พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1911/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางแพ่งจากการละเมิดสิทธิบัตร: ตัวการร่วมกระทำความผิดต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 1 ฐานร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายและฐานร่วมกันขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยรู้อู่แล้วว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์โดยไม่มีสิทธิตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตรพ.ศ. 2522 มาตรา 85 และ 86 คดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้ว เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ด้วยกัน โจทก์มาฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ว่าจำเลยทั้งสองได้ผลิตเครื่องผลิตก๊าซจากแกลบสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามกรรมวิธีการประดิษฐ์ของโจทก์ซึ่งตรงกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ ซึ่งเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1กระทำความผิดอันเป็นการกระทำละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ต่อโจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1547/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกระทบต่อการฟ้องคดีอาญาหรือไม่ และการลงโทษตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท
การตรวจค้นการจับกุมและการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกันหากการตรวจค้นและจับกุมมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหากเมื่อคดีนี้มีการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามกฎหมายแล้วแม้การตรวจค้นและจับกุมมีปัญหาว่าอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หากระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่ทั้งจำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่นๆอีกจึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องนั้นชอบแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เท่าใดจึงลงโทษตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา106ทวิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของนามทางการค้า: การคุ้มครองชื่อ 'โตราย่า' จากการใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและการแสวงหาผลประโยชน์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา18ให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามอันชอบที่จะใช้ได้ที่ต้องเสื่อมเสียประโยชน์เพราะการที่บุคคลอื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้รับอนุญาตให้ใช้ในอันที่จะเรียกให้บุคคลอื่นนั้นระงับความเสียหายได้ถ้าและพึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปจะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้โจทก์ใช้ชื่อ"โตราย่า"มาตั้งแต่ปี2496แม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน4ปีแล้วแต่โจทก์ก็ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ฉะนั้นการที่จำเลยทั้งสี่ใช้ชื่อ"โตราย่า"ของโจทก์โดยโจทก์ไม่อนุญาตจึงเป็นเจตนาแสวงหาผลประโยชน์จากชื่อของโจทก์ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยที่1หรือจำเลยที่1เป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทยโจทก์จึงมีสิทธิห้ามจำเลยที่1ระงับการใช้ชื่อ"โตราย่า"ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1516/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสิทธิในเครื่องจักรและชื่อทางการค้า: สัญญาลงทุน, ค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์, การคุ้มครองชื่อทางการค้า
เครื่องจักรผลิตน้ำผลไม้พร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องเป็นของโจทก์และโจทก์ส่งมาให้จำเลยทั้งสี่เพื่อร่วมลงทุน เมื่อจำเลยทั้งสี่ไม่ให้โจทก์เข้าร่วมลงทุนในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามที่ตกลงกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาต้องคืนเครื่องจักรพร้อมอุปกรณ์ตามฟ้องให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทนและเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยส่งคืน จำเลยปฏิเสธ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้ทรัพย์ได้ จนถึงวันที่จำเลยส่งมอบเครื่องจักรหรือใช้ราคาทรัพย์แก่โจทก์
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่าง ๆ เมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับ ว. โจทก์อนุญาตให้ ว.จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้ว ส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศ โดยโจทก์ยอมให้ ว.ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า "โตราย่า" ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน 4 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ระงับการใช้ชื่อ "โตราย่า" ของโจทก์ได้
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2496ประกอบธุรกิจผลิตน้ำผลไม้และขนมต่าง ๆ เมื่อโจทก์ตกลงร่วมทุนกับ ว. โจทก์อนุญาตให้ ว.จดทะเบียนนิติบุคคลผลิตน้ำผลไม้แล้ว ส่วนใหญ่ส่งไปขายให้แก่ลูกค้าของโจทก์ในต่างประเทศ โดยโจทก์ยอมให้ ว.ใช้ชื่อโตราย่าของโจทก์ได้ก่อนฟ้องโจทก์แจ้งให้จำเลยระงับการใช้ชื่อคำว่า "โตราย่า" ของโจทก์แล้วแม้โจทก์จะเลิกผลิตน้ำผลไม้มานาน 4 ปีแล้ว แต่เมื่อโจทก์ยังให้คนอื่นผลิตโดยใช้ชื่อโจทก์ การที่จำเลยมีเจตนาแสวงหาประโยชน์จากชื่อของโจทก์ ทำให้ลูกค้าของโจทก์สับสนว่าโจทก์เกี่ยวข้องกับจำเลยหรือจำเลยเป็นสาขาของโจทก์ในประเทศไทย โจทก์ย่อมมีสิทธิห้ามจำเลยที่ 1 ระงับการใช้ชื่อ "โตราย่า" ของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1418/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลเมื่อเกิดความเสียหายต่อสินค้า โดยพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับ ณ เวลาทำสัญญา
