คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมปอง เสนเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 883 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางซื้อขาย, อายุความมรดก: การฟ้องแบ่งมรดกต้องทำภายใน 1 ปีนับจากทราบการตาย
ตามคำให้การจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยกที่พิพาทให้ ศ. แต่เป็นการขายที่พิพาทให้ ช. โดยให้ ศ.ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมยกให้อำพรางนิติกรรมการซื้อขายต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้ นิติกรรมการยกให้เป็นการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะ สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์เช่นนี้ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้ ช.สามี ศ.เจ้ามรดก ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับ ศ. เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงสินสมรสย่อมแยกกันตามกฎหมาย และตกเป็นมรดกของ ศ.กึ่งหนึ่ง ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกคือ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของ ศ. และจำเลยซึ่งเป็นบุตร รวมทั้งช.สามีเจ้ามรดกได้คนละส่วนเท่ากัน โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องแบ่งมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันทราบถึงการตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 คดีจึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิใช้ทางจำเป็น - การใช้สิทธิโดยไม่สุจริต - ทางพิพาท - การยินยอมทำทาง
บันทึกเอกสารหมาย จ.9 มีข้อความเพียงว่า จำเลยที่ 1สัญญาว่าจะให้ทางเดินเข้าออกกว้าง 3.50 เมตร แก่ที่ดินโฉนดเลขที่ 182541ถึง 182547 บันทึกดังกล่าวไม่มีคู่สัญญา แต่มี อ.ลงชื่อในฐานะพยานไว้ จึงเป็นเพียงบันทึกอนุญาตหรือให้ความยินยอมแก่เจ้าของที่ดินด้านในผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1ได้เท่านั้น และไม่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก
การที่จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกยินยอมให้โจทก์และเจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านใน ทำทางเข้าออกผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ ทั้งโจทก์ก็ได้ร่วมกันออกเงินเป็นค่าใช้จ่ายทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยที่ 1 และได้ใช้ทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางพิพาทมิให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์จากทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตาม ป.พ.พ.มาตรา 5 จำเลยที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 ทราบเรื่องนี้และปิดกั้นทางพิพาท จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสามต้องเปิดทางพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1218-1219/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น-สิทธิโดยไม่สุจริต: การปิดกั้นทางพิพาทหลังยินยอมและใช้ประโยชน์ร่วมกัน
บันทึกเอกสารหมายจ.ชมีข้อความเพียงว่าจำเลยที่1สัญญาว่าจะให้ทางเดินเข้าออกกว้าง3.50เมตรแก่ที่ดินโฉนดเลขที่182541ถึง182547บันทึกดังกล่าวไม่มีคู่สัญญาแต่มีอ.ลงชื่อในฐานะพยานไว้จึงเป็นเพียงบันทึกอนุญาตหรือให้ความยินยอมให้แก่เจ้าของที่ดินด้านในผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้เท่านั้นและไม่เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก การที่จำเลยที่1ได้ทำบันทึกยินยอมให้โจทก์และเจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านในทำทางเข้าออกผ่านที่ดินของจำเลยที่1ได้ทั้งโจทก์ก็ได้ร่วมกันออกเงินเป็นค่าใช้จ่ายทำทางพิพาทผ่านที่ดินของจำเลยที่1และได้ใช้ทางพิพาทตลอดมาเป็นเวลา8ปีแล้วการที่จำเลยที่1ปิดกั้นทางพิพาทมิให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์จากทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา5จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่1ทราบเรื่องนี้และปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1จำเลยทั้งสามต้องเปิดทางพิพาทให้โจทก์ทั้งห้าใช้ประโยชน์ได้ตามปกติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าต้องพิสูจน์ได้ การยิงขู่เพื่อป้องกันตัวเมื่อถูกขว้างปืน ไม่ถึงแก่ความพยายามฆ่า
