พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2951/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายจ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้: ค่าเดินทาง, ค่ารับรอง, ค่าของขวัญ, และโบนัส
รายจ่ายค่าเดินทางของกรรมการผู้จัดการบริษัท ซึ่งใช้จ่ายในการเดินทางไปในเรื่องส่วนตัวของกรรมการผู้นั้น มิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทย่อมไม่มีสิทธินำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) (13)
รายจ่ายค่ารับรองซึ่งไม่ปรากฏว่าจ่ายเพื่อรับรองผู้ใดและจ่ายในกิจการใด ถือเป็นรายจ่ายในเรื่องส่วนตัว และรายจ่ายค่าของขวัญไม่ใช่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ และมิใช่จ่ายเพื่อเป็นค่ารับรองแต่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หารายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3)
เงินโบนัสของบริษัทที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทไม่มีสิทธินำค่าโบนัสดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม มาตรา65 ตรี (19)
รายจ่ายค่ารับรองซึ่งไม่ปรากฏว่าจ่ายเพื่อรับรองผู้ใดและจ่ายในกิจการใด ถือเป็นรายจ่ายในเรื่องส่วนตัว และรายจ่ายค่าของขวัญไม่ใช่เป็นรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ และมิใช่จ่ายเพื่อเป็นค่ารับรองแต่เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หารายจ่ายดังกล่าวไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (3)
เงินโบนัสของบริษัทที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทไม่มีสิทธินำค่าโบนัสดังกล่าวมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม มาตรา65 ตรี (19)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796-3797/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายบดครั่งและการขายหุ้นต่ำกว่าราคาตลาด: การหักค่าใช้จ่ายทางภาษีและการมีเหตุอันสมควร
โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องออกเงินช่วยค่าบดครั่ง ด้วยดังนั้น รายการค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จึงมิใช่เป็นการให้อันมีสัญญาเป็นการส่วนตัวหรือเป็นการให้โดยเสน่หา ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (3) โจทก์จึงนำมาคิดหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
แม้โจทก์จะโอนขายหุ้นที่ตนเป็นเจ้าของต่ำกว่าราคาตลาดแต่จำนวนหุ้นที่ขายมีเป็นจำนวนมาก และผู้ซื้อหุ้นของโจทก์ก็เป็นบริษัทที่โจทก์เองเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยแล้ว จึงเป็นการขายที่มีเหตุอันสมควรยิ่งกว่าขายให้กับผู้อื่นที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
แม้โจทก์จะโอนขายหุ้นที่ตนเป็นเจ้าของต่ำกว่าราคาตลาดแต่จำนวนหุ้นที่ขายมีเป็นจำนวนมาก และผู้ซื้อหุ้นของโจทก์ก็เป็นบริษัทที่โจทก์เองเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยแล้ว จึงเป็นการขายที่มีเหตุอันสมควรยิ่งกว่าขายให้กับผู้อื่นที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796-3797/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายบดครั่งและการขายหุ้นต่ำกว่าราคาตลาด: การพิจารณาค่าใช้จ่ายทางภาษีและการมีเหตุอันสมควร
โจทก์มีความผูกพันที่จะต้องออกเงินช่วยค่าบดครั่ง ด้วย ดังนั้น รายการค่าใช้จ่ายส่วนนี้ จึงมิใช่เป็นการให้อันมีสัญญาเป็นการส่วนตัวหรือเป็นการให้โดยเสน่หา ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) โจทก์จึงนำมาคิดหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
