คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมปอง เสนเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6117/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเพิ่มเติมหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุด และการเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความ
แม้ที่ดินตามแผนที่พิพาทเส้นสีเขียวเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์และเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่พิพาทกันในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1278/2532 ของศาลชั้นต้น และคดีดังกล่าวศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์มีสิทธิดีกว่าจำเลยทั้งสองให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อถอนแนวรั้วออกไปจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ต่อมาในชั้นบังคับคดีปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการรื้อถอนรั้วออกไป แต่ยังส่งมอบที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพไม่เรียบร้อย เนื่องจากระหว่างพิจารณาคดีจำเลยทั้งสองได้ขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาท รวมทั้งปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วน ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองขุดดินออกไปจากที่ดินพิพาทและปลูกสร้างอาคารรุกล้ำเข้ามาในที่ดินพิพาทบางส่วนในระหว่างพิจารณาคดีก่อน มูลคดีนี้จึงเกิดภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีดังกล่าวซึ่งโจทก์ไม่สามารถฟ้องมาในคราวเดียวกันได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุว่า ตนอาจถูกฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ย หรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตามป.วิ.พ.มาตรา 57 (3) วรรคสี่ แต่ตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้เรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยนั้น ได้ความแต่เพียงว่านายอำเภอเป็นผู้สอบสวนข้อเท็จจริงและห้ามโจทก์กับจำเลยถือสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกนายอำเภอเข้ามาเป็นคู่ความในคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสต่างประเทศและการสมรสซ้อน: โมฆะตามกฎหมายไทย
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส.ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนวาดา ประเทศสหรัฐอเมริกา และชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส.ถ้ามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6051/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสต่างประเทศมีผลทางกฎหมายไทย: การสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายต่างประเทศทำให้การสมรสภายหลังในไทยเป็นโมฆะ
เมื่อการสมรสระหว่างโจทก์และ ส. ผู้ตายเป็นการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐเนววาดา ประเทศสหรัฐอเมริกาและชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1459 วรรคหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับ ส. สามีโจทก์ตามกฎหมายไทยอีก จึงเป็นการจดทะเบียนในขณะที่ ส.มีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1496 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่จำเลยจดทะเบียนสมรสกับ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จและทำพยานหลักฐานเท็จเพื่อปกปิดการยักยอกเงิน ศาลลดโทษหลังมีการชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยเป็นพนักงานเก็บเงินของบริษัทผู้เสียหายเก็บเงินจากลูกค้าแล้วยักยอกไปโดยจำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ามีคนร้ายใช้อาวุธปืนและมีดจี้บังคับปล้นเอาเงินจำนวน 74,320 บาท ซึ่งเป็นของผู้เสียหายและบางส่วนเป็นของจำเลยไป โดยไม่มีการปล้นทรัพย์เกิดขึ้น แต่จำเลยทำพยานหลักฐานเท็จด้วยการใช้ท่อนไม้ทุบรถจักรยานยนต์ของจำเลยและแจ้งข้อความเท็จแก่พนักงานสอบสวนว่าได้มีการปล้นทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา แจ้งความเท็จว่าได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นและทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการจัดซื้อจัดจ้างที่มิชอบ และการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