ฝ่ายผู้เสียหายมีถึง8คนส่วนจำเลยมีคนเดียวการที่จำเลยชักอาวุธปืนออกมาและพูดขู่ว่าอย่าเข้ามานะพร้อมกับเดินถอยหลังไปเรื่อยๆแสดงให้เห็นว่าฝ่ายผู้เสียหายถือขวดสุราจะเข้าไปหาเพื่อทำร้ายจำเลยหาใช่เอาขวดมาถือไว้เฉยๆดังที่ผู้เสียหายเบิกความไม่หากจำเลยมีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายทั้งแปดจริงก็คงจะยิงผู้เสียหายตั้งแต่ตอนนั้นแล้วเพราะจำเลยกระชากลูกเลื่อนให้กระสุนเข้าลำกล้องพร้อมจะยิงได้แล้วการที่จำเลยเดินถอยหลังไปถึง30เมตรแล้วจึงยิงแสดงให้เห็นว่าเป็นการยิงขู่โดยไม่หวังผลเพราะฝ่ายผู้เสียหายมีการขว้างขวดสุราใส่จำเลยส่วนที่ผู้เสียหายที่8และพนักงานสอบสวนเบิกความว่ากระสุนปืนที่จำเลยยิงไปถูกโต๊ะที่วางตู้ขายก๋วยเตี๋ยวห่างกลุ่มผู้เสียหายประมาณ1เมตรแต่ผู้เสียหายที่8ไม่ได้เห็นเองเพียงแต่เพื่อบอกพนักงานสอบสวนก็หาได้บันทึกรอยกระสุนปืนดังกล่าวไว้ในรายงานการตรวจสถานที่เกิดเหตุหรือแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุแต่อย่างใดไม่ทั้งๆที่เป็นวัตถุพยานอันสำคัญและไม่ได้มีการพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นรอยที่เกิดจากกระสุนปืนจริงเป็นแต่พนักงานสอบสวนเข้าใจเอาเองพยานโจทก์ปากอื่นๆไม่มีผู้ใดเบิกความถึงรอยกระสุนนี้ทั้งที่วิถีกระสุนเป็นเรื่องสำคัญที่จะแสดงให้เห็นว่าจำเลยยิงปืนไปทางใดจึงยังไม่ได้สนิทใจว่ารอยดังกล่าวเกิดจากกระสุนปืนของจำเลยจริงหรือไม่ประกอบกับจำเลยมีเรื่องชกต่อยกับผู้เสียหายที่3เพียงคนเดียวไม่มีสาเหตุกับผู้เสียหายคนอื่นๆและไม่ยิงผู้เสียหายทั้งแปดเสียตั้งแต่แรกขณะอยู่ในระยะใกล้ทั้งที่สามารถกระทำได้กลับเดินถอยหลังให้ห่างออกไปและร้องห้ามมิให้พวกผู้เสียหายเข้ามาชี้ให้เห็นว่าจำเลยต้องการยิงขู่เพราะมีการขว้างขวดสุราใส่จำเลยเท่านั้นหาได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายทั้งแปดแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบอกเลิกสัญญาซื้อขายและเรียกค่าเสียหายจากการส่งมอบสินค้าล่าช้าและชำรุด
สัญญาซื้อขายข้อ 3 ระบุว่าจำเลยผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2528 ส่วนข้อ 10 วรรคแรกระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญาแล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ และข้อ 11 วรรคแรก ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 10 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนและในวรรคสามกำหนดว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา และริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกัน กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ คดีนี้ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายล่าช้านับแต่วันถึงกำหนดจนถึงวันส่งมอบรวม 13 วัน โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยทั้งสองได้รวมเป็นเงิน 23,920 บาท เมื่อหักเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นเงิน 920,000 บาท แล้ว โจทก์จึงชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองไปเป็นเงิน 896,080 บาท ต่อมาภายหลังปรากฏว่า สินค้าที่จำเลยทั้งสองส่งมอบชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ดังนี้ ผลการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระทั่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการส่งมอบของล่าช้าตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 วรรคท้าย การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยทั้งสองตามสัญญาข้อ 11 เพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองส่งมอบของล่าช้าโดยหักออกจากราคาที่โจทก์จะชำระแก่จำเลยทั้งสองนั้น ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าว กรณีถือว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแก่จำเลยทั้งสองไปจำนวน 920,000บาท เมื่อมีการเลิกสัญญากัน คู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม จำเลยทั้งสองจึงต้องคืนราคาสินค้าเต็มจำนวนเป็นเงิน 920,000 บาท แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบสินค้าชำรุด การบอกเลิกสัญญา และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ขาย
สัญญาซื้อขายข้อ3ระบุว่าจำเลยผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายตามสัญญาให้แก่โจทก์ผู้ซื้อภายในวันที่15ตุลาคม2528ส่วนข้อ10ระบุว่าเมื่อครบกำหนดส่งมอบตามสัญญาแล้วถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือไม่ครบจำนวนผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้และข้อ11ระบุว่าในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสองของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องและในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฎิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ปรากฎว่าจำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายล่าช้านับแต่วันถึงกำหนดจนถึงวันส่งมอบรวม13วันโจทก์มีสิทธิ์เรียกค่าปรับรายวันจากจำเลยทั้งสองได้รวมเป็นเงิน23,920บาทเมื่อหักเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวออกจากราคาสินค้าที่ตกลงซื้อขายเป็นเงิน920,000บาทแล้วโจทก์จึงชำระราคาแก่จำเลยทั้งสองไปเป็นเงิน896,080บาทแต่ต่อมาภายหลังโจทก์พบว่าสินค้าที่จำเลยทั้งสองส่งมอบชำรุดบกพร่องและไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาดังนี้ผลการบอกเลิกสัญญาของโจทก์ย่อมไม่กระทบกระทั่งสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากการส่งมอบของล่าช้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา391วรรคท้ายการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาค่าปรับจากจำเลยทั้งสองนั้นย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามบทกฎหมายดังกล่าวถือว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแก่จำเลยทั้งสองไปจำนวน920,000บาทเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาคู่กรณีจึงต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองจึงต้องคืนราคาสินค้าเต็มจำนวนเป็นเงิน920,000บาทแก่โจทก์ สัญญาซื้อขายข้อ10วรรคสองระบุว่า"ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรและถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาด้วย"คดีนี้จำเลยทั้งสองได้ส่งมอบสินคาแก่โจทก์แล้วต่อมาเมื่อโจทก์นำสินค้าไปใช้ปรากฎว่าสินค้าไม่ถูกต้องตามสัญญาโจทก์จึงบอกเลิกสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันเป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแล้วแต่โจทก์จะเห็นสมควรและให้จำเลยรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาเนื่องจากโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นได้ตามสัญญาซื้อขายข้อ10วรรคสองเท่านั้นเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเนื่องจากเหตุดังกล่าวแล้วจึงเป็นเรื่องโจทก์ไม่ได้รับสินค้าตามที่สัญญากำหนดไว้ถือว่าจำเลยไม่ได้ส่งมอบสินค้ามิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองได้ส่งมอบสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาแก่โจทก์และโจทก์ยอมรับไว้โดยจะใช้สิทธิปรับเป็นรายวันโจทก์จึงหามีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันในส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำที่ศาลชั้นต้นหลังมีคำพิพากษาฎีกาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการรื้อฟื้นคดีที่ต้องห้าม
ตามคำร้องของ โจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันตามคำร้องเดิมโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มิได้มีเจตนาขาดนัดพิจารณา ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าของโจทก์ ซึ่งคำร้องเดิมของโจทก์ก็อ้างเหตุว่า โจทก์มิได้จงใจไม่ไปศาลตามนัด ขอให้มีคำสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องเดิมของโจทก์ว่า "ศาลไม่เคยมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้โจทก์ตรวจสอบคำสั่งศาลให้ดีก่อนค่อยมายื่นคำร้องใหม่ ค่าคำร้องเป็นพับ" โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มาศาลล่าช้าเพราะเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์และให้ไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าจึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร หรือเพราะเหตุใด เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จึงพิพากษายกฎีกาโจทก์ และยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์โดยอาศัยเหตุตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องแล้ว การที่โจทก์มายื่นคำร้องใหม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องเดิมของโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องกันอีกที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟ้องซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือเป็นการขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