แม้โจทก์จะโอนขายหุ้นที่ตนเป็นเจ้าของต่ำกว่าราคาตลาดแต่จำนวนหุ้นที่ขายมีเป็นจำนวนมาก และผู้ซื้อหุ้นของโจทก์ก็เป็นบริษัทที่โจทก์เองเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยแล้ว จึงเป็นการขายที่มีเหตุอันสมควรยิ่งกว่าขายให้กับผู้อื่นที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
แม้โจทก์จะโอนขายหุ้นที่ตนเป็นเจ้าของต่ำกว่าราคาตลาดแต่จำนวนหุ้นที่ขายมีเป็นจำนวนมาก และผู้ซื้อหุ้นของโจทก์ก็เป็นบริษัทที่โจทก์เองเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วยแล้ว จึงเป็นการขายที่มีเหตุอันสมควรยิ่งกว่าขายให้กับผู้อื่นที่ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2761/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักค่าใช้จ่ายทางภาษี: ค่าใช้จ่ายส่วนตัว, ค่าบำเหน็จพนักงาน, และส่วนแบ่งกำไรที่ไม่สามารถหักได้
รายจ่ายของโจทก์สำหรับค่าซื้อบัตรการกุศลต่างๆ เช่น บัตรแสดงดนตรีละครค่าซื้อของขวัญในโอกาสต่างๆ เช่น ในงานวันเกิด วันแต่งงาน วันขึ้นปีใหม่ค่าช่วยงานต่างๆ เช่นงานบวช งานเลี้ยง งานทอดกฐิน มีลักษณะเป็นการส่วนตัวหากจะมีผลตอบแทนในด้านการโฆษณาชื่อเสียงและสินค้าของโจทก์อยู่บ้าง ก็เป็นแต่เพียงผลพลอยได้เท่านั้นบางรายการที่เป็นการกุศลก็มิใช่การกุศลสาธารณะจะนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
เงินค่าบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานที่โจทก์กันเงินไว้เป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองโจทก์ไม่มีสิทธิหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
การที่โจทก์นำรายจ่ายซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักออกเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระอีกและให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้
เงินค่าบำเหน็จทดแทนของพนักงานและคนงานที่โจทก์กันเงินไว้เป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายในอนาคต จึงเป็นเงินสำรองโจทก์ไม่มีสิทธิหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
เงินส่วนแบ่งกำไรสุทธิเป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี จะนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
การที่โจทก์นำรายจ่ายซึ่งต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิมาหักออกเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเจ้าพนักงานย่อมมีอำนาจประเมินแจ้งจำนวนเงินภาษีที่จะต้องชำระอีกและให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การตีความตัวบทกฎหมายเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและค่าเสื่อมราคาที่นำมาหักลดหย่อนเพื่อคำนวณภาษี
รายการจ่ายในการซื้อบัตรงานกุศลต่างๆ เช่น งานกาชาดงานบอลล์ ซื้อของขวัญปีใหม่และงานสมรส มีลักษณะเป็นการให้โดยเสน่หาและเป็นการส่วนตัวของผู้มีอำนาจจ่ายเงินนั้นๆเพื่อประโยชน์ในการทำงานหรือในทางสังคมของตนเองเป็นส่วนตัว ยิ่งกว่าเพื่อประโยชน์ของบริษัทโจทก์ มิใช่รายจ่ายเพื่อหารายได้ในการดำเนินธุรกิจการค้าของโจทก์โดยตรง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
รายการจ่ายเงินกองทุนหรือเงินบำเหน็จพนักงาน เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไว้ในบัญชีของโจทก์เพื่อจ่ายให้พนักงานไปโดยเด็ดขาดคือ เมื่อพนักงานออกจากงานหรือถึงแก่กรรม ยังไม่ได้มีการจ่ายให้แก่พนักงานไปโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 โจทก์เพิ่งจ่ายเงินนั้นให้แก่พนักงานไปในปี 2514โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511
