คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จเร อำนวยวัฒนา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 617 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำเอกสารแสดงเจตจำนงไม่ใช่พินัยกรรม หากมีเจตนาหลอกลวงเพื่อให้เชื่อใจและอยู่กินฉันสามีภริยา
ผู้ตายทำเอกสารมีข้อความในตอนต้นว่า"นายก.(หมายถึงผู้ตาย)สัญญากับนางด. (หมายถึงโจทก์)ว่าไม่มีลูกเมียนางด. จึงอยู่กินฉันสามีภริยาฯลฯถ้ามีลูกเมียเมื่อไหร่ยอมให้ยึดทรัพย์สินของข้าพเจ้าและของแม่ทั้งหมดฯลฯ"อันมีลักษณะเป็นการให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์ว่าผู้ตายไม่มีภริยาและบุตรซึ่งความจริงปรากฏว่าผู้ตายมีบุตรกับจำเลยอยู่ก่อนแล้วการที่ผู้ตายปิดบังความจริงและให้คำมั่นสัญญาแก่โจทก์พฤติการณ์เชื่อได้ว่าผู้ตายมีเจตนาเพียงเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อและอยู่กินเป็นภริยาผู้ตายเท่านั้นหามีเจตนาให้ผูกพันในเรื่องทรัพย์สินไม่แม้เอกสารดังกล่าวจะมีข้อความในตอนท้ายว่า"ฯลฯถ้าข้าพเจ้าตายทรัพย์สินทั้งหมดของข้าพเจ้าและของแม่ให้นางด. เป็นทายาทรับมรดกแต่ผู้เดียวฯลฯ"ก็มีเจตนาสืบเนื่องมาจากเหตุที่จะให้โจทก์หลงเชื่อจึงหามีผลสมบูรณ์เป็นพินัยกรรมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สัตยาบันต่อการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ ย่อมทำให้ไม่สามารถขอเพิกถอนการยึดทรัพย์ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เพื่อบังคับชำระหนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะจำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่ 2 ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่ แต่จำเลยที่ 2 ก็หาได้กระทำไม่ จำเลยที่ 2 กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่ 2 ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว มีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ จำเลยที่ 2 ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบ จึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาล และจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลัง เนื่องจากจำเลยที่ 2 ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบ หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยที่ 2 จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่
ตามคำร้องของจำเลยที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่ 2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้น หากศาลฟังว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่ 2 เสีย กรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลังจำเลยชำระหนี้แล้ว และการให้สัตยาบันต่อการผิดระเบียบ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์และโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่2เพื่อบังคับชำระหนี้เมื่อจำเลยที่2อ้างว่าเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพราะจำเลยที่2ไม่ทราบว่าถูกฟ้องแล้วจำเลยที่2ชอบที่จะขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นซึ่งจะทำให้คำพิพากษารวมทั้งการบังคับคดีอันเนื่องมาจากการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเป็นอันถูกเพิกถอนไปด้วยเพราะศาลจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นใหม่แต่จำเลยที่2ก็หาได้กระทำไม่จำเลยที่2กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าจำเลยที่2ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้วมีความประสงค์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์จำเลยที่2ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบจึงขอถ่ายรายการค่าธรรมเนียมศาลเพื่อนำไปยื่นคำร้องขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมต่อศาลและจะนำค่าธรรมเนียมชำระให้เจ้าพนักงานบังคับคดีภายหลังเนื่องจากจำเลยที่2ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่2ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้วจำเลยที่2จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ ตามคำร้องของจำเลยที่2ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่จำเลยที่2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้นดังนั้นหากศาลฟังว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่2เสียกรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่2เป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการบังคับคดีที่ผิดระเบียบหลังจำเลยให้สัตยาบันต่อการบังคับคดีแล้ว ถือเป็นการสละสิทธิ
การที่จำเลยที่2ยื่นคำร้องอ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและคำบังคับณภูมิลำเนาของจำเลยที่2กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่นั้นมาจึงเป็นการไม่ชอบไม่มีผลตามกฎหมายเป็นกรณีที่จำเลยที่2ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27แต่การเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27วรรคสองบังคับอยู่ในตัวว่าคู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้วหรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นๆปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์แล้วจำเลยที่2กลับยินยอมชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้นให้โจทก์ทั้งยังได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าตนได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ครบถ้วนแล้วขอให้ถอนการยึดและจำเลยที่2ยินดีชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบแต่เมื่อจำเลยที่2ทราบจากเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวมากกว่าหนี้ที่จะต้องรับผิดตามคำพิพากษาจำเลยที่2จึงยื่นคำแถลงนี้ถือได้ว่าก่อนยื่นคำแถลงจำเลยที่2ได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบหลังจากได้ทราบเรื่องผิดระเบียบนั้นแล้วจำเลยที่2จะขอให้เพิกถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ คำร้องขอของจำเลยที่2ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นเป็นกรณีที่ขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบและขอให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมในการยึดทรัพย์ทั้งหมดเท่านั้นหากศาลฟังว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนดังกล่าวก็ชอบที่จะยกคำร้องของจำเลยที่2เสียกรณีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดจะต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายแต่อย่างใดที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้โจทก์รับผิดในค่าธรรมเนียมดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกประเด็นจากคำร้องของจำเลยที่2เป็นการไม่ชอบและปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบมาตรา246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่น แม้กฎหมายแก้ไขภายหลังก็ใช้ไม่ได้
ในการยื่นบัญชีระบุพยานจำเลยจำเลยต้องกระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นบัญชีระบุพยานมิใช่กระทำตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในภายหลังบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นบัญชีระบุพยานคือบทบัญญัติมาตรา88วรรคแรกและวรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดวันชี้สองสถานในวันที่7กรกฎาคม2537จำเลยจึงต้องยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันที่7กรกฎาคมไม่น้อยกว่าสิบห้าวันที่จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเมื่อวันที่22มิถุนายน2537นั้นเป็นการยื่นก่อนวันชี้สองสถานเพียง14วันจึงเป็นการยื่นบัญชีระบุพยานไม่ชอบด้วยบทบัญญัติมาตรา88วรรคแรกดังกล่าวแม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในบัญชีระบุพยานจำเลยว่า"สำเนาให้คู่ความอีกฝ่ายรวมสำนวน16อันดับ"ก็ตามแต่เมื่อต่อมาความปรากฎแก่ศาลชั้นต้นว่าการยื่นบัญชีระบุพยานของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลชั้นต้นก็ย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งที่ได้สั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยไว้โดยไม่ถูกต้องนั้นได้ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ปรากฎว่าคดีนี้จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานคดีไม่มีประเด็นที่สืบพยานจำเลย"นั้นถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้เพิกถอนคำสั่งรับบัญชีระบุพยานของจำเลยซึ่งสั่งโดยไม่ถูกต้องไว้แต่เดิมนั้นโดยปริยายแล้วต้องถือว่าจำเลยไม่ได้ยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่าสิบห้าวันและไม่ปรากฎว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขออ้างพยานหลักฐานเช่นนั้นว่าต่อศาลพร้อมกับบัญชีระบุพยานโดยแสดงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ตามมาตรา88วรรคสี่แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งทั้งกรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87(2)จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานมาสืบแต่อย่างใดที่ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานจำเลยหรือไม่อนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบนั้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สิทธิครอบครองยังอยู่กับผู้ขายจนกว่าจะออกโฉนดและจดทะเบียนโอน
