทก์ขอให้ชดใช้ ส่วนที่ว่าโจทก์คิดค่าเสียหายมาอย่างไร เป็นรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม การฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์ที่จะพึงได้เป็นค่าเสียหายของโจทก์ไม่อยู่ในกำหนดอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (3) เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์การยืมวัตถุโบราณและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่2รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่1โดยจำเลยที่2ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่1ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่1ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้วซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์จริงหรือไม่ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงิน225,000บาทนับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือตั้งแต่วันที่10มกราคม2535ถึงวันฟ้องเป็นเงิน32,250บาทรวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน257,250บาทและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน225,000บาทอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วยเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน50,000ฟรังก์ฝรั่งเศสหรือเงินไทย257,250บาทแก่โจทก์แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน32,250บาทอันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่10มกราคม2535ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน225,000บาทมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้วดังนั้นแม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน225,000บาทอัตราร้อยละ7.5ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วยแต่โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(3)ประกอบด้วยมาตรา246เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่1ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5ต่อปีในต้นเงิน225,000บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่1ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายจากความรับผิดในสัญญาและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 1 ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์จริงหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน225,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 32,250 บาท รวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน257,250 บาท และโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน 50,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส หรือเงินไทย257,250 บาท แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน 32,250 บาท อันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน 225,000 บาทมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ดังนั้น แม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาทอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วย แต่โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(3) ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 225,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยศาลอุทธรณ์และการบังคับดอกเบี้ยตามฟ้อง แม้ไม่ได้ขอในอุทธรณ์
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1 ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 1 ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณไปจากโจทก์จริงหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน225,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 32,250 บาท รวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน 257,250 บาทและโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน 50,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส หรือเงินไทย257,250 บาท แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน 32,250บาท อันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน225,000 บาท มาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ดังนั้น แม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วย แต่โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 142 (3)ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควร ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 225,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของผู้รับขนส่งสินค้าต่อความเสียหายสินค้าที่เกิดขึ้นจากการดูแลรักษาที่ไม่ดีพอ
การขนส่งสินค้าพิพาทเป็นการขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย (CY/CY)ซึ่งผู้ส่งรับตู้สินค้าไปบรรจุ ตรวจนับสินค้าเข้าตู้ ผนึกดวงตราที่บานประตูตู้สินค้าและส่งมอบตู้สินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ ลานวางตู้สินค้าโดยผู้ขนส่งมิได้เกี่ยวข้องกับการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า คงมีหน้าที่ขนส่งตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าโดยผู้ส่งมายังจุดหมายปลายทางคือท่าเรือกรุงเทพตามที่ตกลงกันดังระบุไว้ในใบตราส่ง และส่งมอบตู้สินค้าที่ขนส่งให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ณ ลานพักสินค้าของจำเลยที่ 3เพื่อให้โจทก์ผู้นำเข้าทำพิธีการทางศุลกากรและดำเนินพิธีการออกสินค้าต่อไป ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่มีหน้าที่ที่จะต้องนำสินค้าที่ขนส่งไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งแต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้รับตราส่งที่จะต้องมารับสินค้าดำเนินพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการดูแลสินค้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือของจำเลยที่ 1และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้นำตู้สินค้าพิพาทไปเก็บไว้ที่ลายพักสินค้าหน้าโรงพักสินค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1ผู้ขนส่งได้มอบตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้วแม้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตัวแทนเรือจะมิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 3 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งมอบและรับมอบตู้สินค้าที่ขนถ่ายจากเรือเดินทะเลต่างประเทศโดยมิได้มอบตู้สินค้าให้แผนกโรงพักสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้ใส่กุญแจให้มั่นคงแข็งแรงก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์ที่เป็นจริงและที่ปฏิบัติต่อกันถือว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้มอบตู้สินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้รับตู้สินค้าพิพาทไว้ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งโจทก์ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำสินค้าบุหรี่ออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต่อไปดังนี้ตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าจึงไม่ใช่ยังอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และถือว่าจำเลยที่ 1ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทำไว้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งกับผู้ส่ง ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งครบถ้วนแล้วหน้าที่การขนส่งสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง แม้ต่อมาสินค้าจะสูญหายไป จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบเนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และมิใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 623 มาปรับใช้ให้จำเลยที่ 1รับผิดเพราะมาตรา 623 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งเสียก่อน และเมื่อโจทก์ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปโดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของผู้ขนส่งที่เกิดขึ้นแล้วจึงสิ้นสุดลง สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือและโจทก์ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน การที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งนำตู้สินค้าขนถ่ายลงจากเรือแล้วนำมาเก็บไว้ที่ลายโรงพักสินค้าภายในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 เป็นวิธีการที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของจำเลยที่ 3และของเจ้าพนักงานศุลกากร และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าดังกล่าวซึ่งรวมถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นด้วย จนกว่าจะมีการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกไปจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 และการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกจากอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ท่าเรือของจำเลยที่ 3 ก่อน รวมทั้งจำเลยที่ 3 เรียกเก็บค่าภาระซึ่งหมายถึงค่าฝากสินค้าจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และโจทก์ต้องชำระก่อนนำตู้สินค้าหรือสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3ซึ่งในกรณีคดีนี้จำเลยที่ 3 ก็ได้เรียกเก็บค่าภาระ จากโจทก์และโจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ไปแล้ว ต้องถือว่าตู้สินค้าที่เก็บไว้ที่ลานพักสินค้าในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3อยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ตู้สินค้า รวมทั้งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าซึ่งนำมาเก็บรักษาไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยก็เป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่จะหามาตรการที่เหมาะสมมาดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นเอง ดังนั้นเมื่อสินค้าบุหรี่พิพาทที่บรรจุในตู้สินค้าที่จำเลยที่ 3 รับควบคุมดูแลรักษาสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรมและจำนวนสินค้าบุหรี่ที่สูญหายไปมีจำนวนมาก ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์จะถูกโจรกรรมไปเป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าละเลยต่อหน้าที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลรักษา อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้าและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมไปถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้านั้นด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์สูญหายไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 ที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่ามีพนักงานของจำเลยที่ 2 ช่วยดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าด้วยก็มิอาจปัดความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้รับสินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าให้พ้นไปได้ ดังนี้จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 สำหรับค่าขาดกำไรที่โจทก์เรียกร้อง โดยคำนวณจากราคาสินค้าที่ขายหักด้วยจำตนวนต้นทุนสินค้า ได้ความว่าโจทก์ขาดกำไรไปตามจำนวนที่ฟ้องและนำสืบจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องราคาสินค้าที่สูญหายไปซึ่งเป็นราคาของสินค้าในขณะที่มาถึงท่าเรือกรุงเทพแต่โจทก์เรียกกำไรที่ได้จากการขายสินค้าดังกล่าว