สัญญารับขนสินค้าพิพาททำขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2534ซึ่งในวันดังกล่าว พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับแม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ในวันที่ 20 มกราคม 2536 หลังจากที่ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับแล้ว ในการพิจารณาถึงสิทธิเรียกร้องและความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของสินค้าที่ขนส่งทางทะเล จึงต้องนำเอากฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญามาปรับใช้แก่คดี เพราะหากนำเอาพ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ซึ่งมีผลใช้บังคับในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีมาปรับใช้แก่คดีแล้วย่อมเป็นช่องทางให้คู่กรณีเลือกใช้กฎหมายที่จะปรับแก่คดีได้ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง กรณีจึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8หมวด 1 ว่าด้วยรับขนของ ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นมาปรับใช้แก่คดีตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 609 วรรคสองและมาตรา 4 วรรคสอง
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์
บริษัท บ.ผู้ขายได้ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ขนส่งสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 มีตัวแทนในประเทศไทยชื่อบริษัท ล. และเมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ขายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งมีบริษัท อ.เป็นตัวแทนในประเทศไทยขนส่งสินค้าดังกล่าวจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังกรุงเทพมหานครอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับสินค้าแล้วก็ได้ออกใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้ใช้เรือชื่อ ดาร์ยา ชัน บรรทุกสินค้าจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมายังประเทศไทยและมาถึงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรีแม้ใบตราส่งดังกล่าวในช่องผู้ออกใบตราส่งจะลงนามโดยบริษัท อ.ก็ตาม แต่ก็ปรากฏว่าเป็นการลงนามในฐานะตัวแทนผู้ขนส่งเท่านั้น จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกใบตราส่งดังกล่าว
สัญญาเช่าเรือแม้จะมีข้อความระบุว่าเรืออยู่ในอำนาจการสั่งการของผู้เช่าเรือ แต่ในสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุให้เจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2มีหน้าที่จัดเรือให้ พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ประจำเรือ กะลาสี ช่างกล ช่างไฟ ซึ่งเพียบพร้อมสำหรับเรือในขณะนั้น และเจ้าของเรือจะจัดหาและจ่ายค่าเสบียงอาหารทั้งหมด ค่าจ้างและค่าธรรมเนียมกงสุลเกี่ยวกับเรือและค่าขนถ่ายสินค้าสำหรับลูกเรือและในสัญญาเช่าเรือข้อ 8 ก็กำหนดไว้ว่าผู้เช่าเรือทำการบรรทุก จัดเรียงและทำให้เรือสมดุล การผูกรัดสินค้าและการปลดเปลื้อง การตรึงแน่น การปลดจาก การตรึง...ภายใต้การควบคุมดูแลและรับผิดชอบของนายเรือ ซึ่งตามข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นเจ้าของเรือยังมีอำนาจในการควบคุมเรือและเป็นผู้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกเรือ นอกจากนั้นตามข้อตกลงสัญญาเช่าเรือ ข้อ 44 ที่ระบุว่านายเรือจะลงนามในใบตราส่งสำหรับสินค้าทั้งหมดที่ได้ขนภายใต้สัญญาเช่าเรือนี้ถ้าผู้เช่าเรือขอร้องหรือผู้เช่าเรือต้องการ ผู้เช่าเรือหรือผู้ตัวแทนของเขาได้รับมอบอำนาจไว้ ณที่นี้ในการลงนามใบตราส่ง ในนามของเจ้าของเรือหรือนายเรือ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า ตามข้อตกลงดังกล่าวแสดงว่าการออกใบตราส่งนายเรือเป็นผู้ลงนามในใบตราส่งตามคำขอของผู้เช่าเรือ และในกรณีที่ผู้เช่าเรือหรือตัวแทนได้รับมอบอำนาจให้ออกใบตราส่ง การออกใบตราส่งนั้นต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้า เห็นได้ว่าการออกใบตราส่งตามข้อตกลงดังกล่าวเป็นการออกใบตราส่งในนามของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 และต้องเป็นไปตามใบรับรองของนายเรือหรือใบรายการตรวจนับสินค้ามิใช่ผู้เช่าเรือจะออกใบตราส่งในนามของตนเองหรือตามอำเภอใจได้ ซึ่งแสดงให้เห็นสถานะของเจ้าของเรือคือจำเลยที่ 2 ตามสัญญาเช่าเรือดังกล่าวว่ายังรับผิดชอบในการเดินเรือ การขนส่งสินค้ารวมทั้งการออกใบตราส่งเท่ากับจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าในเรือนั้นด้วย หาใช่เป็นเรื่องที่บริษัท อ.เป็นผู้ออกใบตราส่งในนามของตนเองและต้องรับผิดตามเนื้อความในใบตราส่งโดยลำพังไม่ และการออกใบตราส่งซึ่งมีชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งเช่นนี้หากสินค้าที่ขนส่งสูญหายหรือเสียหายไป จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ออกใบตราส่งก็ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งตามเนื้อความในใบตราส่งนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทนี้ด้วย
เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทด้วยแล้ว แม้สินค้าพิพาทจะมิได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 2 ก็ตาม แต่สินค้าพิพาทได้สูญหายไปในระหว่างการขนส่งของจำเลยที่ 3 จากเรือดาร์ยา ชัน ของจำเลยที่ 2 จากเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขนส่งของทางทะเลเพื่อนำมาส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่ง ณ ท่าเรือกรุงเทพซึ่งเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าตามที่ระบุไว้ในใบตราส่งและเป็นสถานที่ส่งมอบของให้แก่ผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นผู้ขนส่งด้วยทอดหนึ่งจึงต้องร่วมรับผิดในการที่สินค้าที่ขนส่งสูญหายไปด้วย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 616 ประกอบมาตรา 618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ขณะทำสัญญารับขนคดีนี้ พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเลพ.ศ.2534 ยังมิได้มีผลบังคับ จึงมิอาจนำกฎหมายดังกล่าวมาใช้ให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ได้ และเมื่อความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต้องปรับใช้ ป.พ.พ.บรรพ 3 ลักษณะ 8 หมวด 1 ว่าด้วยการรับขนของอันเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งแล้วและ ป.พ.พ.มาตรา 616 มิได้บัญญัติจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท ของน้ำหนักสุทธิดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มาตรา 48 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในค่าเสียหายเต็มจำนวนแห่งความเสียหายที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้องและนำสืบ
เมื่อจำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในความเสียหายต่อบริษัท ส.และโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายของสินค้าพิพาทที่สูญหายไปให้แก่บริษัท ส. ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยไปแล้วเป็นเงิน 409,665 บาท โจทก์ย่อมรับช่วงสิทธิจากบริษัท ส.ผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 2ได้ จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบริษัทใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิการใช้ชื่อบริษัทและการพิสูจน์ความสุจริต
คำว่าโตเกียวออฟติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่1จดทะเบียนไว้และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1นี้เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอลจำกัดที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่พ.ศ.2497มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่งเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกงและไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทที่่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วยเช่นบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ฮ่องกง) จำกัดต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่1ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่าโตเกียวอ๊อพติคอล(ไทยแลนด์)คัมปะนีลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3คนคือจำเลยที่2ถึงที่4ชาวไทย4คนคือจำเลยที่5ถึงที่8หลังจากจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้วจำเลยที่1ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมาการค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่พ.ศ.2497ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัดเมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526หลายปีการที่จำเลยที่1นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่1เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายจึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่1จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1จำเลยที่1ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ประเทศไทย จำกัดโดยสุจริตจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบโจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่1จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1 จำเลยที่1ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่1จึงมี2ฐานะหากจำเลยที่1จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่่1ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการแต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จำเลยที่1จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้ โจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออฟติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปีต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526ก่อนที่จำเลยที่1จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่18มีนาคม2535ประมาณ9ปีการที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้วโจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมาทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ10ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบจำเลยที่1จึงไม่่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิในการใช้ชื่อบริษัทและการจดทะเบียนโดยสุจริต
คำว่า โตเกียวออพติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนไว้ และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 นี้ เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัด ที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ พ.ศ.2497 มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น ที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกง และไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วย เช่น บริษัทโตเกียวออพติคอล (ฮ่องกง) จำกัด ต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า (ประเทศไทย) ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่ 1 ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด ทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่า โตเกียวอ๊อพติคอล (ไทยแลนด์) คัมปะนี ลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3 คน คือจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ชาวไทย 4 คน คือจำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 หลังจากจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้ว จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมา การค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่ 1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่ พ.ศ.2497 ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่า บริษัทโตเกียวออพติคอล จำกัด เมื่อวันที่ 7พฤศจิกายน 2526 หลายปี การที่จำเลยที่ 1 นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่ 1 เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า (ประเทศไทย)ต่อท้าย จึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่ 1 จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล (ประเทศไทย) จำกัด โดยสุจริต จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบ โจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่ 1 ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ไม่ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่ 1
จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่ 1 จึงมี 2 ฐานะ หากจำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการ แต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้
โจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปี ต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2526ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2535ประมาณ 9 ปี การที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้ว โจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมา ทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ 10 ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้
จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่ 1 จึงมี 2 ฐานะ หากจำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่ 1 ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการ แต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้
โจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปี ต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2526ก่อนที่จำเลยที่ 1 จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2535ประมาณ 9 ปี การที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น หลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้ว โจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมา ทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ 10 ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบ จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อ โตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 829/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำกัดสิทธิการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อศาลอุทธรณ์ลดโทษจำคุก และพิพากษาแก้ไขเล็กน้อย
ศาลอุทธรณ์ภาค3เพียงแต่ลดโทษประหารชีวิตจำเลยทั้งสามลงเหลือจำคุกตลอดชีวิตเนื่องจากจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค3พิพากษาแก้ไขเพียงเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยเกิน5ปีจึงต้องห้ามมิให้โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงการที่โจทก์และโจทก์ร่วมฎีกาขอไม่ให้ลดโทษเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค3ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมส่งเสริมการพาณิชยนาวี: ผู้ส่งของต้องชำระหากใช้เรือต่างชาติ พร้อมดอกเบี้ย
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชย*นาวีพ.ศ.2521เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชย*นาวีโจทก์เป็นพิเศษที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาลแต่พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่อย่างใดเมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยไม่ชำระจึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในอันที่จะได้รับชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยจากจำเลยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55 