หน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ คือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดของพัสดุที่เสนอขึ้นไป และคัดเลือกพัสดุซึ่งเสนอขึ้นไปนั้นให้ถูกต้องตรงกับที่กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ตรวจคุณลักษณะของสมุดตัวอย่างที่ร้านพัฒนาพานิชเสนอขายแต่เพียงใช้มือจับและตาดูเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2จะไม่มีความรู้ในเรื่องคุณลักษณะของเนื้อในของสมุดที่ต้องตรวจคุณลักษณะก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับการ แต่งตั้ง มอบหมายให้เป็นกรรมการเปิดซองประกวดราคาจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ขวนขวายดำเนินการศึกษางานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่ตรวจคุณลักษณะเนื้อใน ของสมุดโดยการจับด้วยมือและดูด้วยตาเท่านั้นยังไม่เพียงพอและเมื่อปรากฏว่าสมุดที่ร้าน พ. เสนอขายไม่ใช่ขนาดตามที่กำหนดไว้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การ พัสดุพ.ศ. 2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุ ไว้ ว่าก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ 23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง(2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42(4)กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้า ส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรง ที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับ ความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อ ซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซองคณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเอง ดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2524ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42(4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของ สมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นวันทำละเมิด จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้ จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขาย ฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่ จำเลยที่ 3 ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัดเพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์ เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายัง รองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไป กรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่อง ไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอ เลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5395/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากหน้าที่ตรวจสอบการจัดซื้อพัสดุ: ความรับผิดของเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจอนุมัติ
หน้าที่ของคณะกรรมการเปิดซองประกวดราคาเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ คือต้องตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูปและรายละเอียดของพัสดุที่เสนอขึ้นไป และคัดเลือกพัสดุซึ่งเสนอขึ้นไปนั้นให้ถูกต้องตรงกับที่กำหนดไว้ การที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตรวจคุณลักษณะของสมุดตัวอย่างที่ร้านพัฒนาพานิชเสนอขายแต่เพียงใช้มือจับและตาดูเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 จะไม่มีความรู้ในเรื่องคุณลักษณะของเนื้อในของสมุดที่ต้องตรวจคุณลักษณะก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับการแต่งตั้งมอบหมายให้เป็นกรรมการเปิดซองประกวดราคาจำเลยที่ 1 ที่ 2 จะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ขวนขวายดำเนินการศึกษางานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย เพียงแต่ตรวจคุณลักษณะเนื้อในของสมุดโดยการจับด้วยมือและดูด้วยตาเท่านั้นยังไม่เพียงพอ และเมื่อปรากฏว่าสมุดที่ร้าน พ.เสนอขายไม่ใช่ขนาดตามที่กำหนดไว้ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุ และเป็นผู้เห็นชอบให้ซื้อสมุดที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสนอมา ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ได้กำหนดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุไว้ว่า ก่อนดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธีนอกจากการซื้อที่ดินตามข้อ23 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการดังต่อไปนี้ (1) เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) กำหนดว่า เมื่อได้ดำเนินการไปแล้วได้ผลประการใดให้เสนอความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงที่จะต้องตรวจสอบคุณสมบัติของพัสดุที่จะซื้อ แต่จำเลยที่ 3 ที่ 4ปล่อยปละละเลยไม่ตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อ เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เช่นกัน