ตามคำร้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันตามคำร้องเดิมโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มิได้มีเจตนาขาดนัดพิจารณาขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าของโจทก์ซึ่งคำร้องเดิมของโจทก์ก็อ้างเหตุว่าโจทก์มิได้จงใจไม่ไปศาลตามนัดขอให้มีคำสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและให้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องเดิมของโจทก์ว่า"ศาลไม่เคยมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้โจทก์ตรวจสอบคำสั่งศาลให้ดีก่อนค่อยมายื่นคำร้องใหม่ค่าคำร้องเป็นพับ"โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มาศาลล่าช้าเพราะเหตุสุดวิสัยขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์และให้ไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าจึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไรหรือเพราะเหตุใดเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งจึงพิพากษายกฎีกาโจทก์และยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์โดยอาศัยเหตุตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องแล้วการที่โจทก์มายื่นคำร้องใหม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องเดิมของโจทก์ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วจึงต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องกันอีกที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นเดิมที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว เป็นการรื้อฟื้นคดีที่ต้องห้าม
ตามคำร้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ยืนยันตามคำร้องเดิมโดยอ้างเหตุว่าโจทก์มิได้มีเจตนาขาดนัดพิจารณา ขอให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้าของโจทก์ ซึ่งคำร้องเดิมของโจทก์ก็อ้างเหตุว่า โจทก์มิได้จงใจไม่ไปศาลตามนัด ขอให้มีคำสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและให้ดำเนินการพิจารณาคดีโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องเดิมของโจทก์ว่า "ศาลไม่เคยมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ให้โจทก์ตรวจสอบคำสั่งศาลให้ดีก่อนค่อยมายื่นคำร้องใหม่ ค่าคำร้องเป็นพับ" โจทก์อุทธรณ์และฎีกาต่อมา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์มาศาลล่าช้าเพราะเหตุสุดวิสัย ขอให้ศาลอุทธรณ์ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งจำหน่ายคดีโจทก์และให้ไต่สวนเหตุแห่งการมาศาลล่าช้า จึงมิใช่เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวว่าไม่ชอบอย่างไร หรือเพราะเหตุใด เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง จึงพิพากษายกฎีกาโจทก์ และยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ถือได้ว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์และฎีกาของโจทก์โดยอาศัยเหตุตามที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องแล้ว การที่โจทก์มายื่นคำร้องใหม่เป็นประเด็นอย่างเดียวกันกับคำร้องเดิมของโจทก์ ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงต้องห้ามมิให้โจทก์รื้อร้องกันอีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 768/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยผิด มิฉะนั้นศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย
อุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายต้องกล่าวไว้โดยชัดแจ้งถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในประเด็นแห่งคดีหรือปัญหาข้อกฎหมายมีอยู่อย่างไรนำมาปรับคดีได้อย่างไรเพื่อศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยคดีตามข้ออุทธรณ์ได้ถูกต้องตามประเด็นที่ยังคงโต้เถียงกันอยู่เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองในประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิฟ้องเรียกที่ดินพิพาทคืนหรือไม่พอสรุปได้ความเพียงว่าโจทก์จำเลยได้ตกลงซื้อขายที่ดินกันแต่จำเลยไม่ชำระราคาที่ดินให้ครบจำนวนถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญาโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิจะฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับที่ดินตามที่ได้ตกลงซื้อขายกันได้เท่านั้นอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองหาได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้ให้ชัดแจ้งว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบอย่างไรและโจทก์ทั้งสองควรจะชนะคดีได้เพราะเหตุใดไม่ส่วนอุทธรณ์ประเด็นราคาที่ดินที่ตกลงซื้อขายและการชำระราคาที่ดินของจำเลยโจทก์ทั้งสองเพียงแต่นำคำเบิกความของพยานโจทก์ในสำนวนมากล่าวอ้างไว้ในอุทธรณ์แล้วสรุปตามคำเบิกความดังกล่าวว่าโจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทในราคาไร่ละ200,000บาทมิใช่ไร่ละ30,000บาทจำเลยยังชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์ไม่ครบเท่านั้นหาได้โต้แย้งคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบอย่างไรหรือเพราะเหตุใดไม่อุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่ง
of 89