พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์การขายทอดตลาด: เหตุผลที่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องลายมือชื่อและเหตุฉ้อฉล
จำเลยที่ 2 ได้ระบุในคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดว่าในการส่งประกาศขายทอดตลาด พบจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 รับประกาศแล้วไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับประกาศด้วยตนเอง ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในใบรับหมายมีลักษณะแตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความตามฎีกาจำเลยที่ 2 จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2อ้างเพียงว่า ผู้ซื้อทรัพย์ตกลงราคากับโจทก์ก่อนเข้าซื้อทรัพย์เป็นการฉ้อฉลจำเลยที่ 2 ทำให้ราคาที่ขายต่ำกว่าราคาที่แท้จริง มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ใหม่ โดยอ้างว่าว่าโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันฉ้อฉลและราคาที่ขายต่ำกว่าราคาแท้จริงดังกล่าวหาได้ไม่
คำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2อ้างเพียงว่า ผู้ซื้อทรัพย์ตกลงราคากับโจทก์ก่อนเข้าซื้อทรัพย์เป็นการฉ้อฉลจำเลยที่ 2 ทำให้ราคาที่ขายต่ำกว่าราคาที่แท้จริง มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ใหม่ โดยอ้างว่าว่าโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันฉ้อฉลและราคาที่ขายต่ำกว่าราคาแท้จริงดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6342/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเพิกถอนขายทอดตลาด เหตุจำเลยมิได้ยกเหตุลายมือชื่อต่างกันในศาลชั้นต้น และคำร้องฉ้อฉลไม่ชัดเจน
จำเลยที่ 2 ได้ระบุในคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดว่าในการส่งประกาศขายทอดตลาด พบจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรจำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 1 รับประกาศแล้วไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับประกาศด้วยตนเองดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในใบรับหมายมีลักษณะแตกต่างกับลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความตามฎีกาจำเลยที่ 2จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2อ้างเพียงว่า ผู้ซื้อทรัพย์ตกลงราคากับโจทก์ก่อนเข้าซื้อทรัพย์เป็นการฉ้อฉลจำเลยที่ 2 ทำให้ราคาที่ขายต่ำกว่าราคาที่แท้จริง มิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คำร้องของจำเลยที่ 2จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง จำเลยที่ 2 จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 และให้ศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ใหม่ โดยอ้างว่าโจทก์และผู้ซื้อทรัพย์ร่วมกันฉ้อฉลและราคาที่ขายต่ำกว่าราคาแท้จริงดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า: เขตอำนาจศาลอยู่ที่สถานที่ทำข้อตกลง
จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 1520 และมาตรา 1566 (6)เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: สถานที่จดทะเบียนหย่าเป็นสถานที่เกิดมูลคดี
จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อันเป็นการ ได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1520 และมาตรา 1566(1) เป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญา การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย โดยอ้างเหตุแห่งการฟ้องร้องว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้น สถานที่ที่ได้มีการจดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล โจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิต* กรุงเทพมหานครจึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และเมื่อศาลจังหวัดสระบุรีมิใช่ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลโจทก์จึงไม่อาจนำคดีมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสระบุรีได้คดีไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่าบุตรผู้เยาว์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นศาลชั้นต้นที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้หรือไม่ เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6155/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและสถานที่เกิดมูลคดีในคดีเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรหลังการหย่า
การที่จำเลยได้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองนั้น เป็นการได้มาโดยความยินยอมในกรณีหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และมาตรา 1566(6)อันเป็นการได้อำนาจปกครองมาโดยข้อสัญญาโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลย โดยอ้างว่าจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ทำหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือ ข้อตกลงในการจดทะเบียนหย่า ดังนั้นสถานที่ที่ได้มีการ จดทะเบียนหย่าและทำบันทึกข้อตกลงในเรื่องการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลย จึงถือได้ว่าเป็นสถานที่ที่ มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล เมื่อโจทก์และจำเลยได้จดทะเบียนการหย่าและทำบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนการหย่าที่สำนักงานเขตดุสิตกรุงเทพมหานคร จึงต้องถือว่ามูลคดีนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาออกแบบตกแต่งภายใน: ความรับผิดส่วนตัวของผู้ว่าจ้าง แม้จะไม่ได้ระบุฐานะตัวแทนบริษัท
แม้ผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาท คือบริษัทค. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ และมีการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวบนที่ดินซึ่งเป็นของบริษัท ค. เองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในโดยไม่ได้แจ้งว่ากระทำการในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทเจ้าของอาคาร ดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตามสัญญานั้น จำเลยได้ว่าจ้างให้ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านพักส่วนตัวของจำเลย แล้วจำเลยนำแบบแปลนไฟฟ้าของโจทก์ไปใช้เพียงบางส่วน แต่แบบตกแต่งในกระดาษไขซึ่งเป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดของวัสดุที่จะใช้รวมทั้งระยะต่าง ๆ เป็นเพียงแบบเสนอและยังไม่ได้รบอนุมัติจากจำเลย จึงยังไม่มีการนำแบบไปใช้ตกแต่ง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ทำงานยังไม่แล้วเสร็จเมื่อโจทก์ไม่เขียนแบบต่อไปและมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้าง จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งโจทก์จำเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใดพฤติการณ์ของโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 391 โดยจำเลยต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์ แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าว่าจ้างทำของ แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์สมควรได้เป็นค่าแห่งการงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลย ศาลก็มีอำนาจ กำหนดให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญาและการชำระค่าจ้างตามควรค่าแห่งงาน
