คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมปอง เสนเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลถอนอำนาจปกครองผู้เยาว์กรณีมารดาใช้อำนาจมิชอบ แม้ผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดา
ในการถอนอำนาจปกครองนั้น กฎหมายให้อำนาจศาลถอนเสียได้โดยลำพังโดยไม่ต้องให้ผู้ใดร้องขอก็ได้ หากมีเหตุตามบทบัญญัติแห่งป.พ.พ.มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ในขณะผู้ร้องยื่นคำร้องผู้ร้องยังมิได้เป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ก็ตาม แต่เมื่อความปรากฏต่อศาลว่ามารดาของผู้เยาว์ย้ายไปอยู่ที่อื่นและสมรสใหม่ตั้งแต่ผู้เยาว์อายุได้เพียงปีเศษและไม่เคยกลับมาดูแลผู้เยาว์อีกเลย กรณีจึงเป็นการที่มารดาผู้เยาว์ใช้อำนาจปกครองแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบ ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาถอนอำนาจปกครองจากมารดาผู้เยาว์ และเมื่อปรากฏว่าผู้เยาว์อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้ร้องมาโดยตลอด การให้ผู้ร้องเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ย่อมเหมาะสมกว่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท: คำให้การขัดแย้งและอายุความฟ้องร้อง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การในตอนแรกว่า ที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)ตามฟ้องของโจทก์เป็นที่ดินต่างแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า ถึงแม้ที่ดินตามฟ้องจะเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครอง คดีของโจทก์ขาดอายุความซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเองไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4228/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การขัดแย้งกันในคดีครอบครองที่ดิน ทำให้ขาดประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร จำเลยให้การในตอนแรกว่า ที่ดินหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ตามฟ้องของโจทก์ เป็นที่ดินต่างแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและทำประโยชน์ แต่จำเลยกลับให้การในตอนหลังว่า ถึงแม้ที่ดินตามฟ้องจะเป็นของโจทก์ แต่โจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่จำเลยแย่งการครอบครองคดีของโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์และเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกับคำให้การในตอนแรกของจำเลยเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ แม้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวมา ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4227/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมมีสิทธิขาย/จำนอง/ก่อภาระได้ การโอนสิทธิไม่ถือเป็นเจตนาลวงและไม่ขัดต่อสิทธิเจ้าของรวมอื่น
เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ หากการ ใช้นั้นไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ และจะ จำหน่ายส่วนของตนหรือจำนองหรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 และ 1361จำเลยที่ 1 และที่ 3 โอนขายที่ดินส่วนของตนให้แก่จำเลยอื่นและโอนขายให้แก่กัน เพื่อให้จำเลยทั้งเจ็ดเข้ามาใช้ที่ดินที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวม จึงเป็นสิทธิของเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆที่จะกระทำได้ แม้การโอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้จำเลยผู้รับโอนเข้ามาใช้ทรัพย์ก็ตาม แต่เมื่อเป็นสิทธิซึ่งกฎหมายรับรองให้มีขึ้นจากการเป็นเจ้าของรวม กรณีมิใช่เป็นเจตนาลวงหรือนิติกรรมอำพราง โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน การที่โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 1675และ 1676 ร่วมกับจำเลย ก็เพื่อประโยชน์ในการที่โจทก์จำเลย จะสร้างถนนใช้ร่วมกันทั้งลักษณะของที่ดินทั้งสองโฉนดเป็น รูปยาวขนานกันไปประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ ส่วนที่เหลือจากการ สร้างถนนจึงไม่เหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์อย่างอื่นอีกเมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีข้อตกลงให้โจทก์สร้างถนนยาวตลอดที่ดินเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของจำเลยแปลงที่อยู่ด้านใน แต่โจทก์สร้างไม่เต็มตามที่ตกลงไว้ คงสร้างเฉพาะส่วนที่โจทก์ใช้ประโยชน์เท่านั้น ต่อมาจำเลยอื่นซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งได้สร้างถนนต่อไปจนตลอดเพื่อใช้ร่วมกัน โดยความรู้ความเห็น ยินยอมของจำเลยอื่นผู้เป็นเจ้าของรวมทุกคน ตรงตาม วัตถุประสงค์แห่งเจ้าของรวม การใช้สิทธิของจำเลยและ จำเลยอื่นจึงไม่ขัดต่อสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360 และ 1361 และไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ คดีไม่มีทุนทรัพย์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดเป็นคดีเรื่องเดียวและโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดีจำเลยทั้งเจ็ด การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลยทุกคนเป็น รายคน คนละ 2,500 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็น การไม่ถูกต้องเนื่องจากเกินกว่า 3,000 บาท ซึ่งเป็นอัตรา ที่กฎหมายกำหนดตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาใน ปัญหานี้ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดใหม่ให้ถูกต้องเป็นให้ โจทก์ใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นแทนจำเลยทั้งเจ็ดรวม 3,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4183/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งบรรจุเฮโรอีนเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในการจำหน่าย ถือเป็นการ 'ผลิต' ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
เจ้าพนักงานตำรวจค้นพบเฮโรอีนบรรจุในหลอดกาแฟจำนวน28หลอดอยู่ในกล่องพลาสติกที่จำเลยถืออยู่และยังมีหลอดกาแฟเปล่าขนาดเดียวกันที่ตัดไว้โดยเปิดด้านหนึ่งอยู่อีกถึง33หลอดประกอบกับในชั้นจับกุมจำเลยรับสารภาพว่าซื้อเฮโรอีนมาแบ่งบรรจุในหลอดกาแฟและแสดงท่าบรรจุเฮโรอีนในหลอดกาแฟเปล่าให้เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับดูด้วยทั้งในชั้นสอบสวนจำเลยก็รับว่าหลอดกาแฟเปล่าเตรียมไว้เพื่อบรรจุเฮโรอีนพฤติการณ์ของจำเลยที่แบ่งเฮโรอีนออกเป็นส่วนย่อยและบรรจุลงในหลอดกาแฟดังกล่าวและยังมีหลอดกาแฟเปล่าขนาดเดียวกันจำนวนมากแม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขั้นตอนที่จำเลยทำการแบ่งบรรจุใส่ในหลอดกาแฟแต่ก็เป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยกระทำเพื่อความสะดวกในการจัดจำหน่ายนั่นเองจึงฟังได้โดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดฐานผลิตเฮโรอีน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท
จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ลดค่าเสียหายที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาล อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล, อายุความหนี้, และดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้
ป.วิ.พ.มาตรา 4 (1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่28 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตามบทมาตราดังกล่าวโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น ทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาด้วยไม่
ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตายดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ 1 ปี ตามมาตรา 1754 วรรคสามดังกล่าวข้างต้นอาจจะล้วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินจะระบุข้อความไว้ว่าไม่มีดอกเบี้ยแต่ข้อความตอนต้นก็ระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญา นอกจากนี้ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ในตอนท้ายของสัญญากู้ยืมเงินว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา ดังนี้แสดงให้เห็นว่าผู้กู้ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี) นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน กรณีมิใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยกันไว้ในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีหนี้เหนือบุคคล, การฟ้องบังคับหนี้ก่อนกำหนด, และดอกเบี้ยตามสัญญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวกับหนี้เหนือบุคคลซึ่งตามบทมาตราดังกล่าวโจทก์สามารถเสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้น ทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้นคดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาด้วยไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติมิให้เจ้าหนี้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของลูกหนี้ ในกรณีดังกล่าว เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องเรียกร้องให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของผู้ตายซึ่งเป็นลูกหนี้ในกำหนด 1 ปี นับแต่ลูกหนี้ถึงแก่ความตาย ดังนั้น แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แต่ลูกหนี้ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระ อายุความ 1 ปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ดังกล่าวข้างต้นอาจจะล่วงพ้นไปแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ แม้หนังสือกู้ยืมเงินจะระบุข้อความไว้ว่าไม่มีดอกเบี้ยแต่ข้อความตอนต้นก็ระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันทำสัญญา นอกจากนี้ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ในตอนท้ายของสัญญากู้ยืมเงินว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปียินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา ดังนี้แสดงให้เห็นว่าผู้กู้ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี) นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน กรณีมิใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ เจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องหนี้หลังลูกหนี้เสียชีวิต และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีหนี้
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ ป. ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระแต่ ป. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน1 ปีนับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระอายุความ 1 ปีอาจจะล่วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
ป. ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยจำเลยที่ 6ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ท้องที่ดังกล่าวทำสัญญาค้ำประกันการกู้ยืมเงินด้วยดังนี้ เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1) แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 26พฤศจิกายน 2535 คำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยหนี้เหนือบุคคลตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์สามารถโอนคดีฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 6 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นทั้งมูลคดีก็เกิดขึ้นในเขตศาลชั้นต้น คดีย่อมอยู่ในอำนาจศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาพิพากษาได้โจทก์หาจำต้องยื่นคำร้องแสดงเหตุให้ศาลชั้นต้นรับคดีไว้พิจารณาไม่
แม้ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินข้อ 2 จะระบุข้อความไว้ว่า ไม่มีดอกเบี้ย แต่ข้อความตอนต้นระบุไว้ว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยตามจำนวนเงินที่กู้แก่ผู้ให้กู้ชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือนนับแต่วันที่ทำสัญญา นอกจากนี้ ป. ผู้กู้ยังได้บันทึกรับรองไว้ตอนท้ายสัญญากู้ยืมว่า ถ้าหากไม่ชำระหนี้ตามสัญญาใน 2 ปี ยินยอมคิดดอกเบี้ยนับจากวันครบสัญญา แสดงให้เห็นว่าป. ยอมรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราชั่งละหนึ่งบาทต่อเดือน (ร้อยละ 15 ต่อปี)นับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หาใช่คู่สัญญาไม่ได้ตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยในอันที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3880/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหมิ่นประมาทเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ทรัพย์สินได้ และการนำสืบเจตนาการให้โดยเสน่หา
การที่จำเลยด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำว่า "ไอ้เปรตไอ้เฒ่าบ้าแก่จะเข้าโลงยังหลงบ้าสมบัติ แถมบ้าเมียไม่สมแก่ไอ้หัวล้าน" ต่อหน้าบุคคลอื่นย่อมทำให้ผู้ได้ยินฟังเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี บ้าสมบัติบ้าผู้หญิง ซึ่งถ้อยคำดังกล่าวไม่เพียงแต่หยาบคายและเป็นคำกล่าวที่ไม่สมควรเท่านั้น หากแต่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์ผู้ให้อย่างร้ายแรง ถือได้ว่าเป็นการประพฤติเนรคุณ โจทก์ย่อมจะเรียกถอนคืนการให้ที่ดินพิพาทจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531(2)
แม้สารบัญจดทะเบียนตามโฉนดที่ดินจะระบุว่า อ. ขายให้แก่จำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็สามารถนำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าโจทก์ผู้เป็นบิดาเป็นผู้ชำระราคาที่ดินโดยให้จำเลยบุตรของโจทก์เป็นผู้รับโอนในฐานะผู้ซื้อเนื่องจากโจทก์ประสงค์จะยกที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยเพราะเป็นการนำสืบถึงเหตุแห่งความจริงเกี่ยวกับเจตนาของโจทก์ผู้ให้และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้กับผู้รับการยกให้ การจดทะเบียนก็ยังคงเป็นการจดทะเบียนขายที่ดินของ อ. ให้โจทก์ เพียงแต่ระบุชื่อผู้ซื้อเป็นจำเลย ซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ประสงค์จะยกที่ดินให้เท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันจะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ไม่
of 89