พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5235/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการใช้ทางผ่านและที่จอดรถในที่ดินภรรยา การสร้างสิ่งปลูกสร้างเกินสิทธิทำให้เกิดความเสียหาย
พ. และจำเลยที่ 2 ร่วมกันก่อสร้างตึกแถวขายโดยมีข้อตกลงว่าผู้ซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวมีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถโดยจะไปจดทะเบียนภารจำยอมในภายหลัง ข้อตกลงดังกล่าวย่อมเป็นบุคคลสิทธิซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ตามที่ตกลงกันไว้ แต่ข้อตกลงเช่นว่านั้นเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งภารจำยอมเป็นทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ เมื่อไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่บริบูรณ์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยที่ 1 ให้ไปจดทะเบียนภารจำยอมให้โจทก์เพื่อให้เป็นทรัพย์สิทธิที่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง และเมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเฉพาะเป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะและใช้เป็นที่จอดรถเท่านั้นดังนี้ การก่อสร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็น ที่จอดรถและประกอบกิจการอุตสาหกรรม ย่อมเป็นการใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์ตามที่ตกลงกันไว้โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะกระทำเช่นว่านั้นได้ เมื่อจำเลยที่ 2เจ้าของที่ดินเดิมอนุญาตให้ พ. สร้างหลังคาคลุมที่ดินพิพาทเพื่อใช้เป็นที่จอดรถได้ แต่การอนุญาตดังกล่าวก็หาได้มีข้อผูกพันให้มีผลอยู่ตลอดไปไม่ เมื่อจำเลยที่ 1ผู้รับโอนที่ดินจากจำเลยที่ 2 มีหนังสือบอกกล่าวให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกไป ถือว่าจำเลยที่ 1ได้ถอนการอนุญาตดังกล่าวแล้ว การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: อำนาจตรวจค้นโดยไม่มีหมาย, เหตุฉุกเฉิน, และความผิดฐานขัดขวาง
ที่จำเลยที่1ฎีกาว่าไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่1มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมายจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดนั้นปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปัญหาตามที่จำเลยที่1ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับจึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้จำเลยที่1ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิดแม้ปัญหานี้จำเลยที่1ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา195วรรคสองประกอบด้วยมาตรา225 ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับแต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้งผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่งจึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา92(2)ประกอบด้วยมาตรา96(2)การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมายการที่จำเลยที่1ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไปจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา138วรรคหนึ่ง การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่1เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีแม้จำเลยที่2ไม่ได้ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่2ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา213ประกอบมาตรา225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: เหตุฉุกเฉิน, อำนาจตรวจค้น, ความผิดฐานขัดขวาง
ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ไม่ได้กระทำความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตโดยอ้างเหตุพยานโจทก์ที่นำสืบมาฟังไม่ได้ว่าอาวุธปืนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ใช้ยิงได้หรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย จำเลยที่ 1จึงไม่มีความผิดนั้น ปัญหาว่าอาวุธปืนใช้ยิงได้หรือไม่เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ปัญหาตามที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยอ้างเหตุว่าขณะที่เจ้าพนักงานเข้าตรวจค้นและจับกุมพวกลักลอบเล่นการพนันนั้นเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ จึงไม่อาจตรวจค้นและจับกุมได้ จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมไม่เป็นความผิด แม้ปัญหานี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่ที่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 ในขณะเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหาลักลอบเล่นการพนันเจ้าพนักงานตำรวจไม่มีหมายค้นและหมายจับ แต่เห็นว่าการเล่นการพนันเป็นการกระทำผิดซึ่งหน้าหากไม่เข้าตรวจค้นและจับกุมทันทีตามที่พลเมืองดีแจ้ง ผู้ต้องหาอาจหลบหนีไปได้เป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง จึงตรวจค้นในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องมีหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 92(2) ประกอบด้วยมาตรา 96(2) การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจเป็นการตรวจค้นและจับกุมผู้เล่นการพนันโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 ขัดขวางการจับกุมโดยใช้มือดึงผู้เล่นการพนันให้ออกไป จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคหนึ่ง การปรับบทความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาตลอดถึงจำเลยที่ 2 ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมทำร้ายร่างกายผู้อื่น: การพิสูจน์เจตนาและความเกี่ยวข้องในการกระทำความผิด