รายการจ่ายค่าแสตมป์สุราซึ่งโจทก์จะต้องซื้อจากกรมสรรพสามิตมาเพื่อใช้ปิดขวดสุราให้ครบถ้วนตามจำนวนสุราที่จะต้องผลิตตามสัญญาหรืออีกนัยหนึ่งก็คือโจทก์ต้องเสียภาษีสุราให้แก่กรมสรรพสามิตให้ครบถ้วนตามโควต้าสุราที่กำหนดให้โจทก์ผลิตตามสัญญานั้น แม้ว่าโจทก์จะผลิตสุราได้ไม่ครบตามโควต้าสุราที่โจทก์จะต้องผลิตตามสัญญารายจ่ายค่าแสตมป์สุราก็เป็นภาษีสุราตามโควต้าสุราในแต่ละปีที่โจทก์ต้องเสียให้กรมสรรพสามิตอย่างแน่นอนและได้เสียไปจริงในแต่ละปี การที่โจทก์ใช้แสตมป์สุราที่ซื้อมาในแต่ละปีไม่หมด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโจทก์ผลิตสุราในปีนั้นได้ต่ำกว่าโควต้า แล้วได้รับการผ่อนผันให้นำแสตมป์สุราที่เหลือนั้น ไปใช้ปิดขวดสุราในปีต่อไปได้ก็เป็นคนละเรื่องกันกับค่าแสตมป์สุราหรือภาษีสุราที่โจทก์ได้เสียไปแล้วในปีที่ซื้อแสตมป์สุรานั้นมา ฉะนั้นเมื่อแสตมป์สุรารายพิพาทนี้โจทก์จ่ายเงินซื้อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์มีสิทธินำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ.2511 ได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9)
เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โดยว่ารายจ่ายซึ่งเป็นค่าก่อสร้างและซื้อทรัพย์สิน จำนวน3,743,169.72 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนทั้งหมดต้องห้ามมิให้นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ(ตามมาตรา 65 ตรี (5)) โจทก์อุทธรณ์คัดค้าน (ว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยว่ารายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลงทุนเพียง12,774.30 บาท นอกนั้นมิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนยอมให้โจทก์หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ย้อนไปวินิจฉัยปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์ที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของปี พ.ศ.2511 ให้โจทก์ใหม่จากที่เจ้าพนักงานประเมินคิดไว้เดิมเป็นเงินรวม 4,213,852.11 บาทมาเป็นหักให้เพียง 66,846.22 บาท คือตัดออกเสีย4,147,005.89 บาท และคิดคำนวณภาษีใหม่เป็นว่าโจทก์จะต้องชำระภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มจากที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มนั้นอีกเป็นเงิน 3,111.08 บาทเงินเพิ่ม 622.21 บาท รวมเป็นเงิน 3,733.29 บาท ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่ปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์เสียใหม่เป็นการพิจารณาและวินิจฉัยไปโดยไม่เปิดโอกาสให้โจทก์ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน และมิได้เป็นประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังโจทก์จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ออกหมายเรียกโจทก์มาทำการไต่สวนตรวจสอบภาษีอากร เพราะมีกรณีสงสัยว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนจริง โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22. ที่โจทก์อ้างว่า ได้ทำบัญชีรับจ่ายโดยสุจริต มิได้ปิดบังรายรับรายจ่าย ที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นเนื่องจากการตีความตัวบทประมวลรัษฎากรผิดพลาด ยังไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะผ่อนผันให้ยกเลิกหรือยกเว้นเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