จำเลยที่ 5 ผู้ช่วยผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดจำเลยที่ 6 ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัด จำเลยที่ 7 รองผู้ว่าราชการจังหวัด และจำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัด มีหน้าที่เพียงแต่เสนอความเห็นตามลำดับชั้นว่าควรจัดซื้อพัสดุหรือไม่ โดยไม่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณลักษณะเนื้อในของสมุดดังกล่าว การที่จำเลยที่ 8 เป็นผู้อนุมัติให้จัดซื้อซึ่งหากไม่มีการเสนอความเห็นตามขั้นตอนจากคณะกรรมการรับซอง คณะกรรมการเปิดซองและตรวจรับพัสดุแล้ว จำเลยที่ 8 ก็ไม่อาจสั่งการจัดซื้อได้เพราะไม่ผ่านขั้นตอนในการจัดซื้อตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนจำเลยที่ 7 เมื่อจำเลยที่ 8 อนุมัติให้จัดซื้อเพียงแต่ลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายในฐานะผู้ซื้อเท่านั้นเองดังนี้ จำเลยที่ 5 ถึงที่ 8 จึงไม่ได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่พัสดุ จำเลยที่ 4 เป็นหัวหน้าแผนกพัสดุมีหน้าที่ในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2524 ข้อ 22 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการเกี่ยวกับเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้างและตามข้อ 42 (4) ให้คณะกรรมการเปิดซองหรือกรรมการจัดซื้อเสนอความเห็นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ดังนั้นเจ้าหน้าที่แผนกพัสดุจึงมีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของสมุดที่จัดซื้อ จำเลยที่ 3 ที่ 4 จะอ้างว่าไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นหาได้ไม่ เมื่อจำเลยที่ 3 ที่ 4 กระทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ของเงินค่าเสียหายดังกล่าวนับตั้งแต่วันที่จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอจำเลยที่ 4ซึ่งเป็นวันทำละเมิด
จำเลยที่ 5 ที่ 6 เป็นผู้เสนอความเห็นตามที่จำเลยที่ 3ที่ 4 เสนอผ่านมาเท่านั้น ไม่มีหน้าที่โดยตรงในการตรวจสอบคุณลักษณะของกระดาษ และได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วไม่ได้ประมาทเลินเล่อแต่ประการใด จึงไม่เป็นการละเมิด
แม้สัญญาซื้อขายฉบับพิพาทไม่ได้ระบุรายละเอียดคุณลักษณะของกระดาษที่จัดซื้อว่ามีขนาด 60 แกรม อาจเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องผู้ขายไม่ได้เมื่อปรากฏว่าจำเลยผู้ทำสัญญาได้ระบุไว้ในสัญญาไว้แล้วว่า ผู้ขายยอมรับว่าสิ่งของที่ขายให้ตามสัญญานี้มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวอย่างของผู้ขายที่จำเลยที่ 8 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้อนุมัติให้จัดซื้อแล้ว ดังนี้จำเลยผู้ทำสัญญาซื้อขายฉบับพิพาทจึงไม่ได้ทำละเมิดต่อโจทก์ เพราะทำตามคำสั่งอนุมัติของจำเลยที่ 8 แล้ว
การที่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่รายงานการที่ผู้ขายนำสมุดไปส่งตามสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอต่าง ๆ ล่าช้าอันเป็นการผิดสัญญาทำให้จังหวัดไม่ได้ปรับผู้ขายนั้น แม้ตามสัญญาซื้อขายจะระบุให้ผู้ขายนำสมุดไปส่งมอบ ณ ที่ทำการการประถมศึกษาประจำอำเภอต่าง ๆ แต่เมื่อปรากฏว่ามีข้อขัดข้องคือทางแผนกศึกษานิเทศไม่ได้กำหนดว่าอำเภอใดจะได้จำนวนกี่เล่ม และคณะกรรมการตรวจรับสมุดดินสอก็ไม่ได้แต่งตั้ง การที่จำเลยที่ 3ตรวจรับสมุด ณ ที่ทำการประถมศึกษาจังหวัด เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าเป็นการรับมอบสมุดไว้แทนอำเภอต่าง ๆ ซึ่งต่อมาทางอำเภอต่าง ๆ ได้ตรวจรับถูกต้องแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
จังหวัดได้ส่งสำนวนการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติโจทก์โดยเลขานุการกรมโจทก์รับไว้เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2529 ทางสำนักงานเลขานุการกรมส่งเรื่องทั้งหมดไปให้งานนิติการโจทก์เพื่อทำการตรวจสำนวน งานนิติการรับเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2529 งานนิติการได้สรุปสำนวนและเสนอความเห็นมายังรองเลขาธิการโจทก์เมื่อเดือนตุลาคม 2529 นอกจากนี้ยังได้ขอทราบราคากระดาษว่าต่างกันอย่างไร ต่อมาได้ส่งเรื่องไปกรมบัญชีกลางเพื่อทราบค่าเสียหาย ในที่สุดได้เสนอเรื่องไปยังเลขาธิการโจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2530 ดังนี้ เมื่อสำนวนการสอบสวนมาถึงสำนักงานโจทก์ครั้งแรก ไม่ได้นำเสนอเลขาธิการโจทก์ในทันทีเพราะมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอีกมากมาย แต่เพิ่งเสนอเป็นครั้งแรกในวันที่ 19 พฤษภาคม 2530 เมื่อนับถึงวันฟ้องไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การครอบครองโดยอาศัยสิทธิในสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์หากผู้ขายยังไม่ได้โอน
บ. เข้าครอบครองที่ดินแปลงที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์รายนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างบริษัท ศ. ผู้จะขายกับ บ. ผู้จะซื้อส่วนผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระหว่าง บ. กับผู้ร้อง ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีเจตนาที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ฉะนั้น การครอบครองที่ดินรายนี้ของ บ.จึงเป็นการครอบครองแทนบริษัท ศ. และผู้ร้องก็จะเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของ บ.ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิดีกว่า บ. เมื่อไม่ปรากฏว่า บ.ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของบริษัท ศ. แม้ บ. จะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวนานเพียงใด บ. ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ผู้ร้องครอบครองต่อจาก บ. และโดยอาศัยสิทธิของ บ. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโดยอาศัยสิทธิในสัญญาจะซื้อจะขาย กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ครอบครอง
บ.เข้าครอบครองที่ดินแปลงที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์รายนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างบริษัท ศ.ผู้จะขายกับ บ.ผู้จะซื้อส่วนผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระหว่าง บ.กับผู้ร้อง ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีเจตนาที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ฉะนั้น การครอบครองที่ดินรายนี้ของ บ.จึงเป็นการครอบครองแทนบริษัท ศ.และผู้ร้องก็เข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของ บ. ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิดีกว่า บ. เมื่อไม่ปรากฏว่าบ.ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1381 ดังนี้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของบริษัท ศ.แม้ บ.จะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวนานเพียงใด บ.ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ ผู้ร้องครอบครองต่อจาก บ.และโดยอาศัยสิทธิของบ.จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5292/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงประชาชนจากการหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีสำนักงานชัดเจน และเจตนาหลอกลวงเป็นสำคัญ
การแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนในความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343ไม่ได้ถือเอาจำนวนผู้เสียหายที่ถูกหลอกลวงว่ามากหรือน้อยแต่ถือเอาเจตนาแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชนเป็นสำคัญและไม่จำเป็นที่จำเลยจะต้องกระทำการดังกล่าวด้วยต้นเองมาตั้งแต่ต้นทุกครั้งเพียงแต่จำเลยแสดงข้อความอันเป็นเท็จแก่ผู้เสียหายบางคนแล้วมีการบอกต่อกันไปเป็นทอด ๆเมื่อผู้เสียหายคนหลังทราบข่าวและมาสอบถามจำเลยจำเลยได้ยืนยันแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้นและให้ผู้เสียหายไปติดต่อที่แฟลตทุกครั้ง อันถือได้ว่าเป็นสำนักงานของจำเลยกับพวก แม้จะไม่มีการประกาศรับสมัครงานปิดไว้ก็ตาม การกระทำของจำเลยก็เป็นการฉ้อโกง ประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 แล้ว จำเลยกับพวกมิได้เป็นผู้รับอนุญาตให้จัดหางานมิได้เป็นกรรมการหุ้นส่วนหรือผู้จัดการของผู้ได้รับอนุญาตให้จัดหางานซึ่งเป็นนิติบุคคล ประกอบกับฟ้องโจทก์ที่บรรยายไว้ชัดแจ้งว่าจำเลยกับพวกรู้อยู่แล้วว่ายังไม่มีตำแหน่งงานหรืออัตรางานในประเทศบาร์เรนตามที่โฆษณาชักชวนแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายอย่างจริงจังเป็นเพียงอุบายหลอกลวงอ้างเรื่องการจัดหางานเพื่อให้ผู้เสียหายหลงเชื่อมอบค่าบริการให้จำเลยเท่านั้นไม่ต่างกับการหลอกลวงโดยอ้างเหตุอื่น ๆ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงภาระจำยอมไม่สมบูรณ์และการใช้ประโยชน์ในที่ดินเกินขอบเขต
พ.และจำเลยที่ 2 ร่วมกันก่อสร้างตึกแถวขายโดยมีข้อตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวมีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถโดยจะไปจดทะเบียนภาระจำยอมในภายหลัง ข้อตกลงดังกล่าวย่อมเป็นบุคคลสิทธิซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ตามที่ตกลงกันไว้แต่ข้อตกลงเช่นว่านั้นเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งภาระจำยอมเป็นทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ไปจดทะเบียนภาระจำยอมให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา1299 วรรคหนึ่ง และเมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเฉพาะเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถเท่านั้น ดังนี้ การก่อสร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่จอดรถและประกอบกิจการอุตสาหกรรม ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ตามที่ตกลงกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำเช่นว่านั้นได้ แม้จำเลยที่ 2 เจ้าของที่ดินเดิมอนุญาตให้ พ.สร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่จอดรถได้ แต่การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 2 มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไป ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้ถอนการอนุญาตดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 1
of 89