ก่อนเกิดเหตุที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายจนนิ้วก้อยข้างซ้ายขาดนั้น ผู้เสียหายไม่ได้มีสาเหตุหรือทะเลาะกับจำเลยที่ 2 มาก่อน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมสมคบหรือวางแผนเพื่อทำร้ายผู้เสียหาย และขณะผู้เสียหายถูกทำร้ายนั้นจำเลยที่ 2 ก็มิได้อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุพอที่จะช่วยเหลือจำเลยที่ 1 และที่ 3 คงได้ความเพียงว่าเมื่อผู้เสียหายวิ่งหลบหนีภายหลังถูกจำเลยที่ 1 และที่ 3 ทำร้ายแล้วมาพบจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้จับชายผ้าขาวม้าที่ผู้เสียหายคาดเอวไว้และจำเลยที่ 2 กับพวกรุมชกต่อยผู้เสียหายจนกระทั่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามมาทัน จำเลยที่ 1 จึงใช้มีดฟันผู้เสียหาย แต่พลาดไปถูกขาจำเลยที่ 2 ได้รับบาดเจ็บพฤติการณ์และการกระทำของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังผู้เสียหายถูกทำร้ายจนได้รับอันตรายสาหัสไปแล้ว การที่จำเลยที่ 2 ชกต่อยทำร้ายผู้เสียหายในตอนหลัง และการที่จำเลยที่ 2 มางานเลี้ยงที่บ้าน ค. พร้อมกับจำเลยที่ 1 ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทำร้ายผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 คงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลโต้แย้งการรับเงินในสัญญากู้ยืม และประเด็นการยกข้อกฎหมายใหม่ในชั้นฎีกา
แม้ว่าในชั้นอุทธรณ์โจทก์จะมิได้ยกข้อกฎหมายเรื่องห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ขึ้นว่ากล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง และเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสอง ระบุว่าสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม การกู้ยืมเงินเข้าลักษณะยืมใช้สิ้นเปลือง ดังนั้นที่จำเลยนำสืบว่าไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมเงินย่อมเป็นเหตุให้สัญญากู้ยืมเงินไม่บริบูรณ์ทั้งไม่มีมูลหนี้เงินกู้ระหว่างโจทก์จำเลย การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์ จำเลยย่อมนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่
เมื่ออุทธรณ์โจทก์ไม่มีประเด็นว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างประเด็นดังกล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์ แต่คำแถลงการณ์ไม่ใช่คำฟ้องอุทธรณ์โจทก์จะตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแถลงการณ์ไม่ได้ ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องชำระหนี้แก่โจทก์จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่ออุทธรณ์โจทก์ไม่มีประเด็นว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ แม้โจทก์จะอ้างประเด็นดังกล่าวไว้ในคำแถลงการณ์ในชั้นอุทธรณ์ แต่คำแถลงการณ์ไม่ใช่คำฟ้องอุทธรณ์โจทก์จะตั้งประเด็นในชั้นอุทธรณ์ตามคำแถลงการณ์ไม่ได้ ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ว. เป็นตัวแทนจำเลยและเป็นผู้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยจึงต้องชำระหนี้แก่โจทก์จึงเป็นเรื่องที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาและการนำสืบข้อจำกัดความรับผิดในสัญญา
แม้ในชั้นอุทธรณ์โจทก์จะมิได้ยกข้อกฎหมายเรื่องห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)ขึ้นว่ากล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินพิพาทไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์จำเลยย่อมนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินพิพาทไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์จำเลยย่อมนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4385/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายผิดนัดส่งมอบของ และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาซื้อขาย ข้อ 10 มีว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเป็นต้นไปจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน" และวรรคสามของสัญญาข้อเดียวกันระบุว่า "ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของและได้สงวนสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันด้วย และเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ จึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่งและวรรคสามนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ไม่ได้ส่งมอบได้ ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 ที่ระบุให้ผู้ซื้อสามารถเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยนั้นหมายถึงว่า เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ให้เวลาผู้ขายที่จะส่งมอบสิ่งของและสงวนสิทธิในการที่จะปรับเป็นรายวัน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวัน จำเลยทั้งสองจะต้องชำระค่าปรับพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันผิดนัดให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับรายวัน-บอกเลิกสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายผิดนัด
สัญญาซื้อขายข้อ 10 มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่จากวันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเป็นต้นไปจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน" และวรรคสามของสัญญาข้อเดียวกันระบุว่า "ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 8 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของและได้สงวนสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันด้วย และในที่สุดโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ จึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่งและวรรคสามนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ไม่ได้ส่งมอบได้ ส่วนสัญญาข้อ 9 นั้น หมายถึงว่า เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ให้เวลาผู้ขายที่จะส่งมอบสิ่งของและสงวนสิทธิในการที่จะปรับเป็นรายวัน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2540)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขาย, การอนุมัติสินเชื่อ, ข้อตกลงเพิ่มเติม, สิทธิในการเรียกร้องเงินมัดจำ
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า ส่วนเงินที่เหลืออีก 1,850,000 บาท จะจ่ายในเมื่อทางธนาคารอนุมัติให้ ไม่ได้กำหนดให้เห็นต่อไปว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้จะมีผลเป็นอย่างไร การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
โจทก์ประกอบอาชีพเสริมสวย ไม่มีร้านเป็นของตนเอง เหตุที่ต้องการซื้อตึกแถวจากจำเลยก็เพราะร้านเสริมสวยที่ทำอยู่จะหมดสัญญาเช่า เงิน 150,000 บาท ที่วางมัดจำให้จำเลยไว้ก็เป็นเงินที่ยืมมาจากมารดา ในขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ติดต่อกับธนาคารยังไม่แน่ว่าธนาคารจะให้กู้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด โดยปกติการทำสัญญาจะซื้อขายผู้ซื้อจะเอาเงินมาจากที่ใดเป็นเรื่องของผู้ซื้อเอง ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในสัญญา แต่สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทนี้เขียนไว้ว่าเงินที่เหลืออีก 1,850,000 บาท จะจ่ายในเมื่อธนาคารอนุมัติให้แสดงว่าได้มีการพูดถึงเรื่องเงินที่จะนำมาจ่ายครั้งต่อไปกันไว้แล้วว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้กู้เงินจำนวนดังกล่าวแล้วสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกัน ต่อมาธนาคารอนุมัติให้โจทก์กู้เงินได้เพียง 1,000,000 บาท ไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาโดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของฝ่ายใด สัญญาจะซื้อขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนมัดจำที่ริบไว้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยจะริบเสียมิได้
โจทก์ประกอบอาชีพเสริมสวย ไม่มีร้านเป็นของตนเอง เหตุที่ต้องการซื้อตึกแถวจากจำเลยก็เพราะร้านเสริมสวยที่ทำอยู่จะหมดสัญญาเช่า เงิน 150,000 บาท ที่วางมัดจำให้จำเลยไว้ก็เป็นเงินที่ยืมมาจากมารดา ในขณะทำสัญญาโจทก์ยังไม่ได้ติดต่อกับธนาคารยังไม่แน่ว่าธนาคารจะให้กู้หรือไม่ เป็นจำนวนเท่าใด โดยปกติการทำสัญญาจะซื้อขายผู้ซื้อจะเอาเงินมาจากที่ใดเป็นเรื่องของผู้ซื้อเอง ไม่จำเป็นต้องระบุไว้ในสัญญา แต่สัญญาจะซื้อขายฉบับพิพาทนี้เขียนไว้ว่าเงินที่เหลืออีก 1,850,000 บาท จะจ่ายในเมื่อธนาคารอนุมัติให้แสดงว่าได้มีการพูดถึงเรื่องเงินที่จะนำมาจ่ายครั้งต่อไปกันไว้แล้วว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้กู้เงินจำนวนดังกล่าวแล้วสัญญาจะซื้อขายเป็นอันเลิกกัน ต่อมาธนาคารอนุมัติให้โจทก์กู้เงินได้เพียง 1,000,000 บาท ไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาโดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของฝ่ายใด สัญญาจะซื้อขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยต้องคืนมัดจำที่ริบไว้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยจะริบเสียมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4380/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายมีเงื่อนไขอนุมัติสินเชื่อ การเลิกสัญญาและคืนมัดจำ
สัญญาจะซื้อขายมีข้อความว่า ส่วนเงินที่เหลืออีก 1,850,000บาท จะจ่ายในเมื่อทางธนาคารอนุมัติให้ ไม่ได้กำหนดให้เห็นต่อไปว่าหากธนาคารไม่อนุมัติให้จะมีผลเป็นอย่างไร การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้ เพราะเป็นการนำสืบอธิบายข้อความในเอกสารไม่ใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน เมื่อต่อมาธนาคารอนุมัติให้โจทก์กู้เงินได้เพียง 1,000,000 บาท ไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาโดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของฝ่ายใด สัญญาจะซื้อขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยก็ต้องคืนมัดจำที่รับไว้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จะริบเสียมิได้
สัญญาจะซื้อขายมีข้อตกลงว่า หากธนาคารอนุมัติเงินกู้แก่โจทก์ไม่ครบ 1,850,000 บาท ให้ถือว่าสัญญาจะซื้อขายเลิกกัน เมื่อต่อมาธนาคารอนุมัติให้โจทก์กู้เงินได้เพียง 1,000,000 บาท ไม่ถึงจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาโดยมิใช่เป็นเพราะความผิดของฝ่ายใด สัญญาจะซื้อขายจึงเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม จำเลยก็ต้องคืนมัดจำที่รับไว้ให้โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ย จะริบเสียมิได้