รายการจ่ายเงินกองทุนหรือเงินบำเหน็จพนักงาน เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพียงแต่ตั้งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายไว้ในบัญชีของโจทก์เพื่อจ่ายให้พนักงานไปโดยเด็ดขาดคือ เมื่อพนักงานออกจากงานหรือถึงแก่กรรม ยังไม่ได้มีการจ่ายให้แก่พนักงานไปโดยเด็ดขาดในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 โจทก์เพิ่งจ่ายเงินนั้นให้แก่พนักงานไปในปี 2514โจทก์จึงไม่มีสิทธินำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511
รายการจ่ายค่าแสตมป์สุราซึ่งโจทก์จะต้องซื้อจากกรมสรรพสามิตมาเพื่อใช้ปิดขวดสุราให้ครบถ้วนตามจำนวนสุราที่จะต้องผลิตตามสัญญาหรืออีกนัยหนึ่งก็คือโจทก์ต้องเสียภาษีสุราให้แก่กรมสรรพสามิตให้ครบถ้วนตามโควต้าสุราที่กำหนดให้โจทก์ผลิตตามสัญญานั้น แม้ว่าโจทก์จะผลิตสุราได้ไม่ครบตามโควต้าสุราที่โจทก์จะต้องผลิตตามสัญญารายจ่ายค่าแสตมป์สุราก็เป็นภาษีสุราตามโควต้าสุราในแต่ละปีที่โจทก์ต้องเสียให้กรมสรรพสามิตอย่างแน่นอนและได้เสียไปจริงในแต่ละปี การที่โจทก์ใช้แสตมป์สุราที่ซื้อมาในแต่ละปีไม่หมด ซึ่งอาจจะเป็นเพราะโจทก์ผลิตสุราในปีนั้นได้ต่ำกว่าโควต้า แล้วได้รับการผ่อนผันให้นำแสตมป์สุราที่เหลือนั้น ไปใช้ปิดขวดสุราในปีต่อไปได้ก็เป็นคนละเรื่องกันกับค่าแสตมป์สุราหรือภาษีสุราที่โจทก์ได้เสียไปแล้วในปีที่ซื้อแสตมป์สุรานั้นมา ฉะนั้นเมื่อแสตมป์สุรารายพิพาทนี้โจทก์จ่ายเงินซื้อมาในรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ.2511 จึงเป็นรายจ่ายที่โจทก์มีสิทธินำมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีพ.ศ.2511 ได้ไม่ต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9)
เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มเติม โดยว่ารายจ่ายซึ่งเป็นค่าก่อสร้างและซื้อทรัพย์สิน จำนวน3,743,169.72 บาท เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนทั้งหมดต้องห้ามมิให้นำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ(ตามมาตรา 65 ตรี (5)) โจทก์อุทธรณ์คัดค้าน (ว่าหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้) คณะกรรมการอุทธรณ์วินิจฉัยว่ารายจ่ายดังกล่าวมีลักษณะเป็นการลงทุนเพียง12,774.30 บาท นอกนั้นมิใช่เป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนยอมให้โจทก์หักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตามที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ย้อนไปวินิจฉัยปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์ที่จะนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของปี พ.ศ.2511 ให้โจทก์ใหม่จากที่เจ้าพนักงานประเมินคิดไว้เดิมเป็นเงินรวม 4,213,852.11 บาทมาเป็นหักให้เพียง 66,846.22 บาท คือตัดออกเสีย4,147,005.89 บาท และคิดคำนวณภาษีใหม่เป็นว่าโจทก์จะต้องชำระภาษีและเงินเพิ่มเพิ่มจากที่เจ้าพนักงานประเมินให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มนั้นอีกเป็นเงิน 3,111.08 บาทเงินเพิ่ม 622.21 บาท รวมเป็นเงิน 3,733.29 บาท ดังนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนที่ปรับปรุงคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินของโจทก์เสียใหม่เป็นการพิจารณาและวินิจฉัยไปโดยไม่เปิดโอกาสให้โจทก์ได้ชี้แจงแสดงหลักฐาน และมิได้เป็นประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แต่อย่างใดคำวินิจฉัยที่ให้โจทก์เสียภาษีเพิ่มขึ้นจากที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมินไปยังโจทก์จึงไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ออกหมายเรียกโจทก์มาทำการไต่สวนตรวจสอบภาษีอากร เพราะมีกรณีสงสัยว่าโจทก์เสียภาษีไว้ไม่ถูกต้อง ซึ่งผลการตรวจสอบก็ปรากฏว่าโจทก์ได้เสียภาษีไว้ยังไม่ถูกต้องครบถ้วนจริง โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 22. ที่โจทก์อ้างว่า ได้ทำบัญชีรับจ่ายโดยสุจริต มิได้ปิดบังรายรับรายจ่าย ที่เกิดกรณีพิพาทขึ้นเนื่องจากการตีความตัวบทประมวลรัษฎากรผิดพลาด ยังไม่เป็นเหตุผลอันสมควรเพียงพอที่จะผ่อนผันให้ยกเลิกหรือยกเว้นเงินเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้: ค่าตอบแทนที่ไม่เป็นสัญญา, ค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่ารับรองที่ไม่สมควร
