พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละจำเลย การอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 และ 3
การขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายเป็นรายบุคคลไป ศาลจะอนุญาตหรือไม่ก็ต้องพิจารณาเหตุผลเฉพาะรายตามที่ได้ยื่นคำร้องนั้น ๆ ไม่มีผลถึงคู่ความรายอื่น สิทธิในการอุทธรณ์ก็เป็นเรื่อง เฉพาะตัวของคู่ความแต่ละรายไป จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์เฉพาะของจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้น มีคำสั่งอนุญาต เป็นการอนุญาตให้เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลาตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้จะถือสิทธิอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์มาพร้อมอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ด้วย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีครอบครัวมีทุนทรัพย์: การชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้องทั้งคดี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองที่บัญญัติยกเว้นให้มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ไว้ว่า"บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครอง" นั้น มีความหมายว่าถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวแล้วมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้เท่านั้นแต่หาได้มีความหมายไปถึงว่าคดีเกี่ยวกับสิทธิสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์เสมอไปไม่ โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพอันเป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวซึ่งมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองและ248วรรคสองแต่การที่โจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูมาจำนวน180,000บาทและเรียกค่าทดแทนมาจำนวน200,000บาทรวม380,000บาทอันเป็นการฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินมีค่าเป็นจำนวนเงินเข้ามาด้วยกรณีสีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งโจทก์จำต้องจำต้องชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนที่โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระตามกฎหมายเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องเฉพาะในส่วนข้อกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้เท่านั้นคำฟ้องเฉพาะเรื่องขอหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่จำต้องชำระค่าขึ้นศาลส่วนคำฟ้องเกี่ยวกับคำขอค่าเลี้ยงชีพเป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลในอนาคตไว้ถูกต้องแล้วเมื่อฟ้องของโจทก์ในสองส่วนนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่และแยกเป็นคนละส่วนจากคำฟ้องที่โจทก์ทิ้งฟ้องได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในสองส่วนนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี แม้ชั่วคราวและเด็กเต็มใจไปด้วย ก็เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317
องค์ประกอบความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 คือการพรากเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล คำว่า "พราก"หมายความว่า พาไปหรือแยกเด็กออกจากความปกครองดูแล แม้จะชักชวนแนะนำเด็กให้ไปกับผู้กระทำโดยมิได้หลอกลวงและเด็กเต็มใจไปด้วย ก็เป็นความผิดตามมาตรานี้
จำเลยมีอาชีพรับจ้างโดยขับรถรับจ้างรับส่งผู้โดยสารทั่วไปได้รับส่งเด็กหญิงทั้งสาม พาไปเลี้ยงไอศกรีม พาไปเที่ยวแล้วจึงส่งกลับบ้านเป็นการชั่วคราวก็ตาม แต่เมื่อไปถึงบ้านของเด็กหญิง เด็กหญิงจะลงจากรถ จำเลยก็ชักชวนให้ไปกับจำเลยจนกระทั่งล่วงเลยเวลากลับบ้านตามปกติ รุ่งขึ้นก็ชักชวนเด็กหญิงดังกล่าวไปกับจำเลยอีกโดยสัญญาว่าจะพาไปเลี้ยงไอศกรีม ทั้งยังเล่าเรื่องร่วมเพศให้เด็กหญิงฟังและนัดหมายจะพาไปเรียนว่ายน้ำและสอนขับรถในวันต่อมา ซึ่งในวันดังกล่าวจำเลยได้พาเด็กหญิงไปกินไอศกรีม โดยจำเลยเป็นผู้จ่ายเงิน นอกจากนี้จำเลยยังให้เงินและเสี้ยมสอนให้เด็กหญิงทั้งสามโกหกบิดามารดาในการกลับบ้านผิดปกติและล่วงเลยเวลา เด็กหญิงทั้งสามอายุเพียง 10 ปี ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา การกระทำของจำเลยแม้จะพรากไปเพียงชั่วคราว แต่ก็มิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ทั้งไม่ปรากฏว่าการพาไปดังกล่าวเพราะเหตุสมควรประการใด จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม เพราะลำพังการเล่าเรื่องลามกอนาจารยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดตามตัวบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคสามโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่งด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง ศาลก็ปรับบทลงโทษตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหก
จำเลยมีอาชีพรับจ้างโดยขับรถรับจ้างรับส่งผู้โดยสารทั่วไปได้รับส่งเด็กหญิงทั้งสาม พาไปเลี้ยงไอศกรีม พาไปเที่ยวแล้วจึงส่งกลับบ้านเป็นการชั่วคราวก็ตาม แต่เมื่อไปถึงบ้านของเด็กหญิง เด็กหญิงจะลงจากรถ จำเลยก็ชักชวนให้ไปกับจำเลยจนกระทั่งล่วงเลยเวลากลับบ้านตามปกติ รุ่งขึ้นก็ชักชวนเด็กหญิงดังกล่าวไปกับจำเลยอีกโดยสัญญาว่าจะพาไปเลี้ยงไอศกรีม ทั้งยังเล่าเรื่องร่วมเพศให้เด็กหญิงฟังและนัดหมายจะพาไปเรียนว่ายน้ำและสอนขับรถในวันต่อมา ซึ่งในวันดังกล่าวจำเลยได้พาเด็กหญิงไปกินไอศกรีม โดยจำเลยเป็นผู้จ่ายเงิน นอกจากนี้จำเลยยังให้เงินและเสี้ยมสอนให้เด็กหญิงทั้งสามโกหกบิดามารดาในการกลับบ้านผิดปกติและล่วงเลยเวลา เด็กหญิงทั้งสามอายุเพียง 10 ปี ยังอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา การกระทำของจำเลยแม้จะพรากไปเพียงชั่วคราว แต่ก็มิได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ทั้งไม่ปรากฏว่าการพาไปดังกล่าวเพราะเหตุสมควรประการใด จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควรการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ยังไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคสาม เพราะลำพังการเล่าเรื่องลามกอนาจารยังไม่พอฟังว่าเป็นความผิดตามตัวบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 317 วรรคสามโดยไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา 317 วรรคหนึ่ง แต่ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำผิดตามมาตรา 317 วรรคหนึ่งด้วย เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 317 วรรคหนึ่ง ศาลก็ปรับบทลงโทษตามความผิดที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 วรรคหก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2751/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิด - ค่าขาดประโยชน์จากการให้เช่า - ผู้รับสิทธิครอบครอง