แม้ผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารพิพาท คือบริษัท ค. ซึ่งจำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ และมีการปลูกสร้างอาคารดังกล่าวบนที่ดินซึ่งเป็นของบริษัท ค.เองก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเป็นผู้ติดต่อว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในโดยไม่ได้แจ้งว่ากระทำการในฐานะเป็นผู้แทนบริษัทเจ้าของอาคาร ดังนี้จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวตามสัญญานั้น
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านพักส่วนตัวของจำเลย แล้วจำเลยนำแบบแปลนไฟฟ้าของโจทก์ไปใช้เพียงบางส่วน แต่แบบตกแต่งในกระดาษไขซึ่งเป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดของวัสดุที่จะใช้รวมทั้งระยะต่าง ๆ เป็นเพียงแบบเสนอ และยังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลย จึงยังไม่มีการนำแบบไปใช้ตกแต่ง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ทำงานยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อโจทก์ไม่เขียนแบบต่อไปและมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้าง จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งโจทก์จำเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใด พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 391 โดยจำเลยต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์
แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าว่าจ้างทำของ แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์สมควรได้เป็นค่าแห่งการงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลย ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้
จำเลยได้ว่าจ้างโจทก์ให้ออกแบบตกแต่งภายในอาคารบ้านพักส่วนตัวของจำเลย แล้วจำเลยนำแบบแปลนไฟฟ้าของโจทก์ไปใช้เพียงบางส่วน แต่แบบตกแต่งในกระดาษไขซึ่งเป็นแบบที่ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่มีรายละเอียดของวัสดุที่จะใช้รวมทั้งระยะต่าง ๆ เป็นเพียงแบบเสนอ และยังไม่ได้รับอนุมัติจากจำเลย จึงยังไม่มีการนำแบบไปใช้ตกแต่ง ดังนี้ต้องถือว่าโจทก์ทำงานยังไม่แล้วเสร็จ เมื่อโจทก์ไม่เขียนแบบต่อไปและมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระค่าจ้าง จำเลยก็ไม่ได้ชำระค่าจ้าง ทั้งโจทก์จำเลยปล่อยให้ระยะเวลาล่วงเลยมาโดยมิได้จัดการอย่างหนึ่งอย่างใด พฤติการณ์ของโจทก์จำเลยแสดงให้เห็นว่า โจทก์จำเลยต่างมีเจตนาเลิกสัญญาต่อกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 391 โดยจำเลยต้องใช้เงินให้แก่โจทก์ตามควรค่าแห่งการงานของโจทก์
แม้โจทก์จะฟ้องเรียกค่าว่าจ้างทำของ แต่เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์สมควรได้เป็นค่าแห่งการงานที่ได้กระทำให้แก่จำเลย ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาแก้โทษคดีรับของโจรของจำเลยเยาวชน โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและโทษที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แม้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อในทางพิจารณารับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้ว ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6118/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาลงโทษฐานรับของโจรได้แม้โจทก์ฎีกาขอลงโทษฐานลักทรัพย์ และจำกัดโทษตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง แม้ว่าโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่เมื่อในทางพิจารณารับฟังได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรแล้วศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยฐานรับของโจรได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคสาม
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้
แม้ศาลชั้นต้นกำหนดโทษจำคุกจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้บวกโทษกับคดีนี้ต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ก็ตาม การที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และศาลฎีกาเห็นว่าจำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ศาลฎีกาจะเพิ่มเติมโทษจำเลยเกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6117/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเพิ่มเติมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความ
แม้ที่ดินตามแผนที่พิพาทเส้นสีเขียวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พิพาทกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1278/2532 ของศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อถอนแนวรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ต่อมาในชั้นบังคับคดีปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการรื้อถอนรั้วออกไป แต่ยังส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพไม่เรียบร้อย เนื่องจากระหว่างพิจารณาคดีจำเลยทั้งสองได้ขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาท รวมทั้งปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วน ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาทและปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วนในระหว่างพิจารณาคดีก่อน มูลคดีนี้จึงเกิดภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่สามารถฟ้องมาในคราวเดียวกันได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) วรรคสี่ แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยนั้น ได้ความแต่เพียงว่านายอำเภอเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริงและห้ามโจทก์กับจำเลยถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) วรรคสี่ แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยนั้น ได้ความแต่เพียงว่านายอำเภอเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริงและห้ามโจทก์กับจำเลยถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี