คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมปอง เสนเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: คำนวณจากหนี้ที่บังคับได้จริง ไม่ใช่ราคาทรัพย์ที่ยึด
ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ได้ กำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเมื่อยึด ทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โดย ให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึด หมายถึง ราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่ง ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 26,957.13 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 13.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 7 กันยายน 2522 เป็นต้นไป เมื่อคิดคำนวณยอดหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองจะต้อง รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาโดยคิดถึงวันที่ 13 มกราคม 2538 อันเป็นวันที่โจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเนื่องจากจำเลย ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีจำนวนไม่ถึง 160,000 บาท อันเป็นราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและเจ้าพนักงานบังคับคดี ประเมินราคาไว้ในครั้งแรก โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียม การยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายร้อยละ 3 ครึ่ง ของจำนวนหนี้ ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดในการบังคับคดีอันมีจำนวนน้อยกว่า ราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าราคาทรัพย์สิน ที่โจทก์นำยึดทรัพย์จะมีราคาประเมินจำนวน 160,000 บาท หรือ จำนวน 2,527,300 บาท ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดในค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งระหว่างพิจารณาและการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาศาลและให้การแก้คดี แต่จำเลยไม่มาตามนัดศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่าหมายจับคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเกี่ยวกับวันเริ่มต้นนับอายุความศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ปฏิเสธการจ่ายหลังสุด ให้เพิกถอนหมายจับเดิมแล้วออกหมายจับจำเลยใหม่โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งศาลเรื่องการออกหมายจับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจึงไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งใด ๆ ของศาลชั้นต้นในระหว่างนี้เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นเช่นนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีถึงที่สุดแล้วเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน การฟ้องคดีใหม่ที่มีประเด็นเดียวกันย่อมเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องและพิสูจน์ถึงสิทธิของโจทก์ในการครอบครองที่ดินพิพาทในคดีนี้อีกได้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ฟ้องคดีหลังว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้ศาลเพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยในส่วนที่ออกทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกับพวกเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้อีกต่อไป เมื่อปรากฎว่าคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย ถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความโจทก์จะมากล่าวอ้างในคดีนี้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหาได้ไม่ เพราะเป็นของโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1411/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีสิทธิครอบครองที่ดินที่ถึงที่สุดแล้วย่อมผูกพันคู่ความ
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยกับพวกว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป และศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์มีภาระการพิสูจน์ แต่โจทก์ไม่มีพยานมาสืบในประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้วว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องและพิสูจน์ถึงสิทธิของโจทก์ในการครอบครองที่ดินพิพาทในคดีนี้อีกได้ ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องคดีหลังว่าจำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้ศาลเพิกถอนโฉนดที่ดินของจำเลยในส่วนที่ออกทับที่ดินที่โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกับพวกเกี่ยวข้องกับที่ดินส่วนนี้อีกต่อไป เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย ถึงที่สุดโดยศาลฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ผลของคดีย่อมผูกพันคู่ความ โจทก์จะมากล่าวอ้างในคดีนี้ว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหาได้ไม่ เพราะเป็นของโจทก์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนที่ถึงที่สุดไปแล้ว ฟ้องของโจทก์คดีหลังจึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.พ.พ.มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1165/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังสำเนาเอกสารเป็นพยานหลักฐานได้ หากจำเลยไม่คัดค้านความถูกต้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
แม้โจทก์อ้างสำเนาใบบันทึกรายการเป็นพยานโจทก์โดยไม่ได้ส่งต้นฉบับเอกสาร และในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นโจทก์ไม่ได้กล่าวอ้างหรือแสดงให้เห็นว่าต้นฉบับเอกสารดังกล่าวหาไม่ได้เพราะสูญหายหรือถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้เพราะเหตุประการใดก็ตามแต่ปรากฏว่า ก่อนวันนัดสืบพยานโจทก์ 1 เดือนเศษ โจทก์ได้แถลงขอส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลและให้ฝ่ายจำเลยศาลชั้นต้นอนุญาตและมีการรับสำเนาไปแล้ว ต่อมาในวันนัดสืบพยานโจทก์ โจทก์นำสืบพยานบุคคล 1 ปาก และอ้างส่งเอกสาร 37 ฉบับ รวมทั้งเอกสารซึ่งเป็นสำเนาเอกสารด้วยแล้วโจทก์แถลงหมดพยาน แสดงว่าโจทก์สืบพยานเอกสารดังกล่าว เสร็จแล้ว แต่จำเลยซึ่งโจทก์อ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน ยันตนก็หาได้คัดค้านการที่โจทก์นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมา สืบว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้องกับต้นฉบับเสียก่อนที่ โจทก์จะสืบพยานเอกสารดังกล่าวเสร็จตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 แม้ภายหลัง ต่อมาจำเลยจะยื่นคำร้องคัดค้านการที่โจทก์อ้างสำเนาเอกสาร จำเลยก็กล่าวอ้างแต่เพียงว่าศาลควรจะรับฟังเฉพาะต้นฉบับเอกสาร เอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงสำเนารับฟังไม่ได้เท่านั้น มิได้คัดค้านโดยตรงว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวไม่ถูกต้อง ตรงกับต้นฉบับ ทั้งไม่ได้ระบุถึงสาเหตุที่จำเลยไม่อาจคัดค้านได้ ก่อนที่โจทก์จะสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 วรรคสองถือว่าจำเลยมิได้คัดค้านการอ้างสำเนาเอกสารโดยชอบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 วรรคหนึ่งและวรรคสอง จึงห้ามมิให้จำเลยคัดค้านความถูกต้องของสำเนาเอกสารนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 วรรคสาม ดังนี้ ศาลย่อมรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าว เป็นพยานหลักฐานแทนต้นฉบับได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และอายุความมรดก: กรณีฟ้องแบ่งมรดกที่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกเนื้อที่ 119.45 ตารางวา ราคา 1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้าแม้จะฟ้องรวมกันมาโดยมิได้ระบุส่วนที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับในคำฟ้องเดียวกันก็ตามแต่สิทธิของโจทก์แต่ละคนที่จะได้รับมรดกมีจำนวนเพียงคนละ 23.89 ตารางวา ราคา200,000 บาท ดังนั้น ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันคือคนละ 200,000บาท เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตาม ป.วิ.พ.มาตรา55 แยกต่างหากจากกันได้ เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและ ล.เป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยครอบครองที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน ไม่ได้ครอบครองแทน ล.ล.ไม่ได้ฟ้องเรียกมรดกส่วนของตนภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ล.นำคดีมาฟ้อง คดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 ที่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า จำเลยครอบครองที่ดินไว้แทนทายาทอื่นเพื่อรอแบ่งปันให้แก่ทายาทอื่น มิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ทั้งห้าไม่ขาดอายุความ จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกา, อายุความมรดก, การครอบครองแทนทายาท
โจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดินส่วนที่เป็นมรดกเนื้อที่ 119.45 ตารางวา ราคา1,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งห้า แม้จะฟ้องรวมกัน มาโดยมิได้ระบุส่วนที่โจทก์แต่ละคนจะได้รับในคำฟ้องเดียวกันก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์แต่ละคนที่จะได้รับมรดกมีจำนวนเพียง คนละ 23.89 ตารางวา ราคา 200,000 บาท ดังนั้น ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันคือคนละ 200,000 บาทเพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนสามารถใช้สิทธิเฉพาะตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 แยกต่างหากจากกันได้ เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและ ล. เป็นทายาทของเจ้ามรดก จำเลยครอบครองที่ดินโดยเจตนายึดถือเพื่อตนไม่ได้ครอบครองแทน ล. ล. ไม่ได้ฟ้องเรียกมรดกส่วนของตนภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นผู้สืบสิทธิจาก ล. นำคดีมาฟ้องคดีโจทก์ทั้งห้าจึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ที่โจทก์ทั้งห้าฎีกาว่า จำเลยครอบครองที่ดินไว้แทนทายาทอื่นเพื่อรอแบ่งปันให้แก่ทายาทอื่นมิใช่เป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ข้อกฎหมายว่าคดีโจทก์ทั้งห้าไม่ขาดอายุความ จึงมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าและผู้ให้เช่าต่อความเสียหายของทรัพย์สินที่เช่า และการหักกลบลบหนี้
จำเลยได้เช่าโป๊ะเหล็กพร้อมด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ประจำโป๊ะจำนวน 1 ลำ ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 177,000 บาท และเช่าเครื่องกว้านพร้อมเครื่องยนต์จำนวน 1 ชุด ในอัตราค่าเช่าเดือนละ 7,500 บาท รวมค่าเช่าเดือนละ 184,500 บาท ผู้เช่ามีหน้าที่ใช้ทรัพย์สินที่เช่าด้วยความระมัดระวังตามประเพณีนิยม และมีหน้าที่สงวนรักษาทรัพย์สินที่เช่าเสมอกับที่วิญญูชนพึงสงวนรักษาทรัพย์สินของตนเอง การที่โจทก์ผู้ให้เช่าได้รับทรัพย์สินที่เช่ากลับคืนมา แต่ทรัพย์สินที่เช่าดังกล่าวได้รับความเสียหายและชำรุด โจทก์ทำการซ่อมแซมโป๊ะและเครื่องกว้านที่ชำรุดเสียหาย แต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าความเสียหายดังกล่าวเกิดจากความผิดของจำเลยผู้เช่า ดังนี้จึงฟังได้ว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวเกิดจากการที่จำเลยผู้เช่าใช้ทรัพย์สินที่เช่าโดยชอบ โจทก์ผู้ให้เช่าย่อมต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องอันเกิดขึ้นในระหว่างเวลาเช่า และโจทก์ต้องจัดการซ่อมแซมทุกอย่างบรรดาซึ่งเป็นการจำเป็นขึ้น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 550 โจทก์จึงไม่อาจเรียกค่าซ่อมโป๊ะและเครื่องกว้านจากจำเลยได้
เมื่อเลิกสัญญาเช่าแล้ว โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการลากจูงโป๊ะที่ให้จำเลยเช่ากลับมายังอู่ของโจทก์ ตามที่โจทก์อ้างมีข้อความระบุว่า โจทก์จะให้เรือยนต์ไปลากโป๊ะเอง แสดงว่าโจทก์สละสิทธิที่จะให้จำเลยลากโป๊ะคืนโจทก์ โจทก์จึงเรียกค่าลากโป๊ะ จากจำเลยไม่ได้
จำเลยค้างชำระค่าเช่าโป๊ะแก่โจทก์เป็นเงิน 313,650 บาทสำหรับรายการที่จำเลยอ้างว่าได้จัดซื้ออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องกว้านทดแทนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่พนักงานของโจทก์ผู้ให้เช่าได้ทำสูญหายไป เช่น แบตเตอรี่ เชือกสลิงและกิ๊ปจับสลิง รวมเป็นเงิน 66,530 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าพนักงานของโจทก์ได้ทำงานให้จำเลยและอยู่ในความควบคุมดูแลของจำเลย กรณีจึงถือว่าความสูญหายหรือบุบสลายเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่าเพราะความผิดของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 562 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อเกิดความเสียหายในส่วนนี้ขึ้น จำเลยจะเรียกร้องความเสียหายจากโจทก์ไม่ได้ และจะนำค่าเสียหายดังกล่าวไปหักกลบลบหนี้จากโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดิน โดยไม่มีสัญญาเช่า
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหนังสือสัญญาเช่า และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจาก ป.ญาติของโจทก์ หรือโจทก์ที่ 1 เชิด ป.เป็นตัวแทน ดังที่จำเลยต่อสู้ การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และโจทก์ที่ 2 ผู้มีสิทธิเช่าที่ดินพิพาท โจทก์ทั้งสองย่อมฟ้องขับไล่จำเลยผู้กระทำละเมิดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตาม ป.พ.พ.มาตรา 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินโดยไม่มีสัญญาเช่า: เจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้เช่ามีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีหนังสือสัญญาเช่า และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจาก ป. ญาติของโจทก์ หรือโจทก์ที่ 1 เชิด ป.เป็นตัวแทน ดังที่จำเลยต่อสู้ การที่จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิตามกฎหมายจึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 1ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์และโจทก์ที่ 2 ผู้มีสิทธิเช่าที่ดินพิพาทโจทก์ทั้งสองย่อมฟ้องขับไล่จำเลยผู้กระทำละเมิดได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว และไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 566
of 89