โจทก์ประกอบกิจการผูกขาดการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์โดยรับมอบหมายจากเทศบาลนครกรุงเทพ โจทก์ตกลงกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลว่าจะจ่ายค่าตอบแทนให้ แต่ไม่ได้ทำเป็นหนังสือสัญญาไว้ จำนวนเงินและกำหนดเวลาที่จะจ่ายก็ไม่แน่นอน โจทก์ตั้งเงินค่าตอบแทนไว้ในบัญชีเป็นเงินค้างจ่ายให้แก่เทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีเมื่อถูกทวงถามให้ชำระ โจทก์มีหนังสือตอบไปว่า ยังไม่อาจจ่ายให้ได้เนื่องจากผลการขาดทุนเมื่อมีฐานะการเงินมั่นคงขึ้นก็จะจ่ายให้ต่อไป อันเป็นการผัดชำระหนี้โดยไม่มีกำหนดเวลาและเทศบาลทั้งสองแห่งก็ไม่ได้ดำเนินการบังคับเอาชำระหนี้แต่อย่างใดอีก แสดงว่าโจทก์จะจ่ายค่าตอบแทนดังกล่าวให้หรือไม่สุดแล้วแต่ใจของโจทก์ฝ่ายเดียว เงินค่าตอบแทน ดังกล่าวจึงเป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองและเป็นรายจ่ายซึ่งมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (9)(13)
ค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการจ่ายตามประเพณีนิยมของการดำเนินกิจการค้านั้น ปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นการให้ของขวัญ ของชำร่วย จัดช่วยเหลือในงานเลี้ยง อันมีจุดประสงค์ในการจ่ายเพื่อประโยชน์บุคคลบางคน ไม่ได้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการค้าโดยเฉพาะ โจทก์ทำการค้าตามนโยบายของรัฐบาล ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องอาศัยบารมีหรืออิทธิพลของบุคคลอื่นใด จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
เงินค่ารับรองซึ่งโจทก์อ้างว่าไม่เกินสมควรเพราะไม่ถึงร้อยละหนึ่งของรายได้โจทก์นั้น ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย ตำรวจ ทหาร และบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลที่รับเงินไปปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำการใดให้โจทก์ จึงเป็นค่ารับรองที่เกินสมควร ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (4)
ค่าใช้จ่ายของโจทก์ซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการจ่ายตามประเพณีนิยมของการดำเนินกิจการค้านั้น ปรากฏว่าส่วนใหญ่เป็นการให้ของขวัญ ของชำร่วย จัดช่วยเหลือในงานเลี้ยง อันมีจุดประสงค์ในการจ่ายเพื่อประโยชน์บุคคลบางคน ไม่ได้จ่ายเพื่อประโยชน์ในการค้าโดยเฉพาะ โจทก์ทำการค้าตามนโยบายของรัฐบาล ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องอาศัยบารมีหรืออิทธิพลของบุคคลอื่นใด จึงเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)
เงินค่ารับรองซึ่งโจทก์อ้างว่าไม่เกินสมควรเพราะไม่ถึงร้อยละหนึ่งของรายได้โจทก์นั้น ปรากฏว่าโจทก์จ่ายเงินแก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทย ตำรวจ ทหาร และบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนมากโดยไม่ปรากฏว่าบุคคลที่รับเงินไปปฏิบัติหน้าที่หรือกระทำการใดให้โจทก์ จึงเป็นค่ารับรองที่เกินสมควร ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (4)