ดังนั้นจึงต้องนำค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้ามาพิจารณาประกอบด้วย และเมื่อคู่ความมิได้มีการนำสืบถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในข้อนี้ให้รับฟังได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดตามที่เห็นสมควร หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและในมาตรา 224 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในหนี้เงินในระหว่างผิดนัดไว้ร้อยละ 7.5 ต่อปี โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น ที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารอันเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าบุหรี่ที่โจทก์ซื้ออยู่แล้ว ดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียแก่ธนาคารในเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารที่ได้ชำระราคาสินค้าบุหรี่ไป จึงมิใช่เหตุโดยตรงจาก การ กระทำละเมิดที่โจทก์จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1912/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้ดูแลสินค้าเมื่อสินค้าสูญหายจากการโจรกรรมในท่าเรือ
การขนส่งสินค้าพิพาทเป็นการขนส่งระบบ ซีวาย/ซีวาย (CY/CY)ซึ่งผู้ส่งรับตู้สินค้าไปบรรจุ ตรวจนับสินค้าเข้าตู้ ผนึกดวงตราที่บานประตูตู้สินค้าและส่งมอบตู้สินค้าแก่ผู้ขนส่ง ณ ลานวางตู้สินค้าโดยผู้ขนส่งมิได้เกี่ยวข้องกับการบรรจุและตรวจนับสินค้าเข้าตู้สินค้า คงมีหน้าที่ขนส่งตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าโดยผู้ส่งมายังจุดหมายปลายทางคือท่าเรือกรุงเทพตามที่ตกลงกันดังระบุไว้ในใบตราส่ง และส่งมอบตู้สินค้าที่ขนส่งให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 3 ณ ลานพักสินค้าของจำเลยที่ 3เพื่อให้โจทก์ผู้นำเข้าทำพิธีการทางศุลกากรและดำเนินพิธีการออกสินค้าต่อไป ดังนี้เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่มีหน้าที่ที่จะต้องนำสินค้าที่ขนส่งไปมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่ง แต่เป็นหน้าที่ของโจทก์ผู้รับตราส่งที่จะต้องมารับสินค้า ดำเนินพิธีการทางศุลกากรและนำสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 รวมทั้งชำระค่าธรรมเนียมการดูแลสินค้าของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 3
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือของจำเลยที่ 1 และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้นำตู้สินค้าพิพาทไปเก็บไว้ที่ลานพักสินค้าหน้าโรงพักสินค้าของจำเลยที่ 3 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งได้มอบตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว แม้จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ตัวแทนเรือจะมิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยที่ 3 เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งมอบและรับมอบตู้สินค้าที่ขนถ่ายจากเรือเดินทะเลต่างประเทศโดยมิได้มอบตู้สินค้าให้แผนกโรงพักสินค้าเป็นลายลักษณ์อักษรและมิได้ใส่กุญแจให้มั่นคงแข็งแรงก็ตาม แต่เมื่อตามพฤติการณ์ที่เป็นจริงและที่ปฏิบัติต่อกันถือว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้มอบตู้สินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 ได้รับตู้สินค้าพิพาทไว้ในความดูแลของจำเลยที่ 3 แล้ว ซึ่งโจทก์ผู้นำเข้าต้องขออนุญาตนำสินค้าบุหรี่ออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต่อไป ดังนี้ตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าจึงไม่ใช่ยังอยู่ในความครอบครองดูแลของจำเลยที่ 1 และที่ 2 และถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเลที่ทำไว้ระหว่างจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งกับผู้ส่ง ตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งครบถ้วนแล้ว หน้าที่การขนส่งสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลง แม้ต่อมาสินค้าจะสูญหายไป จำเลยที่ 1ผู้ขนส่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบ เนื่องจากสินค้ามิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของผู้ขนส่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และมิใช่กรณีที่จะนำ ป.พ.พ.มาตรา 623 มาปรับใช้ให้จำเลยที่ 1 รับผิดเพราะมาตรา 623เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งเสียก่อน และเมื่อโจทก์ผู้รับตราส่งรับมอบสินค้าไปโดยไม่อิดเอื้อน ความรับผิดของผู้ขนส่งที่เกิดขึ้นแล้วจึงสิ้นสุดลง
สำหรับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนเรือและโจทก์ฟ้องให้รับผิดในฐานะเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้าย เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแล้ว จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเช่นกัน
การที่จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งนำตู้สินค้าขนถ่ายลงจากเรือแล้วนำมาเก็บไว้ที่ลานโรงพักสินค้าภายในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 เป็นวิธีการที่ต้องปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของจำเลยที่ 3 และของเจ้าพนักงานศุลกากร และจำเลยที่ 3 ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าดังกล่าวซึ่งรวมถึงสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นด้วย จนกว่าจะมีการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกไปจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 และการนำตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าออกจากอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 ต้องได้รับอนุญาตและตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ท่าเรือของจำเลยที่ 3 ก่อน รวมทั้งจำเลยที่ 3 เรียกเก็บค่าภาระซึ่งหมายถึงค่าฝากสินค้าจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า และโจทก์ต้องชำระก่อนนำตู้สินค้าหรือสินค้าออกจากท่าเรือของจำเลยที่ 3 ซึ่งในกรณีคดีนี้จำเลยที่ 3 ก็ได้เรียกเก็บค่าภาระ จากโจทก์ และโจทก์ได้ชำระให้แก่จำเลยที่ 3 ไปแล้ว ต้องถือว่าตู้สินค้าที่เก็บไว้ที่ลานพักสินค้าในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3 อยู่ในความควบคุมดูแลและรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงมีหน้าที่ที่จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยแก่ตู้สินค้า รวมทั้งสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าซึ่งนำมาเก็บรักษาไว้ในอาณาบริเวณท่าเรือของจำเลยที่ 3
ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุในตู้อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยก็เป็นภาระหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่จะหามาตรการที่เหมาะสมมาดำเนินการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการสูญหายหรือเสียหายแก่ตู้สินค้าหรือสินค้าที่บรรจุอยู่ในตู้สินค้านั้นเอง ดังนั้นเมื่อสินค้าบุหรี่พิพาทที่บรรจุในตู้สินค้าที่จำเลยที่ 3 รับควบคุมดูแลรักษาสูญหายไป เพราะถูกโจรกรรมและจำนวนสินค้าบุหรี่ที่สูญหายไปมีจำนวนมาก ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์จะถูกโจรกรรมไปเป็นจำนวนมากเช่นนี้ แสดงว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าละเลยต่อหน้าที่มิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการดูแลรักษา อันเป็นการงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันการโจรกรรมสินค้าและเป็นผลโดยตรงที่ทำให้สินค้าของโจทก์ถูกโจรกรรมไปถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้านั้นด้วยความประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสินค้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 420 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ในการที่สินค้าบุหรี่ของโจทก์สูญหายไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 76 ที่จำเลยที่ 3นำสืบว่ามีพนักงานของจำเลยที่ 2 ช่วยดูแลความปลอดภัยของตู้สินค้าด้วย ก็มิอาจปัดความรับผิดชอบของจำเลยที่ 3 ที่มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้รับสินค้าและสินค้าที่บรรจุในตู้สินค้าให้พ้นไปได้ ดังนี้ จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 3 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 438
สำหรับค่าขาดกำไรที่โจทก์เรียกร้อง โดยคำนวณจากราคาสินค้าที่ขายหักด้วยจำนวนต้นทุนสินค้า ได้ความว่าโจทก์ขาดกำไรไปตามจำนวนที่ฟ้องและนำสืบจริง แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้เรียกร้องราคาสินค้าที่สูญหายไปซึ่งเป็นราคาของสินค้าในขณะที่มาถึงท่าเรือกรุงเทพ แต่โจทก์เรียกกำไรที่ได้จากการขายสินค้าดังกล่าวดังนั้นจึงต้องนำค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ซึ่งโดยปกติย่อมเกิดขึ้นจากการจำหน่ายสินค้ามาพิจารณาประกอบด้วย และเมื่อคู่ความมิได้มีการนำสืบถึงค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในข้อนี้ให้รับฟังได้ ศาลจึงมีอำนาจกำหนดตามที่เห็นสมควร
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิดและในมาตรา 224 ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในหนี้เงินในระหว่างผิดนัดไว้ร้อยละ7.5 ต่อปี โจทก์จึงชอบที่จะเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเท่านั้น
ที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคารอันเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนดนั้น เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าบุหรี่ที่โจทก์ซื้ออยู่แล้ว ดังนั้นดอกเบี้ยที่โจทก์ต้องเสียแก่ธนาคารในเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อธนาคารที่ได้ชำระราคาสินค้าบุหรี่ไป จึงมิใช่เหตุโดยตรงจากการกระทำละเมิดที่โจทก์จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งจากการละเมิดสิทธิบัตร: ตัวการร่วมกระทำความผิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและฐานร่วมกันขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยรู้อู่แล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ. 2522 มาตรา 85 และ 86 คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ด้วยกัน โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ผลิตเครื่องผลิตก๊าซจากแกลบสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามกรรมวิธีการประดิษฐ์ของโจทก์ซึ่งตรงกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1กระทำความผิดอันเป็นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันในคดีละเมิดสิทธิบัตร: การเชื่อมโยงคำพิพากษาคดีอาญากับความรับผิดทางแพ่ง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่2และจำเลยที่1ฐานร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและฐานร่วมกันขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยรู้อู่แล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ.2522มาตรา85และ86คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา83ด้วยกันโจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ผลิตเครื่องผลิตก๊าซจากแกลบสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามกรรมวิธีการประดิษฐ์ของโจทก์ซึ่งตรงกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวการพิพากษาคดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่2ได้ร่วมกับจำเลยที่1กระทำความผิดอันเป็นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ต่อโจทก์ด้วยจำเลยที่2จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์
of 62