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อละเมิดได้แก่ การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ตามนัยมาตรา 438 วรรคสองแห่ง ป.พ.พ. ดังนั้น ค่าขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่าจึงถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย ซึ่งหากโจทก์ที่ 1 เป็นผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในรถยนต์คันพิพาทเอง โจทก์ที่ 1 ย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้ได้ด้วย เมื่อโจทก์ที่ 1 มอบสิทธิการครอบครองใช้ประโยชน์ในรถยนต์พิพาทให้โจทก์ที่ 2 การทำละเมิดของจำเลยจึงกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่ 2 โดยตรง โจทก์ที่ 2 จึงย่อมมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเพราะขาดประโยชน์ที่จะได้จากการให้เช่าได้ดุจเดียวกับโจทก์ที่ 1 โดยไม่จำเป็นที่โจทก์ที่ 2 จะต้องมีความผูกพันหรือมีส่วนได้เสียใด ๆ ในอันที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบิดามารดาต่อการกระทำผิดของบุตรผู้เยาว์: การใช้ความระมัดระวังตามสมควร
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้เยาว์ และความรับผิดของบิดามารดาในการควบคุมดูแล ความเสียหายที่เหมาะสม
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่าจำเลยที่1ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวาเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา46จำเลยที่1จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ส่วนจำเลยที่2และที่3บิดามารดาของจำเลยที่1ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วยผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่2และที่3ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาแต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้ จำเลยที่1มีอายุ14ปีเศษมีความรู้ผิดชอบพอสมควรเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่1มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อนย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่1ตลอดเวลาทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่1ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่2และที่3จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่2และที่3ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่1จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์จำเลยที่2และที่3ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้วถือว่าจำเลยที่2และที่3ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่1แล้วจำเลยที่2และที่3จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเด็กและขอบเขตความรับผิดของบิดามารดาในการดูแลควบคุม
ข้อเท็จจริงในคดีอาญาซึ่งถึงที่สุดฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ใช้ไม้เป็นอาวุธทำร้ายร่างกายโจทก์ถูกที่บริเวณตาขวา เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัส คดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 จำเลยที่ 1 จะต่อสู้คดีและนำสืบโต้แย้งเป็นอย่างอื่นอีกไม่ได้ ส่วนจำเลยที่ 2และที่ 3 บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นคู่ความในคดีอาญาดังกล่าวด้วย ผลของคำพิพากษาคดีส่วนอาญาย่อมไม่ผูกพันจำเลยที่ 2และที่ 3 ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา แต่ต้องฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบในคดีแพ่งใหม่ได้ จำเลยที่ 1 มีอายุ 14 ปีเศษ มีความรู้ผิดชอบพอสมควร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีนิสัยเกเรชอบรังแกผู้อื่นมาก่อน ย่อมเป็นการยากที่จะให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาใช้ความระมัดระวังควบคุมดูแลจำเลยที่ 1 ตลอดเวลา ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ขว้างทำร้ายร่างกายโจทก์เป็นการกระทำลับหลังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ไม่อาจคาดคิดหรือควรคิดได้ว่าจำเลยที่ 1 จะกระทำเช่นนั้นต่อโจทก์จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่มีโอกาสปฏิบัติเป็นอย่างอื่นได้ดีกว่านี้แล้ว ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3จึงไม่ต้องรับผิดร่วมด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมในสถานพินิจสำหรับเด็กและเยาวชน และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย10ปีและให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ2ปีและขั้นสูง3ปีนับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา104(2)ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยจึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา18และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน5ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา218วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษเด็กและเยาวชนโดยศาลเยาวชนและครอบครัว มิใช่การลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี และขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา104 (2) ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกอบรมในสถานพินิจสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ถือเป็นการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 10 ปี และให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี และขั้นสูง 3 ปี นับแต่วันพิพากษาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นอันเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย จึงไม่เป็นการลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 และต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปีศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124