กฎกระทรวงคมนาคมฉบับที่3(พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯข้อ1กำหนดให้ของที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการองค์การของรัฐหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจสั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามสัญญาโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ต้องบรรทุกโดยเรือไทยทั้งนี้ไม่ว่าบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญานั้นจะเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาเองหรือโดยผ่านทางตัวแทนหรือผู้รับจัดการขนส่งดังนั้นเมื่อเส้นทางเดินเรือจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทยเป็นเส้นทางเดินเรือที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนของได้ตามประกาศกระทรวงคมนาคมแม้บริษัทไทยเดินเรือทะเลจะเป็นผู้จัดการขนส่งกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทก็ตามแต่เมื่อเรือซึ่งบรรทุกกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทจากประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบในประเทศไทยมิใช่เรือไทยจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานยาสูบซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนกระดาษมวนบุหรี่นั้นตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมาตรา22 พระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมาตรา22วรรคสามให้ถือว่าภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ผู้ส่งของส่งของโดยเรืออื่นและเมื่อถึงกำหนดชำระแล้วมิได้เสียให้ถือว่าเป็นค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระและกฎกระทรวงคมนาคมฉบับที่3(พ.ศ.2527)ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯลงวันที่7มิถุนายน2527ข้อ4กำหนดให้ผู้ซึ่งต้องชำระค่าธรรมเนียมพิเศษนำเงินมาชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เรือซึ่งขนของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อพ้นกำหนดชำระแล้วหากยังไม่ชำระให้คิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นจำเลยในฐานะผู้ส่งของและคู่สัญญาผู้ขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบจึงมีภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ส่งของและมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เรือเข้ามาในราชอาณาจักรเมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษจนพ้นกำหนดชำระแล้วจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นให้แก่โจทก์ด้วย สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34(3)ซึ่งมีอายุความ2ปีนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสารเรียกเอาค่าโดยสารค่าระวางค่าเช่าค่าธรรมเนียมรวมทั้งที่ได้ออกทดรองไปอายุความดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่คดีนี้และที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/31กำหนดให้สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความสิบปีส่วนสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาหนี้อย่างอื่นให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้นั้นแม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าธรรมเนียมพิเศษตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพาณิชยนาวีฯมิใช่สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรก็ตามแต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมส่งเสริมการพาณิชยนาวี: สิทธิเรียกร้อง, อายุความ, และภาระการชำระดอกเบี้ย
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521มาตรา 23 เป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์เป็นพิเศษที่จะสั่งยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล แต่ พ.ร.บ.ดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องผู้ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษตาม ป.วิ.พ.แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าจำเลยต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยไม่ชำระ จึงเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในอันที่จะได้รับชำระค่าธรรมเนียมพิเศษพร้อมดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55
จำเลยทำสัญญาขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบแล้วจำเลยสั่งซื้อกระดาษมวนบุหรี่จากบริษัท จ.ที่ประเทศญี่ปุ่นและใช้เรือขนส่งกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นมาส่งมอบให้โรงงานยาสูบที่ประเทศไทย จำเลยจึงเป็นเจ้าของกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวซึ่งนำกระดาษมวนบุหรี่มาจากต่างประเทศโดยทางทะเล อันเป็นผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4
จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานยาสูบและเป็นผู้ส่งของตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4 ใช้เรือ ว.ซึ่งมิใช่เรือไทยในการบรรทุกนำกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบโดยเสียค่าระวางการรับขนเป็นเงิน 698,745.24 บาทจำเลยจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนของคือกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521มาตรา 22 เป็นเงิน 1,397,490.48 บาท
กฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ข้อ 1 กำหนดให้ของที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ต้องบรรทุกโดยเรือไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น จะเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาเอง หรือโดยผ่านทางตัวแทนหรือผู้รับจัดการขนส่ง ดังนั้น แม้บริษัท ท.เป็นผู้รับจัดการขนส่งกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาท แต่เมื่อปรากฏว่า เรือ ว.ซึ่งบรรทุกกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบในประเทศไทยมิใช่เรือไทย จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา22 วรรคสาม และกฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2527 ข้อ 4จำเลยในฐานะผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวีพ.ศ.2521 และคู่สัญญาผู้ขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ส่งของคือกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทโดยเรือ ว.และมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่เรือว.เข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวจนพ้นกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นให้แก่โจทก์ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 1,397,490.48บาท นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินต้นแล้วเสร็จ
สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (3) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปอายุความดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่คดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22 นี้
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าธรรมเนียมพิเศษตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มิใช่สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30
จำเลยทำสัญญาขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบแล้วจำเลยสั่งซื้อกระดาษมวนบุหรี่จากบริษัท จ.ที่ประเทศญี่ปุ่นและใช้เรือขนส่งกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นมาส่งมอบให้โรงงานยาสูบที่ประเทศไทย จำเลยจึงเป็นเจ้าของกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวซึ่งนำกระดาษมวนบุหรี่มาจากต่างประเทศโดยทางทะเล อันเป็นผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4
จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานยาสูบและเป็นผู้ส่งของตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 4 ใช้เรือ ว.ซึ่งมิใช่เรือไทยในการบรรทุกนำกระดาษมวนบุหรี่ดังกล่าวจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบโดยเสียค่าระวางการรับขนเป็นเงิน 698,745.24 บาทจำเลยจึงต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนของคือกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521มาตรา 22 เป็นเงิน 1,397,490.48 บาท
กฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ข้อ 1 กำหนดให้ของที่บุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ สั่งหรือนำเข้ามาจากต่างประเทศเพื่อปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวโดยทางเรือในเส้นทางที่มีเรือไทยเดินอยู่และสามารถให้บริการรับขนได้ต้องบรรทุกโดยเรือไทย ทั้งนี้ ไม่ว่าบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับทางราชการ องค์การของรัฐ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น จะเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาเอง หรือโดยผ่านทางตัวแทนหรือผู้รับจัดการขนส่ง ดังนั้น แม้บริษัท ท.เป็นผู้รับจัดการขนส่งกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาท แต่เมื่อปรากฏว่า เรือ ว.ซึ่งบรรทุกกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทจากเมืองท่าโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่นนำเข้ามาส่งมอบให้โรงงานยาสูบในประเทศไทยมิใช่เรือไทย จำเลยก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมพิเศษเท่ากับสองเท่าของค่าระวางสำหรับการรับขนกระดาษมวนบุหรี่นั้นตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22
ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา22 วรรคสาม และกฎกระทรวงคมนาคม ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2527) ออกตามความใน พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2527 ข้อ 4จำเลยในฐานะผู้ส่งของตามความหมายของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวีพ.ศ.2521 และคู่สัญญาผู้ขายกระดาษมวนบุหรี่ให้โรงงานยาสูบซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีภาระในการเสียค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่จำเลยได้ส่งของคือกระดาษมวนบุหรี่รายพิพาทโดยเรือ ว.และมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมพิเศษมาชำระให้แก่โจทก์ภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่ 21 กันยายน 2530 ซึ่งเป็นวันที่เรือว.เข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งเมื่อจำเลยยังไม่ได้ชำระค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวจนพ้นกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีจากจำนวนเงินค่าธรรมเนียมพิเศษที่ค้างชำระนั้นให้แก่โจทก์ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 1,397,490.48บาท นับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2530 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินต้นแล้วเสร็จ
สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (3) ซึ่งมีอายุความ 2 ปีนั้นเป็นสิทธิเรียกร้องที่ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร เรียกเอาค่าโดยสาร ค่าระวาง ค่าเช่า ค่าธรรมเนียม รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปอายุความดังกล่าวจึงมิได้ใช้บังคับแก่คดีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าธรรมเนียมตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มาตรา 22 นี้
แม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกเอาค่าธรรมเนียมพิเศษตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการพาณิชยนาวี พ.ศ.2521 มิใช่สิทธิเรียกร้องที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความสิบปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30