ตามข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ออกโฉนดที่ดินเสียก่อนแล้วจึงจะทำการซื้อขายให้เสร็จเด็ดขาดการออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่จึงเป็นข้อสำคัญการที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขายก็โดยมีความหวังว่าจะสามารถออกโฉนดที่ดินได้เป็นการเข้าไปจัดการล่วงหน้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนซื้อขายไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเด็ดขาดกรณีมิใช่การซื้อขายสิทธิครอบครองโดยให้โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินเอาเองจำเลยจึงยังคงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจนกว่าจะออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ดังนั้นการที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขายย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทและไม่มีอำนาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทแม้จำเลยจะนำรถเข้าไปไถหน้าดินจนเสียหายก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สิทธิครอบครองยังเป็นของจำเลยจนกว่าจะออกโฉนดและจดทะเบียน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยโดยจำเลยมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินและจะทำการโอนต่อเมื่อออกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยจึงเห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ออกโฉนดที่ดินเสียก่อนแล้วจึงจะทำการซื้อขายให้เสร็จเด็ดขาดการที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขายก็โดยมีความหวังว่าจะสามารถออกโฉนดที่ดินได้เป็นการเข้าไปจัดการล่วงหน้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนซื้อขายไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเด็ดขาดกรณีมิใช่การซื้อขายสิทธิครอบครองโดยให้โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินเอาเองซึ่งจะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบและไม่ต้องคืนเงินราคาทั้งยังเห็นได้ชัดจากข้อตกลงในสัญญาว่าถ้าไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ทันในกำหนดจำเลยจะขายที่ดินในอีกโฉนดหนึ่งที่อยู่ติดกันให้แทนในจำนวนเนื้อที่ที่เท่ากันเห็นได้ว่าจำเลยยังคงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจนกว่าจะออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ดังนั้นการที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่มีอำนาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทแม้จำเลยจะนำรถเข้าไปไถหน้าดินจนเสียหายก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินรอออกโฉนด: สิทธิครอบครองยังอยู่กับผู้ขายจนกว่าจะจดทะเบียนได้
ตามข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ออกโฉนดที่ดินเสียก่อน แล้วจึงจะทำการซื้อขายให้เสร็จเด็ดขาด การออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่จึงเป็นข้อสำคัญ การที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขาย ก็โดยมีความหวังว่าจะสามารถออกโฉนดที่ดินได้เป็นการเข้าไปจัดการล่วงหน้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนซื้อขาย ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเด็ดขาด กรณีมิใช่การซื้อขายสิทธิครอบครองโดยให้โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินเอาเอง จำเลยจึงยังคงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจนกว่าจะออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขาย ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท และไม่มีอำนาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะนำรถเข้าไปไถหน้าดินจนเสียหาย ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีข้ามชาติ, สัญญาประนีประนอมยอมความ, เงื่อนไขการชำระหนี้, กฎหมายต่างประเทศ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าบริษัทโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านเป็นบริษัทของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน อ.ผู้ลงนามในหนังสือมอบอำนาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ตั้งแต่พ.ศ.2528กระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านได้รับรองหนังสือมอบอำนาจไว้และได้มีการรับรองโดยสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านด้วยจำเลยมิได้นำสืบโต้แย้งให้เห็นเป็นประการอื่นแม้หนังสือมอบอำนาจจะได้ทำในเมืองต่างประเทศและไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ตามแต่กรณีไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจนั้นไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจนั้นจึงไม่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา47วรรคสามแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแม้ว่าตามหนังสือราชกิจจานุเบกษาของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านประกาศว่าอ.เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์นั้นลงวันที่6มิถุนายน2535ภายหลังที่บุคคลดังกล่าวได้ลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ตามแต่หนังสือราชกิจจานุเบกษาดังกล่าวอ้างถึงการประชุมของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่15ธันวาคม2534ซึ่งแต่งตั้งกรรมการบริษัทโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปเป็นเวลา3ปีอ.ก็เป็นคนหนึ่งที่ได้รับแต่งตั้งมิได้หมายความว่าก่อนหน้านี้อ.มิได้เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์เพราะกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านก็ได้ตรวจลงตรารับรองลายมือชื่อกรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ที่ลงไว้ท้ายหนังสือมอบอำนาจว่าเป็นลายมือชื่อของอ. ก็ตาม คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์ได้บรรยายฟ้องถึงมูลกรณีที่ได้มีการทำสัญญาดังกล่าวระหว่างโจทก์กับจำเลยมาด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าเสียหายที่เรือของโจทก์ต้องเสียเวลาจอดรอจึงได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความขึ้นโดยโจทก์ยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวดๆภายในระยะเวลาที่กำหนดจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์เพียง2งวดแล้วผิดนัดไม่ชำระอีกจึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวทั้งได้มีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าวมาท้ายคำฟ้องด้วยการที่สัญญาดังกล่าวกระทำกันในต่างประเทศจึงต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1) จำเลยได้ขายข้าวสารให้แก่บรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านในราคาเอฟ.โอ.บี. โดยผู้ซื้อเป็นผู้หาเรือมาบรรทุกข้าวสารจากกรุงเทพมหานครบรรษัทผู้ซื้อข้าวสารจากจำเลยได้ให้โจทก์นำเรือมาบรรทุกข้าวสารแต่จำเลยส่งข้าวสารลงเรือล่าช้าจึงมีหน้าที่ต้องชำระค่าที่เรือต้องเสียเวลาจอดรอแก่โจทก์โจทก์กับจำเลยจึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันดังนั้นสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมีคู่สัญญาเพียง2ฝ่ายคือโจทก์และจำเลยมิได้มีเงื่อนไขว่าจำเลยจะชำระหนี้ตามสัญญาให้ก็ต่อเมื่อบรรษัทการค้าของรัฐบาลสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสั่งซื้อข้าวสารต่อไปจากจำเลยแล้วหักราคาซื้อขายชำระแก่โจทก์แต่อย่างใดสำหรับข้อความในสัญญาที่ว่าสัญญานี้ให้สมบูรณ์จนถึงวันที่30กันยายน2533นั้นเมื่อพิเคราะห์ประกอบถึงข้อความในสัญญาและพฤติการณ์ที่คู่กรณีปฏิบัติต่อกันโดยฝ่ายจำเลยได้มีการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญานั้นแล้ว2ครั้งมีเหตุผลให้เชื่อได้ว่าเพราะทางฝ่ายโจทก์ให้โอกาสจำเลยขยายเวลาเพื่อชำระหนี้รายนี้แก่โจทก์ได้จนถึงวันดังกล่าวจำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินที่ยังค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 447/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต่างประเทศ, อำนาจฟ้อง, การชำระหนี้ตามสัญญา
หนังสือที่โจทก์มอบอำนาจให้พ. ฟ้องคดีแทนทำขึ้นที่ประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านโดยมีกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านและสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศดังกล่าวรับรองหนังสือมอบอำนาจไว้แล้วฉะนั้นแม้จะไม่ได้ให้กงสุลสยามเป็นพยานก็ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงการยื่นหนังสือมอบอำนาจในกรณีนี้จึงไม่ต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา47วรรคสาม การที่สัญญากระทำกันในต่างประเทศจะต้องใช้กฎหมายประเทศใดบังคับหรือไม่อย่างไรหาใช่ข้อที่โจทก์จำเป็นจะต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยหรือไม่เพราะหากจำต้องใช้กฎหมายต่างประเทศปรับแก่คดีก็เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยบรรยายถึงมูลกรณีที่มีการทำสัญญาแล้วจำเลยผิดนัดทั้งมีการแนบสำเนาสัญญาประนีประนอมยอมความมาท้ายคำฟ้องด้วยนั้นจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้วหาเป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่ จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดจดทะเบียนในประเทศไทยมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครแม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยจะทำขึ้นในต่างประเทศและจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาดังกล่าวโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนในต่างประเทศย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ศาลแพ่งอันเป็นศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4(1)
of 62